เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 60504 ชาติพันธุ์วรรณา ในขุนช้างขุนแผน (๒)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 15:59

ขอบพระคุณ คุณเทาชมพูที่ช่วยชี้แนะ กลับไปแก้ไข #๑๑๗ เรียบร้อยแล้ว

ถึงคีรีนามนี้ต้องเป็นเขา              จะไปเข้าศาลใดที่ไหนนั่น
กลับไปดูและแก้ไขในฉับพลัน       ที่ถูกนั้น เขาศาล หนอ...ขออภัย

  เศร้า


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 16:16

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ดูแผนที่ดีกว่าครับ

จากหนังสือ นิราศทัพเวียงจันท์ (มติชน ๒๕๔๔) หน้า ๗๙ ครับ



บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 16:17

มัวเพลิดเพลินหลงทางกลางอักษร               ต้องรีบจรก่อนหนา ค่ำมาใหม่
มีเส้นทางอีกหลายทางผ่านกลางไพร           มีคลื่นใหญ่อีกหลายครั้ง ยังให้เมา
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 16:28

ตามแผนที่ คคห. ข้างต้นนี้เรียกเขาศาลว่าช่องข้าวสาร (ในบทกลอนสะกดอย่างโบราณว่า ช่องเข้าสาร)

ในจดหมายเหตุระยะทาง ฯ (เล่มเดียวกัน) มีชื่อ ด่านเข้าสาร บ้านเข้าสาร เข้าใจว่าด่านเข้าสารกับช่องเข้าสารจะเป็นที่เดียวกันครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 17:03

เอาละวาจะเขาศาลหรือข้าวสาร  คงไม่นานตีความได้ไม่อับเฉา
จะเป็นด่านหรือเป็นบ้านก็งานเบา ถ้าพวกเราช่วยสะกิดไม่ผิดใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 19:10

พระเจ้าเชียงใหม่มาดักชิงเจ้าหญิงเวียงจันทน์   ถึงอีสาน     ดูเส้นทางมันจะไกลไปหน่อยค่ะ  อย่างที่คุณ N.C.ว่า
ถ้าเป็นหลวงพระบางก็น่าจะลงตัวกว่า     แต่กวีท่านว่าเวียงจันทน์ก็ต้องเวียงจันทน์

มาเล่าเรื่องต่อ
พระเจ้าเชียงใหม่ใช้หน่วยข่าวกรองชื่อมหาปาดไปสืบข่าวถึงเวียงจันทน์    แกก็ขี่ม้าฝ่าดงไปถึงเวียงจันทน์  ได้ความแล้วกลับเชียงใหม่ ใช้เวลาจากอีสานกลับขึ้นเหนือ ๗ วัน  แต่เส้นทางต้องผ่านอะไรบ้าง กวีไม่ยักบอก
อาจเป็นเพราะไม่แม่นเส้นทาง  หรือรวบรัดเพราะเป็นเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆไม่สำคัญ

จากนั้น แม่ทัพเชียงใหม่ชื่อแสนตรีเพชรกล้า คุมพลมาดักชิงนางกลางทาง  ระบุว่า ออกจากเชียงใหม่ ตรงมาทางภูเวียง
แต่เลี่ยงเขาใหญ่ ไม่ข้ามไป  หยุดทัพไว้แค่เชิงดอย (เชิงดอย เดาว่าหมายถึงตีนเขาใหญ่)
ส่วนพระเจ้าล้านช้างก็ส่งลูกสาวมากับทัพอยุธยา  มีพระท้ายน้ำคุมพล    บอกเส้นทางว่าผ่านภูเขียว  ซึ่งเป็นชายแดนต่อระหว่างลาวกับเชียงใหม่     ตรงนี้อันตราย
จากนั้น จะเข้าเขตโคราช   ถึงลำชีก็จะปลอดภัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 19:12

นางสร้อยทองเดินป่ามาจนถึงภูเวียง  ก็หยุดพักกัน   แสนตรีเพชรกล้าที่ซุมดักอยู่ก็จู่โจม  ตรงนี้ระบุชื่อไว้ว่า "ปางคา" ไม่รู้ว่าเป็นชื่อตำบลหรืออะไร   

พวกสอดแนมมาแถลงให้แจ้งใจ               ว่าลาวไทยกับนางอยู่ปางคา

คลื่นชักจะมาอีกระลอก ต้องส่งเรือชูชีพให้คุณเพ็ญชมพูช่วย ด่วน

ส่วนเส้นทางยกทัพจากอยุธยาขึ้นไปตีเชียงใหม่   เริ่มต้นจากเคลื่อนทัพที่วัดใหม่ชัยชุมพล   ค่ำลงพักที่"พิตเพียน"  เช้าเดินทางต่อไปที่ "บ้านดาบก่งธนู"  ขุนแผนไปขุดเอาดาบฟ้าฟื้นที่ฝังไว้ขึ้นมา

ค่ำแวะพักที่ลพบุรี   เช้าเดินทัพตัดบางขาม ข้ามบ้านด่านโพธิ์ชัย   ไปถึงแขวงอู่ตะเภา  ตรงไปหัวแดนภูเขาทอง หนองบัว ห้วยเฉียง   เลี่ยงชายเขาตรงไปทุ่งหลวง  พักคืนหนึ่งแล้วก็เดินทัพต่อไปถึงเมืองพิจิตร
จากพิจิตร  คำบรรยายเส้นทางชวนปวดหัว  คือไม่รู้ว่าเป็นชื่อตำบลหรือบรรยายธรรมชาติ

กองทัพยกออกนอกพิจิตร    ต้องเลียบชิดบึงบางที่ขวางหน้า
บางแห่งใหญ่โตมโหฬาร์      เป็นที่ปลาอาศัยทั้งใหญ่น้อย

อ่านแล้วเข้าใจว่าเป็นบึงหลายแห่ง อยู่ใกล้ๆกัน   แต่มาถึงอีกหน้าหนึ่ง  บอกว่า

พอพ้นแนวหนองคลองบึงบาง              ก็เลี้ยวลัดตัดทางมากลางป่า

บึงบาง เป็นชื่อคลอง เสียแล้วหรือ   หรือชื่อตำบลคลองบึงบาง?

อย่างไรก็ตาม จากพิจิตร ทัพยกผ่านป่าไปถึงพิษณุโลก      สังเกตว่าเส้นทางเดินทัพ ไม่ได้ไปตามแม่น้ำ  บุกป่าฝ่าดง   บรรยายป่ามาตลอดทาง
ออกจากพิษณุโลก  ไปเมืองพิชัย  แล้วไปบ้านไกร ป่าแฝก  ถึงศรีสัชนาลัย  สวรรคโลก   ตัดข้ามเขตระแหง  ถึงเถิน แล้วหยุดทัพที่หนองโคกเต่า นอกเชียงใหม่ ไม่ยกทัพเข้าเมือง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 04 พ.ย. 09, 19:15

เห็นหลายท่านสนุกกับเส้นทางเดินทัพ    ดิฉันก็เลยหามาให้แกะรอยหลายเส้นทาง
จบเรื่องเส้นทางเมื่อไร จะเล่าถึงคำสอนของพระนางเกสรต่อเจ้าหญิงสร้อยทอง   ก่อนเธอลามาเป็นฝ่ายในของพระพันวษา
เป็นคำสอนที่สง่างามมาก   น่าจะเป็นของจริงของชาววังสมัยรัตนโกสินทร์
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 05 พ.ย. 09, 06:56

คำว่า "เข้า" เป็นคำเดียวกับคำว่า "ข้าว" ครับ
ในเอกสารเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังใช้ "เข้า" อยู่  มาเปลี่ยนเป็น "ข้าว" สมัยใดไม่ทราบชัด  แต่ภาษาพูดของชาวอีสานยังออกเสียง "เข้า" อยู่

สำหรับตอนที่ว่า สายสืบขี่มเจากเวียงจันทร์กลับเชียงใหม่ใน ๗ วัน  ดูอย่างไรก็ไม่น่าจะเป็นไปได้  เพราะเส้นทางจากเชียงใหม่ไปเวียงจันทร์ดูไม่ออกว่าจะขี่ม้าไปได้อย่างไร
ยิ่งเส้นทางบุกป่าฝ่าดงจากพิจิตรไปพิษณุโลก  ที่ว่าผ่านบึงใหญ่  บึงนั้นคือบึงสีไฟที่อยู่ใกล้กับตัวเมืองพิจิตรเก่าซึ่งอยู่ริมน้ำยม  แต่เมืองพิษณุโลกอยู่ริมน้ำน่าน 
อีกประการการเดินทางจากปากน้ำโพขึ้นไปเมืองพิชัย  ถ้าเดินทัพผ่านลำน้ำน่านซึ่งมีน้ำบริบูร์ตลอดปี  ทั้งไม่มีแก่งเป็นอุปสรรคเหมือนกับลำน้ำปิง  ย่อมสะดวกกว่าบุกป้าฝ่าดงไปทางบกมากนัก
ยิ่งเดินทัพจากเมืองพิชัย  ศรีสัชนาลัย  สวรรคโลก  ไประแหง  แล้วยกไปเมืองเถิน  นี้ยิ่งแปลกประหลาดไปใหญ่  เพราะเป็นการเดินทัพแอมจากตะวันออกไปตะวันตกแล้วจึงตัดขึ้นเหนือ
หรือว่าการเดินทัพอ้อมโลกเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมไพร่พลเสริมทัพ

ดูจากการบรรยายเส้นทางเดินทัพ  ดูเหมือนกวีผู้แต่งท่านจะชำนาญเส้นทางเดินทัพไปเวียงจันทร์  ผ่านภาคอีสานมากกว่าทางเชียงใหม่ที่ดูออกจะมั่วๆ พิกล 
แล้วเรื่องวัฒนธรรมอาหาร  เชียงใหม่กับเวียงจันทร์ก็ออกจะต่างกัน  อาหารเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากพม่าไม่น้อย  นอกจากนั้นอาหารเชียงใหม่กับหลวงพระบางก็มีความละม้ายกันอยู่ไม่น้อย 
แต่วัฒนธรรมอาหารทางเวียงจันทร์จะเหมือนกับภาคอีสานมากกว่า  ที่สำคัญอาหารอีสานมี "ปลาแดก" เป็นอาหารหลัก  ในขณะที่อาหารเชียงใหม่ไม่นิยมปลาร้า  แต่เน้นเครื่องเทศมากกว่าอาหารอีสาน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 05 พ.ย. 09, 07:29

สวัสดีตอนเช้าครับคุณวีหมี ผมกำลังจะมาแสดงความเห็นพอดี บังเอิญคล้ายที่คุณวีหมีว่าไว้คือท่านผู้แต่งท่านด้นกลอนของท่านไปตามเรื่อง สุดที่ผู้อ่านสมัยนี้จะทำใจเชื่อเรื่องทางเดินทัพได้ ผมตัดตอนให้ดูตั้งแต่พิษณุโลกไปเถิน จะเห็นว่าท่านเล่นอ้อมไปอ้อมมาซะอย่างงั้น แล้วจากเถินไปเชียงใหม่ช่วงนั้นเป็นภูเขาทั้งสิ้น ท่านไม่ได้บรรยายอะไรไว้เลยใช่ไหมครับ

คือผมอยากสรุปว่า เรื่องการเดินทัพที่พวกผม(เรียกว่าพวกผู้ชายก็ได้)เอามาเล่นสนุกกันอยู่นี่ มันเป็นแค่น้ำจิ้ม หาเนื้อหาหนังไปทำประโยชน์ไม่ค่อยจะได้ นึกแค่จะเอาไว้สลับฉากเท่านั้น ความจริงก็อยากฟังอรรถรสทางวรรณคดี และเนื้อหาที่มีค่าของขุนช้างขุนแผนมากกว่า ท่านอาจารย์พาเข้าเรื่องเลยดีกว่าครับ เดี๋ยวพวกผู้หญิงกลับบ้านหมด นี่คุณวันดีก็หายไปแล้ว ไม่รู้ว่าผู้ปกครองมารับไปแล้วหรือไฉน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 05 พ.ย. 09, 09:03

เอาละวาจะเขาศาลหรือข้าวสาร  คงไม่นานตีความได้ไม่อับเฉา
จะเป็นด่านหรือเป็นบ้านก็งานเบา ถ้าพวกเราช่วยสะกิดไม่ผิดใจ


แผนที่ของคุณม้า # ๑๒๑ เป็นข้อมูลหนึ่งเกี่ยวกับชื่อของช่องเขาแห่งนี้ ในเอกสารปัจจุบันปรากฏทั้งสองชื่อ ช่องเขาสาร และ ช่องข้าวสาร

คำว่า "เข้า" เป็นคำเดียวกับคำว่า "ข้าว" ครับ
ในเอกสารเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังใช้ "เข้า" อยู่  มาเปลี่ยนเป็น "ข้าว" สมัยใดไม่ทราบชัด  แต่ภาษาพูดของชาวอีสานยังออกเสียง "เข้า" อยู่

ขออนุญาตดำเนินรายการภาษาไทยวันละคำ

 ยิงฟันยิ้ม

ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ ๑ มีคำว่า "เข้า" อยู่ ๕ ความหมาย คือ

เข้า ๑ น.   ข้าว เช่นในน้ำมีปลา ในนามีเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๙) เยียเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓)

เข้า ๒ น.   ข้าวของ เช่น เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พึน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๗)

เข้า ๓ น.   ปี, ขวบ, เช่น เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๔) ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า (ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๒) ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลายเห็นการทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึงเอาฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือ หกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว (ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๔ - ๘)

(คำว่า "เข้า" ทั้ง ๓ ความหมายที่ใช้ ข ไข่ และสระเอาไม้โท เหมือน กันหมด แต่เครื่องหมายวรรณยุกต์โท ในสมัยนั้นเขียนเป็นรูปวรรณยุกต์จัตวา)

เข้า ๔ ก., ว. เข้า เช่น ขุนสามชนเกลื่อนเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๖) กูขับเข้าก่อนพ่อกู (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗) เมื่อจักเข้ามาเวียง (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๗) เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๒)

เข้า ๕ ก.    เข้าข้าง, เป็นฝักฝ่าย, เช่น บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๖)

(คำว่า "เข้า" ในความหมายที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นคำกริยานั้น ในศิลาจารึกใช้ ฃ ขวด และใช้สระเอา วรรณยุกต์โทเช่นกัน)

คำว่า "ข้าว" นั้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ ยังเขียนเป็น "เข้า" อยู่ เข้าใจว่ามาแยกเขียนเป็น "เข้า" ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้เอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้เก็บคำว่า "เข้า ๒" ไว้ และบอกว่าเป็นคำโบราณ หมายความว่า "ข้าว; ขวบปี" ส่วนที่เป็นชื่อไม้ล้มลุก ในวงศ์ Gramineae (แกรมินีอี) เมล็ดใช้เป็นอาหารนั้น เขียนว่า "ข้าว"

ข้อมูลจากบทความในรายการวิทยุภาษาไทย ๕ นาที โดย ศ. จำนงค์ ทองประเสริฐ  ๒๗  มกราคม  ๒๕๓๕ และ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๖
http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt046.html
http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt143.html








บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 05 พ.ย. 09, 09:37

แผนที่แสดงจุดเกิดเหตุการณ์สำคัญในศึกเจ้าอนุวงศ์ตั้งแต่ปี ๒๓๖๙ - ๒๓๗๑ สัญลักษณ์ดาบไขว้คือจุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ เส้นเขตแดนที่ปรากฎนั้นเพียงแสดงตำแหน่งสถานที่ให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้พึงตระหนักว่า เส้นเขตแดนดังกล่าวเพิ่งถูกขีดขึ้นเมื่อไม่ถึงศตวรรษมานี้เอง (ภาพประกอบ : เฉลิมชาติ เจริญดียิ่ง)
หมายเหตุ ในแผนที่นี้เขียนชื่อเป็น ช่องเขาสาร

จากบทความเรื่อง จากเวียงจันทน์ ถึงบางกอก ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว นิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๒๙๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ปีที่ ๒๕
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=932

 
 

 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 05 พ.ย. 09, 10:00

ตอนหนึ่งของบันทึกลับในราชการสงคราม เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) อาญาสิทธิ์แม่ทัพใหญ่ฝ่ายตะวันออก เอกสารสมบัติของขุนนคเรศฯ

ฝ่ายเจ้าอนุคิดจัดการตั้งค่ายรับสู้รบกับสยามหลายตำบล โดยจักตั้งค่ายใหญ่ที่หนองบัวลำพู จึ่งสั่งให้ พระยานรินทร์คุมพลสามพันอยู่เป็นนายค่ายที่นั่น แล้วเจ้าอนุก็จักยกขึ้นไปตั้งค่ายที่ช่องเขาสารแห่งหนึ่ง ช่องเขาสาร เป็นที่สำคัญเพราะเป็นทางสองแพร่ง แยกรวมจักไปเมืองเวียงจันทร์ ให้ พระยาศุโภกับชานนท์ เป็นนายทัพคุมพลสองหมื่นตั้งรักษาค่ายที่ตำบลนั้นให้มั่นคง แต่เจ้าอนุจักตั้งค่ายใหญ่บนเขาสาร .....

จากนั้นเจ้าอนุจึ่งนำพลยกขึ้นไปเถิงที่ตำบลเขาสาร อันเป็นทางช่องแคบแลเป็นทางสองแพร่ง เจ้าอนุสั่งให้หยุดพักพล แล้วจึ่งให้ตั้งค่ายเจ็ดค่าย ชักปีกกาเถิงกันขุดสนามเพลาะปักขวากหนามทำการมั่นคง แลตั้งค่ายละเมาะปีกกาเป็นวงภาสโอบเขาลงไป เถิงเชิงเขาสองด้านเป็นที่รับข้าศึกสยาม ครั้นเจ้าอนุจัดการตั้งค่ายคูประตูหอรบที่เขาสารเสร็จแล้วจึ่งสั่งให้ เจ้าสุทธิสาร บุตรผู้ใหญ่ ถืออาญาสิทธิ์ เป็นแม่ทัพใหญ่ได้บังคับบัญชาทุกทัพทุกกองกอง คุมทหารสองหมื่นอยู่รักษาค่ายเขาสารทั้งเจ็ดค่าย....

ทัพสยามทางด้านเหนือ เจ้าพระยาอภัยภูธร ที่สมุหนายกแม่ทัพฝ่ายเหนือ ยกกองทัพขึ้นไปเถิงเมืองหล่มศักดิ์ ในเพลานัดหมายกับกองทัพของพระยาเพชรพิชัย กับ พระยาไกรโกษา ทัพสยามทั้งสองจึ่งรวมกำลังกันเข้าตีกองทัพลาว เจ้าราชวงศ์จนแตกหนี ไป  เจ้าราชวงศ์ให้จับตัวพระสุริยวงศาธิบดีเจ้าเมืองหล่มศักดิ์ไปด้วย เร่งหนีทัพสยามข้ามเข้าสู่ ค่ายเขาสาร ซึ่งเจ้าอนุตั้งค่ายหลวงอยู่นั้น


http://www.oknation.net/blog/only1/2007/09/17/entry-2
http://www.oknation.net/blog/only1/2007/09/25/entry-1


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 05 พ.ย. 09, 10:13

ช่องข้าวสารในปัจจุบัน หรือ ช่องเขาสารในอดีต หนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่กองทหารสยามเดินทัพผ่านในศึกเจ้าอนุวงศ์ เมื่อพ้นช่องเขานี้จะเป็นทางราบยาว ๘๐ กิโลเมตรเข้าสู่เวียงจันทน์

สมภาร โวหารา คนเลี้ยงวัวที่ช่องเขาสาร เล่าตำนานที่อาจตกค้างมาจากสงครามครั้งอดีตให้ฟังว่า

ดนแล้ว (นานแล้ว) คนแก่เล่าว่ามีข้าวสารผุดขึ้นจากบ่อน้ำแถวนี้ เลยเรียก 'ช่องข้าวสาร' มีคนเว้า (พูด) ต่อมาว่าตรงนี้เป็นเส้นทางเดินทัพเก่า แต่ไม่รู้ว่าใครรบกับใคร

จากบทความในหนังสือเล่มเดียวกัน # ๑๓๑



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 05 พ.ย. 09, 14:24

ไม่ได้เข้ามาดูสองสามวัน  กระทู้คืบหน้าไปเยอะเลย  เรื่องเส้นทางที่ทูตล้านช้างเดินทางมากรุงศรีอยุธยานั้น  ยังไม่ขอแสดงความเห็นเพราะคิดว่าระยะทางเดินทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ครั้งรัชกาลที่ ๓ มีจดหมายเหตุจดแจงระยะทางไว้ละเอียดชัดเจนอยู่แล้ว  จะผิดกันบ้างก็คงไม่มากนัก

แต่ที่จะขอแทรกเกร็ดสักเล็กน้อย คือ เรื่องพระราชปฏิสันถารของสมเด็จพระพันวษาที่รับสั่งแก่ทูตล้านช้างเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ   ตรงนี้มีธรรมเนียมปฏิบัติว่า

พระมหากษัตริย์จะมีพระราชปฏิสันถารพระราชทานแก่ทูตเมืองใด  ย่อมทรงปฏิบัติดังนี้ 
ถ้าเป็นแขกเมืองใหญ่ จะมีพระราชปฏิสันถาร ๗ นัด ๙ นัด
ถ้าเป็นแขกเมืองน้อย  จะมีพระราชปฏิสันถาร ๓ นัด ๕ นัด

กรณีมีพระราชปฏิสันถาร  ๗ นัด มีรับสั่งถามทูตดังนี้
๑ พระศาสนารุ่งเรืองดีอยู่ฤา (กรณีที่บ้านเมืองนั้นนับถือพุทธศาสนาเหมือนกรุงศรีอยุธยา)
๒ ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์อยู่ฤา
๓ ฝนฟ้านั้นบริบูรณ์อยู่ฤา
๔ พ้นจากโรคภัยอยู่ฤา
๕ บ้านเมืองนั้นพ้นจากโจรผู้ร้ายเบียดเบียนอยู่ฤา
๖ พระมหากษัตริย์เป็นธรรมอยู่ฤา
๗ เสนาอมาตย์อยู่ในธรรมฤา

ธรรมเนียมอย่างนี้ปรากฏอยู่ในคำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิมพ์ เมื่อ ๒๕๔๗ กับในหนังสือคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม  (จริงๆ ก็คือคำให้การขุนหลวงหาวัด ที่พลัดฉบับออกมา แต่คนเข้าใจว่าเป็นคำให้การคนละฉบับ)

ในกรณีทูตล้านช้าง มีพระราชปฏิสันถารว่า

อนึ่งกรุงนาคบุรี                    ข้าวกล้านาดีฤๅไฉน 
ฤๅฝนแล้งข้าวแพงมีไภย         ศึกเสือเหนือใต้สงบดี 
ทั้งองค์พระเจ้าเวียงจันท์         ทรงธรรม์เป็นสุขเกษมศรี 
ไม่มีโรคายายี                      อยู่ดีฤๅอย่างไรในเวียงจันท์

อย่างนี้นับว่า ทูตล้านช้างเป็นแขกเมืองน้อย จึงมีพระปฏิสันถาร ๕ นัด  ธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนี้คงปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย ดังปรากฏในจดหมายเหตุรายวันสมเด็จเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ทรงบันทึกว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ซึ่งทรงได้รับการสถาปนาเป็นสยามมกุฎราชกุมารแล้วนั้น เสด็จออกรับแขกเมืองต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ นำสิ่งของมาทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสที่ที่ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสยามมกุฎราชกุมาร แต่แขกเมืองเหล่านั้นเดินทางมาร่วมพระราชพิธีไม่ทัน  จึงได้มาเฝ้าฯ ภายหลัง  ในการนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าก็ได้มีพระราชปฏิสันถารทักแขกเมืองตามธรรมเนียมนี้ด้วยเช่นกัน 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง