เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 14299 อยากทราบตำแหน่ง "หมื่นพำนักนิกรชน" ในสมัยร.5 ว่าทำคุณงามความดีด้านใด
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 29 ก.ย. 09, 23:20

ขออนุญาตตอบคุณเทาชมพู

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณมากอีกครั้งสำหรับข้อมูล ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะได้เจอข้อมูลที่พยายามค้นหามาตั้งแต่รับรู้เรื่องราวพวกนี้ บังเอิญเซิสหาข้อมูลเล่นๆผ่านกูเกิ้ล แล้วเผอิญไปกดโดนเรื่องราวเกี่ยวกับวังเก่าๆเลยลองหาเวปหลักจนมาเจอหน้าแรกของเวปนี้ถึงได้ลองเข้ามาตั้งกระทู้ดู เท่าที่อ่านๆมาก็พอประติดประต่อได้บางเรื่อง แต่ข้อมูลดิบที่มีอยู่จริงๆแล้วก็มีเพียงเท่านี้เพราะถ้าถามถึงหลักฐานแรกเริ่มจริงๆก็มีเพียงรูปถ่ายซีดๆเพียง 1 ใบกับชื่อที่ได้ยินบอกทอดกันต่อๆมาเพราะถ้าสันนิษฐานถึงอายุก็น่าจะอยู่ราวๆ 120 ปีขึ้นไป มันอาจจะนานเกินไปที่คนรุ่นหลังจะมาสนใจหรือใส่ใจให้ความสำคัญ ตามวัดต่างๆก็ไม่มีผู้รู้หรือหลักฐานใดๆเพราะมันอาจจะนานเกินไปจริงๆก็เป็นได้ เพราะอย่างกุฏิที่ว่าปัจจุบันก็ไม่เหลือร่องรอยแล้ว วัดในรุ่นหลังๆจากการสำรวจมาทุกวัดก็มักจะปรากฏแต่เพียงชื่อของทายาทหมื่นพำนักนิกรชนเสียส่วนมาก

เคยไปเยี่ยมชมมาแล้วที่ตลาดสามชุก ยังแอบชื่นชมในการดูแลบ้านขุนจำนงค์ของทายาท แต่ที่นี้คงไม่สามารถทำแบบนั้นได้เลยเพราะเป็นเพียงเมืองเล็กๆไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวอะไรมาก ที่สำคัญไม่ได้เป็นทางผ่านไปยังเมืองอื่นๆ คนจะเข้ามาต้องเจาะจงเข้ามาจากสายเอเซียหลายสิบกิโล แต่ถ้าแบบสามชุกใครจะไปไหนก็ผ่านไปผ่านมาได้อย่างสะดวก อีกทั้งคนที่นี้มักจะชอบปล่อยให้อดีตมันกลายเป็นอดีตที่พร้อมจะจางหายไปกับเวลา

วันนี้ได้ข้อมูลมานิดหน่อยพร้อมจะขอสอบถามเพิ่มเติม บางเรื่อง
คือได้เห็นโปสเตอร์การสมโภชเจ้าแม่ของคนจีนไหหลำโดยมีการบรรยายว่าคนจีนไหหลำได้เริ่มอพยพเข้ามาสู่เมืองอุทัยต้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 จะเป็นไปได้ไหมที่ว่าเล้าอ่วมเป็นคนจีนไหหลำ?
ส่วนอีกสองข้อขอนอกเรื่องนิดหน่อย
1.อยากรู้ว่าถ้าเราจะหาหนังสืออนุสรณ์งานศพของคนโบราณจะไปหาได้จากที่ไหน คือเคยค้นเจอว่ามีในหอสมุดของม.ธรรมศาสตร์กับม.กรุงเทพแต่เราเป็นคนนอกจะสามารถเข้าไปยืมได้ไหม
2.อยากรู้ว่าถ้าหมื่นพำนักนิกรชนและนางพำนักนิกรชนมีบุตรและธิดา ในวัยเยาว์เด็กจะใช้นามสกุลอะไร จะใช้แซ่เล้าหรือจะใช้พำนักนิกรชนเป็นนามสกุลได้เลยไหม เหมือนแบบตามที่เห็นในปัจจุบันที่มีหลายท่านมีนามสกุลที่มาจากราชทินนามหรือบรรดาศักดิ์ เพราะในสมัยร5นั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล เพราะเท่าที่สอบถามจากผู้ที่พอรู้ ทำไมกลายเป็นว่าถ้าพูดถึงชื่อหมื่นพำนักนิกรชน กลับใช้ชื่อนามสกุลว่าอ่วม ปาลวัฒน์วิไชย (ซึ่งเป็นราชทินนามของขุนปาลวัฒน์วิไชย)ซึ่งได้รับแต่งตั้งภายหลังจากผู้เป็นบิดาได้เป็นหมื่นพำนักนิกรชนอย่างแน่นอน รวมไปถึงคุณหญิงละมูนก่อนแต่งงานก็ใช้นามสกุลปาลวัฒน์วิไชยเช่นกัน

ขออนุญาตแทรกตอบคุณWandee
พอดีเป็นครั้งแรกที่เข้ามาเล่นอาจจะไม่รู้ธรรมเนียมการเล่นของคนในบอร์ดนี้ไปบ้างต้องขอโทษด้วยแต่ก็ขอขอบคุณสำหรับทุกๆความสนใจเมื่อดูจากจำนวนที่มีคนเข้ามาอ่านก็เยอะพอสมควร ส่วนเรื่องคุณเทาชมพูเข้ามาเล่นบอร์ดนี้อีกครั้งมาตรงจังหวะกับการที่เข้ามาเล่นบอร์ดนี้ครั้งแรกก็ถือเป็นโชคดีของpropagandaอย่างมากที่ทำให้ได้ข้อมูลจากทุกๆท่านช่วยพอขยายความในเรื่องที่ข้องใจมานาน

เรื่องสืบหาจากญาติใกล้ชิดได้ลองทำอย่าละเอียดและครบถ้วนแล้วแต่ไม่มีประโยชน์เพราะแต่ละคนที่เหลืออยู่ล้วนเกิดไม่ทันหรือโตไม่ทันในยุคสมัยของหมื่นพำนักนิกรชนสักคน แต่ละคนเคยได้ยินแต่คำบอกเล่าจากปากของคุณหญิงละมูนที่พูดถึงคุณเตี่ย ก็คือข้อมูลที่บอกไปหมดแล้วอีกทั้งผู้ที่เหลืออยู่ก็อายุมากๆกันแล้วทั้งนั้น ทายาทที่เหลืออยู่ในขณะนี้ถือเป็นรุ่นที่ 4 แล้วที่สืบทอดจากหมื่นพำนักนิกรชน--->คุณหญิงอาณาจักรบริบาล--->บุตรชายของคุณหญิงฯ--->ทายาทรุ่นปัจจุบันอายุประมาณ 65-75 ปี (ถ้าอายุน้อยกว่านี้ก็ไม่ทราบเรื่องแล้วเพราะไม่ทันรู้ความในรุ่นของคุณหญิงอาณาจักรบริบาล ถ้าหมดรุ่นนี้แล้วคิดว่าข้อมูลต่างๆคงสิ้นสุดกันอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 08:59

ขอบคุณคุณ wandee ค่ะ    ตอนนี้ งานที่ทำอยู่นอกเน็ต เสร็จไปบางส่วนแล้ว อีกอย่างก็ปิดเทอมแล้วด้วย    เลยพอมีเวลาเข้ามาคุยได้ จะพยายามเข้ามาสม่ำเสมอ  เหมือนเมื่อก่อน
เห็นหน้าเก่าๆที่หายไปนาน กลับมาอีกอย่างติบอและคุณโฮฯ ก็ดีใจ   คุณ wandee อีกคน  อย่าหายไปนะคะ คิดถึง

ตอบคุณ proฯ
๑  เรื่องท่านหมื่นเป็นคนจีนเชื้อสายอะไร   ตอบง่ายมาก  แค่รอคุณเครซี่ฮอสหรือท่านอื่นๆที่รู้ภาษาจีนเข้ามาตอบก็จะได้คำตอบทันที    ว่าเล้าอ่วมเป็นสำเนียงจีนไหหลำหรือไม่
๒  เรื่องนามสกุลท่านหมื่น  ขอตอบว่านามสกุลคนไทยเพิ่งจะมีในรัชกาลที่ ๖   สมัยท่านหมื่นยังไม่มีนามสกุล   
คนรุ่นแรกที่ใช้นามสกุล คือลูกชายท่าน    ก็คงนำราชทินนามมาตั้งเป็นชื่อสกุล   พอเอ่ยถึงชื่อพ่อในประวัติสกุล   ก็เลยเอานามสกุลลูกต่อท้ายชื่อพ่อ เท่านั้นเองค่ะ
๓  หนังสืองานศพ  ไปสอบถามได้ที่หอสมุดแห่งชาติ   เข้าไปอ่านได้แต่ยืมออกมาไม่ได้
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 09:55

ได้ค้นเอกสารที่มีอยู่ที่เป็นรายชื่อขุนนางในเมืองอุทัยธานีในช่วงต้น ร.๖
พบว่าบันทึกไว้แต่กรมการนอกทำเนียบที่เป็นชั้นคุณหลวง
ส่วนในราชกิจจาฯ ที่ค้นประวัติฯแบบคร่าวฯ ก็พบแต่หลวงพำนักนิกรราษฎร์ เท่านั้น
ยังไม่พบชื่อหมื่นพำนักนิกรกิจ ก็คงต้องช่วยกันหากันต่อไป

ในทำเนียบข้าราชการฯ พ.ศ.๒๔๘๑ ปรากฎชื่อขุนปาลวัฒน์วิไชย เป็นนายอำเภอนำ้้ซึมอยู่ครับ
ซึ่งเมื่อค้นเพิ่มเติมใน net พบว่าท่านเป็นผู้ขอเปลี่ยนชื่ออำเภอนำ้ซึมไปเป็นอำเภอเมืองอุทัยธานีในปีถัดมา
และตามข้อมูลของคุณ Propaganda ก็คงต้องถือว่าหมื่นพำนักนิกรกิจท่านนี้เป็นต้นตระกูลของ "ปาลวัฒน์วิไชย"
ดังนั้นก็คงไม่เป็นการผิดนัก ถ้าจะเขียนเป็น หมื่นพำนักนิกรกิจ (อ่วม ปาลวัฒน์วิไชย)

ว่าไปแล้วข้อมูลที่คุณ Propaganda ค้นมาได้ ก็ถือว่าละเอียดพอสมควร
แต่ถ้าจะค้นประวัติที่เกี่ยวข้องกับการงาน อาจต้องเข้าไปดูใบบอกหรือประกาศแจ้งความของกระทรวงต่างฯ

เท่าที่ผ่านตาพบมีหนังสือที่พิมพ์เอกสารพวกใบบอกของเมืองอุไทยธานีอยู่เล่มหนึ่ง
ชื่อ "เมืองอุไทยธานี เอกสารประวัติศาสตร์ฯ" ประมาณนี้ เขียนโดยคุณพลาดิสัย สิทธิธัญกิจ
และเข้าใจว่าคุณพลาดิสัยจะเป็นคนอุทัยธานีด้วย
ซึ่งถ้าจะค้นหนังสือดังกล่าวหรือติดต่อกับผู้เขียนอาจจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 11:12

ขอขอบพระคุณ คุณเทาชมพูสำหรับข้อมูลและคำตอบที่ได้สอบถามเอาไว้

และก็ขอขอบพระคุณ คุณเงินปุ่นสีเช่นเดียวกันที่ช่วยค้นคว้าข้อมูลมาเพิ่มเติม
แต่จะขออนุญาตแก้ไข จาก หมื่นพำนักนิกรกิจ เป็น "หมื่นพำนักนิกรชน" สักหน่อย
ส่วนเรื่องของหลวงพำนักนิกรราษฏร์นั้นไม่ทราบว่าที่ค้นในราชกิจจา ใช่ขุนนางเมืองอุทัยหรือเปล่า
อย่างไรขอรบกวนเพิ่มเติมด้วย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 13:48

ผมไม่รู้ภาษาไหหลำครับ แต่แซ่ "เล้า" นี่ตรงกับสำเนียงของแต้จิ๋วครับ ค้นเจอบางที่บอกว่าฮกเกี้ยนเรียก "เล่า" และเจออะไรลมๆที่ดูเหมือนจะบ่งชี้ว่าไหหลำออกเสียงแซ่นี้ว่า Liu (ไม่รู้ประวรรณยุกต์อย่างไร) แต่อาจคล้ายจีนกลางที่ออกเสียงว่า "หลิว"

ถ้าสมมุติไว้ก่อนว่าท่านเล้า เป็นจีนแต้จิ๋ว แล้วมาดูที่ชื่อ "อ่วม"

คำนี้ไม่มีในภาษาแต้จิ๋วครับ แต่มีคำที่ออกเสียงว่า อ่วน, ฮ่วง

ถ้าท่านเล้าเป็นจีนแต้จิ๋ว ก็เป็นไปได้สองประการ
1. ชื่อของท่านถูกคนไทยเรียกเพี้ยนไปเป็นอ่วม เรื่องนี้พบได้บ่อยๆครับ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดที่คนไทยจะจับแปลงชื่อจีนเป็นชื่อไทยๆที่ออกเสียงคล้ายกัน
2. ชื่อ "อ่วม" เป็นชื่อไทย ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าเป็นลูกจีนที่เกิดในไทยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 17:10

เป็นกำลังใจให้คุณ propaganda ครับ
ผมติดตามหาข้อมูลจากที่นี่ทุกวัน แต่ไม่ค่อยแสดงความเห็นเพราะรู้น้อย
ที่นี่เป็นเวทีวิชาการที่มีความเป็นกันเอง ไม่หวงวิชา

การติดตามเรื่องราวของบรรพบุรุษ หรือวงศ์ตระกูล ต้องใช้ความพยายามสูงถ้าเริ่มช้า ก็ต้องใจเย็นๆครับ แต่อย่าเพิ่งท้อหรือหยุด
ตอนเด็กๆ พ่อสอนให้ท่องชื่อปู่ย่า, พ่อแม่ของปู่และย่า, ปู่ของปู่
เมื่อผมอายุประมาณ ๑๐ ปี ไปเจอเศษกระดาษบันทึกของปู่ ๔-๕ แผ่น เขียนบันทึกประวัติตระกูล มีชื่อนอกเหนือจากที่เคยท่อง
เป็นมูลเหตุให้เกิดความสนใจ เพราะยังมีนามสกุลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
เริ่มสอบถามเวลาเจอญาติ ว่าคนนี้เป็นอะไรกับเรา
จนเรียนจบมหาวิทยาลัย ทำแบบสอบถามส่งไปให้คนที่คิดว่าเป็นญาติ โดยเปิดดูจากสมุดโทรศัพท์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขอรายละเอียดของแต่ละคนให้มากที่สุด เจอใครก็ขอจดรายละเอียด
แล้วเอามาปะติดปะต่อกันแบบจิ๊กซอว์ เพราะมีข้อมูลมากมาย เนื่องจากบรรพบุรุษที่มาจากเมืองจีนมีภรรยาหลายคน มีลูกหลายคน
นอกจากนี้ไปอ่านเจอเรื่องของบรรพบุรุษท่านหนึ่งในจดหมายเหตุฯ ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ เสด็จเมืองตานี
เลยค้นคว้าข้อมูลจากหอสมุดแห่งชาติ, หอสมุดกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหอสมุดอื่นๆ
ตอนที่รวบรวมรายชื่อเครือญาติผมเป็นรุ่นที่ ๖ มีรุ่นอาวุโสที่เหลือเป็นรุ่น ๔ ไม่กี่คน
แต่ก็สืบค้นไปจนถึงรุ่นที่ ๑ ได้เกือบครบทุกคน จนสามารถทำหนังสือประวัติตระกูลขึ้นมาได้ ๑ เล่มใหญ่ๆ

ก็ขอเป็นกำลังใจให้เร่งทำต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 19:27

ขอขอบพระคุณ คุณCVT สำหรับกำลังใจและความคิดเห็นที่มีให้ ตอนนี้ก็พยายามใจเย็นๆค่อยค้นหาข้อมูลจากคำบอกเล่าของคนที่เหลืออยู่กับได้ข้อมูลจากทุกๆท่านในบอร์ดแห่งนี้ ก็คาดว่าคงจะเจอปลายทางในไม่ช้า ถึงแม้จะรู้ว่าโอกาสที่จะเจอหลักฐานที่เป็นเอกสารอาจจะน้อยนิด อาจจะเป็นเพราะทั้งความสำคัญไม่เท่ากับข้าราชการชั้นสูงที่ทำให้อาจจะมีตกหล่นในบันทึกต่างๆ รวมไปถึงระยะเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน อีกทั้งมีข้อจำกัดที่อยู่ต่างจังหวัด หอสมุดหรือหอจดหมายเหตุที่นี่ก็มีไม่มาก และก็ไม่มีโอกาสเท่าไรที่จะเข้าไปค้นคว้าตามหอสมุดในกรุงเทพฯ แต่ก็คิดว่าจะพยายามทำให้ดีที่สุด แบบที่คุณCVT ทำได้จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


วันนี้ก็มีข้อมูลใหม่มานำเสนอเล็กน้อยพอดี คนที่ได้ไปสอบถามเมื่อวันก่อนได้แจ้งมาว่าพอจะนึกได้ว่า หมื่นพำนักนิกรชน หรือก๋งอ่วม มีน้องชาย ชื่อ "ก๋งกวย"
เลยกำลังคิดว่าถ้าคำว่า "กวย" เป็นภาษาจีน ก็อาจจะสันนิษฐานได้ตามที่คุณ CrazyHOrse ให้ข้อคิดว่าอาจจะชื่อ "อ่วน" ซึ่งเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วแต่เรียกนานๆอาจจะเรียกเพี้ยนกันไปบ้าง อีกทั้งยังได้รับคำบอกเล่าเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากบุตรและบุตรี คือขุนปาลวัฒน์วิไชย กับคุณหญิงอาณาจักรบริบาลแล้ว หมื่นพำนักนิกรชนยังมีบุตรกับภริยาคนอื่นๆ แล้วเท่าที่จำได้ก็มีบุตรชื่อ ซุ่นโฮว กับ ซุ่นฮวง (จะใช่คำจากภาษาแต้จิ๋วด้วยหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจนัก)

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า หมื่นพำนักนิกรชนน่าจะทำงานให้กับทางราชการตรงกับช่วงก่อน หรือช่วงที่  พระไชยนฤนาท ตำแหน่งในขณะนั้นของอำมาตย์เอกพระยายอดเมืองขวาง (ม.ล.อั้น เสนีวงศ์) เป็นผู้ว่าการเมืองอุไทยธานี เมื่อปี 2450 เพราะเปรียบเทียบกับลำดับชั้น เนื่องจากขุนปาลวัฒน์วิไชย บุตรของหมื่นพำนักนิกรชนได้แต่งงานกับนางอำไพ เสนีวงศ์ บุตรีของม.ล.อั้น เสนีวงศ์ กับคุณหญิงสายหยุด เสนีวงศ์ (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวเนื่องจากมักจะเป็นที่รู้กันว่าในสมัยก่อนพวกขุนนางหรือข้าราชการในสมัยนั้นมักจะจับคู่ให้บุตร-ธิดาของต่างฝ่ายให้ได้แต่งงานกัน)
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 20:44

ชื่อ "กวย" "ซุนโฮ่ว" "ซุนฮวง"

อย่างนี้ไม่ต้องเดาแล้วครับ ผมเชื่อเสีย 85% แล้วว่าเป็นแต้จิ๋ว เผื่อไว้นิดหน่อยว่าอาจเป็นฮกเกี้ยนที่เป็นภาษาใกล้เคียงกันครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 20:52

ชื่อ "กวย" "ซุนโฮ่ว" "ซุนฮวง"

อย่างนี้ไม่ต้องเดาแล้วครับ ผมเชื่อเสีย 85% แล้วว่าเป็นแต้จิ๋ว เผื่อไว้นิดหน่อยว่าอาจเป็นฮกเกี้ยนที่เป็นภาษาใกล้เคียงกันครับ

ใช่ครับ บ้านผมเป็นฮกเกี้ยน มีชื่อ กิมกวย, ซุ่นจ่าย, ซุ่นเฉี้ยง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 21:04

ฮกเกี้ยน มีชื่อ "อ่วม" หรือคำที่ออกเสียงคล้ายกันไหมคะ

ความเห็นนี้ไม่เกี่ยวกับประวัติท่านหมื่นฯ  แต่อยากบอกว่า  ท่านหมื่นฯมีลูกที่เกิดจากคุณนายเต๊า เป็นอภิชาติบุตรทั้งสองคน
อันที่จริงประวัติของขุนปาลวัฒน์ฯ กับคุณหญิงละมุน  น่าจะมีลูกหลานจำได้มากกว่าท่านหมื่นฯ เพราะใกล้มากกว่า
คุณโปรฯคงรวบรวมเอาไว้ได้มากแล้ว
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 22:37

เพิ่มเติมตามที่ถามมา
หลวงพำนักนิกรราษฎร์ ไม่ใช่ขุนนางเมืองอุทัยฯ
ท่านรับราชการอยู่ในกรุงเก่าและอ่างทองครับ

และขออภัยที่หลายครั้งต้องตอบช้า
เพราะเอกสารไม่ได้อยู่ตัวและงานประจำช่วงนี้ยุ่งมาก
บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 23:16

ขอขอบพระคุณๆทุกความเห็นและคำแนะนำ
1.ตอนนี้จะสามารถสรุปได้ว่า หมื่นพำนักนิกรชน เป็นคนจีนแต้จิ๋วที่เข้ามาอยู่ใต้พึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 คาบเกี่ยวต้นรัชกาลที่ 6 แล้วหรือไม่
2.เรื่องประวัติของขุนปาลฯนั้น เนื่องด้วยภรรยาของขุนปาลฯก็เพิ่งจะเสียไปประมาณ 10 ปีได้และก็ยังมีบุตร-ธิดาเป็นจำนวนมากทำให้ข้อมูลยังคงอยู่ แต่คุณหญิงละมูนนั้น มีบุตร-ธิดาเพียงสองคน ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนแต่เสียชีวิตไปนานแล้วเป็นเวลาหลายสิบปี รุ่นหลานๆที่อยู่ในตอนนี้ก็ล้วนอายุมาก ก็จดจำอะไรก็ไม่ค่อยได้ อีกทั้งเมื่อคราวคุณหญิงเสีย ก็เสียที่กรุงเทพ และเสียในขณะที่อายุเพียง 70 บุตรีเพียงคนเดียวของท่านที่ย้ายไปอยู่กับสามีในกรุงเทพฯก็ได้จัดงานที่กรุงเทพให้เสร็จสิ้นเสียทีเดียว โดยที่ทราบมาก็มีเพียงหนังสืออนุสรณ์งานศพของคุณหญิงละมูน ซึ่งแม้แต่ทายาทคนอื่นๆก็ไม่มีหนังสือที่ว่านี้ ตามที่เคยเรียนถามคุณเทาชมพูเรื่องการขอยืมหนังสืออนุสรณ์งานศพ เพราะเคยค้นหาเจอว่ามีในหอสมุดของมธ.กับม.กรุงเทพ อาจรวมไปถึงในหอสมุดแห่งชาติ แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องการเดินทางไปกรุงเทพทำให้ข้อนี้โอกาสเป็นไปได้ยาก ยังเคยคิดว่าถ้าได้ข้อมูลประวัติจากหนังสืออนุสรณ์ของคุณหญิง อาจจะได้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมถึง คุณเตี่ย ของคุณหญิงได้บ้างไม่มากก็น้อย
3.หลายๆท่านอาจจะมีงานส่วนตัวที่ค่อนข้างยุ่งอยู่ก็ขอให้ท่านทำงานส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนไม่ต้องกังวลหรือไม่ต้องขอโทษขอโพยใดๆด้วยซ้ำที่บางทีอาจจะตอบช้าเพราะแค่นี้ก็ซาบซึ้งและเกรงใจทุกๆท่านที่สละเวลาอันมีค่ามาช่วยค้นคว้าหาข้อมูลมาได้จนขนาดนี้
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 01 ต.ค. 09, 07:51

ตามที่เคยเรียนถามคุณเทาชมพูเรื่องการขอยืมหนังสืออนุสรณ์งานศพ เพราะเคยค้นหาเจอว่ามีในหอสมุดของมธ.กับม.กรุงเทพ อาจรวมไปถึงในหอสมุดแห่งชาติ แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องการเดินทางไปกรุงเทพทำให้ข้อนี้โอกาสเป็นไปได้ยาก ยังเคยคิดว่าถ้าได้ข้อมูลประวัติจากหนังสืออนุสรณ์ของคุณหญิง อาจจะได้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมถึง คุณเตี่ย ของคุณหญิงได้บ้างไม่มากก็น้อย
3.หลายๆท่านอาจจะมีงานส่วนตัวที่ค่อนข้างยุ่งอยู่ก็ขอให้ท่านทำงานส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนไม่ต้องกังวลหรือไม่ต้องขอโทษขอโพยใดๆด้วยซ้ำที่บางทีอาจจะตอบช้าเพราะแค่นี้ก็ซาบซึ้งและเกรงใจทุกๆท่านที่สละเวลาอันมีค่ามาช่วยค้นคว้าหาข้อมูลมาได้จนขนาดนี้

เมื่อประมาณปี ๒๕๓๕ เคยค้นข้อมูลเจอว่าในห้องสมุด มธ. มีหนังสือจดหมายเหตุ ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสปักษ์ใต้ ของสักขี
ผมอยู่ที่หาดใหญ่ไม่สะดวกต่อการไปค้นคว้า เลยทำหนังสือถึงบรรณารักษ์ห้องสมุด มธ. ขอให้ถ่ายสำเนาหนังสือทั้งเล่มให้
ทางหอสมุดฯจัดทำและส่งไปให้ แล้วให้ผมส่งเงินตามหลังให้ บริการดีมากเลยครับ

สำหรับข้อ ๓ ส่วนตัวผมถือเป็นความมัน ความท้าทาย ในความอยากรู้อยากเห็นของผม ไม่ถือเป็นภาระครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 01 ต.ค. 09, 10:17

รบกวนสอบถามคุณ CVT ว่าเราจะติดต่อบรรณารักษ์ได้อย่างไร จะสามารถติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เลยได้ไหม แบบเซิสหาจากเนตถึงเบอร์หอสมุดของมธ. แล้วบริการที่ว่านี้เขามีอยู่แล้วหรือว่าเฉพาะกิจ อย่างไรจะได้รีบติดต่อเผื่อจะได้ข้อมูลเสริมบ้าง
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 01 ต.ค. 09, 11:15

รบกวนสอบถามคุณ CVT ว่าเราจะติดต่อบรรณารักษ์ได้อย่างไร จะสามารถติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เลยได้ไหม แบบเซิสหาจากเนตถึงเบอร์หอสมุดของมธ. แล้วบริการที่ว่านี้เขามีอยู่แล้วหรือว่าเฉพาะกิจ อย่างไรจะได้รีบติดต่อเผื่อจะได้ข้อมูลเสริมบ้าง

ผมเขียนจดหมายไปถึงบรรณารักษ์แบบวัดดวงดื้อๆ แต่ได้รับการตอบรับและบริการดีมากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง