เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 47563 ชมศิลปะเก่าแก่ ในหัวเมืองเหนือกรุงศรีอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 21:46

อธิบายไม่ถูก ดูภาพน่าจะดีกว่านะครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 21:48

ช่วยพิจารณาหน่อยนะครับว่าเป็นลายในสมัยไหน


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 21:54

ภาพที่27เป็นภาพชาวกระเหรี่ยงครับ ยกกันมาทั้งเผ่า สงสัยจะเป็นตอนมาคัดตัวเลือกคู่ธิดาท้าวสามล อย่างที่ผมเคยตั้งกระทู้ไว้เรื่องกระเหรี่ยงในจิตรกรรมไทยว่า กระเหรี่ยงมักจะมีเขียนสอดแทรกอยู่ในจิตรกรรมไทย เพราะอะไรให้กลับไปอ่านดูกระทู้นั้นครับ ส่วนลวดลายรูปที่29 กับรูปหน้าบันตอนบนของวิหารนั้นเป็นลวดลายสมัยสุโขทัย ส่วนตอนล่างที่เป็นรูปรามเกียรติ์นั้นเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ วัดนี้จึงเป็นแหล่งรวมทั้งศิลปสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์เลยครับ เรื่องลวดลายไม่ซ้ำกันที่น้องเนถามนั้น เป็นฝีมือทางเชิงช่างที่สามารภพลิกแพลงลวดลายให้ไม่ซ้ำกันนั้นแหละครับอัจฉริยะของช่างศิลปไทย
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:04

ขอบคุณครับพี่ น่าดีใจที่มีของดีๆไว้ให้ชมแบบนี้นะครับ
ลายนี้ผมเห็นบ่อยมากๆ สมัยอยุธยาตอนกลางก็ยังใช้อยู่


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:07

พระอุโบสถตั้งอยู่ริมพระวิหารหลวงทางทิศเหนือ มีขนาดเล็กกว่าพระวิหารมาก
ลักษณะเหมือนจะไม่เก่าแก่เท่าพระวิหาร แต่ด็ใกล้เคียงอยุธยาและบูรณะชุดใหญ่สมัยรัตนโกสินทร์


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:14

เมืองทุ่งยั้งตั้งอยู่บนเนินเขาหากวัดอาณาเขตจากรูปทรงสัณฐานแล้ว มีขนาดกว้างใหญ่มากพอสมควร โดยสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย
มีแนวคูเมืองล้อมรอบไปตามโดยคูเมืองขุดเจาะลงไปในชั้นหิน  และเมืองนี้สร้างซ้อนทับอยู่กับเวียงเจ้าเงาะซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่มากกว่า 
โดยปรากกฎเป็นคูเมืองขนาดเล็กสัณฐานกลม (มีข้อสันนิฐานว่าเป็นเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง) มีคูน้ำล้อมรอบเช่นกัน 
ในสมัยสุโขทัยเมืองทุ่งยั้งมีความสำคัญมาก ในลักษณะเมืองหน้าด้านเช่นเดียวกับพิษณุโลก เมืองจึงมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน
และมีพระบรมธาตุไว้กลางเมืองด้วย แต่เนื่องจากเมืองอยู่ห่างแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ทำให้ลดความสำคัญลงเรื่อยๆ
แล้วมาดังใหม่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นสมัยอยุธยาตอนปลาย




บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:16

ผมเดินเท้าจากวัดพระบรมธาตุฯ มุ่งหน้าไปที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์  เดินมาได้ครึ่งทางก็มาพบกับคุณป้าใจดีท่านหนึ่ง
กำลังเตรียมตักบาตรในงานตักบาตรเทโว ซึ่งมีน้ำใจสอบถามอาการเรื่องราว เลยรู้ว่าผมต้องการจะไปที่วัดดอนสัก ที่ฝายหลวง
ท่านเลยแนะนำให้ผมจ้างวานพี่คนหนึ่งพาผมไปยังวัดดอนสัก ผมออกเดินทางจากหน้าบ้านคุณป้าที่อยู่เยื้องกับ สนง.ขนส่งจังหวัด 
ไปที่อำเภอลับแลตอนเวลาประมาณแปดโมงเช้า ระหว่างทางผ่านบ้านนาทะเลซึ่งมองเห็นท้องทุ่งนา ป่าเขาและลำธาร บรรยากาศดีมาก


วัดดอนสักตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆที่ร่มรื่นสวยงาม พระอุโบสถสร้างขึ้นแทนหลังเดิมที่ถูกไฟป่าไหม้เสียหายไป
ยังดีที่ไฟป่าครั้งนั้นไม่ได้เผาพระวิหารให้วอดวายไปด้วย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:17

พระวิหารตั้งอยู่บนเนินขึ้นไปเล็กน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาปนกับวิหารแบบล้านนา


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:19

ผมยังรู้สึกเสียดายโอกาสตรงที่ไม่สามารถเข้าไปชมในพระวิหารหลังนี้ได้ จึงไม่ได้เห็นลักษณะอาคารด้านใน
ที่กล่าวไว้ว่าเป็นเสาแปดเหลี่ยมหัวเสาเป็นบัวโถกลีบซ้อน และมีซุ้มปราสาทพระแบบวิหารล้านนา


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:20

บานประตูแกะสลักไม้ด้านหน้าพระวิหารนับเป็นงานศิลปะที่เป็นศักดิ์ศรีของเมืองอุตรดิตถ์อีกชิ้นหนึ่ง
ซึ่งแกะเป็นลายกระหนกที่งดงามจับใจมาก แค่ได้เห็นก็ต้องเสียเวลาชื่นชมเป็นเวลานาน 
ซึ่งยังคงสร้างความกังวลให้กับผมถึงความปลอดภัยของบานประตูนี้จริงๆ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:22

ลวดลายสุโขทัยนั้นที่ปรากฎอยู่ก็เป็นศิลปร่วมสมัยกับอโยธยาหรืออยุธยาตอนต้นย่อมต้องส่งอิทธิพลต่อกันเรียกว่าวิวัฒนาการของลายไทยไงครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:23

เริ่มจากลายที่ส่วนล่าง ไม่รู้จะอธิบายยยังไงดี สวย? วิเศษ?! วิจิตรบรรจง!!?
เอาเป็นว่าชอบมากๆครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:27

อย่างนั้นทริปนี้ผมก็คุ้มค่า เหมือนได้ชมวิวัฒนาการของตัวลายเป็นความรู้ใหม่ๆบนงานเก่าๆสินะครับ
ขอรบกวนพี่อธิบายเรื่องลายของบานประตูวัดดอนสักด้วยนะครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:29

จากข้อมูลเขาบอกคร่าวๆว่าบานประตูนี้ งมงามสมบูรณ์แบบในการจัดวางตัวลายและช่องไฟ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 10 ต.ค. 09, 22:30

จัดไปอีกหนึ่งภาพ ขยายส่วนบนครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง