เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 47607 ชมศิลปะเก่าแก่ ในหัวเมืองเหนือกรุงศรีอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:38

เรื่องราชยานนี้ผมได้ข้อมูลจากเว็บไซด์ http://thaihandiwork.com/thailand_ry6_11.php  จึงขออนุญาตนำมาลงประกอบครับ

 ลักษณะ ของยานมาศดังกล่าวนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงพบหลายหลังในวัดต่างๆ ตามเส้นทางขณะเมื่อเสด็จขึ้นไปตรวจการปั้นหุ่นจำลองพระพุทธชินราช ณ จังหวัดพิษณุโลก ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้ ทรงพรรณาถึงลักษณะและร่างภาพที่น่าสนใจไว้ในบทพระนิพนธ์ เรื่อง จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ซึ่งต่อมาได้ พิมพ์เผยแพร่เป็นอนุสรณ์ในการฉลองวันประสูติครบ ๑๐๐ ปีของพระงค์ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ทรงกล่าว ว่าทรงพบยานมาศหักทิ้งอยู่ข้างกุฏิพระที่วัดใหญ่ ตำบลบ้างต้นไทร จังหวัดชัยนาท ลักษณะเป็นฐานสิงห์ ๒ ชั้น และ ฐานหน้ากระดานบัวหงาย ๑ ชั้น ข้างบนมีพนักและมีคานพร้อม ทรงเห็นว่ามีรูปทรงงดงามดีและเป็นฝีมือเก่า พระภิกษุ ในวัดกราบทูลว่าเดิมใช้สำหรับหามพระอุปัชฌาย์ลงโบสถ์ในพิธีอุปสมบทและเป็น ของเก่ามีคู่วัดมานาน เมื่อพม่าตี กรุงศรีอยุธยาได้ได้เลยมาที่วัดนี้ เห็นยานมาศงดงามเข้าใจว่าหุ้มด้วยทองจึงใช้ดาบฟันที่กงเพื่อพิสูจน์ ทำให้มีรอย ดาบปรากฏอยู่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเห็นว่าเป็นงานศิลปกรรมที่ควรเก็บรักษา ไว้ จึงให้พระ วิสูตรโยธามาตย์ถอดเป็นชิ้นๆ บรรทุกเรือมาไว้ที่กรุงเทพฯ แต่ไม่ได้นำคานลงมาด้วย*
             นอกจากที่วัดใหญ่ดังกล่าว ยังทรงพบยานมาศที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พบที่ วัดท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ๒ หลัง และที่วัดคีรีเชิงเขา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ๑ หลัง โดยเฉพาะที่วัดท่าเสานั้นได้ทรง บรรยายลักษณะและร่างภาพไว้ ดังนี้ **

            "...ใต้ หอไตรนี้มีของสำคัญคือยานมาศแห่พระ มีถึง ๒ อัน ยานมาศที่นี้สูง มาก หลังคานมีตัวนาคฐานเป็นสิงห์สองชั้นแล้วบัวหงายสูงจนตีนต้องมีบัว รอง สองอันรูปไม่ผิดกันแต่คันในผิดกัน รูปมีทำนองนี้ แต่กงไม่สู้แน่ เดาผสม ไว้ เพราะของเดิมหักไม่มีอยู่พอจะเทียบได้ ลายที่คันในควรสังเกตมีสอง สามอย่างคือ






บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:39

                        ๑. บัวหลังสิงห์กลับขึ้นเช่นเขียนรูปไว้นี้
                        ๒. ที่อกไก่สลัก ชั้นล่างเป็นแข้งสิงห์ ขั้นบนเป็นกลีบบัว เช่นเขียนไว้นี้
                        ๓. บัวหงาย อันหนึ่งบากรวนกลีบห้ามกลางกลับลง แปลกจากที่เคยเห็นอยู่ แต่ว่าเหลวอีกอันหนึ่งแซก เป็นตัวผักบุ้งก้านขด เช่นเขียนไว้ทั้งสองอย่างนี้"
            ส่วน ยานมาศที่วัดคีรีเชิงเขา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย นั้น ทรงกล่าวว่าลักษณะเช่นเดียวกับวัดท่าเสา แต่มีลักษณะแปลกไปเล็กน้อยตรงที่ย่อเป็นกะเปาะออกไปแบบไม้สิบสอง



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:40

 จาก ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ว่า ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นับแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงตอนกลาง รัชกาลที่ ๕ ยังมีคานหามฝีมือเก่าครั้งสมัยอยุธยาตอนปลายหลงเหลือกระจายอยู่ในที่ต่างๆ ไม่น้อย ต่อมาในปัจจุบัน ได้ผุพังสูญหายไปเหลือเพียงไม่กี่ชิ้น และสุนทรียภาพของงานศิลปกรรมเหล่านั้นเกิดจากลักษณะอันน่าประทับใจตั้ง แต่พบเห็น ประการแรกคือ รูปทรงที่ได้สัดส่วนและโปร่งงามตา ประการที่สองคือ ลวดลายประดับตกแต่งซึ่งแสดง ความคิดสร้างสรรค์ของช่าง มีความชาญฉลาดในการกำหนดลายประดับในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือบางครั้งอาจมี ความแตกต่างจากแบบแผนไปบ้างดังที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสังเกตเห็น ประการที่สามคือ การลงรักปิดทองประดับกระจก หรือการปิดทางร่องชาด ซึ่งเพิ่มความโอ่อ่าสง่างามจับตา


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:42

จากข้อมูลจากสมเด็จฯท่านทรงสันนิฐานว่ามีกงแต่ไม่ปรากฏแล้ว สภาพในปัจจุบันนั้น
ได้ผ่านการซ่อมแซมและอนุรักษ์เนื้อไม้มาแล้ว จึงทำให้มีสีดำๆแต่ต้องยอมรับว่า
การอนุรักษ์วิธีนี้ดูจะดีกว่าการพอกรักแล้วปิดทองทับ เพราะจะทำให้เห็นรายละเอียดได้ไม่ดีนัก
แต่ถ้าใครอยากเห็นพระยานมาศลักษณะนี้แบบสมบูรณ์ น่าจะได้ดูในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:43

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:43

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:45

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:46

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:47

ถ้าหากท่านใดมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระยานมาศสมัยอยุธยา ว่าพบที่ไหนอีกก็ขอให้แนะนำมาบ้างนะครับ
จะเป็นพระคุณมาก เพราะคอนนี้เท่าที่ผมรู้ว่ามีปรากฏอยู่นั้นคือวัดใหญ่ท่าเสา วัดพระพุทธชินราช
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร แต่ตามข้อมูลที่ปรากฏจากบันทึกของสมเด็จฯท่านยังมีอยู่อีกหลายที่
แต่ไม่มีข้อมูลในการออกตามหาแต่อย่างใดครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:51

ที่จริงตั้งใจว่าเอาข้อมูลจากพิษณุโลกมาลงไว้ในกระทู้เดียว แต่ภาพยังมีอีกเยอะดูเหมือนว่าข้อมูล
จะเต็มกระทู้มากเกินไปจึงขอจบข้อมูลลงตรงนี้ก่อนนะครับ ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ


ถึงการเดินทางมาอุตรดิตถ์ในคราวนี้จะตั้งใจมา หาข้อมูลของงานศิลปะสมัยอยุธยา แต่ก็ทำให้ผมได้พบกับรูปแบบ
ศิลปะอยุธยาแบบหัวเมืองเหนือที่แปลกออกไปได้อีก เข้าใจว่าที่นี่เป็นจุดที่รับทั้งศิลปะสุโขทัยมาแต่เดิม
กับศิลปะล้านนาที่อยู่ใกล้เคียง บวกเข้ากับศิลปะอยุธยาในรูแบบที่เป็นท้องถิ่น จึงนับเป็นดินแดนสามเหลี่ยม
ของศิลปวัฒนธรรมธรรมน้อยๆที่ปรากฏในประเทศไทยครับ

นอกจากการที่ผมจะได้มาเรียนรู้งานศิลปะแล้ว ยังได้รับไมตรีที่น่าประทับใจมากๆที่ไม่ได้มีค่าแค่เพียง
ประโยชน์จากความสะดวกสบาย แต่คือการได้รู้จักคุณค่าของน้ำใจและจะรู้ได้เมื่อได้มาเห็นมาสัมผัส
ด้วยตัวเองเท่านั้น ขอขอบคุณจากใจจริงๆครับ



บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 07:30

ให้สองนิ้วโป้งเลยครับ...(ให้สี่นิ้วไม่ได้อยู่แล้ว)...งดงามทุกชิ้นงาน...ทุกภาพถ่าย...ทุกมุมของนายแบบ...5555...โดยเฉพาะภาพโคลสอัพแต่ละชิ้นงาน..เป็นประโยชน์มาก...ขอภาพใกล้ของช่อฟ้าวัดกลางได้ไหมครับ??? ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 12:23

ขอปรมมือให้น้องเนในความพยายามและความตั้งใจ กระทู้นี้พี่ขอใช้สิทธิผู้ดูแลปักหมุดให้กระทู้ และขอให้น้องเนต่อเนื่องข้อมูลทั้งหมดที่ไปมาในทริปนี้ต่อไปเลยครับจะได้ดูอย่างต่อเนื่องสมเป็นกระทู้ปักหมุดครับ(รูปประกอปองค์พระฝางที่ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 18:27

ขอบคุณครับครับพี่ยีนส์ ถ้าให้ลงหมดสงสัยจะปาไปยี่สิบหน้าแน่เลย แต่เมื่อพี่ยีนส์เห็นดีก็จะลงในกระทู้นี้เดียวเลยครับ

สวีสดีคุณศรีด้วยครับ แต่ต้องขอโทษเรื่องช่อฟ้าวัดกลาง พอดีถ่ายมาแล้วตอนเช็คภาพที่พิษณุโลกเผลอกดลบไป แหะๆ
เอาอย่านี้จะขอวานให้พี่เน็ทมาลงให้นะครับ แต่ตอนนี้ขอไปจัดการรูปภาพให้เรียบร้อยแล้วจะมาลงทันทีครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:15

เช้าวันที่ 8 ตุลาคม ผมใช้เวลาช่วงเช้าในการเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  เพื่อเก็บภาพงานปูนปั้นที่วัดมหาธาตุและวัดศรีสวาย
หลังจากนั้นตอนเที่ยงก็เข้าไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุโขทัย แต่เอาไว้ผมโอกาสดีๆจะนำภาพมาแบ่งปันในกระทู้หน้า หรือกระทู้
ของท่านอื่นๆก็ว่ากันไปครับ เนื่องจากผมเองข้อมูลไม่แน่นพอเกรงว่าจะไม่ได้อรรถรสในการชม 55

..............................

ยอดแห่งศิลปะเมืองพระพิษณุฯ

เช้าวันที่ 9 ตุลาคม วันสุดท้ายของการเดินทาง ผมมายังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ (วัดพระพุทธชินราช) เพื่อเก็บภาพรอบๆอาณาบริเวณวัด
จากการสังเกตก่อนการอ่านประวัติวัดเข้าใจว่าบูรณะขึ้นตามโครงสร้างเดิมแต่ไม่ทั้งหมด ทั้งในส่วนเครื่องบนหลังคาและระเบียงคดโดยรอบ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 13 ต.ค. 09, 20:16

พระปรางค์ประธานอันเป็นจุดเด่นของพระอาราม เดิมคงเป็นพระเจดีย์ทรงดอกบัวตูมแบบสุโขทัย
ก่อนมาดัดแปลงเป็นพระปรางค์ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อแสดงการมีอำนาจ
เหนือเมืองพิษณุโลกของกรุงศรีอยุธยา และเมืองพิษณุโลกก็ได้รับฐานะเป็นราชธานีของสยามในรัชกาลนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง