เอาละวาจะเขาศาลหรือข้าวสาร คงไม่นานตีความได้ไม่อับเฉา
จะเป็นด่านหรือเป็นบ้านก็งานเบา ถ้าพวกเราช่วยสะกิดไม่ผิดใจ
แผนที่ของคุณม้า # ๑๒๑ เป็นข้อมูลหนึ่งเกี่ยวกับชื่อของช่องเขาแห่งนี้ ในเอกสารปัจจุบันปรากฏทั้งสองชื่อ
ช่องเขาสาร และ
ช่องข้าวสารคำว่า "เข้า" เป็นคำเดียวกับคำว่า "ข้าว" ครับ
ในเอกสารเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังใช้ "เข้า" อยู่ มาเปลี่ยนเป็น "ข้าว" สมัยใดไม่ทราบชัด แต่ภาษาพูดของชาวอีสานยังออกเสียง "เข้า" อยู่
ขออนุญาตดำเนินรายการภาษาไทยวันละคำ

ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ ๑ มีคำว่า "เข้า" อยู่ ๕ ความหมาย คือ
เข้า ๑ น. ข้าว เช่นในน้ำมีปลา ในนามีเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๙) เยียเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓)
เข้า ๒ น. ข้าวของ เช่น เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พึน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๗)
เข้า ๓ น. ปี, ขวบ, เช่น เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๔) ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า (ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๒) ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลายเห็นการทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึงเอาฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือ หกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว (ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๔ - ๘)
(คำว่า "เข้า" ทั้ง ๓ ความหมายที่ใช้ ข ไข่ และสระเอาไม้โท เหมือน กันหมด แต่เครื่องหมายวรรณยุกต์โท ในสมัยนั้นเขียนเป็นรูปวรรณยุกต์จัตวา)
เข้า ๔ ก., ว. เข้า เช่น ขุนสามชนเกลื่อนเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๖) กูขับเข้าก่อนพ่อกู (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗) เมื่อจักเข้ามาเวียง (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๗) เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๒)
เข้า ๕ ก. เข้าข้าง, เป็นฝักฝ่าย, เช่น บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๖)
(คำว่า "เข้า" ในความหมายที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นคำกริยานั้น ในศิลาจารึกใช้ ฃ ขวด และใช้สระเอา วรรณยุกต์โทเช่นกัน)
คำว่า "ข้าว" นั้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ ยังเขียนเป็น "เข้า" อยู่ เข้าใจว่ามาแยกเขียนเป็น "เข้า" ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้เอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้เก็บคำว่า "เข้า ๒" ไว้ และบอกว่าเป็นคำโบราณ หมายความว่า "ข้าว; ขวบปี" ส่วนที่เป็นชื่อไม้ล้มลุก ในวงศ์ Gramineae (แกรมินีอี) เมล็ดใช้เป็นอาหารนั้น เขียนว่า "ข้าว"ข้อมูลจากบทความในรายการวิทยุภาษาไทย ๕ นาที โดย ศ. จำนงค์ ทองประเสริฐ ๒๗ มกราคม ๒๕๓๕ และ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๖
http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt046.htmlhttp://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt143.html