เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 47596 ชมศิลปะเก่าแก่ ในหัวเมืองเหนือกรุงศรีอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 18:28

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 18:31

เป็นภาพความงามจากศิลปะวัตถุที่น่าสนใจไหมครับ สำหรับหน้าบันทั้งสองชิ้นของวัดกลางแห่งนี้

สุดท้ายจากวัดกลางคือภาพจิตรกรรมบางส่วน ที่เหลือมาจากศาลาการเปรียญหลังเก่าที่พังลง
ไปแล้วครับ ภาพแรกพระมหาชนก


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 18:32

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 18:33

ภาพชุดนี้เขียนบนแผ่นไม้เ ลยเป็นชิ้นส่วนเหลือรอดมาให้เราได้ชมกันเล็กน้อยครับผม


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 18:37

...  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 19:33

การเดินทางของน้องเนน่าจะยังไม่จบเพราะยังอยู่ในอุตรดิตถ์ยังไม่ถึงพิษณุโลกเลย 55555555555 ที่วัดกลางนั้นตามข้อมูลของกรมศิลป บอกว่า พระอุโบสถเขียนภาพเรือนแก้วอุโบสถ พระสาวก หรือพระอรหันต์ เทพชุมนุม และภาพวรรณกรรม ซึ้งพี่เข้าใจว่าเป็นเรื่องในปัญญาสชาดกหรือชาดกนอกนิบาตที่มาที่มาจากเมืองเหนือ แต่เรื่องอะไรนั้นยังมองไม่ออกจริงๆส่วนในศาลาการเปรียญนั้นเขียนภาพเรื่องทศชาติ เวสสันดรและพุทธประวัติ เห็นชิ้นงานแต่ละที่แล้วงดงามเกินคำบรรยาย อย่างที่บอกว่าเมืองไทยนี้ของดีมีมากหลาย วันนี้มีผู้สนใจสมัครเข้าชมรม1ท่านชื่อคุณทอมมี่ มีความสนใจสถาปัตยกรรมอยุธยา ได้เชิญให้เข้ามาร่วมนำเสนอข้อมูลในเว็ปเราแล้ว หวังว่าคงได้เห็นฝีมือน้องทอมมี่เร็วๆนี้
บันทึกการเข้า
ืำnetto
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 21:24

ขอชื่นชมผลงานด้วยคนนะครับ


ยินดีแทนคนอุตรดิตถ์ นะครับ
บันทึกการเข้า
ืำnetto
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 21:33

สามรูปด้านบนก่อนถึงรูปน้องเน.เป็นรูปภาพที่เขียนอยู่บนคอสอง ครับ
มีด้วยกันถึง สิบแผ่น แต่ด้วยความสมบูรณ์ ของแผ่นไม้บาง ๆ
จึงสามารถ ดุได้ แค่ สามแผ่น ครับ
................

สำหรับคนที่เคยมาวัดกลางแล้ว ก็จะได้เห็น ที่ สำนักงาน เจ้าอาวาส ครับ
...................
ส่วนที่เหลือ ชาวบ้านที่ช่วยกันลือ (สงสัยนะ)ได้สุมไฟผิงตอนหน้าหนาวหมดแล้ว มั้ง
หรือว่า ก่อไฟทำกับข้าวเลี้ยงคน รื้อศาลาไปแล้ว
มั้ง
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 21:58

ว่างๆ พี่เนตเอาข้อมูลภาพมาลงบ้างนะ แบบ unseen 555

หลังจากเที่ยวชมวัดกลางเป็นที่เรียบร้อย ผมก็ได้รับความช่วยเหลือจากพี่เน็ทที่แปลงกายเป็นพระมาตุลี
พาผมไปที่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ซึ่งวัดนี้ผมตัดออกไปจากการเดินทางไปตั้งแต่เริ่มวางแผน
เพราะอยู่ห่างออกไปไกลพอสมควร เดิมวัดพระฝางเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในหัวเมืองเหนือ
ของชาวไทยสมัยโบราณ เช่นเดียวกับวัดพระพุทธบาทสระบุรี หรือพระพุทธชินราช แต่ระยะหลังเริ่มเสื่อม
ความสำคัญลงและทรุดโทรมลงอย่างมาก จนเป็นสถานที่เปลี่ยวและถูกโจรกรรมศิลปวัตถุ
ออกไปจำนวนมาก จนแทบไม่เหลืออะไรในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 21:59

ร่องรอยศิลปะจากสุโบทัยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:01

อ่านข้อมูลประกอบนิดนึงครับ
“เป็นวัดเก่าแก่ปูชนียสถานที่สำคัญยังเหลืออยู่คือ เจดีย์พระธาตุพระฝาง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย  ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
            วิหารใหญ่แต่เดิมมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนประดิษฐานอยู่ แต่ปัจจุบันได้ถูกขโมยไปแล้ว(เจอประจำข้อความนี้..)  ด้านหลังวิหารเป็นองค์พระธาตุ มีกำแพงล้อมรอบ บริเวณหลังสุดมีพระอุโบสถเก่าอยู่อีกหลังหนึ่ง  สภาพโดยทั่วไปชำรุดทรุดโทรมมาก(ตอนนี้บูรณะใหม่แล้ว)  เดิมมีบานประตูแกะสลักสวยงาม แต่ก็ได้ถูกขโมยไปแล้วเช่นกัน(-_-!)  ด้านหน้าโบสถ์มีต้นมะม่วงใหญ่อายุหลายร้อยปีอยู่ต้นหนึ่ง  บริเวณรอบนอกวัดด้านหลังเป็นป่าละเมาะ  ส่วนด้านหน้ามีบ้านคนอยู่บ้างแต่ไม่หนาแน่น
            จากหลักฐาน แสดงความสำคัญทางประวัติศาสตร์  รวมทั้งการบูรณะพระบรมธาตุสวางคบุรี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พอประมวลได้ดังนี้
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐  โปรดเกล้า ฯให้พระยามหาอำมาตยาธิบดีเป็นแม่กองสักเลข หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นไป ตั้งอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก และโปรดให้พระยาอุตรดิตถาภิบาล  ผู้สำเร็จราชการเมืองอุตรดิตถ์เป็นแม่กองรับจ่ายเลข  ข้าพระโยมสงฆ์ตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ  ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระธาตุในเมืองสวางคบุรีที่เรียกกันว่า เมืองฝาง  พระเจดีย์นั้นชำรุดมาก ต้องรื้อลงมาถึงชั้นทักษิณที่สาม  เมื่อรื้ออิฐเก่าที่หักพังออกก็พบแผ่นเหล็กเป็นรูปฝาชีหุ้มผนึกไว้แน่น  เมื่อตัดแผ่นเหล็กออกจึงพบผอบทองเหลือง  บนฝาผอบมีพระพุทธรูปองค์เล็กบุทองคำฐานเงินอยู่องค์หนึ่ง  ในผอบมีพระบรมธาตุขนาดน้อยสีดอกพิกุลแห้ง ๑,๐๐๐ เศษ แหวน ๒ วง พลอยต่างสี ๑๓ เม็ด  เมื่อพระยาอุตรดิตถาภิบาลมีใบบอกมา  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดเรือม่านทองให้ข้าหลวงขึ้นไปรับ เชิญพระบรมธาตุมาขึ้นที่กรุงเก่า เชิญขึ้นไว้ที่พระตำหนักวังป้อมเพชร  แล้วจัดเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลมีปี่พาทย์ แตรสังข์ รับเชิญลงมากรุงเทพ ฯ เชิญขึ้นไว้ ณ พระตำหนักน้ำ ทำการสมโภชแล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ทรงมีพระราชดำริว่าควรที่จะส่งพระบรมธาตุคืน ให้ไปบรรจุไว้ตามที่ดังเก่าบ้าง  แบ่งไว้สักการะบูชา ณ กรุงเทพ ฯ บ้าง  จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างหลวงทำกล่องทองคำเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุชั้นใน  แล้วใส่กล่องเงินเป็นชั้นที่สอง  ใส่ในพระเจดีย์กาไหล่เงินเป็นชั้นที่สาม  แล้วใส่ในพระเจดีย์ทองเหลืองเป็นชั้นที่สี่  แล้วใส่ครอบศิลาตรึงไว้แน่นหนา  ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมธาตุใส่พระเสลี่ยงน้อยกั้นพระกรด ไปตั้งบนบุษบกที่พระตำหนักน้ำ  พร้อมเครื่องสักการะบูชา  มีเรือกรมการและราษฎรเมืองนนทบุรี แห่เป็นกระบวนขึ้นไปส่งถึงเมืองปทุม  แล้วผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการตั้งแต่เมืองปทุมธานีขึ้นไป  จัดแจงทำสักการะบูชา  แล้วจัดเรือแห่มีปี่พาทย์ฆ้องกลองเล่นสมโภชตามมีรับส่งต่อ ๆ จนถึงเมืองสวางคบุรี”


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:02

แต่เดิมเมืองฝางน่าจะเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยคู่กับเมืองทุ่งยั้ง โดยปรากฏพระมหาธาตุเจดีย์อยู่กลางเมืองเช่นเดียวกัน
ซึ่งอาจเคยเป็นทรงดอกบัวตูมแบบสุโขทัย วัดพระฝางฯเป็นปูชนียสถานสำคัญต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมาเสื่อมความ
สำคัญลงตามลำดับ หลังกรุงแตกเคยเป็นชุมนุมสำคัญของหัวเมืองเหนือและถูกปราบปรามโดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เมืองฝางคงเสื่อมความสำคัญลงนับแต่นั้น ในวัดเคยประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญทรงเครื่องจักรพรรดิราชซึ่งเป็นศิลปะ
อยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดเบณจมบพิตรฯ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:03

บานประตูพระอุโบสถวัดพระฝางฯ นี้ถูกโจรกรรมหายไปแล้วเช่นกัน ปัจจุบันเป็นของทำขึ้นใหม่
แต่ปรากฏหน้าบันสมัยอยุธยาเป็นรูปหน้ากาล?หรือราหู? กับพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ล้อมรอบด้วยลวดลายก้านขดที่ปลายก้านเป็นรูปเทวดาร่ายรำ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:04

จึงเป็นที่น่าจินตนาการว่าหากวัดพระฝางยังมีความสมบูรณ์ คงจะปูชนียสถานสำคัญ
ที่รวบรวมโบราณวัตถุมากมายเอาไว้อย่างพร้อมสรรพ เป็นแหล่งศึกษาศิลปะโบราณ
สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:05

พระอิทนร์ทรงช้างเอราวัณครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.123 วินาที กับ 19 คำสั่ง