เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
อ่าน: 60546 ชาติพันธุ์วรรณา ในขุนช้างขุนแผน (๒)
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 23:36

ผู้มีฝีมือในการทำ เครื่องมือทำขนมเบื้องไทย  คือ พระยาสีหศักดิ์สนิทวงศ์


เสด็จตา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวาศาธิราชสนิท
มารดาคือ หม่อมเจ้าหญิง สารภี  สนิทวงศ์      บิดาคือ หม่อมเจ้าประวิช

ประวัติของท่านสนุกมาก   ฉบับที่มีอยู่เป็นของสำนักพิมพ์บรรณกิจ ๒๕๒๕        ราคา ๑๔ บาท

เข้าใจว่าเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของกระทรวงศึกษาธิการ









บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 06:46

อ้างถึง
อ่านมาจาก  รูปยาซิกาแรตไทย  ของ  คุณเสริม  สุนทรานันท์
รูปยาซิกาแรตของไทย ชุดวรรณคดี  ชุดขุนช้างขุนแผน  เป็นของ บริษัทยาสูบบริติช - อเมริกัน มีสองชุด  ชุดละ ๕๐ แผ่น
เป็นของสะสมน่าสนใจ   ออกมาในปี ๒๔๖๘
แจกมาในบุหรี่ตรานกอินทรี  ตราไชโย  ไพ่ป๊อก และอื่นๆอีก
(ตัวลครบางตัวชื่อแปลกไม่ปรากฎในฉบับพิมพ์ที่ไหน/วันดี

ใช่แล้วครับ แต่ที่น่าแปลก ในหนังสือเล่มนี้ขาดบุคคลสำคัญไปอย่างน้อย 2
คือ พระพันวษา กับ น.ส.พิม หรือนางวันทอง

ถ้าท่านผู้ใดสะสมอยู่ เอา2ภาพดังกล่าวมาเติมให้ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 08:58

เรื่อง ข้าวสาร ที่เอามาใส่ในน้ำแกงให้ข้นขึ้นนั้น  แม่เล่าให้ฟังว่า คนสมัยก่อนเขาทำกันแทบทุกบ้าน  เพราะประสงค์จะให้น้ำแกงโดยเฉพาะแกงเผ็ดใส่กระทิต่างๆ ข้นพอที่จะจิ้มผักกินต่างน้ำพริกได้ด้วย  แม่เล่าให้ฟังว่า  คนที่แขกเกี่ยวข้าว ดำนา เก็บผัก หรือทำงานที่ไหน เอาข้าวไปกิน ก็มักแกงอย่างนี้ไปกินแล้วไปหาผักจิ้มเอาข้างหน้า เพราะผักหญ้าสมัยก่อนหาไม่ยากอย่างสมัยนี้  ข้าวแบบนี้ นัยว่าทำอย่างข้าวคั่วนั่นเอง  ไม่รู้ถิ่นอื่น บ้านอื่นเขาเรียกข้าวอย่างนี้ว่าอะไร  แต่เคยได้ยินแม่เรียกว่า ข้าวเบือ  ยังเคยเห้นคนแถวบ้านทำและใช้ข้าวเบือใส่ในแกงอยู่สมัยก่อน ซึ่งก็นานมากแล้ว  เดี๋ยวนี้คงไม่มีบ้านไหน ไม่ว่าในกรุงหรือต่างจังหวัด ทำหรือใช้ข้าวเบือผสมน้ำแกงแล้วกระมัง

รูปยาซิกาแร็ต รูปตัวละครขุนช้างขุนแผน เคยเห็นวางขายที่ร้านหนังสือเก่าบ่อยๆ แถวท่าช้างก็มี  แต่ท่าจะหาครบถ้วนยาก  จำได้ว่า คุณ ชาลี  เอี่ยมกระสินธุ์  เคยเอาพิมพ์ลงในหนังสือสยามสมัยก่อนหรืออะไรสักเล่ม  สวยดีเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 09:16

  พอได้คำว่า"ข้าวเบือ"จากคุณหลวงเล็ก ผมก็ถามอากู๋ทันที อากู๋ก็ให้ความรู้มากมาย ดังเช่นข้างล่างที่เอามาจากเวปของเมืองโบราณ   

  อันว่าข้าวเบือนั้น เราๆ ท่านๆ ก็รู้จัก ว่าได้จากการที่เอาข้าวสาร (ข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวก็ได้) แช่น้ำจนเมล็ดข้าวบาน แล้วเอาไปโขลกในครกให้ละเอียด ไว้ละลายใส่ในแกงประเภทที่ต้องการให้น้ำแกงข้นๆ เช่น แกงลาว แกงป่าบางสกุล หรือต้มโคล้งบางสำนัก  แต่ก็มีเล่ากันเหมือนกันว่า บางทีถ้าเกิดจะใช้ข้าวเบือขึ้นมา ก็อาศัยช้อนเอาข้าวที่กำลังหุงต้มอยู่จนเป็น "ตากบ" แล้วนั้น (คือผิวนอกเริ่มใสๆ แล้ว แต่ข้างในเมล็ดยังเป็นไตขาวอยู่) ใส่ครกตำไปตามขั้นตอนปกติ อย่างนี้ก็จะได้ข้าวเบือเหมือนกัน แถมตำง่ายกว่าด้วยเพราะว่าข้าวเริ่มนิ่มแล้ว

อากู๋ยังมี สูตรอาการสารพัด อย่างหนึ่งคือแกงอ่อม ที่ใส่ข้าวเบือเป็นสูตรมาตรฐาน สรุปว่าผมต้องเคยทานกับข้าวที่ปรุงด้วยข้าวสารหรือข้าวเบือแน่นอน เพียงแต่ไม่ทราบเท่านั้นเอง สงสัยว่าคนกรุงเทพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ชายน่าจะเหมือนๆผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 09:17

ถึงวันจันทร์ขมีขมันตามนัดหมาย             เปิดเข้ามาใจแทบวายเมื่อได้เห็น
ไพ่ทาโร่ต์แบบไทยไทย  ดูไม่เป็น          มองเขม้น อ้อ ไม่ใช่ โล่งใจที

เห็นเชฟใหญ่น้อยมาคอยท่า                  ถือกระจ่าทองคำเจ้าคุณสีห์
ยาสูบหลายสิบซองล้วนของดี                ตัดริบบิ้น เปิดเวที ตรงนี้เอย

ขุนช้างขุนแผนฉบับหอพระสมุดมีศึกใหญ่หลายครั้ง เพราะพระเอกเป็นนักรบ     แต่มีครั้งเดียวเท่านั้นศึกเปิดฉากในครัวเรือน    ซ้ำกลายเป็นศึกเผ็ดร้อนที่สุดในเรื่องก็ว่าได้
ที่จริง  มองกันด้วยสายตาคนปัจจุบัน     การที่พระไวยสั่งให้สองเมียทำขนมเบื้องให้กิน    เป็นเรื่องไม่แฟร์กับสร้อยฟ้ามาตั้งแต่แรก  เพราะขนมเบื้อง ไม่ใช่วัฒนธรรมในครัวของล้านนา
นี่ยังไม่ต้องพูดถึงความจริงที่ว่า สร้อยฟ้าเป็นพระธิดากษัตริย์ จะเอาโอกาสที่ไหนไปเข้าครัว     ราชสำนักเขาก็ย่อมมีพวกวิเสส ตามหน้าที่อยู่แล้ว
แต่ขนมเบื้อง ไปเข้าทางศรีมาลาเต็มๆ     ในฐานะลูกสาวเจ้าเมือง  พ่อต้องต้อนรับท้าวพระยา  เจ้าบ้านผ่านเมือง และแม่ทัพทั้งหลาย ที่ผ่านไปทางพิจิตร   เป็นประจำ
คุณนายเจ้าเมืองต้องเก่งในการเลี้ยงข้าวปลาคนใหญ่คนโต  ลูกสาวก็ต้องถูกดึงมาช่วยแม่เป็นธรรมดา     แม่อาจเป็นสาวชาววังมาก่อนก็ได้     จึงรู้วิชาละเลงขนมเบื้อง  ซึ่งถือกันว่าเป็นคุณสมบัติสาวชาววัง

ทำไมพระไวยไม่บอกเมียว่า ให้ทำของว่างมาคนละอย่าง ตามถนัด    อย่างน้อยสร้อยฟ้าก็สั่งนางไหม สาวใช้ ให้ทำแคบหมูกับน้ำพริกอ่อง มาให้กินกันได้   อร่อยเสียอีก

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 09:23

คนสมัยนี้คงมีน้อยคนที่รู้จัก ข้าวเบือ แต่ยังคงมีร่องรอยฝากไว้ในคำว่า สากกะเบือ (สากไม้สําหรับตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกเป็นต้น, ใช้คู่กับ ครกกะเบือ.- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ๒๕๔๒)

ตอนขุนแผนอาสาพา ๓๕ เดนตายเพื่อร่วมคุกไปราชการสงครามเชียงใหม่ มี่คนหนึ่งในประวัติเคยสร้างวีรกรรมลักของตั้งแต่สากกะเบือยันเรือ (รบ?)

อ้ายมอญมือด่างบางโฉลง                      เมียชื่ออีโด่งเป็นชาวเหนือ
ลักถ้วนลักถี่ทั้งตีเรือ                            ครกกระบากสากกะเบือไล่เก็บครบ


 ยิงฟันยิ้ม



 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 09:27

สร้อยฟ้าศรีมาลาว่าเจ้าคะ                      ตั้งกระทะก่อไฟอยู่อึงมี่
ต่อยไข่ใส่น้ำตาลที่หวานดี                     แป้งมีเอามาปรุงกุ้งสับไป
ศรีมาลาละเลงแผ่นบางบาง                   แซะใส่จานวางออกไปให้
สร้อยฟ้าไม่สันทัดอึดอัดใจ                    ปามแป้งใส่ไล้หน้าหนาสิ้นดี
พลายชุมพลจึงว่าพี่สร้อยฟ้า                  ทำขนมเบื้องหนาเหมือนแป้งจี่
พระไวยตอบว่าหนาหนาดี                     ทองพระศรีว่ากูไม่เคยพบ
ลาวทำขนมเบื้องผิดเมืองไทย                แผ่นผ้อยมันกระไรดังต้มกบ
แซะม้วนเข้ามาเท่าขาทบ                     พลายชุมพลดิ้นหรบหัวร่อไป

ขนมเบื้องฝีมือศรีมาลา เป็นแบบไทย  ใส่กุ้งสับรสก็คงออกคาวนิดหน่อย แต่ตัวแป้งนั้นออกหวาน  มีสองรสแบบไทยๆ
ตอนหลังเคยกินขนมเบื้องหวานใส่ไส้ฝอยทอง   และพัฒนามาถึงใส่ครีมฟูเหมือนหน้าขนมเค้ก
หลังๆนี้เลิกกินไปแล้ว  เลยไม่รู้ว่ารสชาติไปถึงไหน
บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 12:01

เรื่องเอาข้าวเจือลงในแกงนี้

ยังมีให้เห็น อย่างน้อยก็ในรายการ "ค้นครัว ทั่วไทย" ทางช่อง "ทีวีไทย" ครับ

พิธีกรถามว่า ทำไมถึงต้องใส่ข้าวลงไป ชาวบ้านบอก "เพื่อให้มันนัวจ้ะ" ...

...

รูปฉลากบุหรี่นี้น่าสนใจครับ ผมเดินงานหนังสือหลายๆครั้ง เห็นมีร้านเอาอกมาตั้งโชว์ (ขาย?)
แต่เห็นราคาแล้วให้วิงเวียนทุกที ...
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 13:20

ขอขัดจังหวะเรื่องสำรับอาหารแม่ครัวสักครู่

พอไปค้นเจอเสภาขุนช้างขุนแผน สำนวนนอกฉบับหอพระสมุดวชิรญาณชำระ  มาจากภาคผนวกของวิทยานิพนธ์
ชื่อ การศึกษาเปรียบเทียบบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครกับฉบับสำนวนอื่น
ของ ชุมสาย  สุวรรณชมภู เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาวิชาภาษาไทย  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี ๒๕๓๔
เลือกเอาเฉพาะตอนที่เกี่ยวกับลาวมาเสนอ น่าสนใจดี เชิญทัศนาบัดนี้

หมายเหตุ  คัดลอกอักขรวิธีตามต้นฉบับ

เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ลาวทองป่วยให้ทาสเป็นค่ารักษา

ขุนแผนแสนณรงค์ออกจากวัง   ไม่หยุดยั้งรีบออกนอกราชถาน
เรือพระราชข้ามส่งตรงขึ้นสะพาน   อาไสยวัดหยุดยานภักครอบครัว
แล้วจัดสิ่งของหลายสิ่งอัน   ไปกำนันท่านผู้ใหญ่ไปทุกทั่ว
ครัวลาวช้างม้ากระบือวัว                   ฝากตัวให้สนิทมิตรไมตรี
ท่านผู้ใหญ่ครั้นได้กำนัลของ   เรียกร้องทนายอยู่อึงมี่
แขกขุนแผนมาหาหน้าผู้ดี   เรียกหมากพลูบุหรี่น้ำร้อนชา
เชิญขุนแผนมานั่งข้างบนนี้   ธุระมียังไรก็ให้ว่า
อย่าเกรงใจขัดสิ่งใดก็บอกมา   ทำราชการเห็นหน้ากันสืบไป
ขุนแผนกราบแล้วจึงเรียนว่า   ผมมาลาหามีธุระไม่
ตั้งแต่กรุงไปบ้านยังพานไกล   ยกมือไหว้ลุกลามาจัดกัน
แบ่งให้ไปเรือเหลือไปบก   รุ่งเช้าจึงจะยกตามจัดสรร
ช้างม้าวัวควายมากมายครัน   แต่เงินทองของสำคัญใส่เรือไป
พระยาอำมาตย์พระราชให้เรือส่ง   ท่านผู้ใหญ่ทุกองค์นั่งไม่ได้
นำสำรับกับข้าวเฝ้าส่งไป                   ลาวทองลงท้องไหลเจ็บเต็มที
พระราชมารักษาหายาแก้   ยังนิ่งแน่นอนเสือกเกลือกขี้
แก้กันชุลมุนวุ่นเต็มที                   ขุนแผนร้องไฉนนี่อนิจจา
แต่เย็นจนค่ำย่ำยามยังไม่หยุด   เที่ยวเก็บยาอุตลุตกันหนักหนา
คางคกอึ่งอ่างเผาเคล้ากับยา   กันตามเถิดขายาสำคัญ
พลายแก้วรับยากรอกลาวทอง   กลืนเข้าไปเถิดน้องอย่าเดียดฉันท์
พอยาตกถึงท้องร้องดีครัน   ที่ลงนั้นก็หยุดสุดชื่นใจ
ลุกขึ้นกินข้าวต้มขนมผิง                   กล้วยหักมุกสุกปิ้งเกรียมเจียนไหม้
ค่อยมีแรงเติมแกงเลียงเข้าไป   ลุกขึ้นได้พูดจ้อขอตำรา
พระราชว่าตำราหลวงทิพยจักร   เจ้าของรักนักหวงหนักหนา
ให้ห้าชั่งแล้วก็ไม่ให้ราคา                   ส่วนขอยามาใช้ให้ดีดี
ลาวทองว่าพระคุณล้นเกศา   หาไม่ตัวข้าจะเป็นผี
จึงจัดลาวสาวสวยรูปรวยดี   จำเพาะมีนางแว่นถึงกึ่งราคา
กราบเท้าเจ้าคุณเป็นขวันเข้า   อยู่หัวเจ้าเอาไปใช้เป็นทาษา
แทนคุณเจ้าคุณเห็นคุณยา   พระราชว่าอย่าอย่ากลัวบาปกำม์
มันพลัดพรากพ่อแม่แลพี่น้อง   ไปหน่อยมันจะร้องพิไรร่ำ
พรากแม่พรากพ่อก่อเวรกำม์   เอามาถามปากคำให้แน่ใจ ฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 14:32


พิธีกรถามว่า ทำไมถึงต้องใส่ข้าวลงไป ชาวบ้านบอก "เพื่อให้มันนัวจ้ะ"

ตอนนี้คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหารอีสานแน่นอน (นัว = อร่อย.-ถิ่นอีสาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒)

เดาต่อไปว่าคงคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับแกงอ่อม ไม่งั้นก็ แกงยอดหวาย แกงหน่อไม้สด แกงหน่อไม้เปรี้ยว แกงขนุนอ่อน

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 18:08

เมื่อพระไวยสั่งให้ทำขนมเบื้องมาเอาใจพลายชุมพลนั้น       สร้อยฟ้าได้มาอยู่กับพระไวยได้กี่ปีแล้ว

คิดคร่าวๆว่าน่าจะหลายปีเพราะพลายชุมพลเกิดเมื่อขุนแผนประชุมพลก่อนยกไปเชียงใหม่

คิดถึงการทัพ  การเดินทาง(คิดแบบนานที่สุดก็ได้) การกวาดต้อนผู้ตนลงมา
บวกคดีขุนช้าง  การดำน้ำพิสูจน์   บวกคดีพระไวยไปพรากนางวันทองมา   ประหารนางวันทอง
พลายชุมพลหนีไปกาญจนบุรี อายุ ๗ ขวบ

เมื่อพลายชุมพลกับขุนแผนมาทำคดีสร้อยฟ้า ศรีมาลานั้น   สร้อยฟ้าและศรีมาลาเพิ่งท้อง
แสดงว่ามีครรภ์ช้า

เนื่องจากเสภามีผู้ประพันธ์หลายคน   ยกประโยชน์ให้ คนอ่าน




สร้อยฟ้าน่าจะออกเรือนมา  ๓ - ๔ ปีแล้ว     คงคุ้นเคยกับอาหารไทย
การทำอาหารและขนมพื้นมืองคงมีบ้างในบริเวณเรือนสองหลังของตนที่เป็นสัดส่วน

การกินเป็น  กับการทำเป็นนั้น  แตกต่างกันมาก




บรรยากาศของวรรณคดีเรื่องนี้เป็นเวลารัชกาลที่สอง   
การเลี้ยงดูขุนนางตามบ้านของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ หรือวังของเจ้านาย  เกิดขึ้นเป็นประจำ
นักขับเสภาย่อมรู้เห็น



เรือนของจมื่นไวยเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีอาหารมากมายไว้รับรองเพื่อนฝูง


พลายชุมพลเป็นน้องรัก  มีหน้าที่คอยเลื่อนสำรับ

เสภาคำครูแจ้ง
(รักษาตัวสะกดเดิม)

ชุมพลเลื่อนขยับสำรับให้                          นั่งจารไนยทุกสิ่งสรรพ์
แกงหมูฉู่ฉี่หมี่ทอดมัน                              ไข่จัละเม็ดห่อหมกทั้งจันลอน
ไส้กรอกหมูแนมแกมทองหลาง                    ปลาดุกย่างกะปิขั้วใบบัวอ่อน
แกงปลาไหลไก่แพนงแกงร้อน                     ปลาโคกลครเขื่องคับปากดี


เด็กที่ขึ้นนั่งเคียงแล้วขยับสำรับพี่ชายกินนั้น  เป็นมารยาทการเอาอกเอาใจอย่างหนึ่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 18:13

นางสร้อยฟ้า    ไม่มีทางจะรู้ได้ว่า  อาหารและขนมไทยนั้น  มีเคล็ดมากมายแค่ไหน

คู่แข่งที่ชำนาญงานอย่างศรีมาลา   น่าจะกะการได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 18:21

คุณย่าทองประศรี    หรือนางเสือประจำเรือน   ถือโอกาสด่านางสร้อยฟ้า  ว่า ลาวจัญไร
หมาขี้เรื้อน


ศรีมาลาเพียงแต่ชายตาดูเท่านั้น


เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน  ขับกันในสมัยรัชกาลที่สอง หรือสาม
การมอง ลาว  ว่า ด้อยกว่า ไทยนั้น   มีมาตลอด
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 09 พ.ย. 09, 18:37

ขอคุยกับคุณ  TIRAV    ว่า


รูปยาซิกาแรตไทย  ที่ออกมาเป็นชุด ๆ นั้น        เป็นของส่งมาจากเยอรมันที่เก็บเอาไว้นานมากแล้ว
ดิฉันได้มาจากร้่านป้าวิมล(ผู้ล่วงลับไปแล้ว/คิดถึงจัง/นักอ่าน)ในราคาไม่ตกใจจนต้องวิ่งหนี

ร้านหนังสือเก่าในจตุจักรที่มีอยู่ก็เป็นรุ่น "ทิ้งเทอะน่า"   เพราะ กระดาษพองเกือบหมดสภาพ    ดำ  และเปื้อนอาจมทั้งปวง


ต่อมามี ซีคอน มีกลุ่มของเก่านำมาขายเหมือนกัน  สภาพดี  และเป็นชุดเจ้านาย  ของ บริษัมยาสูบซำมุ้ย  ออกมาในปี ๒๔๗๗


ไม่ต้องคอยเวลาอีกแล้ว   ตอนนี้หาหนังสือกันที  ก็ถามถึงอาจารย์ญี่ปุ่นทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 10 พ.ย. 09, 08:55

เรื่องฝีมือการทำขนมเบื้องนี่  สมัยต้นรัตนดกสินทร์คงถือเป็นศิลปะการทำอาหารชั้นสูงที่ต้องฝึกฝนกันนานกว่าจะทำได้และทำได้สวยงามสม่ำเสมอ  เสียดายว่าหลักฐานที่เก่าถึงยุดต้นกรุงรัตนโกสินทร์เกี่ยวกับการทำขนมเบื้องนั้นหาไม่ได้เลย  มามีเอกสารกล่าวถึงในสมัยหลังมากๆ เช่น ในโคลงพระราชพิธีทวาทศมาส พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  กล่าวถึงพระราชพิธีพระราชกุศลเลี้ยงขนมเบื้อง ไว้ว่า

๐ในราชนิเวศน์เจ้า     จอมกษัตริย์
วันสุริยออกสุดปัด       กลับเยื้อง
ส่ำสงฆ์เหล่าปริยัติ       สมถะ   อีกเอย
แปดสิบฉันขนมเบื้อง   หนึ่งครั้งคราวปีฯ

๐กรมพระปวเรศเจ้า     จอมสงฆ์
อีกหม่อมเจ้าห้าองค์     แฉกล้วน
ราชาเจ็ดสิบคง           เศษสี่     อีกนา
รวมแฉกงาสานถ้วน     ครบได้ดังนิมนต์ฯ

๐เนาในพระที่นั่งอ้าง    อมรินทร์
พระเสด็จออกทรงศีล   เสร็จแล้ว
ทรงถวายโภชนบิณฑ์   บาตทั่ว   สงฆ์เฮย
ทนายเลือกหอกกลั่นแกล้ว    ยกตั้งคาวถวายฯ

๐กรมวังนั้นได้ยก         ของหวาน
อีกกับรับนักงาน           เก็บช้อน
ขนมเบื้องฉซะใส่จาน    คอยวิ่ง  ไวนา
เร็วรีบทันร้อนร้อน         อิ่มกุ้งหวานเติมฯ

๐บางองค์ที่ชอบแล้ว     ฉันหลาย
จริงจุเฟอะฟูมฟาย        ห่อนยั้ง
นั่งเคี้ยวแต่ตามสบาย    เติมบ่อย
ปีหนึ่งฉันได้ครั้ง           หนึ่งนั้นนานมีฯ

๐ร้อนร้อนอ่อนอ่อนเคี้ยว    ย้ำเหยอ
คว้ากริ่มอิ่มออกเรอ       เลิกกุ้ง
ซ้ำหวานล่อพล้ำเผลอ    อร่อยรส   นักนา
กินดั่งว่าท้องยุ้ง            ไม่น้อนกองโตฯ

๐ลางองค์ไม่สู้ชอบ        ใจฉัน  นักเอย
ได้สี่อันห้าอัน               อิ่มอื้อ
เล้กน้อยค่อยคอยกัน      รออิ่ม
เป็นแต่ราชการมื้อ          หนึ่งให้พอควรฯ

บางองคืนั้นชอบเหล้น   หน้าหมู
อย่างหนึ่งหน้าปลาทู       ชอบบ้าง
อย่างญวนก็น่าดู             ลางชอบ   แนเฮย
รีบเร่งเคี้ยวกลัวค้าง         ย่ำย้ำเลยกลืนฯ


๐คาวแล้วยกเลิกตั้ง        ของหวาน
ถึงทิวาเกือบกาล            กึ่งฟ้า
ต่างแนต่างประมาณ        ควรอิ่ม   อิ่มเอย
ฉันอีกน้ำชาช้า              หน่อยน้อยพอดีฯ

๐ฉันเสร็จสำเร็จแล้ว       ยถา
จบจึ่งอติเรกลา              ราชเจ้า
ต่างองค์อุฏฐายา           สนะออก   มาเอย
จากพระโรงที่เฝ้า           ยาตรเต้าตามควรฯ

๐ขนมเบื้องบอกทั่วทั้ง    ราชฐาน
เถ้าแก่แลพนักงาน         ท่านท้าว
หนึ่งพวกท่านจอมมาร-   ดาเก่า     เกณฑ์แฮ
ทำทุกพระองค์เจ้า          แต่ล้วนฝ่ายในฯ

๐ขนมเบื้องนี้หากต้อง     จำเพาะ   คราวฤา
กุ้งมากมีมันเหมาะ          จึ่งได้
อาทิตย์สุดใต้เจาะ           จงบอก   วันเฮย
มีราชบัญญัติไว้              แต่ครั้งแปดมะโรงฯ

๐น้ำลดลงหลิ่งแห้ง          รวมคลอง
ไหลตกห้วงบึงหนอง        ใหญ่น้อย
กุ้งปลาชุกชุมปอง           ประโยชน์เหล่า    ชนนา
หนองหนึ่งนับร้อยร้อย      อย่างน้อยเรือนพันฯ

ถ้าไปอ่านในพระราชพิธีสิบสองเดือน  พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕   มีแต่ข้อความพระราชพิธีพระราชกุศลนี้แต่ย่อๆเพียงย่อหน้าเดียว จากโคลงที่ยกมา ทำให้รู้ว่า สมัยก่อน ท่านทำทั้งขนมเบื้องคาวหลายหลากหน้าและขนมเบื้องหวาน  แต่สมัยนี้เหลือขนมเบื้องหวานเพียงอย่างเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.598 วินาที กับ 20 คำสั่ง