เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5400 อยากทราบว่า 3 ราชทินนามนี้ มีจริงหรือเปล่าครับ..
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


 เมื่อ 09 ต.ค. 09, 20:17

1. ขุนเป่าลูกโป่งลอย 2. ขุนปล่อยลูกโป่งเล่น 3. ขุนเห็นลูกโป่งแตก  เคยอ่านผ่านๆว่าทำงานที่กรมอุตุนะครับ และ หลวงอึกทึกเวหา อีกท่านหนึ่ง  แหมตั้งชื่อซะเห็นภาพเลยครับ มีจริงรึเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 21:59

จำได้ลาง ๆ ว่ามี ราชทินนามที่คล้ายกันนี้
มีข้อมูลเพียง   อธึกโยธิน  ค่ะ


ร.อ. หลวงอธึกโยธิน   เป็นผู้บังคับกองรักษาเรือพระราชพิธีและเรือแจวพาย(ข้อมูล ๒๔๗๔)

คุยกันเรื่องทหารเรือก่อนนะคะ
ถ้าแต่งตั้งพร้อมกัน   นามนั้นจะ ล้อ กัน   ไม่ได้มาจากล้อเลียนนะคะ
หมายความว่าเป็นชื่อที่ใช้ตัวอักษร ความหมาย  สลับกันเพื่อความไพเราะ
แสดงวุฒิภาวะของอาลักษณ์


กองเรือกลมี  น.ต. หลวงเรืองณรงค์ฤทธิ์
น.ท. หลวง วุฒิวารีรณ  และ น.ต. หลวงวารีรณชิต  อยู่กองโรงเรียนชุมพล



น.ท. หลวงวิสิษฐ์สาครเดช  กับ น.ต. หลวงชลธารพฤติไกร  อยู่แผนกสำรวจแผนที่ทางทะเลที่ ๑



กรมยุทธศาสตร์ทหารเรือ มี  พล.ร.ต. ศรยุทธเสนี      น.ท. พระประยุทธชลธี


โรงเรียนนายเรือมีผู้บังคับการ   ที่ราชทินนามใหญ่หลวงมากค่ะ   น.ท. พระภารสมุทร


อ่านผ่านสายตาก็ชอบ นามมงคลเหล่านี้   สมแล้วที่ลูกหลานผู้สืบสกุลต้องรักษาไว้


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:12

ขุนอึกกะทึกเวหานี่จำได้แม่นว่าเคยอ่านเจอในหัสนิยายชุดสามเกลอของ คุณ ป. อินทรปาลิต ครับ น่าจะมาจากอารมณ์ขันของท่านผู้เขียนเสียมากกว่า

ส่วนขุนสารพัดลูกโป่งนี่ไม่เคยได้ยินครับ ถ้ามีจริงก็คงแปลกพิลึก  ฮืม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 22:28

ราชทินนามเหล่านี้   ท่านผู้ได้รับพระราชทานก็เป็นมนุษย์เดินดิน  ลูกชาวมาก็ไม่น้อย

ลูกจีนก็มาก
ที่เป็นแค่กรมการเมือง  ได้ช่วยเหลือราชการ  ก็ได้รับแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่าข้าราชการระดับประทวน
ยืนยันว่า ระดับคุณหลวงที่เป็นนายอากร  ยังเป็นระดับประทวนอยู่


ในหมู่ญาติมิตรนั้น  ในการพบปะเช่นงานแต่งงาน งานทำบุญ ก็เรียกหากันด้วย ยศ ทั้งสิ้น
ไม่ว่าผู้เรียกจะอาวุโส หรือมี ยศศักดิ์สูงกว่า
ย่อมออกปากว่า คุณหลวง  คุณพระ  หรือเจ้าคุณทั้งสิ้น
(ขุนช้างในงานแต่งงานพระไวย  ออกปากเรียกจมื่นไวยวรนาถว่า "อ้ายไวย" เท่านั้น   โดนยำตกเรือน)


อ่านพบราชทินนามที่ไพเราะคล้องจอง  จึงขอนำมาลงไว้พอเป็นตัวอย่าง

กรมยุทธศึกษาทหารบก    กองวิชชาสามัญ(รักษาตัวสะกดเดิม)

พ.อ. พระยาวรรณศาสน์พลยุทธ
พ.ท. พระยาสีมานนทปริญญา
พ.ท. พระนิมิตรสุวรรณเลขา
พ.ท. พระวิสิษฐพจนการ
พ.ท. พระวิทยาสารรณยุทธ
พ.ต. พระสรรพบรรณโณวาท
พ.ต. ฉันทพาทไพเราะ
พ.ต. พระวิเศษพจนกิจ
พ.ต. หลวงโสภาพจน์ประพันธ์
พ.ต. หลวงฉลาดสุนทรวาที
พ.ต. หลวงนฤมิตรเรขการ
อ.ต. พระอำพลพิทยาสิทธิ์


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ต.ค. 09, 23:09

คุณลุง ป. อินทรปาลิต เขียนหนังสือตามข่าวสารการเมืองของประเทศ
โธ่!   เรื่องเจ้าสัวกิมไซ  ยังมีตัวตนจริงเลย
ทั้งเรี่ยไรส่งเงินไปประเทศจีน  จนได้ยศศักดิ์ทางเมืองจีน
ในเรื่องรู้สึกว่า อาแปะ จะได้เป็น นายกองมีดดาบหรืออีโต้ใหญ่
ตลกเป็นบ้า


ตัวจริงกินหมากด้วย   แต่คงไม่ได้ให้ญาติในเมืองไทยทอดปลาทูราดน้ำมันหมูใหม่ๆอัดปี๊บไปให้
บันทึกการเข้า
phenix
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 21:12

สวัสดีครับ น้องใหม่ครับ แอบอ่านหาความรู้มานาน อยากมีส่วนร่วมด้วยครับ ยิงฟันยิ้ม ผมชอบประวัติศาสตร์มากๆ พอดีกระทู้นี้พูดกันถึงเรื่องชื่อ/ราชทินนามเพราะๆ ผมชอบมากเลยครับเลยอยากนำชื่อเรือรบหลวงมาแจมด้วย

การตั้งชื่อ ร.ล. จะได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะแบ่งตามชั้นเรือ เช่น
1.เรือพิฆาต/เรือธง ตั้งชื่อตามพระนามหรือชื่อชั้นสูง(ผมเรียกไม่ถูกครับ) เช่น  ร.ล.นเรศวร,ร.ล.ตากสิน,ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก , ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย ,ร.ล.จักรีนฤเบศร ,ร.ล. มกุฎราชกุมาร ,ร.ล. ปิ่นเกล้า
2.เรือฟริเกต/คอเวต จะตั้งชื่อตาม แม่น้ำ-ยุคสมัย เช่น ร.ล.เจ้าพระยา ,ร.ล. บางปะกง ฯลฯ เรือคอเวตมี 2 ลำ คือ ร.ล. รัตนโกสินทร์ ,ร.ล. สุโขทัย
3.เรือเร็วโจมตี(ปืน)/เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง/ใกล้ฝั่ง จะตั้งชื่อตาม จังหวัดชายทะเล-อำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.ชลบุรี ,ร.ล.ศรีราชา ฯลฯ
4.เรือยกพลขึ้นบก/ลำเลียง จะตั้งชื่อตาม เกาะต่างๆครับ เช่น ร.ล.ช้าง,ร.ล.อ่างทอง,ร.ร.สิมิลัน ฯลฯ
5.เรือสำรวจ/ดาราศาสตร์  ตั้งชื่อตาม ดวงดาว  เช่น ร.ล.จันทร,ร.ล.ศุกร์,ร.ล. พฤหัสบดี,ร.ล.สุริยะ
7.เรือกวาดทุ่นระเบิด ตั้งชื่อตาม สมรภูมิในอดีต เช่น  ร.ล.บางระจัน,ร.ล.ลาดหญ้า, ร.ล.ท่าดินแดง ฯลฯ

ทีนี้มาชื่อเรือที่นำมาฝากบ้างครับ
1.เรือเร็วโจมตี(อาวุธปล่อยนำวิถี) เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ,ร.ล.วิทยาคม ,ร.ล.อุดมเดช ,ร.ล.ปราบปรปักษ์ ,ร.ล.หาญหักศัตรู ,ร.ล.สู้ไพรินทร์
2.เรือครวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ เช่นร.ล. คำรณสินธุ์ , ร.ล. ทะยานชล ,ร.ล. ล่องลม
3.ขนาดเรือลาดจูงขนาดเล็กนะครับ ชื่อเพราะมากครับ เช่น ร.ล.กลึงบาดาล ,ร.ล. มารวิชัย

ป.ล.เรือดำน้ำ(ในอดีต) ตั้งชื่อตามตัวละครในวรรณคดีครับ เช่น ร.ล.สินสมุทร,ร.ล.มัจฉาณุ,ร.ล.พลายชุมพล,ร.ล.วิรุณ

ขอบคุณครับ




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 22:44

โอ!         ร.ล. พลายชุมพล 

น่าสนใจมากค่ะ
สงสัยว่าพลายชุมพลดำน้ำสู้เถรขวาด


ข้อมูล ๒๔๗๔ - ๒๔๗๕ นะคะ
กรมอัยการ  กระทรวงมหาดไทย  ราชทินนามเริ่มด้วยอรรถเป็นส่วนมาก


กองทะเบียนลายพิมพ์นิ้วมือ  กรมตำรวจภูธร  คือ ร.อ.อ. หลวงพินิจนรหัตถ์

กองตำรวจภูธรกลาง  มี พ.ต. หลวงสลายศัตรูสูญ

ผู้บัญชาการเรือนจำ ชื่อ อ.อ. พระยาอาชญาจักร

แผนกรังวัด  กรมนคราทร   หัวหน้าคือ ร.อ.อ. หลวงไวสำรวจกิจ
รองคือ  ร.อ.ท. สันทัดวุฒิวิถี

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 22:53

ในกรมวิชชาการ(รักษาตัวสะกดเดิม)  มีคุณพระสอนถูกระบอบ

อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง จังหวัดพระนคร มี คุณหลวงสอบถูกระบิล



น่าชมอาลักษณ์ที่คิดนามเหล่านี้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 ต.ค. 09, 23:25

พายเรือไปงานหนังสือมาค่ะวันนี้  หอบหนังสือแปลรุ่นโบราณกลับบ้านมาได้หนึ่งหอบ

มีเสียงไอแค้กๆมาเมื่อครู่ว่าคุยเรื่องทหารเรือต่อไปก่อน
ขออภัยค่ะ  ต่อ ๆ



กองเรือใช้ตอร์ปิโด
ร.ล. เสือคำรนสินธุ์   ผู้บังคับการคือ น.ต. หลวงยุทธกิจพิลาส

ร.ล. ตอรปิโด ๓            ผู้บังคับการคือ น.ต. หลวงสำแดงพิชาโชติ(เหมาะสมเหลือเกิน   อ่านแล้วไม่ต้องแปล)



เราคุยกันเรื่อง ราชทินนามที่เด่น น่าสนใจนะคะ 

แผนกสารวัตรช่าง  กรมอู่หลวง   ราชทินนามคล้องจองเหมาะกับหน้าที่

สารวัตรช่าง                                 น.ท. พระจักรานุกรกิจ
นายช่างแผนกกลจักร                       น.ท. พระพิจารณ์กลจักร
นายช่างแผนกต่อเรือ                        น.ต. สุนทรศัลยกลิน
นายช่างแผนกออกแบบ                     น.ต. หลวงศรจักรการ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 00:26

สวัสดีค่ะคุณ Phenix


ยินดีที่แวะมาคุยกัน       การสนใจในเรื่องคล้ายคลึงกันคงทำให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกมาก
แปลกนะคะ  ทำไมไม่มีเรือสุดสาคร   สุดสาครนี่น่าจะเกี่ยวพันกับน้ำมากกว่าสินสมุทรด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 08:42

ราชทินนามทั้งสามที่เจ้าของกระทู้ถามมา  เชื่อว่าไม่มีอยู่จริง  แต่อาจจะปรากฏอยู่ตามหัสนิยายก็เป็นได้
ส่วนราชทินนามที่มีจริงนั้นมรอาทิ
ประดิษฐ์บาทุกา  ซึ่งทายาทคุณหลวงประดิษฐ์บาทุกา เจ้าของร้านเซ่งชงท่านผวนเป็น ประดิษฐ์บาทากู
ประดิษฐ์ไพเราะ  พระราชทานจางวางศร  ศิลปบรรเลง

๒ ท่านนี้ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงพร้อมกัน  เป็นบรรดาศักดิ์พิเศษสังกัดกรมกรมมหาดเล็ก  คือมีแต่บรรดาศัหกดิ์แต่ไม่มีเงินเดือน

อีกท่านหนึ่งก็ หลวงวิจิตรพัสตราภรณ์ (เพี้ยน  แสงรุจิ) เจ้าของร้านวิวิธภูษาคาร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 09:49

ราชบัณฑิตยสภา   แผนกวรรณคดี มี
ศาสตราจารย์ภาษาบาลี                       อ.ท. พระวินิจวรรณการ
ไม่ทราบประวัติท่านเลยค่ะ
คุณหลวงเล็กขอความกรุณาเล่าด้วยนะคะเมื่อว่าง

ส่วน พระเจนจีนอักษร  กับ นาย ป.ส.​ศาสตรี    เป็นที่รู้จัก



ต่อมาขอความกรุณาคุณ V_Mee  เล่าประวัติของ 
ร.อ.อ. ขุนบรรณรักษาวิจิตร  บรรณารักษ์ของหอพระสมุดวชิราวุธ




บรรณารักษ์ของหอพระสมุทรวชิรญาณ   
บรรณารักษ์ คือ ร.อ.อ. ขุนบวรบรรณกิจ(เตี้ยม  คชเกษตริน)


รักการอ่านก็น่าจะรู้จักบรรณารักษ์กันหน่อย
บันทึกการเข้า
phenix
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 10:30

สวัสดีครับคุณ wandee ขอบคุณครับ ในใมตรีของบ้านนี้

ตอนเด็กๆผมก็เคยคิดเหมือนกันครับว่าทำใมไม่มี "สุดสาคร"   ยิ้มกว้างๆ

ผมขออนุญาตเป็นผู้อ่านแล้วกันนะครับ...... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง