jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 27 ต.ค. 09, 20:18
|
|
รูปไม่มาเอาใหม่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 27 ต.ค. 09, 20:44
|
|
ดูรูปรวมๆไปแล้วกันครับ 1.พระพุทธเจ้าแสดงปฏิหารโปรดพุทธสาวกชาวจีน มุมซ้ายของภาพการทำนาในร่องสวน ของชาวบ้านสมัยก่อน 2.พระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ ณ ภูเขาสุวรรณบรรพต จ.สระบุรี ของประเทศไทย(ผนังด้านนี้จะเล่าเรื่องที่ประดิษฐานพระพุทธบาท5รอย)
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 27 ต.ค. 09, 20:48
|
|
เอาใหม่รูปรอยพระพุทธบาท
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 27 ต.ค. 09, 21:00
|
|
1.ขณะพักอยู่ใต้ร่มพฤกษาต้นหนึ่งได้เห็น อาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑารก กั้นเป็นร่ม เดินทางมาแต่ไกล หวังจะไปเมืองตาวาย พระเถระเจ้าถามถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า อาชีวกตอบว่าพระสัมนะโคดมปรินิพพานได้ 7 วัน ณ วันนี้แล้ว 2.ก่อนถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากัสสปะเดินทางมาถึงพระพุทธเจ้าสำแดงปาฏิหารย์ยื่นพระบาทออกมาให้กราบ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 27 ต.ค. 09, 21:13
|
|
ไม่รู้เป็นไรโพสต์แล้วค้างรูปไม่ขึ้นอีก ขอพักก่อนครับงานนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 27 ต.ค. 09, 23:19
|
|
วันนี้ไปวัดไชยทิศ กับวัดนางนองกับคุณแพร ปรากฏว่าวัดนางนองกำลังจะซ่อมลายรดน้ำและภาพเขียนในพระอุโบสถ เลยอยากจะไปเก็บภาพก่อนซ่อมใหญ่ครั้งนี้อีกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใน พศ.นี้ แต่เกรงว่าจะติดนั่งร้าน อยากให้พี่ยีนส์ กับพี่ยุทธตั้งกระทู้วัดนางนองบ้างน่ะครับ เพราะสวยขาดใจจริงๆ 555
ภาพจากหอไตรวัดบางแคใหญ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
srisiam
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 11:51
|
|
ในฐานะผู้เสพศิลปและชมชอบจิตรกรรม/ศิลปไทย ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกระบวนไปนำเรื่องและภาพมาให้ชม...ขอบคุณจากใจจริง....หากเป็นได้อยากให้ลดจำนวนวัดในแต่ละทริป...จะได้รายละเอียดครบถ้วน...ที่สำคัญ-ไม่เหนื่อยมากเกินไป...เห็นใจทุกท่านงงงคงเหนื่อยกันมาก...ยอดมนุษย์จริงำ
จำกัดอายุสมาชิกหรือเปล่า...ถ้าไม่...ทริปหน้าอยากตามไปสังเกตุการณ์ด้วยจัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
yutthana
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 12:39
|
|
ยินดีต้อนรับร่วมขบวนครับ ชมรมเราไม่เคยจำกัดอายุครับ การที่เราไปหลายวัดนั้นเพราะเหมือนเป็นการสำรวจล่วงหน้าก่อนครั้งหนึ่งและหวังอย่างยิ่งที่จะไปยังจุดเดิมอีกเพื่อเก็บลายละเอียดให้มากขึ้น เราหวังอย่างยิ่งที่จะมีสมาชิกอยู่หลายพื้นที่และจัดกลุ่มกระจายกันไปถ่ายรูปและมาแลกเปลื่ยนความรู้กันและกัน เพราะพื้นที่ไกลๆคงมีโอกาสจัดทริปไปได้น้อยแต่ก็พยายามที่จะไป การเดินทางบางครั้งเหนื่อยบ้างร้อนบ้างทุรักทุเลบ้างแต่ก็ชื่นใจเมื่อเห็นศิลปกรรมนั้น ๆ วันอาทิตย์นี้ผมจะไปวัดนางนองอีกครั้งหนึ่งเพื่อเก็ยลายละเอียดทั้งหมดให้มากที่สุดเนื่องจากว่าทางกรมศิลปากรได้มีการซ่อมแซมใหม่ ซึ่งข้อนข้างเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงทางศิลปกรรมเป็นอย่างมาก เพื่อความปลอดภัยจึงต้องถ่ายบันทึกไว้ครับ ผมบอกตรงๆว่าภาพที่เคยซ่อมตรงบานหน้าต่างนั้นซ่อมได้ไม่เหมือนของเดิมเลยซึ่งผมเองเคยเห็นของเก่าเมื่อครั้งลายทองลอกหมดแล้วเหลือแต่รอยนูนที่เหลือ แต่ด้วยความเป็นเด็กเลยไม่สนใจถ่ายเพราะไม่มีลายทองอยู่ ซึ่งซ่อมแล้วก็ไม่เหมือนเดิมอย่างตัวอย่างในรูปที่นำมาให้ดูคร่าวๆ สำหรับผู้ศึกษางานศิลปะไทยคงจะรับรู้อารมณ์ได้บ้างนะครับว่าการซ่อมงานโดยผู้ขาดความรู้ความเข้าใจทางศิลปะไทยเป็นอย่างไรและเศร้าใจเพียงไหน นี่เพียงบานหน้าต่างด้านนอกผมก็เสร้าใจพออยู่แล้ว ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบที่ซ่อมครั้งแรกตามรูปนี้บอกตามตรงอยากร้องไห้ และนี่เองกระมังจึงเป้นเหตุให้เกิดชมรมนี้ขึ้นก็ขอเภาวนาให้ถ่ายรูปทันเถอะครับ อย่าให้ไปสายเหมือนที่บานประตูทางเข้าเจดีย์ที่วัดประยูรเลยครับพ่อใสลายทองออกแล้วเขียนใหม่หมดแทนที่จะเก็บบานเก่าไว้ในพิพิธภัณฑ์ขอบคุณครับที่ฟังผมบ่น มันอึดอัดจริงๆ สำหรับยกระทู้วัดนางนองรอดูคืนนี้ครับกำลังเตรียมข้อมูลอยู่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
asia
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 17:07
|
|
จริงๆๆครับ นิสัยคนไทยที่ชอบของใหม่ ชอบทำอะไรใหญ่ๆเข้าว่า ลาดลายโบราณของช่างโบราณ ที่เป็นฝีมือชั้นครูต้องสูญหายก็เพราะคนสมัยเรานี่เอง ดูแล้วมันน่าเสร้าจริงขอรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 17:44
|
|
เมื่อวานแอบควงน้องเน ไปเที่ยววัดแถวๆฝั่งธนฯ และแวะที่วัดนางนอง ก็เลยเห็นว่า กำลังบูรณะซ่อม ลายรดน้ำ ที่บานประตู และหน้าต่าง ตั้งนั่งร้านจนเต็ม แต่สีทองเหลืออร่ามสวยงาม สุดยอดจริง
เพราะฉะนั้นเราต้องรีบไปนะคะ ก่อนที่จะสายไปกว่านี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 20:24
|
|
สัตว์โลกยอมเป็นไปตามกรรมดังเช่นศิลปะไทยก็กำลังจะสูญสิ้นจิตวิญญาณเดิมเมื่อครั้งบรรพบุรุษสร้างสู่น้ำมือช่าง(เขาเถอะ)ที่มีอยู่เกลื่อนเมือง สิ่งใดจะสิ้นสูญย่อมเป็นสัจธรรม แต่เราเหล่าชมรมฯนี่แหละจะมุ่งบันทึกหลักฐานทางศิลปะเหล่านี้เก็บไว้ให้ลูกหลานสืบไป การเดินทางไปแต่ละวัด ผมว่าเราเหล่าทีมงานใช้เวลาศึกษามากพอสมควรครับ ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางศิลปะ แต่เชื่อหรือไม่หากจะเอาความซาบซึ้งในศิลปะเป็นที่ตั้งบางท่านอาจจะอยากอยู่วัดหนึ่งวัดใดทั้งวันก็ได้ ดังนั้นการไปวัดของทีมงานแต่ละครั้งผมจะพยายามเตรียมข้อมูลการเดินทางไปก่อนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน แล้วไปร่วมวิเคราะห์ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในสถานที่นั้นจากภูมิปัญญาของแต่ละท่านอาจจะมีข้อสรุปหรือไม่ก็ได้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้นำมาประมวลสรุปโพสต์เป็นกระทู้นำเสนอเพื่อต่อยอดทางความคิดสืบไป*แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 21:15
|
|
มาดูข้อมูลกันต่อวัดบางแคใหญ่ วัดบางแคใหญ่แม้เป็นวัดราษฎร์อยู่ในท้องถิ่นที่เป็นเรือกสวนห่างไกลแหล่งชุมชน แต่ก็มีโบราณวัตถุสถานบางอย่างที่ระบุว่าเป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยมี ผู้บรรดาศักดิ์สูงซึ่งมีอำนาจทางบ้านเมือง และภาพเขียนที่ทางวัดรักษาไว้อย่างดีนี้ ก็มีภาพเรื่องราวเกี่ยวกับการทำสงครามไทย - พม่า อย่างน่าศึกษายิ่ง วัดบางแคใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิสถานที่มีน้ำโอบคือ มีคลองบางแค ( คลองย่อยจากแม่น้ำแม่กลอง ) ผ่านทางทิศตะวันออก คลองเมรุ ทางทิศเหนือ และคลอง บางลี่ทางทิศใต้ สภาพแวดล้อมของวัดร่มรื่นไปด้วยสวนส้ม สวนตาล สวนมะพร้าว และสวนลิ้นจี่ หากพิจารณาในแง่การแบ่งเขตการปกครองแล้ว วัดนี้จะอยู่ในเขตตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประวัติวัด ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกวัดและท่านเจ้าอาวาส ( พระครูโฆษิตสุตคุณ ) ซึ่งเกิดที่บ้านนี้ขณะนี้มีอายุ ๙๓ ปี (นับจาก พ.ศ.๒๕๓๑) กล่าวว่าวัดนี้ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ( แสงวงศาโรจน์ ) สร้างให้กับภรรยาหลวงของท่าน จึงได้ชื่อว่าวัดบางแคใหญ่ นอกจากนี้ท่านได้สร้างวัดบางแคน้อย ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักให้ภรรยาน้อยด้วย ภายหลังได้มีวัดบางแคกลางอีก แต่มิได้เกี่ยวข้องกับสองวัดแรกแต่อย่างใด ส่วนหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีปรากฏที่ผนังภายใน ด้านหน้าอุโบสถ ซึ่งเป็นแผ่นหินชนวนมีตัวอักษรไทยภาษาไทย อ่านได้ความชัดเจนว่า "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราชพันร้อยเจดสิบสาม ปิ์มะแม ตรีศก เจ้าพญาวงษาสุรศักดิ์ผู้วามีสมุหะพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนิแล้วแต่ณะวันสุกร เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจด ปีจอฉ้อศก" หากถอดความเป็นภาษาไทยที่อ่านได้ง่าย ๆ คือ "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นหนึ่งค่ำ จุลศักราชหนึ่งพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบสาม ปีมะแม ตรีศก เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ผู้ว่าสมุหพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนี้แล้ว ณ วันศุกร์ เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจ็ด ปีจอฉอศก" คือ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ได้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๗ อันเป็นช่วงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี วัดนี้ดูจากแผนผังของวัดพอจะคำนวณประวัติวัดได้อย่างหยาบ ๆ คือ ๑. จากพระพุทธรูปหินทรายแดงรอบพระระเบียง นิ้วพระหัตถ์กางแบบ ปาละ หน้าพระเป็นรูปไข่แบบอู่ทองหน้านาง เห็นได้ชัดว่าจะเป็นประติมากรรมสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา แสดงว่าอาจจะนำมาจากที่อื่นหรือเป็นของเก่าแก่ดั่งเดิมของวัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ล่วงมาในสมัยอยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเอาปูนมา ปั้นพอกพระศิลาทรายแดงไว้ บางองค์ก็ทำทรงเครื่องด้วย ๒. สิ่งที่บอกอายุของวัดคือ ใบเสมาหินทรายแดงขนาดเล็กสมัยอยุธยา ตระกูลอัมพวา เป็นแบบเดียวกับวัดหลวงพ่อบ้านแหลมและวัดโบราณสมัยอยุธยาตอนปลายในเขตจังหวัดสมุทรสงครามโดยทั่วไป บ่งว่ามีการปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดขึ้นมาใหม่สมัยอยุธยาตอนปลาย ๓. หลักฐานอีกประการหนึ่งคือ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองสมัยพระนารายณ์ อยู่บนลานหน้าพระอุโบสถที่มีพระระเบียงล้อมรอบ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองนี้เป็นแบบสมัยพระนารายณ์หรือพระเพทราชาโดยตรง ต่อมาสมัยพระบรมโกศใช้เจดีย์ย่อมุมยี่สิบแปด เช่น เจดีย์ที่สร้างไว้หน้าอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม (สร้างสมัยพระเพทราชา) เจดีย์ย่อมุมสิบสองสมัยพระเพทราชาที่แท้ อยู่หน้าอุโบสถวัดพญาแมนริมคลองสระบัว จังหวัดอยุธยา วัดสมัยอยุธยาตอนปลายจะสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบสองบ้างย่อมุมยี่สิบแปดบ้างอยู่หน้าโบสถ์เสมอ เช่น วัดกำแพงแก้ว ต.สะพานไทย อ.บางบาล วัดพรหมนิวาส จ.พระนครศรีอยุธยา (วัดนอก) จ.สมุทรปราการ วัดในวรวิหาร จ.สมุทรปราการ ดังนี้ เป็นต้น ๔. กฎีสงฆ์หลังที่มีภาพเขียนนั้น เดิมเป็นเรือนไทยมีเสาต่ำมาภายหลังทางวัดรื้อลงแล้วก่อห้องข้างล่างเป็นปูน มีเสาแน่นหนายกเรือนสูงขึ้น ด้วยภาพเขียนถูกทอดไม้กระดานเป็นชิ้น ๆ เอามาปะติดปะต่อในภายหลัง โดมมีการเขียนชอล์กตัวเลขกำกับแผ่นไว้บนภาพเขียน ดังนั้นหากกล่าวโดยรวม ๆ วัดบางแคใหญ่น่าจะเป็นวัดมีมาแต่สมัยอยุธยาแล้วและเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์มาสร้างปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒(พ.ศ.๒๓๕๗)
ประวัติท่านผู้แต่ง เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์สมุหพระกลาโหม มีนามเดิมว่า แสง วงศาโรจน์ เป็นบุตรของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ซึ่งรับราชการมีความดีความชอบมาตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทั้งเป็นต้นตระกูล "วงศาโรจน์"ดังสืบสายมาจนถึงปัจจุบัน เชื้อสายของตระกูลวงศาโรจน์สืบสายหนึ่งมาจากราชนิกูลบางช้าง กล่าวคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) เป็นบุตรของท่านยายเดื่อ และท่านตาขุนแกล้ว ท่านยายเดื่อเป็นธิดาของท่านยายเมืองซึ่งเป็นพี่สาวของท่านนาค หรือสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทราพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี อันมีนิวาสถานเดิมอยู่แถบอัมพวานั้นเอง และเชื้อสายราชนิกูลสายนี้มักรับราชการสนองพระเดชพระคุณในแถบสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ต่อมาถึงราชบุรีด้วย (มณฑลราชบุรี, ๒๔๖๘) เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ได้รับราชการมีความดีความชอบมาโดยสม่ำเสมอตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ แล้ว กล่าวคือในขณะที่ผู้บิดาคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี หลังจากปราบดาภิเษกเสร็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว (พ.ศ.๒๓๒๕) ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักติ์นายแสงในคราวเดียวกันนี้ ตามความว่า "ให้นายแสง เป็นพระยาสมุทรสงคราม" พระยาสมุทรสงคราม (แสง) นับว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะมิได้รับราชการเฉพาะตำแหน่งว่าราชการเมืองแถบถิ่นราชบุรี สมุทรสงครามเท่านั้น หากมีความดีความชอบถึงขนาดได้เป็นสมุหพระกลาโหม บังคับบัญชาทหารทั้งปวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี หลังจากทรงบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการผู้มีความรับผิดชอบในการนี้มีเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์รวมอยู่ด้วย เจ้าพรยาวงษาสุรศักดิ์ สมุหพระกลาโหม ได้รับพระราชโองการให้เป็นแม่ทัพไปราชการสงครามกับพม่าที่ชายแดนไทยอยู่เสมอ และในคราวที่คาดว่าเป็นเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเรื่องราวที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมบนฝาประจัน ณ วัดบางแคใหญ่นี้ ก็น่าจะเป็นครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรี เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๖๔ นั่นเอง
วัดบางแคใหญ่ วัดบางแคใหญ่แม้เป็นวัดราษฎร์อยู่ในท้องถิ่นที่เป็นเรือกสวนห่างไกลแหล่งชุมชน แต่ก็มีโบราณวัตถุสถานบางอย่างที่ระบุว่าเป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยมี ผู้บรรดาศักดิ์สูงซึ่งมีอำนาจทางบ้านเมือง และภาพเขียนที่ทางวัดรักษาไว้อย่างดีนี้ ก็มีภาพเรื่องราวเกี่ยวกับการทำสงครามไทย - พม่า อย่างน่าศึกษายิ่ง วัดบางแคใหญ่ ตั้งอยู่ในภูมิสถานที่มีน้ำโอบคือ มีคลองบางแค ( คลองย่อยจากแม่น้ำแม่กลอง ) ผ่านทางทิศตะวันออก คลองเมรุ ทางทิศเหนือ และคลอง บางลี่ทางทิศใต้ สภาพแวดล้อมของวัดร่มรื่นไปด้วยสวนส้ม สวนตาล สวนมะพร้าว และสวนลิ้นจี่ หากพิจารณาในแง่การแบ่งเขตการปกครองแล้ว วัดนี้จะอยู่ในเขตตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประวัติวัด ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกวัดและท่านเจ้าอาวาส ( พระครูโฆษิตสุตคุณ ) ซึ่งเกิดที่บ้านนี้ขณะนี้มีอายุ ๙๓ ปี (นับจาก พ.ศ.๒๕๓๑) กล่าวว่าวัดนี้ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ( แสงวงศาโรจน์ ) สร้างให้กับภรรยาหลวงของท่าน จึงได้ชื่อว่าวัดบางแคใหญ่ นอกจากนี้ท่านได้สร้างวัดบางแคน้อย ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักให้ภรรยาน้อยด้วย ภายหลังได้มีวัดบางแคกลางอีก แต่มิได้เกี่ยวข้องกับสองวัดแรกแต่อย่างใด ส่วนหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีปรากฏที่ผนังภายใน ด้านหน้าอุโบสถ ซึ่งเป็นแผ่นหินชนวนมีตัวอักษรไทยภาษาไทย อ่านได้ความชัดเจนว่า "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราชพันร้อยเจดสิบสาม ปิ์มะแม ตรีศก เจ้าพญาวงษาสุรศักดิ์ผู้วามีสมุหะพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนิแล้วแต่ณะวันสุกร เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจด ปีจอฉ้อศก" หากถอดความเป็นภาษาไทยที่อ่านได้ง่าย ๆ คือ "วันอาทิตย์ เดือนห้า ขึ้นหนึ่งค่ำ จุลศักราชหนึ่งพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบสาม ปีมะแม ตรีศก เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ผู้ว่าสมุหพระกลาโหม ได้สร้างพระอารามนี้แล้ว ณ วันศุกร์ เดือนสิบ แรมสิบค่ำ พุทธศักราชล่วงแล้วได้สองพันสามร้อยห้าสิบเจ็ด ปีจอฉอศก" คือ เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ ได้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๗ อันเป็นช่วงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี วัดนี้ดูจากแผนผังของวัดพอจะคำนวณประวัติวัดได้อย่างหยาบ ๆ คือ ๑. จากพระพุทธรูปหินทรายแดงรอบพระระเบียง นิ้วพระหัตถ์กางแบบ ปาละ หน้าพระเป็นรูปไข่แบบอู่ทองหน้านาง เห็นได้ชัดว่าจะเป็นประติมากรรมสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา แสดงว่าอาจจะนำมาจากที่อื่นหรือเป็นของเก่าแก่ดั่งเดิมของวัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ล่วงมาในสมัยอยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเอาปูนมา ปั้นพอกพระศิลาทรายแดงไว้ บางองค์ก็ทำทรงเครื่องด้วย ๒. สิ่งที่บอกอายุของวัดคือ ใบเสมาหินทรายแดงขนาดเล็กสมัยอยุธยา ตระกูลอัมพวา เป็นแบบเดียวกับวัดหลวงพ่อบ้านแหลมและวัดโบราณสมัยอยุธยาตอนปลายในเขตจังหวัดสมุทรสงครามโดยทั่วไป บ่งว่ามีการปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดขึ้นมาใหม่สมัยอยุธยาตอนปลาย ๓. หลักฐานอีกประการหนึ่งคือ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองสมัยพระนารายณ์ อยู่บนลานหน้าพระอุโบสถที่มีพระระเบียงล้อมรอบ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองนี้เป็นแบบสมัยพระนารายณ์หรือพระเพทราชาโดยตรง ต่อมาสมัยพระบรมโกศใช้เจดีย์ย่อมุมยี่สิบแปด เช่น เจดีย์ที่สร้างไว้หน้าอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม (สร้างสมัยพระเพทราชา) เจดีย์ย่อมุมสิบสองสมัยพระเพทราชาที่แท้ อยู่หน้าอุโบสถวัดพญาแมนริมคลองสระบัว จังหวัดอยุธยา วัดสมัยอยุธยาตอนปลายจะสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบสองบ้างย่อมุมยี่สิบแปดบ้างอยู่หน้าโบสถ์เสมอ เช่น วัดกำแพงแก้ว ต.สะพานไทย อ.บางบาล วัดพรหมนิวาส จ.พระนครศรีอยุธยา (วัดนอก) จ.สมุทรปราการ วัดในวรวิหาร จ.สมุทรปราการ ดังนี้ เป็นต้น ๔. กฎีสงฆ์หลังที่มีภาพเขียนนั้น เดิมเป็นเรือนไทยมีเสาต่ำมาภายหลังทางวัดรื้อลงแล้วก่อห้องข้างล่างเป็นปูน มีเสาแน่นหนายกเรือนสูงขึ้น ด้วยภาพเขียนถูกทอดไม้กระดานเป็นชิ้น ๆ เอามาปะติดปะต่อในภายหลัง โดมมีการเขียนชอล์กตัวเลขกำกับแผ่นไว้บนภาพเขียน ดังนั้นหากกล่าวโดยรวม ๆ วัดบางแคใหญ่น่าจะเป็นวัดมีมาแต่สมัยอยุธยาแล้วและเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์มาสร้างปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒(พ.ศ.๒๓๕๗) เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์สมุหพระกลาโหม มีนามเดิมว่า แสง วงศาโรจน์ เป็นบุตรของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ซึ่งรับราชการมีความดีความชอบมาตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทั้งเป็นต้นตระกูล "วงศาโรจน์"ดังสืบสายมาจนถึงปัจจุบัน เชื้อสายของตระกูลวงศาโรจน์สืบสายหนึ่งมาจากราชนิกูลบางช้าง กล่าวคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) เป็นบุตรของท่านยายเดื่อ และท่านตาขุนแกล้ว ท่านยายเดื่อเป็นธิดาของท่านยายเมืองซึ่งเป็นพี่สาวของท่านนาค หรือสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทราพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี อันมีนิวาสถานเดิมอยู่แถบอัมพวานั้นเอง และเชื้อสายราชนิกูลสายนี้มักรับราชการสนองพระเดชพระคุณในแถบสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ต่อมาถึงราชบุรีด้วย (มณฑลราชบุรี, ๒๔๖๘) เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ได้รับราชการมีความดีความชอบมาโดยสม่ำเสมอตั้งแต่ครั้งต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ แล้ว กล่าวคือในขณะที่ผู้บิดาคือ พระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี หลังจากปราบดาภิเษกเสร็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว (พ.ศ.๒๓๒๕) ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักติ์นายแสงในคราวเดียวกันนี้ ตามความว่า "ให้นายแสง เป็นพระยาสมุทรสงคราม" พระยาสมุทรสงคราม (แสง) นับว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะมิได้รับราชการเฉพาะตำแหน่งว่าราชการเมืองแถบถิ่นราชบุรี สมุทรสงครามเท่านั้น หากมีความดีความชอบถึงขนาดได้เป็นสมุหพระกลาโหม บังคับบัญชาทหารทั้งปวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี หลังจากทรงบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการผู้มีความรับผิดชอบในการนี้มีเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์รวมอยู่ด้วย เจ้าพรยาวงษาสุรศักดิ์ สมุหพระกลาโหม ได้รับพระราชโองการให้เป็นแม่ทัพไปราชการสงครามกับพม่าที่ชายแดนไทยอยู่เสมอ และในคราวที่คาดว่าเป็นเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเรื่องราวที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมบนฝาประจัน ณ วัดบางแคใหญ่นี้ ก็น่าจะเป็นครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรี เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๖๔ นั่นเอง (ภาพประกอบในส่วนนี้ สมาชิกชมรมฯไม่มีใครถ่ายมามีผมถ่ายมาเพียงคนเดียวในส่วนภาพผนัง ขอเชิญทัศนา)
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 21:44
|
|
ภาพทหารไทยไล่ฆ่าชาวมอญอย่างเลือดเย็น
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 28 ต.ค. 09, 21:47
|
|
ภาพหมู่บ้านเรือนคหบดีชาวมอญ แสดงวิถีความเป็นอยู่อย่างน่าชมยิ่ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 29 ต.ค. 09, 19:41
|
|
ไม่รู้เป็นไรกระทู้ตัวเองโพสต์รูปไม่ติดและโหลดช้าอยู่เรื่อยจนโพสต์วันเดียวไปจบเสียที ดูแต่รูปแล้วกันครับกระทู้จืดหมดแล้ว
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|