เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 60633 ชาติพันธุ์วรรณา ในขุนช้างขุนแผน (๒)
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 ต.ค. 09, 22:07

ปิหลั่น น่าจะมีรูปลักษณ์ประมาณนี้นะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 ต.ค. 09, 07:27

จากจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดารามครับ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 ต.ค. 09, 07:45

ถ้าเทียบรูปกับค่ายปิหลั่นในเสภาขุนช้างขุนแผนก็ดี ข้อความในบทละครในเรื่องอิเหนาก็ดี  รูปที่เอาแสดงนี้ยังไม่น่าจะใช่ ค่ายปิหลั่น ที่ว่า  เพราะในรูปดูเป็นค่ายที่ลงหลักมั่นคง คงจะเคลื่อนย้ายเข้าหาข้าศึกได้ลำบากอยู่  ปิหลั่นน่าจะเป็นกระดานไม้แผ่นใหญ่และหนา  ไม่น่าจะเป็นเสาไม้ระเนียดธรรมดา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 ต.ค. 09, 08:01

ปิหลั่นคือค่ายที่ขยับเคลื่อนทีรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย

เห็นมากับ ทุบทู  ซึ่งเป็น เครื่องกำบังตัวเป็นแผงยาว  เคลื่อนที่ได้ใช้ป้องกันอาวุธ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 ต.ค. 09, 09:48

เข้าใจแล้ว  ค่ายปิหลั่น สรุปง่ายๆคือค่ายเคลื่อนที่  หรือค่ายยกได้

รูปค่ายที่คุณ Navarat C. เอามาให้ลง   ไม่รู้ว่าถอนจากพื้นดิน เคลื่อนที่ได้ง่ายหรือเปล่าคะ 
ไม่แน่ใจว่าเวลายังไม่ได้ใช้งาน  ปักไว้บนดินเหมือนกำแพงกั้นธรรมดา  หรือว่าเป็นคล้ายๆฉากพับ  เอากองไว้บนพื้นดิน  พอจะใช้ก็ยกขึ้นมาตั้งกำบัง

การรบด้วยค่ายปิหลั่น แบบศึกเชียงทอง  เป็นวิธีเดียวกับการรบระหว่างไทยกับลาว ในศึกเจ้าอนุวงศ์ รัชกาลที่ ๓

"เมื่อเคลื่อนใกล้ค่ายลาวที่ทุ่งซ่มป่อย กรมหมื่นแม่ทัพทั้งสองพระองค์ จึ่งมีรับสั่งให้กองทัพหน้าทั้งห้ากอง ซึ่งยกล่วง หน้าขึ้นมาก่อน ให้ยกเข้าตั้งค่ายประชิดไว้หลายด้าน แลให้มีค่ายสีขุกรุกเฝือก ค่ายทุบทู ค่ายปิหลั่น แลทำบันไดหกพาดดอกไม้เพลิง ไฟพะเนียง ดวงพลุ ไว้จักได้ปล้นค่ายพร้อมเสร็จ"

จาก "บันทึกลับในราชการสงคราม"  ของ  เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=118625


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 ต.ค. 09, 12:22

ค่ายในตระกูลเคลื่อนย้ายได้นี้ ทั้งค่ายสีขุกรุกเฝือก ค่ายทุบทู ค่ายปิหลั่น น่าจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่นค่ายสีขุกรุกเฝือกน่าจะเป็นประเภทเผือกไม้ไผ่ มีน้ำหนักเบามากๆ พอใช้กันอาวุธหอกดาบ หรือทูนไว้เหนือศีรษะเพื่อป้องกันธนูที่ยิงมาจากที่สูงได้ แต่ลูกปืน ทั้งปืนยาวปืนใหญ่คงจะต้านไม่อยู่

ค่ายทุบทู น่าจะแข็งแรงขึ้นมาหน่อยแลกกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ได้อ่านพบว่าพม่าใช้ไม้ตาลมาทำทุบทู กำบังอุโมงค์เข้าขุดฐานกำแพงกรุงศรีคราวเสียกรุงครั้งที่2

ส่วนค่ายปิหลั่น อ่านเนื้อเรื่องแล้วแม้ยังคงประกอบด้วยชิ้นส่วนที่นำไม้หนาๆมายึดติดเข้าด้วยกัน แต่ก็ฟังดูน่าจะเป็นค่ายกึ่งถาวรที่ต้องแข็งแรงกว่า2แบบแรกเพราะมีชักปีกกาได้  ผมปักใจเชื่อว่าจะต้องมีการขุดร่องฝังปลายลงดินแน่นอน แม้จะไม่ได้ลึกนัก และค้ำด้านบนไว้ ไม่ใช่ข้าศึกฮุย-เล-ฮุยเข้ามาดันทีเดียวล้มกระจาย น่าจะคล้ายๆภาพแรกที่ผมเอามาลง หากภาพนั้นคงสูงไปนิดนึง ถ้าคิดว่าจะต้องเคลื่อนย้ายได้รวดเร็วในการศึกที่ต้องรุกตามการถอยเป็นจังหวะของศัตรู

ภาพวาดในเรื่องรามเกียรติ์ที่ผมเอาดูจะเนี๊ยบไปนิด แต่ก็มีผนังค่ายเป็นไม้ท่อน ไม่ใช่ไม้กลม การเป็นไม้ท่อนที่มีหน้าระนาบแบนๆทำให้ง่ายต่อการเข้าไม้ให้ขบกันเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงดีกว่าไม้เสากลมๆ จึงอาจรื้อออกแล้วประกอบใหม่ได้ถ้าต้องการ

ภาพข้างล่างนี้เป็นค่ายพม่าในประมาณต้นรัชกาลที่5 รบกับฝรั่งมา3ครั้งแต่พม่าก็ยังใช้เทคโนโลยีแบบเดิมๆที่ใช้ได้ดีเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา ในภาพจะเห็นการผูกเครื่องไม้ อย่างน้อยก็มี2แบบ ค่ายรบของทหารในภูมิภาคนี้ ทำขนาดนี้ก็หรูเลิศแล้วถ้ารบกันเองระหว่างบ้านพี่เมืองน้อง แต่ฝรั่งเล่นขนเอาปืนใหญ่ที่รบกับนโปเลียนเข้ามายิงพม่าตั้งแต่สงครามครั้งแรก ค่ายไม้เหล่านี้เลยกลายเป็นไม้จิ้มฟันฝรั่งไปโดยพลัน


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 28 ต.ค. 09, 16:35

ขอดูรูปอื่นๆ ให้มากกว่านี้ก่อนดีกว่าครับ  ตอนนี้ยังไม่ขอสรุปว่าใช่ค่ายปิหลั่นที่ว่าหรือไม่  อยากให้ช่วยกันค้นหาข้อมูลและรูปมาเพิ่มให้มากกว่านี้  ยิ่งเก่าก่อนสมัยรัชกาลที่ ๔ ขึ้นไปยิ่งดี เพราะการรบสมัยเก่ายิ่งจะได้ภาพที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงด้วยอิทธิพลตะวันตกมากนัก จะได้มั่นใจว่า  ที่เสนอรูปและความเห็นกันมา  เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 28 ต.ค. 09, 18:31

ยังติดใจเรื่องค่ายปิหลั่น    ลาวทองคงจะต้องคอยไปก่อน

พวกเชียงทองมีค่ายปิหลั่นรับ                       ลูกปืนปับแบนเปล่าหาเข้าไม่

ไม้ที่ทำค่ายปิหลั่น ต้องหนาและแข็งมาก   ขนาดลูกปืน(ใหญ่) ยิงไม่เข้า  เพราะไม้แข็งและเหนียวพอจะต้านเอาไว้อยู่    
ถ้าเป็นไม้กระดาน  ลูกปืนน่าจะทลายได้กระจุยไปทั้งตับนะคะ คุณหลวงเล็ก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 06:59

ระหว่างรอท่านอื่นๆเอารูปหลักฐาน (ต้องไปค้นพวกสมุดข่อยมั้ง) ผมก็ขออนุญาตว่าของผมไปเรื่อยๆ ถือว่ามาสลับฉากไม่ให้คนอ่านเหงาก็แล้วกันนะครับ

คราวที่แล้วลืมขยายความไปอีกนิดนึงว่า วัสดุประเภทไม้ที่โบราณท่านเอามาใช้ป้องกันตัวนี้ ท่านต้องทำในลักษณะที่เป็นแผง จะใหญ่จะเล็กขึ้นอยู่กับน้ำหนักรวมของแผง และจะใช้งานอย่างไรด้วย เช่นถ้าจะยกเทินศรีษะไป จะใช้กี่คนยก 2คนหน้าหลัง หรือ4คนๆละมุม ขนาดก็จะทำให้เหมาะสมตามกำลังคนนั้น ถ้าเป็นไม้หนาและหนัก ก็คงทำเป็นแผงทางตั้ง มีเคร่าให้หลายๆคนช่วยกันยกไปตามแนวตั้ง ในระหว่างยกเข้าไปก็ใช้เป็นโล่ห์ไปด้วย แต่แผงก็คงจะไม่ใหญ่กว่าวาหรือประมาณ2เมตร มันจะไม่คล่องตัวพอ

แผงทั้งหมดไม่ว่าจะยกไป เทินไปอย่างไร จะสามารถไปประกอบเป็นรั้วค่ายได้ โดยง่ายและรวดเร็ว ค่ายทั้ง3แบบข้างต้นไม่น่าจะอยู่นอกหลักการที่ว่ามานี้

คราวนี้มาดูกระสุนปืนโบราณที่กระทบของแข็งเช่นรั้วไม้ แล้วแปะติดอยู่ ต้องแคะจึงจะออก ตามรูป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 07:11

กระสุนปืนคาบศิลาทั้งหมด เป็นกระสุนกลมทำด้วยตะกั่ว ขนาดเม็ดมะยมเรียกว่าลูกโดดบรรจุลูกเดียว โดนคนไม่ตายก็เจ็บหนัก ความจริงมีลูกตะกั่วขนาดเม็ดถั่วเขียว บรรจุครั้งละ5-6เม็ดเรียกลูกปราย ไว้ยิงนกยิงกระต่าย กระสุนเหล่านี้ไม่นิยมทำด้วยเหล็ก เพราะว่าเบากว่าตะกั่ว ยิงไปแล้วจะปลิวพลาดเป้าง่าย

กระสุนชนิดนี้แหละครับที่ไปติดแปะอยู่ที่ค่ายปิหลั่นของพวกเชียงทอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 07:27

รูปข้างบนเป็นภาพปืนสั้น แต่เครื่องกระสุนก็เดียวกันกับปืนยาว

ในภาพเป็นปืนประเภทเดียวกันนี้ที่ตามชนบทห่างไกลยังลักลอบทำกันอยู่ เพื่อใช้ล่าสัตว์เล็กสัตว์น้อย
เรียกกันว่าปืนแก็ป เพราะใช้แก๊ปเป็นเชื้อประทุให้ดินปืนที่บรรจุไว้ภายในรังเพลิงระเบิด

เวลาทางราชการขู่ว่า ใครมีปืนเถื่อนให้นำมามอบให้ภายในกำหนดเท่านั้นเท่านี้ มิฉะนั้นจะโดนโทษหนักหากจับได้
ก็จะมีชาวบ้านเอาปืนประเภทนี้มามอบให้กองเป็นภูเขาเลากา

พอคนออกคำสั่งย่ายไป ก็เริ่มซื้อเริ่มหากันใหม่ เพราะกระบอกละไม่กี่บาท
ตลาดทางบ้านนอก หาซื้อเครื่องกระสุนได้ง่าย เช่นลูกตะกั่ว มีทุกขนาดจะเอายังไงมีหมด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 08:02

คราวนี้มาดูปืนใหญ่ นี่เลือกเอาภาพที่ไม่ใหญ่เว่อมาลงแล้วนะครับ
เอาขนาดที่ยังแบกหามใส่หลังช้างไปได้ ประเภทปืนจ่ารงที่วางไว้หัวเรือพิฆาต เรือพระราชพิธี เห็นได้บ่อยๆ
กระสุนปืนเป็นเหล็ก ขนาดประมาณลูกเทนนิสขึ้นไป

ปืนใหญ่ที่บรรจุกระสุนลูกโดดเช่นนี้ไม่ได้ยิงเอาแม่น แต่ยิงใส่เป้าใหญ่ๆหรือรวมๆกะว่าต้องฟลุ๊กโดนอะไรเข้ามั่ง โดนช้างๆก็ตายว่างั้นเถอะ
ถึงไปโดนปิหลั่นเข้าก็เป็นเรื่องเหมือนกัน อย่างน้อยไม้ต้องแตก คนที่อยู่ข้างหลังอาจโดนแผงไม้หนักๆล้มใส่ ถึงไม่ตายก็อาจต้องออกจากการรบ

ลูกเหล็กโดนแล้วไม่ติดแป๊ะนะครับ ไม่ทะลุไปก็เด้งออกมา แต่ถึงเด้งก็เด้งทั้ง2ข้างนะครับ เป้าที่โดนต้องเด้งด้วย

แต่ปืนจ่ารงก็ใส่ลูกปรายได้เหมือนกัน เอากระสุนปืนเล็กข้างบนนี้เหละมาใส่ถุงผ้าให้สะดวกต่อการบรรจุในการยิงแต่ละครั้ง สำหรับจะฆ่าคนไม่ใช่ทำลายเป้าหมาย
ฉะนั้นกระสุนที่มาติดแป๊ะบนปิหลั่นดังกล่าว ก็อาจเป็นลูกที่ยิงมาจากปืนใหญ่ก็ได้ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 09:28

เพลิดเพลินและอัศจรรย์ใจกับ ความรู้เรื่องค่ายน็อคดาวน์ทั้ง ๓ แบบ  รวมทั้งเรื่องปืนโบราณของคุณ Navarat C. ด้วย
ปืนยาวแบบคาบศิลาที่คุณอธิบายมา  จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า เป็นแบบเดียวกับพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงของสมเด็จพระนเรศวรฯ ด้วย   ถูกต้องหรือเปล่าคะ

ตอนนี้ยังไม่อยากเอาเรื่องลาวทองมาขัดจังหวะ   ขอฟังไปก่อน  ถ้าจบแล้วจะมาเล่าถึงวัฒนธรรมและภาษาของสาวลาวในขุนช้างขุนแผนต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 09:34

ข้อความคัดมาจาก "ราชการทัพเมืองเวียงจันทน์ ฉบับ ๗"

๐ข้าพเจ้าพญาพิพิทสมบัด  หลวงศรียกระบัตรหลวงภักดีภูธรผู้ช่วยราชการหลวงทุกขราษ หลวงแพ่งกรมการเมืองตราดฃอบอกปรณีบัดมายังท่านขุนอักษรสมบัติเสมียรตรากรมท่า  ขอท่านได้นำขึ้นกราบเรียนแต่พรหัวเจ้าท่านโกษาธิบดีให้ทราบ

ด้วยเมื่อ ณ เดือน ๔ ปีจออัฎศก  ข้าพเจ้าพญาพิพิทสมบัดิออกไปแต่กรุงเทพมหานครเหนว่าเมืองตราดเปนเมืองหน้าด่านใกล้เมืองเขมน  เมืองญวน อยู่มิไว้ใจแก่ราชการทางบกและทางชะเลฝายตะวันออกปากน้ำเมืองตราดมีคลองเปนคลองๆ หลังเมืองตราดเรียกว่าคลองสตอใหญ่กว้างสีเส้น  กลางร่องน้ำฦกหกวา  คลองหน้าเมืองตราดเรียกว่าคลองบางพระ  กว้างเส้นที่วา  กลางร่องน้ำฦกสามวา  ปากคลองเมืองตราดนั้นเปนสองง่าม  เรือใหญ่เข้าได้ทั้งสองคลอง  ข้าพเจ้ากรมการจึ่งคิดอ่านปฤกษาพร้อมกัน  เกบเอาจีนลูกบ้านตัดเสาไม้ค่ายแก่นกลมใหญ่สามกำยาวเก้าศอกคืบเสมอคลห้าต้นเอามาตั้งค่ายที่ปากคลองเปนสองง่าม  ค่ายไม้กลมยาวเส้น ๑ กว้างเส้น ๑ กับเกนกระดานค่ายไม้แก่นคล ๒ แผ่น ยาว ๙ ศอกคืบ น่าใหญ่ ๒๐ นิ้ว น่าน้อย ๖ นิ้ว กับเลกสมส่วยแลเลกสังกัดพัน  เอามาทำป้อมติดกับหน้าค่ายปากน้ำสามเหลี่ยมๆ ละ๙ วา มีช่องปืนใหญ่ ๖ ศอก ต่อช่องริมคลองทังสองค่าง  ค่ายป้อมปากน้ำนั้นได้ทำเสรจ์แล้ว  ยังแต่จะตัดไม้ตอมาลงรอปากน้ำน่าค่ายสักสามชั้น  กับค่ายระเนิยดกระดานค่ายเมืองนั้น  ท่านพญายมราชมาตั้งค่ายไว้แต่ก่อนนั้น ยาว ๕ เส้น กว้าง ๓ เส้น ๔ วา เหนว่าคับแคบหาภอคนจะอยู่ไม่  แล้วก็ชำรุดผุะพังไปเปนอันมาก

ข้าพเจ้ากรมการพร้อมกัน  จึ่งให้เอากระดานที่เกนตัดไม้มาตั้งค่ายรเนียดกระดานขยายกว้างยาวออกไปอีก ยาว ๓ เส้น กว้างเสน ๑๖ วา เข้ากันเก่าใหม่ยาว ๘ เส้น กว้าง ๕ เส้น กับกระดานค่ายที่ชำรุดทรุดพังเสียไปเปนอันมาก  ได้ผลัดเปลี่ยนกระดานค่ายเสียใหม่มั่นคงแล้วได้ยิงตะปูติดกรอบบนครอบล่างพ้นดินศอกคืบ  แลทำป้อมสี่มุมทำหอรบตามปตูหว่างป้อมสี่มุมขุดดินทำสนามเพลาะเจาะช่องปืนทำไว้เสรจ์แล้ว  กับปืนใหญ่ลูกกระสุน ๔,๓ นิ้ว ๒ นิ้วกึ่งมีอยู่ ๑๑ บอก  ข้าพเจ้ากรมการได้เกนไพร่ตัดไม้ปดู่ส้ม  มาทำรางปืนใหญ่ใส่หน้าเรือแลรางปืนหล่อใส่ป้อมไว้ทุกบอกเสรจ์แล้ว  กับปืนใหญ่ที่จใส่ช่องป้อมเมืองนั้นยังหาภอไม่

......ฯลฯ........(ที่ละไว้นี้เป็นเรื่องต่อเรือรบ กับการเกนไพร่ออกตระเวนทางบกทางเรือสืบข่าวราชการ)  

ถ้าได้ฃ่าวราชการทางบกทางเรือ จะผันแปรมาเปนประการใด  ข้าพเจ้ากรมการจะเร่งบอกเข้ามาให้ทราบต่อครั้งหลัง ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด  ฃอบอกปรณีบัดมา ณ วันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุรนพศก ฯ

คัดลอกอักขรวิธีตามต้นฉบับ

ขอเสนอแต่ข้อมูลเอกสารไว้ก่อน ส่วนความคิดเห็นขอเชิญท่านผู้อ่านอภิปรายเต็มที่ครับ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 29 ต.ค. 09, 10:16

บันทึกลับที่คุณเทาชมพูลิ้งค์มา  อยู่ในอานามสยามยุทธ  พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๔๖

พิมพ์ครั้งที่ ๓ ในปี ๒๕๕๐    ไม่มีชื่อผู้เรียบเรียงอยู่บนปกหน้่าและปกหลังเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง