เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4409 ตามหาความหมายและที่มาของคำ "ตะเกียงหน้าพระ" และ "แก้วเจ็ดประการ" ค่ะ
saranghyesung
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 20 ต.ค. 09, 20:09

สวัสดีผู้รู้ทุกท่านค่ะ ตอนนี้ดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องห้องสิน
เมื่ออ่านต้นฉบับและเปรียบเทียบกับภาษาแปลแล้วพบว่ามีคำศัพท์ในห้องสินหลายคำที่ไม่ทราบความหมาย
ตอนนี้กำลังจนปัญญากับคำว่า"ตะเกียงหน้าพระ" และ "แก้วเจ็ดประการ" ลองค้นๆ ในอินเตอร์เนตก็พอทราบความหมายได้เลาๆ แต่ก็ไม่แน่ใจค่ะ
จึงอยากขอความช่วยเหลือจากทุกท่านในที่นี้ว่าจะหาความหมายที่ถูกต้องของคำเหล่านี้ได้ที่ไหน และคำเหล่านี้มีที่มาอย่างไร ตั้งแต่สมัยใดคะ

ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 20:31

ลอกบริบทมาให้อ่านได้ไหมคะ  เผื่อจะเข้าใจง่ายขึ้น ว่าหมายความว่าอะไร
บันทึกการเข้า
saranghyesung
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 09:03

สวัสดีค่ะ อ.เทาชมพู

นี่คิอบริบทที่ปรากฏในหนังสือห้องสินค่ะ

1.โลเฉียคนนี้คือเลงจูจือ ภาษาไทยว่าตะเกียงหน้าพระ เทพยดาให้ลงไปเกิดช่วยเกียงจูแหยปราบปรามแซ่เสี่ยงทาง

ปล. เลงจูจือถอดเสียงมาจากภาษาจีน คือ 灵珠子 เป็นไข่มุกวิเศษที่มีชีวิต เกิดจากเลือดของเจ้าแม่หวังหมู่และธิดาองค์ที่สอง เชื่อว่าเป็นสิ่งปกป้องคุ้มครองอันตราย

2.เทียนจุ๋นหลบได้แล้วกลับไปถ้ำ โลเฉียก็ไล่ติดตามไป เทียนจุ๋นเห็นโลเฉียตามมาใกล้จึงเอาเชือกป๋อกิมเนีย ภาษาไทยว่าแก้วเจ็ดประการ ออกจากมือเสื้อโยนขึ้นไปบนอากาศ

ปล.เชือกป๋อกิมเนียถอดเสียงมาจากภาษาจีน คือ 七宝金莲 เป็นอาวุธวิเศษของเทียนจุ๋น


ปัญหาของดิฉันก็คือ เมื่อเทียบต้นฉบับจีนกับคำในฉบับแปลแล้ว ไม่รุ้ว่าสองคำมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ในสมัยรัชกาลที่สอง ให้ความสำคัญกับคำว่า "ตะเกียงหน้าพระ" และ "แก้วเจ็ดประการ" อย่างไรบ้าง
เพราะเชื่อว่าผู้แปลคงไม่ได้แปลมั่วๆ เป็นแน่ แต่น่าจะแปลคำศัพท์เฉพาะเหล่านี้ให้ผู้อ่านทางวัฒนธรรมปลายทาง (ภาษาไทย) เข้าใจได้โดยง่าย


ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 10:41

ตะเกียงหน้าพระนี่อาจจะเป็นอย่างที่คุณ saranghyesung ว่าเป็นการแปลให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมนะครับ แต่ผมไม่เข้าใจความหมาย

ส่วน 七宝金莲 ความหมายตามตัวอักษรคือ
七宝 - แก้วเจ็ดประการ
金莲 - ดอกบัวทองคำ
เป็นการแปลตรงตัว เพียงตัด ดอกบัวทองคำ ออกไปเท่านั้นครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 12:06

พงศาวดารเรื่องนี้  สันนิษฐานว่า แปลขึ้นในรัชกาลที่ ๒
ใครแปลไม่มีใครทราบ  ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นที่รู้จักดีจนมาแปลงเป็น โกมินทร์กุมารอ่านกันทั่วไป

ถ้าจะสันนิษฐานว่าแปลในรัชกาลที่สอง  ก็น่าจะยืดเวลาลงมาถึงรัชกาลที่ ๔  ได้
ถ้าเป็นเรื่องที่แปลในรัชกาลที่ ๔   ก็น่าจะมีบันทึกไว้บ้าง เพราะการพิมพ์ได้เริ่มขึ้นแล้ว



เมื่อบรัดเลพิมพ์พงศาวดารจีนออกจำหน่าย  คิดราคา ห้องสินในปี พ.ศ.​๒๔๒๑​​​  ถึง แปดบาท
เทียบกับ หนังสือกฎหมายสองเล่มราคา ๑๓ บาท  เล่มโตกว่าเป็นกอง
อักขราภิธานศรับท๋เล่มหนึ่ง  ๕ ตำลึง    
สามก๊กสี่เล่ม   ๕ ตำลึง   คงราคามาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงซื้อพระราชทานพระโอรสธิดา


เรื่อง ตะเกียงหน้าพระ   ของเลงจู๊จือ   ไม่มีความรู้ด้านภาษาจีนเปรียบผิดถูกไม่ได้ค่ะ
สังเกตว่าโลเฉียขี้โมโหมากเป็นพิเศษ  อารมณ์ร้อน



เรื่อง เชืืือกป๋อกี๋มเนีย  หรือ แก้วเจ็ดประการนั้น  เข้าใจได้ง่ายค่ะ  ถึงจะไม่มีรายละเอียดของอิทธิฤทธิ์ในเล่มอื่น
หรืออาจจะมีแต่เล่มนั้นทางไทยมิได้เอามาแปล
พงศาวดารจีนหลักๆ ๓๔ เล่มนั้น  ตัวละครตัวรองปรากฎกายในเรื่องอื่นๆอีกด้วย


โดยทั่วไปเมื่อโยนของวิเศษขึ้น  จะกระทำเสียงกัมปนาท  ส่องแสงสว่าง  แล้วลอยลงมาทำร้ายศัตรูของเจ้าของของวิเศษนั้นๆ
แต่ในเรื่อง ป๋อกี๋มเนียนี้  เชือกสามารถแปลงเป็นอาวุธต่างๆตามใจปรารถนาของเจ้าของค่ะ

"อาจารย์เทียนจุ๋น  เอาเชือกออกจากมือเสื้อโยนขึ้นไปบนอากาศ   ก็บังเกิดมืดมนนัก
ธุลีก็ฟุ้งขึ้น  แล้วปลอกทองสี่อันตกลงมา   สวมมือเท้าโลเฉียจนไหวตัวมิได้"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 12:13

ขอถาม คุณ saranghyesung  ว่า  จักรลมกับจักรไฟนั้น   
โลเฉียใช้อย่างไร
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 13:24

ค่อนข้างจะงงอยู่ครับ

ผมไม่เคยอ่านห้องสิน แต่ 七宝金莲 ออกเสียงจีนกลางว่า ชีเป่าจินเหลียน แต้จิ๋วจะว่า ชิกป๋อกิมไน้(หรือ เน้ย หรือ โน้ย แล้วแต่ท้องถิ่น)

เชือกป๋อกิมเนีย นี่จะเป็นสำเนียงฮกเกี้ยน หรือจะผิดเพี้ยนมาอย่างไรก็ไม่ทราบครับ แต่ของวิเศษนี้ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับเชือกนะครับ เพราะคำที่ว่า "เชือก" ตรงนี้แปลว่า เจ็ด ครับ

ไม่รู้ว่าผู้แปลดัดแปลงอะไรตรงนี้ด้วยหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 14:31

ซินแสผู้แปลเรื่องห้องสิน  แปลผิดบ้างหรือเปล่า? หรือถ้าแปลไม่ผิด  คัดลอกจากสมุดไทยกันมาผิดบ้างไหม?

กลับไปค้นเอกสารประกอบการสอน    เจอที่เขียนไว้ว่า
"เรื่อง ห้องสิน ต้นฉบับขาดหายไปในหน้าต้น   จึงไม่ทราบชื่อผู้แปล ตลอดจนปีพ.ศ. ที่แปล   แต่มีการอ้างถึงไว้ในพงศาวดารจีนเรื่อง เลียดก๊ก  ว่า  หลวงลิขิตปรีชาเจ้ากรมอาลักษณ์เป็นผู้ชำระ     นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ต.ค. 09, 04:08

ในฐานะนักอ่านที่เริ่มมาจากพงศาวดารจีน ๓๔ เรื่อง  และเรื่องอื่นๆในสยามราษฎร์ และศรีกรุงที่ไม่มีการพิมพ์เป็นเล่ม

ความคิดที่ว่า    ตะเกียงหน้าพระ อาจเป็นชาติกำเนิดเดิม ของ  โลเฉีย      มีความเป็นไปได้



ห้องสิน ฉบับ เดชา นพพดล  ซึ่งความแทบทั้งหมดตรงกับฉบับหลวง   ไม่ปรากฏปีพิมพ์  มีรูปมากทีเดียว
ในตอนหนึ่งได้แสดงรูปโลเฉียตอนเป็นเด็กๆ  อธิบายว่า ราจา
โลเฉียเมื่อฟื้นขึ้นมาใหม่  สูงกว่าบุคคลอื่น


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 ต.ค. 09, 23:08

ห้องสิน ฉบับ เดชา นพพดล  ซึ่งความแทบทั้งหมดตรงกับฉบับหลวง   ไม่ปรากฏปีพิมพ์  มีรูปมากทีเดียว
ในตอนหนึ่งได้แสดงรูปโลเฉียตอนเป็นเด็กๆ  อธิบายว่า ราจา

โลเฉียคือคนเดียวกับนาจาครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ต.ค. 09, 01:41

พงศาวดารจีนเลียดก๊ก   โปรดฯ ให้แปลใน พ.ศ. ๒๓๖๒
กินความจากราชวงศ์เซียวและราชวงศ์จิว   ก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปี ถึง พุทธศักราช ๒๙๗ ปี


ข้าทูลละอองที่แปลเลียดก๊กพงศาวดารกรุงจีนมี

กรมหมื่นนเรศโยธี   เจ้าพระยายมราช    เจ้าพระยาวงษาสุริยศักดิ์  
พระยาโชดึก    ขุนท่องสื่อ  
จมื่นไวยวรนาถ    นายเล่ห์อาวุธ   จ่าเรศ
หลวงลิขิตปรีชา   หลวงญาณปรีชา   ขุนมหาสิทธิโวหาร


ย่อหน้าที่สาม ในหน้าแรกของพงศาวดารจีนเล่มนี้  เขียนไว้ว่า

"ห้องสินแลในเลียดก๊กนั้น  ว่าด้วยพระเจ้าบู๊อ่องครองเมืองทั้งปวงคิดทำศึกกัน
ข้าพเจ้าหลวงลิขิตปรีชา เจ้ากรมอาลักษณ์ชำระขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย"


ชำระในที่นี้  ดิฉันเข้าใจว่า ชำระเลียดก๊กขึ้นทูลเกล้าถวาย
ที่เอ่ยถึง ห้องสินก็เพราะเป็นยุคต่อกัน  คือ พระเจ้าบู๊อ๋อง



หลวงลิขิตปรีชาทำหน้าที่บรรณาธิการเล่ม
ชำระ  หมายความว่าตรวจแก้  เพราะมีผู้รับผิดชอบงานนี้หลายคน  สำนวนคงไม่ไปทางเดียวกัน

กรมหมื่นนเรศโยธี  เจ้าพระยายมราช  เจ้าพระยาวงษาสุริยศักดิ์      น่าจะเป็นแม่กองคือตั้งคณะทำงานขึ้นที่วังและบ้าน

พระยาโชดึก และ ขุนท่องสื่อ  คงรับผิดชอบพาซินแสมาเป็นนักแปล   คงจะไม่แปลเองเป็นแน่แท้ เพราะมีธุระอื่นที่รับผิดชอบ
ซินแสที่พามาแปลนั้นพื้นความรู้ก็คงแตกต่างกัน  เพราะที่พากันอพยพมาเมืองไทยก็มีแต่คนหนุ่มเป็นส่วนมาก


เมื่อแม่กองเรียกตรวจงาน   ทั้งพระยาโชดึกและขุนท่องสื่อ  ก็คงปรากฎตัวพร้อมกับนักแปลเพื่อกราบทูลและกราบเรียนแม่กอง
ออกตัวบ้าง  และวิจารณ์งานบ้าง   รับความชอบไปตามระเบียบ
ที่แปลผิดไปหลายลี้นั้น  แน่นอนที่นักแปลต้องรับไปเต็ม ๆ

จหมื่นไวยวรนาถ  นายเล่ห์อาวุธ   อยู่กรมหมาดเล็ก ย่อมฉะฉานในภาษาไทย
ดิฉันไม่แน่ใจว่า จ่าเรศรับราชการในกรมมหาดเล็กหรือไม่   ขอเสนอว่าคงเป็นมหาดเล็กรายงานที่ดูแลเรื่องแปลหนังสือพงศาวดารด้วย


ในการนี้ บรรณาธิการเล่ม  และ ผู้ช่วยที่ราชทินนามชัดแจ้งอยู่แล้ว  เป็นผู้ตรวจแก้  ให้การแปลไปทางเดียวกันและใช้ชื่อเดียวกัน
เมื่อแบ่งงานกันทำแล้ว  โอกาสที่จะไปคนละทางมีอยู่แน่นอน



เลียดก๊ก เป็นหนังสือที่ยาวมาก   แปลแล้ว เป็นหนังสือ ๑๕๓  สมุดไทย
โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๑๙  เป็น สมุด ๒ เล่ม กว้้าง ๕ นิ้วครึ่งและยาว เกือบ ๙ นิ้ว
เล่มแรก พิมพ์   ปีมเสง(รักษาตัวสะกดเดิม) เอกศก     เล่มนี้หมอบรัดเล พิมพ์ว่า  หม่อปรัดเล
เล่มสอง  พิมพ์ ปีมะเมีย  โทศก
ทั้งสองเล่มพิมพ์ที่ อะเมริกัน มิศชันเอรี แอศโซซีเอชัน

คุรุสภา พิมพ์ เป็นครั้งแรก ๓,๐๐๐ เล่ม ใน พ.ศ. ๒๕๐๖  เป็นเล่มเล็กๆ จำนวน ๑๒ เล่ม

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ต.ค. 09, 01:48

๘๗ ปี  คุรุสภาถึงได้พิมพ์
ไม่ทราบว่าได้แก้ตัวว่าอย่างไร
เท่าที่ได้เห็นมา  คือ  หาต้นฉบับไม่ได้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ต.ค. 09, 02:06

พงศาวดารจีนอีกเล่มหนึ่งที่สันนิษฐานว่าแปลในรัชกาลที่สอง  คือ ตั้งฮั่น
แปลเป็นไทยถึง ๓๐ เล่มสมุดไทย
บรัดเล พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ๒๔๑๙ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม

คุรุสภาพิมพ์เป็นครั้งแรก ๒๕๐๗   ๓,๐๐๐  ฉบับ  มี สองเล่ม

ขออภัยที่ไม่มีรายละเอียดเล่มบรัดเล
หนังสือของบรัดเลจะหาครบชุดได้ยากสักหน่อย

สภาพที่มีปกแข็งไม่ค่อยมี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ต.ค. 09, 08:57

ขออภัยที่ทำตัวเป็นเรือตุ๊ก ๆ   เผาท้ายด้วยเทียนไข     เลี้ยวออกสู่คลองแล้วตามยาก



ไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมมาค่ะ   เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์(แสง  วงศาโรจน์)   ราชทินนามไม่คุ้นตา

เป็นที่สมุหพระกลาโหม      นับในราชินิกุลบางช้าง



บิดาของคุณแสง คือ เจ้าพระยาราชบุรี(แสม)      คุณย่าคือ  ท่านเดื่อ  ธิดาท่านยายเจ้าเมือง

ท่านยายเจ้าเมืองเป็นพี่นางสมเด็จพระรูปศิริภาคมหานาคเทวี  พระชนนีสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี


คุณแสงเป็นพระยาแม่กลอง  แล้วย้ายมาเป็นพระยาราชบุรี  แล้วโปรดให้เป็นสมุหพระกลาโหม

(อ่านมาจาก  เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์   ศิลปากรพิมพ์ ๒๕๔๕         ๓,๐๐๐ เล่ม  ปกแข็งสีน้ำเงินเข้ม)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง