เงินปุ่นสี
อสุรผัด

ตอบ: 47
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 17:36
|
|
ขอคัดข้อบังคับปกครองหัวเมือง ร.ศ.๑๑๗ ว่าด้วยตำแหน่งกรมการในทำเนียบ ดังนี้ครับ
"..ข้อ ๕ …ตำแหน่งจ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสาระเลข ๕ ตำแหน่งนี้ เป็นตำแหน่งรับประทวนตราเสนาบดีรับพระบรมราชโองการตั้งเป็นหลวงหรือขุน และการเลือกสรร…เป็นหน้าที่ข้าหลวงเทศาภิบาล"
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงการรับประทวนนั้น ตั้งเปนหลวงหรือขุนได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 17:55
|
|
ไปเปิดพจนานุกรมมาเสริม
ขุนหมื่น (โบ) น. ข้าราชการชั้นต่ำพวกหนึ่งที่เจ้าสังกัดเอาประทวน ตั้งเป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง.
ถ้างั้นในรัชกาลที่ 5 ถึงชั้นหลวง ก็ยังเป็นประทวนอยู่ ขอบคุณที่ให้ข้อมูลค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 18:01
|
|
ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกแล้ว มีนี่อีกครับ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๔๕๗ หน้า ๒๙๕๗
...แจ้งความกระทรวงมหาดไทย... ...เรื่องออกประทวนตราตั้งบรรดาศักดิ์...
ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ทำประทวนตราพระราชสีห์ตั้ง ขุนวิชิตศุลกากร เจ้าพนักงานด่านภาษีปากน้ำเมืองตานี เปน หลวงวิชิตศุลกากร ๑ ฯลฯ ...ตั้งแต่ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ แล้ว... ...(ลงนาม) มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตยาธิบดี... ...ผู้แทนเสนาบดี...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 18:44
|
|
ชักสงสัยว่า รับประทวน เอาประทวน ออกประทวน ในสมัยโบราณ ไม่ได้มีความหมายเดียวกับ ประทวน ในสมัยนี้หรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
propaganda
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 20:25
|
|
ต้องขอขอบคุณทุกๆท่านที่รวมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์อย่างสูง
ในวันนี้ได้ค้นหาประวัติเพิ่มเติมจากคำบอกเล่าของคนที่พอเคยได้ยินเรื่องของหมื่นพำนักนิกรชนมาบ้าง ขออนุญาตนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการค้นข้อมูลต่อไป
เดิมหมื่นพำนักนิกรชน มีนามเดิมว่า นายอ่วม แซ่เล้า (แต่ไม่ทราบว่าอพยพมาในรุ่นนี้หรือเป็นบุตรของผู้ที่อพยพมาก่อนหน้านี้--แต่จากความคิดส่วนตัวคือกำลังคิดว่าน่าจะย้ายมาจากรุ่นก่อนหน้าที่เพราะการแต่งงานในสมัยก่อนมักจะแต่งกันตอนอายุน้อยๆก็ทำให้ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะอพยพมาเองโดยลำพังแต่อายุยังน้อย แต่มันก็ขัดกับการแต่งตัวว่าถ้ากรณีอพยพมานานแล้วทำไมการแต่งตัวยังเป็นแบบจีนแท้ๆตามข้อมูลที่ระบุข้างล่าง) ได้แต่งงานกับคนไทย ชื่อ นางเต๊า แล้วได้ทำอาชีพค้าไม้ (สับสนพอสมควรว่าทำอาชีพส่วนตัวค้าขายไม้แล้วมารับราชการจนเป็นหมื่นได้อย่างไรแต่มีหลักฐานเป็นเรือนไม้สักที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นไม้ที่ดีๆสวยๆที่หมื่นพำนักนิกรชนเลือกเอาไว้ปลูกบ้านของตนเอง) เดิมทีอาศัยอยู่ที่อำเภอเมืองของจังหวัดอุทัยธานีในขณะนั้น (แต่อำเภอเมืองของอุทัยธานีในขณะนั้นคืออำเภอหนองฉางในปัจจุบัน) แต่ต่อมาได้มีการย้ายอำเภอเมืองมาอยู่ในพื่นที่อำเภอเมืองในปัจจุบัน จึงได้ย้ายมาตั้งรกรากอยู่และตัวบ้านของหมื่นพำนักนิกรชนนี้ก็มีมาอยู่จนถึงปัจจุบัน จากการดูรูปถ่ายที่หลงเหลืออยู่ เป็นภาพผู้ชายชาวจีนถ่ายเหมือนในสตูดิโอแบบโบราณ นั่งเก้าอี้อยู่มีโต๊ะวางของพวกถ้วยชาจีนกับกระถางต้นไม้ขนาบสองข้าง ตัวท่านหมื่นแต่งตัวด้วยเสื้อสีขาวตัวใหญ่ๆ กางเกงเหมือนโจงกระเบนแต่ไม่ใช่เพราะผ้าดูกรุยกรายกว่านั้น แทบจะเหมือนกางเกงขาก๊วยแบบคนจีนใส่ ขากางเกงสั้นเพียงหน้าแข้ง สวมถุงเท้ายาวสีขาวไม่เห็นผิวหนัง สวมรองเท้าแบบรองเท้าผ้ารัดๆพอดีเท้าเหมือนที่พระเอกในหนังจีนใส่กัน มีส้นหนาพอสมควร ผมไว้ทรงแบบโกนหัวครึ่งหน้าแต่ด้านหลังมีเปียยาวอ้อมมาพาดเลยอกลงมาอีก เป็นรูปถ่ายเพียงรูปเดียว ที่หลงเหลืออยู่
ด้านครอบครัว ได้แต่งงานกับนางเต๊า มีบุตร-ธิดาที่ร่วมอุทรกัน คือ ขุนปาลวัฒน์วิไชย กับคุณหญิงอาณาจักรบริบาล (นามเดิมละมูน-ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคุณหญิงเข้าใจว่าได้รับแต่งตั้งตามสามีที่ได้รับราชการจนได้เป็นอำมาตย์เอกพระยาอาณาจักรบริบาล)
ส่วนอายุที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้สันนิษฐานจากการที่ ได้ลองเปรียบเทียบกับอายุของผู้ที่อยู่ในชั้นระดับเดียวกัน(ได้ข้อมูลจากหนังสืองานศพที่มีหลงเหลืออยู่ เนื่องจากผู้ตาย เกี่ยวดองโดยการเป็นมารดาของอำมาตย์เอกพระยาอาณาจักรบริบาลผู้เป็นลูกเขยท่านหมื่นโดยผู้ตายได้เกิดในปี 2411 และเสียชีวิตลงในปี 2494 แต่ได้ทำการบรรจุศพไว้เป็นเวลาหลายสิบปีเพิ่งจะพระราชทานเพลิงไปเมื่อปี 2519 ทำให้ยังพอมีหนังสืออนุสรณ์หลงเหลืออยู่) โดยเท่าที่ค้นคว้าดูรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 อยู่ในช่วงปี 2411-2453 เลยสันนิษฐานว่าหมื่นพำนักนิกรชนนี้อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5 อาจจะคาบเกี่ยวมาถึงต้นรัชกาลที่ 6 อีกทั้งได้ค้นคว้าพบว่า แม้กระทั่งผู้เป็นบุตรเขยของหมื่นพำนักนิกรชนนั้น ยังมีหนังสือประวัติที่พิมพ์เป็นที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ว่าเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทำให้ปักใจเชื่อว่าหมื่นพำนักนิกรชนที่มีศักดิ์เป็นพ่อตานั้นน่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5
อย่างไรคงต้องขออนุญาตรบกวนทุกๆท่าน โดยข้อมูลเพิ่มเติมที่ค้นคว้ามาได้เพียงเท่านี้เองหวังว่าคงช่วยได้บ้างไม่มากก็น้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 20:48
|
|
มาแกะรอยท่านหมื่น ตามข้อมูลใหม่ ๑ เป็นอันรู้กันว่า ท่านหมื่นพำนักฯ มีนามเดิม เรียกแบบจีน ว่า เล้าอ่วม คุณเครซี่ฮอสหรือสมาชิกอื่นๆที่รู้ภาษาจีน คงบอกได้ว่าเป็นสำเนียงอะไร แต้จิ๋วหรือฮกเกี้ยน ๒ ภรรยาท่านที่ว่าชื่อนางเต๊า เห็นทีจะเป็นสาวไทยเชื้อสายจีน เพราะชื่อเต๊า ไม่ใช่ภาษาไทย เป็นภาษาจีน ๓ ถ้าหากว่าท่านเดินทางมาจากเมืองจีน ก็มาเมื่อโตเป็นหนุ่มพอสมควรแล้ว ไม่งั้นคงเดินทางมาแต่ยังเด็กไม่ได้ ถ้าหากว่ามีภรรยาที่แต่งกันตั้งแต่ยังเด็ก ก็คงอยู่ทางเมืองจีน ไม่ได้นำภรรยามาด้วย แต่ใจดิฉันสงสัยว่าท่านจะเป็นลูกจีนเกิดในไทยมากกว่า เหตุผลเรื่องนี้จะอธิบายให้ฟังในข้อต่อๆไป ๔ ถ้าท่านเดินทางมาจากจีน ก็ต้องมาขึ้นที่กรุงเทพ หรือจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งที่เป็นเมืองท่า แล้วเดินทางมาตั้งรกรากอยู่ที่อุทัยธานี แต่ถ้าเป็นลูกจีนเกิดในไทย อาจจะเกิดที่อุทัยธานีหรือจังหวัดใกล้เคียง ๕ การค้าไม้ ไม่ใช่ของประหลาดอะไรเลย เพราะจีนอพยพ ไปทำไร่ทำนา หักร้างถางพงแบบ pioneer กันมากในภาคกลาง เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม มีจีนอพยพมาทำไร่ทำสวนกันมากมาย เมื่ออุทัยธานีมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ ท่านหมื่นก็คงเห็นช่องทางว่าค้าไม้คงไปได้ดี ท่านคงจะมีบริวารจำนวนมาก รับจ้างตัดไม้ให้ท่าน ท่านเป็นหัวหน้าพวกเขาทั้งหมด ถึงได้เป็นนายบ้าน ข้าราชการสมัยท่านไม่มีออฟฟิศ ไม่ต้องเข้าไปนั่งโต๊ะทำงานอย่างสมัยนี้ ขุนนางไทยทำงานอยู่กับบ้าน ในเมื่อท่านหมื่นฯ น่าจะเป็นคหบดีมีเงิน(จากค้าไม้) มีผู้คนบริวาร เจ้าเมืองหรือกรมการเมืองก็ให้เครดิต ตั้งเป็นหมื่นพำนักฯ ให้ช่วยดูแลลูกบ้าน ๖ ดูจากบริบทแล้ว ท่านหมื่นฯน่าจะเป็นระดับเศรษฐีท้องถิ่นทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 21:04
|
|
ถ้าท่านหมื่นฯ ไม่ได้เปลี่ยนการแต่งกายเป็นไทย ในบั้นปลายชีวิต ก็แปลว่าท่านก็อยู่แบบจีนของท่าน อย่างที่เคยชินมาตั้งแต่เกิด ที่บ้านไม้สักในอ.เมือง อย่างนั้นแหละ เป็นคหบดีท้องถิ่น ที่ผู้คนคงจะรู้จักกันดีพอสมควร ท่านไม่ได้ไปรับราชการไทย จนต้องนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอปิดแบบไทย แต่ที่น่าสังเกตคือ ท่านหมื่นฯคงจะมี"คอนเนคชั่น " หรือแวดวงสมาคมอยู่กับขุนนางไทยมากพอสมควร อาจจะมากกว่าสมาคมกับคนจีนด้วยกันเสียอีก เพราะว่าลูกชายและลูกสาว กลายเป็นไทยไปเต็มตัวทั้งสองคน ไม่ได้เป็นจีนอย่างคุณพ่อ ข้อนี้เองทำให้ดิฉันสงสัยว่าท่านหมื่นฯเป็นลูกจีนเกิดในไทย เพราะท่านกำหนดอนาคตของลูกชายลูกสาวไปในทางไทยเต็มตัว
ลูกชาย ที่ได้บรรดาศักดิ์เป็น "ขุนปาลวัฒน์วิไชย" ดูจากราชทินนาม น่าจะสังกัดมหาดไทย ส่วนลูกสาว ชื่อเป็นไทยเต็มตัว คือละมูน ทำให้เดาว่าถูกเลี้ยงมาแบบสาวไทย เดาต่อไปว่าคงไม่ได้รัดเท้าอย่างหญิงจีน และคงจะมีคุณสมบัติแบบแม่บ้านแม่เรือนไทย ถึงแต่งงานไปกับหนุ่มขุนนางไทย แทนที่จะไปแต่งกับคุณชายแซ่อะไรสักคน (ซึ่งก็น่าจะหาลูกชายเจ้าสัวด้วยกันในอุทัยธานีได้ไม่ยากนัก) การกลืนจากจีนเป็นไทยในรุ่นลูกของท่านหมื่นฯ ทำให้ดิฉันคิดว่าท่านคงไม่ได้ยึดขนบธรรมเนียมจีนเคร่งครัดนัก ไม่งั้นลูกชายคงมีชื่อจีน ค้าขายต่อจากพ่อ และลูกสาวคงแต่งไปกับเจ้าสัวเมืองอุทัย เมื่อพ่อไม่ยึดธรรมเนียมเคร่งครัด ก็มีแนวโน้มว่าท่านอาจเป็นลูกจีนเกิดในไทยก็ได้ ท่านก็เลยรักษาความเป็นจีนไว้เฉพาะตัวเอง อย่างที่ท่านเคยชิน ไม่ได้ให้ลูกๆเป็นจีนตามไปด้วย
ลูกเขยของท่านหมื่นฯ ที่ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาอาณาจักรบริบาล สังกัดมหาดไทยแน่นอน ตอนแต่งอาจจะเป็นท่านขุนหรือคุณหลวงหนุ่มๆ ราชทินนามอื่น ตำแหน่งงานเลื่อนขึ้นจนได้เป็นพระยา แสดงว่าก้าวหน้าไม่เบาเลย คุณหญิงละมุน อาณาจักรบริบาล นั้น เมื่อเป็นเอกภรรยาของเจ้าคุณอาณาจักร ก็เป็นคุณหญิงโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องได้รับการแต่งตั้งก็เป็นเองค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
propaganda
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 21:12
|
|
เรียนคุณเทาชมพู ขอเพิ่มเติมข้อมูลนิดหน่อย
2. นางเต๊า เท่าที่ค้นมาไม่น่าจะเป็นคนจีน อาจจะแค่มีเชื้อจีนหรือเป็นการออกเสียงชื่อที่ผิดๆมาตั้งแต่ต้น พอดีเจอหนังสือประวัติวัดแห่งหนึ่งระบุว่า "นายจันกับนาง.....(จำชื่อไม่ได้แต่เป็นชื่อไทยๆ) ผู้เป็นตากับยายของขุนปาลวัฒน์วิไชยกับคุณหญิงอาณาจักรบริบาล (ตากับยายน่าจะหมายถึงเป็นพ่อกับแม่ของนางเต๊า)ได้บริจาคไม้ที่รื้อจากเรือนมาปลูกเป็นกุฎิถวายวัด" ดังนั้นคิดว่าน่าจะเป็นคนไทยที่อยู่ในพื้นที่นั้นมาเป็นเวลานาน
3. คิดแนวเดียวกันว่าน่าจะเติบโตที่นี่มากกว่าอพยพมาจากเมืองจีน
6. จากประวัติในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์เอกพระยาอาณาจักรบริบาลระบุไว้ว่า"อำมาตย์เอกพระยาอาณาจักรบริบาลได้สมรสกับบุตรีหมื่นพำนักนิกรชนและนางพำนักนิกรชน คหบดีชาวเมืองอุทัย"
ส่วนเรื่องการคบค้าสมาคมนั้นเข้าใจว่าในเมืองสมัยก่อนน่าจะมีชาวจีนหรือลูกหลายชาวจีนอยู่อย่างแพร่หลายเพราะแม้แต่อำมาตย์เอกพระยาอาณาจักรบริบาลผู้นี้ก็เป็นบุตรของชาวจีนกับหญิงไทยเข้าใจว่าน่าจะเป็นเพื่อนกันกับหมื่นพำนักนิกรชน เรียกต่อๆกันมาว่า ก๋งต่อกับนางนกแก้ว โดยก๋งต่อนี้มีข้อมูลว่าสืบเชื้อสายจากสกุลกั่วะ มีรูปภาพหลักฐานปรากฎเป็นภาพถ่ายของครอบครัวพระยาอาณาจักรฯ เป็นรูปที่ก๋งต่อแต่งตัวแบบชาวจีนเหมือนรูปของหมื่นพำนักนิกรชน กับบุตรชายแต่งตัวสไตล์จีนไว้ผมแบบโกนหัวครึ่งหน้าและครึ่งหลังถักเปียยาวพาดที่อก ในขณะที่นางนกแก้วกับบุตรีอีกคนแต่งตัวแบบไทยแท้คือนางนกแก้วนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนยาว ห่มสไบทับ ส่วนบุตรีใส่แต่แขนยาว แบบแขนพอง ไม่มีสไบแต่มีสายสร้อยยาวๆพาดบ่ามาถึงเอว ไว้ผมจุก ใส่กำไลข้อเท้า แบบไทยๆ
คุณหญิงละมูนไม่ได้มีการรัดข้อเท้าแต่อย่างไร แต่ประพฤติตนตามธรรมเนียมไทยแท้ๆ แต่ยังคงเรียกหมื่นพำนักนิกรชนว่า "คุณเตี่ย" ส่วนที่แต่งงานกับพระยานั้นตอนที่แต่งงานพระยาอาณาจักรเป็นเพียงมหาดเล็กรายงานมณฑลกรุงเก่า(น่าจะหมายถึงอยุธยา)ยังไม่ได้มีตำแหน่งสำคัญแต่อย่างไร อายุตอนนั้นพระยาเพิ่งจะ อายุ 21 ปี (คำนวนจากเกิดปี 2434 แต่งงานปี 2455ปีเดียวกับที่รับราชการเป็นมหาดเล็ก)ส่วนเรื่องหน้าที่ที่ก้าวหน้าของพระยานั้น ส่วนตัวถ้าเทียบจากปีพ.ศ.แล้วพบว่าก้าวหน้าอย่างเร็วมาก ที่พอมีบันทึกระบุไว้ว่า 2455 - มหาดเล็กรายงานมณฑลกรุงเก่า 2456 - รองอำมาตย์ตรี นายอำเภอพระราชวังบางปะอิน 2457 - รองอำมาตย์ตรี นายอำเภอเสนา 2458 - รองอำมาตย์โท ขุนบริหารชนาธิกรณ์ 2460 - รองอำมาตย์โท หลวงอรรถโกวิทวที หัวหน้ากองคดีกรมอัยการ 2461 - รองอำมาตย์โท หลวงอรรถโกวิทวที อัยการมณฑลกรุงเก่า 2464 - อำมาตย์ตรี พระอรรถโกวิทวที อัยการมณฑลภูเก็ต 2467 - อำมาตย์โท พระอรรถโกวิทวที 2470 - รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง 2471 - เจ้าเมืองตรัง 2472 - อำมาตย์เอก พระยาอาณาจักรบริบาล 2475 - อำมาตย์เอก พระยาอาณาจักรบริบาล เจ้าเมืองลพบุรี คำนวนจากข้อมูลที่มี รับราชการครั้งแรกตอนอายุ 21 ปี และได้เป็นอำมาตย์เอกพระยาอาณาจักรบริบาล ตอนอายุ 38 ปี
-สอบถามเพิ่มเติมว่าตำแหน่งแรกเริ่มเลยที่เมื่อสามีได้รับตำแหน่งแล้ว ภริยาเอกได้เป็นคุณหญิงโดยอัตโนมัติไม่ทราบว่าเริ่ม ณ ตำแหน่งไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 21:25
|
|
ภรรยาท่านหมื่นพำนักฯ คือคุณนายเต๊า น่าจะเป็นคนไทย ดูจากพ่อแม่ชื่อไทย และเธอก็เลี้ยงลูกชายหญิงแบบไทย ส่วนชื่อนี้จะสะกดผิด หรือเรียกกันตามนี้ก็ตาม คงจะสรุปได้ว่าท่านหมื่นฯ มีภรรยาเป็นไทย แล้วตกลงใจ เลี้ยงลูกๆแบบคนไทยมากกว่าจีน
"อำมาตย์เอกพระยาอาณาจักรบริบาลได้สมรสกับบุตรีหมื่นพำนักนิกรชนและนางพำนักนิกรชน คหบดีชาวเมืองอุทัย" นี่คือคำสรุป ท่านหมื่นฯเป็นเศรษฐีท้องถิ่นของบ้านฉวาง อุทัยธานีค่ะ
ขอแถมท้ายว่า การที่บ้านท่านหมื่นฯ ยังอยู่มาถึงปัจจุบัน ทำให้เดาว่าลูกหลานท่านที่อยู่ในอุทัยฯ ก็คงจะมีฐานะไม่ตกต่ำ จึงรักษามรดกของบรรพบุรุษไว้ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
propaganda
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 21:42
|
|
รบกวนขอถามว่า ที่กล่าวสรุปว่าท่านหมื่นฯเป็นเศรษฐีท้องถิ่นของบ้านฉวาง อุทัยธานีค่ะ
บ้านฉวางคืออะไร???
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 21:44
|
|
ขอโทษ ตั้งใจจะพิมพ์ว่า หนองฉาง ค่ะ พิมพ์ผิดไปทั้งคำ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
propaganda
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 28 ก.ย. 09, 22:04
|
|
อ่อ มิเป็นไรแต่ก็เอางงเลยว่ามาจากข้อมูลตรงไหน  ส่วนเรื่องการดูแลรักษา ตอนนี้บ้านของหมื่นก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม ของตกทอดก็ยังคงอยู่ ว่ากันว่ามีการสั่งเอาไว้ว่าห้ามเคลื่อนย้ายของออกจากเรือน และเคยมีผู้เคยฝ่าฝืนนำของบางอย่างออกไป เอาไปไม่กี่วันบ้านก็ไฟไหม้ เจ้าตัวก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา จะว่าบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่แต่ก็กลับทำให้ของยังคงอยู่ไม่มีใครกล้าเคลื่อนย้ายไปไหน แต่ก็มีที่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาก็เยอะ ที่เหลือตกทอดมาถึงทุกวันนี้ก็เป็นพวกเครื่องเคลือบแบบจีน ภาชนะเครื่องใช้ของจีน พวกกาน้ำร้อน พวกเฟอร์นิเจอร์มุก โต๊ะหมู่มุก กระจกมุก นอกนั้นเข้าใจว่าเป็นของตกทอดในรุ่นของคุณหญิงอาณาจักรบริบาลเพราะของจะดูเป็นไทยแท้มากขึ้น ขอบพระคุณคุณเทาชมพูและท่านอื่นๆมากที่ช่วยเหลือค้นคว้าให้แบบละเอียด 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
propaganda
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 29 ก.ย. 09, 20:40
|
|
ว่าแต่วันนี้คุณเทาชมพูหรือท่านอื่นๆไม่มีข้อมูลหรือการสันนิษฐานเพิ่มเติมเรื่องใดบ้างเหรอ กำลังรอคอยด้วยความตั้งใจ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 29 ก.ย. 09, 21:54
|
|
ท่านอื่นๆคงกำลังช่วยหาข้อมูลอยู่มั้งคะ ได้แค่นี้ก็ถือว่าเยอะแล้ว ลายแทงที่ให้มา มีนิดเดียว
กำลังนึกว่าผลงานของท่านหมื่นฯ น่าจะมีให้เห็นตามวัดวาอารามแถวนั้นบ้าง คหบดีมักจะมีชื่อในการสร้าง หรือบริจาค จารึกชื่อเอาไว้ในวัดท้องถิ่น เช่นสร้างศาลา คุณไปสำรวจบ้างหรือยัง?
อ่านประวัติของท่านแล้วก็นึกถึงขุนจำนงจีนารักษ์ แห่งตลาดสามชุก สุพรรณบุรี เป็นคหบดีชาวจีนที่ได้เป็นขุนนาง มีบ้านช่องสวยงาม ลูกหลานรักษาไว้ได้ เป็นหน้าตาของตลาดสามชุกมาจนทุกวันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 29 ก.ย. 09, 22:42
|
|
ถ้าคุณ propaganda จะลองอ่านกระทู้อื่นๆที่ถามเรื่องราชทินนาม หรือบรรดาศักดิ์ จะเห็นได้ชัดว่า เรื่องของท่านหมื่น ได้รับความสนใจ มีผู้เข้ามาพูดคุยด้วยมากเป็นพิเศษอยู่แล้ว ทั้งๆที่หลักฐานก็น้อยมาก จะอ้างอิงเอกสารใดก็ลำบาก เพียงแต่ทราบว่า เป็นเชื้อสายจีน มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ทำงานเป็นกรมการเมืองอยู่มหาดไทย
ธรรมดาธิดาของสกุลก็น่าจะรู้เห็นรับทราบความเป็นมาของบิดามารดาและวงศ์ญาติ ญาติก็น่าจะสนทนาถึงบรรพบุรุษเป็นแนวทางอยู่บ้างแล้ว
สมควรสืบหาจากญาติสายใกล้ชิดต่อไป เช่นคุณหญิงมีลูกพี่ลูกน้องกี่คน สายสกุลยังพอมีผู้อาวุโสที่ยังอยู่และจำบรรพบุรุษสายตนเองได้ไหม
ถ้าทำได้ดั่งนี้ ก็จะได้ข้อมูลที่พอเชื่อถือได้มาบ้าง รายชื่ออาจขัดแย้งกันบ้าง เป็นธรรมดา
เหตุที่กระทู้นี้ได้รับความสนใจก็เพราะ คุณเทาชมพู ได้เข้ามาเล่นกระทู้ใหม่ ดิฉันและเพื่อนสมาชิกก็เข้ามาพยายามพูดคุยกันเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ืี่
พวกเราก็เฝ้าคอยที่ขอความรู้อันเป็นขุมทรัพย์จากคุณ เทาชมพู ในเรื่องอื่นๆต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|