เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5915 จิตรกรรมฝาผนัง วัดจรรย์ สุพรรณบุรี
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
 เมื่อ 15 ต.ค. 09, 20:41

ขอเริ่มต้นลงภาพด้วยวัดที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักเช่น วัดจรรย์ ในอำเภอศรีประจันต์ สุพรรณฯ และแน่นอนเริ่มด้วยภาพ ตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ เนื่องจากภาพเขียนในวัดนี้เป็นเรื่องประวัติพระพุทธเจ้า


บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 20:47

ตามด้วยภาพตอนพระประสูติ.......
ดูภาพใหญ่ได้ที่นี้ครับ    http://upload.pbase.com/edit_gallery/chounws3/wat_jan


บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 20:52

ภาพพุทธรูปภายในวิหาร


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 21:53

วัดนี้เป็นอีกวัดนึงที่โครงสีสวยแปลกตาดีครับ  ขอบคุณคุณchounwsที่นำมาลงให้ดูครับ  ผมเข้าไปในเว็บของคุณchounws บ่อยมากเนื่องจากข้อมูลภาพละเอียดมากครับยังไงก็ช่วยกันเก็บข้อมูลงานศิลปะไทยด้วยกันครับ ไม่ทราบว่าใช้กล้องรุ่นไหนถ่ายครับ
บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 22:18

ขอบคุณครับ คุณ yutthana ออกตัวว่าไม่ใช่มืออาชีพอะไรทางนี้ เพียงแต่เล่นกล้องมาตั้งแต่วัยรุ่นจนตอนนี้เลยหลักห้าสิบแล้วก็คงพอมีประสพการณ์อยู่บ้าง แต่พอมาเริ่มงานถ่ายภาพ ภาพเขียนฝาผนัง ก็ด้วยความรู้สึกท้าทายและน่าสนใจในระยะแรก และค่อยกลายมาเป็นสำนึกถึงคุณค่าของภาพเขียนในเวลาต่อมา กล้องที่ใช้ก็เป็นตระกูล Canon พวก DSLR ที่สำคัญคือสมัยนี้สามารถใช้งาน software มาร่วมกับการถ่ายภาพซึ่งทำให้เราสามารถสร้างสรรภาพที่ยากจะทำได้ในสภาพปกติ เช่นภาพส่วนใหญ่ที่ผมถ่ายเช่นกำแพงส่วนใดส่วนหนึ่ง จะประกอบด้วยภาพต่อกันหลายภาพนำมา merge กันด้วย photoshop เพื่อรักษาความละเอียดของภาพไว้ซึ่งผมพบว่าเทคนิคนี้ดีกว่าการถ่ายภาพรวมทั้งหมดของกำแพงดังกล่าวอย่างเทียบกันไม่ได้ต่อให้ใช้กล้องและเลนส์ดีเช่นเดียวกันถ่ายครับ
สำหรับภาพที่ลงในเว็ปของผมท่านสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นข้อมูลทางการศึกษาหรืออ้างอิงได้ครับ ด้วยความยินดี เพื่อจะได้แพร่หลายให้มากที่สุด นั้นคือสาเหตุที่ผมลงทุนพื้นที่ในเว็ปก็เพื่อให้ชาวต่างชาติได้เห็นภาพเหล่านี้ และก็ได้ผลพอควรครับ

มาว่ากันถืงเรื่องการให้สี หรือแม้กระทั่งเวลาที่มีการเขียนภาพในวัดจรรย์แห่งนี้ ยังเป็นคำถามสำหรับผม เนื่องด้วยในภาพมีหลายหลายแนวทางค่อนข้างมากเช่นในฉากสวรรค์ โดยสังเกตุการคั่นฉากด้วยเมฆหลากสีสันและในลักษณะที่แปลกว่าที่อื่นๆ ขอความเห็นด้วยนะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 11:08

เป็นวัดนึงที่ตั้งใจจะไป แต่ดูจากรูปถ่ายแล้ว ได้มีการซ่อมแซมเสียแล้ว แต่ยังไงก็ต้องไป ยินดีมากที่ได้ผู้มีความรู้เรื่องภาพถ่ายและมีอุดมการณ์เดียวกับชมรม จะได้เป็นที่ปรึกษาที่ดีและที่พึ่งของชมรมได้ต่อไป ขอบคุณจริงๆครับ ไว้ผมว่างเมื่อไหร่จะขอนัดพบสักครั้งนะครับ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 11:31

โครงสีโดยรวมของภาพที่วัดนี้ใช้สีคู่นำ้เงินกับเเดงเป็นหลัก เหมือนจิตรกรรมกลุ่มทางภาคใต้ครับ
บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 19:37

ยินดีอย่างยิ่งครับ คุณ jean1966 เรียกว่าแลกเปลี่ยนความเห็นและประสพการณ์น่าจะดีกว่าครับ ผมทำงานบริษัทเอกชน จะว่างจริงๆก็วันเสาร์ซึ่งมักจะพาครอบครัวออกไปตามที่ต่างๆ ทั้งท่องเที่ยวและถ่ายภาพ (และหาอะไรอร่อยๆตามที่ต่างๆกิน)
ถ้าจะติดต่อโดยตรงก็ทางอีเมล์นี้ครับ chounws@hotmail.com

คุณ yutthana บอกว่ากลุ่มจิตรกรรมทางภาคใต้ ไม่ทราบว่ามีข้อมูลว่ามีในที่ใดบ้างครับ ผมทราบแต่ว่า หลังจากเพชรบุรีลงไปแล้ว ก็จะมีที่สงขลา และ นราธิวาส อีก แต่ยังไม่เคยได้ไป เสียดายที่นราฯที่เมื่อไรจะได้มีโอกาส ??

ขอแสดงความเห็นเพิ่มเรื่องเวลาที่เขียนภาพที่วัดจรรย์ ตามรูปต่อไปนี้มีทั้งรูปคล้ายชาวต่างชาติและเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ผมคาดว่าต้องไม่เก่ากว่าปลายรัชสมัยของ ร.๔ ท่านใดเห็นอย่างไรครับ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 20:29

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดจรรย์นั้นเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่3 ดูได้จากคติการเขียนยังเป็นแบบรัชกาลที่3คือตัดน้ำเป็นคลื่น ไม่เขียนแบบเรียบๆในแบบสมัยร.4 การเขียนโขดหินเขามอนั้นเขียนเยี่ยงเดียวกับวัดหน่อพุทธางกูรและวัดประตูสารแต่ฝีมือช่างไม่ดีเท่าแต่ที่นี่จะมีเสน่ห์ในการจัดองค์ประกอบที่แปลกตากว่าจิตรกรรมที่อื่นๆน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง จิตรกรรมฝาผนังทั่วประเทศไทยผมมีอยู่หมด ที่ปักษ์ใต้นั้นถ้าฝีมือดีจะมีที่พัทลุงกับสงขลาส่วนที่อื่นๆมักจะเป็นสมัยประมาณร.5ลงไปฝีมือช่างท้องถิ่น อย่างที่นราธิวาสนั้นก็มีวัดชลธาราสิงเหที่ปัตตานีก็มีวัดปทุมวารี วัดจุฬามณี วัดควนใน วัดเทพนิมิตรและอีกหลายวัด ที่ต้องไปดูให้ได้ก็ที่วัดวัง วัดสุนทราวาสที่พัทลุงแล้วก็วัดมัชฌิมาวาสสงขลาครับ(รูปประกอบวัดจรรย์น่าจะก่อนอนุรักษ์)


บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 21:22

ครับคุณ jean1966 เรื่องแบบอย่างการเขียนผมขอละไม่ถกด้วยเพราะยังอ่อนนักในเรื่องนี้ แต่เรื่องการแต่งตัวและตัวละคร(ไม่ทราบจะเรียกอย่างไรดี) เช่นตัวที่ดูอย่างไรก็เป็นต่างชาติ ผมเองกลับเชื่อว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ค่อนข้างไม่เป็นที่ยอมรับ จะเห็นก็แต่อยู่ในด้านลบเช่นอยู่กับพวกยักษ์ในฉากมารผจญเป็นต้น ถกกันสนุกๆนะครับไม่ว่ากันนะ
เอารูปฉากเดียวกันที่ได้ถ่ายมาไม่เกินเดือนมาให้ดูครับ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ต.ค. 09, 12:40

เรื่องการไม่ยอมรับฝรั่งนั้น ผมว่าไม่ถูกต้องนักนะครับ จริงๆแล้วในสมัยรัชกาลที่3เริ่มมีฝรั่งที่นอกเหนือจากพวกอังกฤษและฝรั่งเศสแล้วยังมีชาติใหม่อย่างอเมริกาเข้ามาด้วย สมัยนั้นกล้องถ่ายภาพยังไม่เข้ามามีแต่พวกหนังสือพวกภาพพิมพ์จากต่างประเทศเข้ามาซึ่งก็มักจะเป็นภาพชาวต่างประเทศ ช่างเขียนจิตรกรรมนั่นแหละที่นำสิ่งที่ได้พบได้เห็นมาใส่ไว้ในจิตรกรรม ทีวัดจรรย์นี่ก็เหมือนกันครับ การเขียนภาพฝรั่งนั้นปรากฎอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังมาตั้งแต่สมัยอยุธยา นั่นด้วยช่างได้เคยเห็นหรือเขาเล่าว่า อีกทั้งบางครั้งที่ปรากฎในจิตรกรรมฝาผนังนั้นก็ด้วยผู้มีดำริให้วาดนั้น(ซึ่งมักเป็นพระมหากษัตรืย์หรือราชวงศ์ชั้นสูง)ต้องการให้พลเมืองของพระองค์ได้หูตากว้างไกลรู้จักชาวต่างชาติต่างภาษาที่ไม่ใช่คนไทย(เพราะจิตรกรรมฝาผนังในสมัยก่อนนั้นมีจุดประสงค์เหมือนภาพเล่าเรื่องเช่นเดียวกับภาพยนต์ในปัจจุบัน)ส่วนการนำฝรั่งมาเขียนเป็นยักษ์เป็นมารเป็นตัวตลกต่างๆนั้นเป็นความคิดความอ่านของช่างที่พลิกแพลงให้เกิดความแปลกโดยเอาเหตุการณ์ในสมัยนั้นๆเป็นตัวตั้งนั่นเอง ส่วนภาพฝรั่งที่วัดจรรย์นั้นอาจเป็นไปได้ว่าจิตรกรรมที่เริ่มเขียนที่วัดจรรย์นั้นอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่3ต่อรัชกาลที่4(ไม่ถึงรัชกาลที่4ตอนปลายแน่)เพราะในช่วงต้นของรัชกาลที่4นั้นช่างก็คือชุดเดียวกับร.3ซึ่งในสมัยพระองค์ท่านนั้นก่อนที่จะปรากฎขรัวอินโข่งขึ้นมายังมีช่างที่ยังนิยมการเขียนแบบไทยประเพณีดั้งเดิมอยู่ซึ่งยังปรากฎอยู่ในหลายๆวัดเช่นวัดกำแพงบางจาก วัดเกาะพญาเจ่ง วัดมัขฌิมาวาสฯ ซึ่งก็ยังยึดถือแนวเดิมมาจนตลอดรัชสมัยพระองค์ เพียงแต่มีแนวทางการเขียนแบบขรัวอินโข่งปรากฎขึ้นอีกแบบนึงเท่านั้นครับครับ(ภาพประกอบวัดกำแพงบางจากตอนพระมหาชนก)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ต.ค. 09, 13:00

ความเห็นของคุณ jean1966 มีเหตุผลครับ ความสนุกของการศึกษาประวัติศาสตร์ก็อยู่ตรงนี้แหละครับ เราต้องคาดเดาในกรอบของหลักฐานและเหตุผลครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง