เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 47578 ชมศิลปะเก่าแก่ ในหัวเมืองเหนือกรุงศรีอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:47

บานที่แล้วหลอดไปเสียทำให้ดูมืดๆไปหน่อย บางภาพที่ผมถ่ายมาก็เสีย
แต่บานนี้ส่องไฟสีเหลือง เลยได้อารมณ์ต่างไปครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:48

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:50

แต่ละพุ่มแกะลายไม่เหมือนกัน ลองสังเกตลวดลายเหล่านี้ผมว่าเป็น
แนวทางการออกแบบลวดลายที่น่าสนใจมากๆครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:51

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:52

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:53

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:55

ภาพด้านบนเห็นร่องรอยชำรุดไม่ทราบว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรเหมือนกัน
เป็นอย่างไรบ้างครับหากทุกท่านเห็นแล้วจะบอกว่างดงามเพียงใด สำหรับบานประตูคู่นี้


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 09:57

เพราะกล่าวกันว่าบานประตูนี้เป็นบานประตู ที่งามเป็นอันดับสองรองจากบานประตูวัดสุทัศน์ฯ ตกใจ
แต่ถ้ามองเองผมก็มองว่างานคนละแนวกัน ถึงอย่างไรก็ดีบานประตูนี้ก็นับว่าเป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นที่สอง
ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ห้ามพลาดและจะต้องไปชมให้เห็นกับตา ที่วัดธรรมาธิปไตยครับ


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 14:10

งดงามครับในจังหวัดอุตราดิตถ์นั้นช่างมีความคิดเป็นศิลปินมากทีสิ่วที่แกะนั้นเด็ดขาดมากขอบคุณคุณเนครับที่นำงานดีๆมาให้ดีครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 17:14

คงต้องเรียกว่าสิ่วเทพสินะครับ

หลังจากนั้นตอนค่ำผมก็ได้ไปเดินเล่นในงานเทศกาล(จำชื่องานไม่ได้ครับ?)ของจังหวัด และได้ไปสักการะอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
ชื่อเสียงของพระยาพิชัยนั้นเป็นที่รู้จักในด้านความกล้าหาญ และความซื่อสัตย์ วีรกรรมของท่านยังเป็นที่จดจำของเรามาจนถึงทุกวันนี้
กรุงศรีอยุธยาแตกก็เพราะความไม่สามัคคีของคนในชาติ กว่าจะกูเอกราชรวมปรเทศมาเป็นชาติไทยได้ยากเย็น เต็มไปด้วยการเสียสละ
และหยดน้ำตา มาถึงวันนี้อนุสาวรีย์พระยาพิชัยกับดาบนันทกาวุธ ก็น่าจะเป็นอนุสรณ์สำคัญให้เราจดจำบทเรียนสำคัญได้อย่างไม่รู้ลืม


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 17:19

ตามหาพระยานมาศ

   ผมได้รับการช่วยเหลือจากพี่นาฏและผู้อำนวยการ ของกองศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ในการให้ข้อมูลและช่วยประสานงาน ทำให้ผมได้รู้ภายหลังว่าพระยานมาศปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าเสา
เพราะแต่เดิมเข้าใจว่าอยู่ที่หอวัฒนธรรมจังหวัด ผมจึงเข้าไปขอคำแนะนำจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์
ซึ่งได้รับการเอื้อเฟื้อให้เข้าไปที่หอวัฒนธรรมจังหวัดที่ปัจจุบันปิดทำการ โดยมีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ท่านหนึ่งดูแลอยู่ แต่เนื่องจากโบราณวัตถุสำคัญได้ถูกส่งคืนไปตามวัดต่างๆหมดแล้ว จึงไม่มีอะไรให้ชมมากนัก
เพียงแต่ได้ทราบว่าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนี้ เคยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ฯจากสมาคมสถาปนิกสยามฯด้วย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 17:22

ต่อเนื่องจากด้วยความช่วยเหลือของพี่นาฏ ที่ช่วยประสานงานกับทางวัดกลางและวัดใหญ่ท่าเสาให้
แปดโมงเช้าของวันที่ 7 ตุลาคม ผมก็ได้เข้าไปที่วัดกลาง ซึ่งพระครูท่านเจ้าอาวาสวัดก็เมตตาให้
เปิดพระอุโบสถเข้าชมได้ตามสบาย และระหว่างนี้ก็ทำให้ผมได้พบกับพี่เน็ทซึ่งก็ใจดี มาเล่าเรื่องราว
ต่างๆภายในวัดให้ฟัง และพาไปเดินดูงานศิลปะชิ้นต่างๆภายในวัดอย่างทั่วถึง


วัดกลางธรรมสาคร เดิมชื่อวัดโพธาราม สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๘๕
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๐ เคยเป็นท่าจอดเรือ เพื่อเดินเท้าไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ 
ต่อมาลำน้ำเปลี่ยนทางเดินจึงเลิกใช้กัน และทางน้ำเดิมกลายเป็นบุ่ง?น้ำหน้าวัด  ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดบุ่งวัดกลาง
ปัจจุบันพระวิหารและศาลาการเปรียญได้พังทลายไปหมดแล้วเพราะขาดการบูรณะ  เหลือเพียงพระอุโบสถหลังเก่าที่อยู่
ในสภาพดีเพราะได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติไว้แล้ว


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 17:24

พระอุโบสถวัดกลางสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ทำด้วยปูนปั้น
ที่หน้าบันเป็นไม้จำหลักเป็นลายก้านขดซับซ้อน มีรูปครุฑซึ่งสันนิฐานว่าเป็นตราพระราชลัญจกร
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางลายเครือเถาก้านขดนั้น
(จึงคาดว่าทำการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยนั้น) นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักรูปสัตว์สอดแทรกอยู่ตามลายเครือเถา
ที่เกี่ยวพันกันไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตัวกระรอก?กระถิก?ที่ไต่อยู่ตามก้านลายทำให้เป็นงานที่ดูมีชีวิตชีวามาก


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 17:24

ขยายสักนิดให้ชมชัดเจน


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 17:33

นอกจากนั้นยังประดับด้วยผลทับทิม (ผมมองเป็นดอกฝิ่น 55) แทรกอยู่ตามลายด้วย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง