เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 47605 ชมศิลปะเก่าแก่ ในหัวเมืองเหนือกรุงศรีอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:18

วิหารเก้าห้องหรือวิหารพระอัฎฐารส เดิมเป็นส่วนเดียวกันในเขตพุทธาวาสมีระเบียงคดล้อมมาถึง โดยทางเข้าด้านหน้าก่อสร้างเป็นพระวิหารเล็กยื่นต่อออกไป
องค์พระอัฎฐารสเดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะสุโขทัยแต่ชำรุดมาก จึงปั้นซ่อมแซมใหม่หมดจนเป็นลักษณะที่เห็น ข้อมูลทางประวัติศาสตร์กล่าวถึง
วิหารเก้าห้องในสมัยกรุงธนบุรีว่า เมื่อพระยาจักรี(ร.1) เห็นว่าไม่สามารถจะรักษาเมืองไว้ได้จึงเผาเมืองจนสิ้นไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่ทำการได้ (คงเว้นวัดไว้
แต่บางแหล่งก็บอกว่าพม่าเผาหมดทั้งเมือง) แล้วจึงถอนกำลังตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกจากเมืองไป ภายหลังเมื่อกองทัพพม่าเข้าเมืองได้ก็ใช้เป็นที่ทำการระยะหนึ่ง
ต่อมาอะแซวุ่นกี้แม่ทัพพม่ารู้ข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ามังระจึงถอนทัพกลับไป และจุดไฟเผาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุซ้ำเมืองพิษณุโลก หลังจากกองทัพพม่า
จากไปแล้วชาวบ้านชาวเมืองจึงออกมาช่วยกันดับไฟ ทำให้ไฟลามไปไม่ถึงพระวิหารหลวงที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:19

ท่านมุ้ย เคยเสด็จมาสำรวจวิหารเก้าห้องในขณะที่ทำการขุดแต่ง ทรงพบว่ารากฐานอิฐของพระวิหารแหลกละเอียด
จึงสันนิฐานว่าเมืองพิษณุโลกคงเคยเกิดแผ่นดินไหว ทำให้พระราชวังจันทร์ วัดวาอารามและอาคารบ้านเรือน
ในเมืองพิษณุโลกพังหมดสิ้น  เป็นเหตุให้พระนเรศวรทรงเทครัวอพยพชาวเมืองพิษณุโลกลงไปอยู่กรุงศรีอยุธยา
และสร้างวังจันทร์ใหม่ที่ตำบลหัวรอ แต่เท่าที่ผมเห็นร่องรอยอิฐที่ว่าไม่หลงเหลือแล้ว เพราะมีการขุดแต่งบูรณะ
ใหม่เป็นที่เรียบร้อยเมื่อไม่นานมานี้


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:21

หลังจากที่ผมเข้าไปติดต่อยื่นหนังสือกับทางเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช ก็ได้รับการอำนวยความสะดวกให้เข้าไปชม
ธรรมาสน์เทศน์ ธรรมาสน์สวดที่โรงเก็บทางทิศใต้ของพระวิหารหลวง ซึ่งได้รับคำแนะนำรวมไปถึงการอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี
ผมจึงขอขอบคุณ ผู้อำนวยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช และเจ้าหน้าที่ทุกท่านมาในโอกาสนี้ครับ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ถึงธรรมาสน์ทั้งสองหลังนี้ไว้ว่า
"นมัสการ พระพุทธชินราชแล้ว ดูธรรมมาสน์เทศน์ ธรรมาสน์สวด ดูเรือนแก้ว แลสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ ล้วนเป็นของดีอย่างเอก ไม่เคยพบไม่เคยเห็น"



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:23

ความงามของธรรมาสน์สวดวัดพระพุทธชินราชเป็นธรรมาสน์ทรงบุษบกมีขนาดใหญ่
คิดว่าน่าจะเป็นธรรมาสน์หลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา
ส่วนตัวเดาว่าเป็นธรรมาสน์ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรส และทรงอุทิศถวายเป็น
เครื่องสังเค็ดในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่มีการบูรณะพระอารามและเสด็จขึ้นมาโดยพระองค์เอง


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:23

เนื่องจากสถานที่เก็บมีความคับแคบและมีลูกกรงตาข่ายล้อมไว้โดยรอบ จึงไม่สามารถเก็บภาพได้ทุกสัดส่วนและเต็มทั้งหลัง
เพราะแสงเข้าได้ทุกทิศทางจึงทำให้แสงรบกวนได้ภาพไม่ชัดเจนในรายละเอียด ต้องขออภัยด้วยครับ แต่เนื่องจากในอนาคต
อันใกล้เมืองพิษณุโลกกำลังปรับปรุงโฉมหน้าใหม่ และกำลังสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นที่พระราชวังจันทร์ ก็อาจทำให้มีการจัดการ
ศิลปะวัตถุสำคัญๆไปในทิศทางใดทางหนึ่งครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:24

เครื่องยอดทรงมณฑปของธรรมาสน์เทศน์มีทรวดทรงสง่างาม ย่อมุมประดับด้วยบันแถลง นาคปักอย่างสวยงามพอดิบพอดีครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:25

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:25

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:27

คันทวยนี้เป็นรูปแบบเดียวกับ คันทวยที่ใช้ในการจำลองพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทของเมืองโบราณครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:29

ลายกาบยังดูคล้ายๆกาบไผ่อยู่ครับ แต่น่าสังเกตว่าสมัยพระเพทราชาก็ยังใช้กาบคล้ายๆอย่างนี้อยู่
คือผมเห็นที่วัดบรมพุทธารามครับ ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:31

แผงกั้นทางขึ้นเข้าสู่ธรรมาสน์ น่าจะดึงออก ใส่เข้าได้ ไม่กั้นตาย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:34

กระจังปฎิญาณครับ เป็นลักษณะกระจังขนาดใหญ่โดยเฉพาะตัวกลาง แกะเป็นมิติดูสง่างามมาก
มีลักษณะใหญ่เป็นประธาน ทำให้กระจังด้านข้างดูเล็กลงไปเลย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:35

... ตกใจ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:37

เชิงชั้นฐานก็ทำมากชั้นมากกว่าธรรมาสน์แห่งอื่นๆ ประดับด้วยกระจังรวน มีรูปครุฑกับนรสิงห์จับนาคครับ

ถึงแม้อาจารย์ น ณ ปากน้ำจะยกให้ธรรมาสน์วัดจรรยาวาสเป็นราชาแห่งธรรมาสน์
แต่ผมว่าธรรมาสน์หลังนี้ถ้าเรียกว่าราชาอีกองค์ก็คงได้นะครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:39

ลักษณะการจับนาคของครุฑในธรรมาสน์เทศน์หลังนี้มีรูปแบบที่น่าสนใจมากครับ โดยจะเห็นครุฑจับหางนาคฝั่งหนึ่ง
และนรสิงห์จะจับหางนาคอีกฝั่งหนึ่ง โดยท่าทางเหมือนสะบัดนาคส่งหากันจึงเกิดเป็นเส้นที่มีจังหวะถึงกันได้อย่างสวยงาม
นับเป็นการออกแบบให้เป็นงานที่ดูพลิ้วไหวราวกับมีชีวิตจริงๆเลย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง