เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
อ่าน: 35131 ชาติพันธุ์วรรณา ใน ขุนช้างขุนแผน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 11:03

อ้างถึง
เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา                      ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง 


แสดงว่ามอญชาย สักร่างกายตั้งแต่ท้องลงไปถึงขา    ส่วนจะสักหลังไหล่ด้วยหรือไม่ ไม่ได้บอกไว้
ตามะถ่อ  คนแจวเรือในขุนช้างขุนแผน แกไม่ได้นุ่งผ้า   แกนู้ดออกมาเข็นเรือ
" แก้ผ้าลุยเลนผลักเบนไป                     โยกโยกไม่ไหวมันฝืดนัก"


คงไม่ได้มีรอยสักสีดำที่พรางร่างกายไว้ด้วย  จึงอุจาดตาจนวันทองทนไม่ได้

"หลอกเราใช้เล่นให้เข็นเรือ                     ยกเงื้อพายแร่ทั้งแก้ผ้า
วันทองน้องอายไม่ลืมตา                          หม่อมขาดูเอาเถิดไอ้นอกทาง"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 11:41

ก็นุ่งผ้าเตี่ยว เมื่อจะลงเข็นเรือก็ปลดผ้าออก  พอเข็นเรือออกฝั่งได้ก็นุ่งเหมือนเดิม  เรื่องรอยสักนี้ ของชายชาวมอญนี้  เข้าใจว่าก็เหมือนๆ กับการสักของชายในดินแดนอุษาคเนย์ที่นิยมสักเหมือนกัน  แถบทุกเชื้อชาติภาษา  ต่างกันแต่ว่าจะสักมากน้อยเท่าใด สักรูปหรือเลขอะไร สักตรงไหนบ้าง  เรื่องรอยสักนี้  เคยใช้เป็นสิ่งที่แสดงความต่างระหว่างคนลาวด้วยกัน  คือ ลาวพุงขาวและลาวพุงดำ  แต่จำไม่ได้ว่า ลาวพุงดำนี่หมายถึงลาวล้านนาหรือลาวอีสาน  เรื่องรอยสักนี่มีเรื่องให้เล่าเพิ่มเติมอีกว่า  ในกฎหมายลาวโบราณ ถือว่า ชายฉกรรจ์ที่มีรอยสัก เป็นรูปสำคัญบางอย่าง จะมีค่าตัวสูงกว่าชายที่ไม่มีรอยสัก  และว่าชายที่ไม่มีรอยสัก สาวๆ ไม่สนใจเอาเป็นสามีด้วย  ถ้ามีเวลาจะไปค้นข้อความมาให้ลงให้อ่านอีกทีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 11:53

นายมะถ่อ ถ้าเป็นมอญก็คงมาอยู่ในไทยจนนาน กลายเป็นไทยไปแล้วค่ะ   นอกจากไม่มีรอยสักตามร่างกาย  ปกติแกคงนุ่งโจงกระเบน  อีกด้วย
เพราะขุนแผนเตือนว่า

ขุนแผนร้องเบื่อมันเหลือเถน                            โจงกระเบนเสียก่อนเจ้าเรือจ้าง

ส่วนแกก็คว้าผ้านุ่งมานุ่ง   ซึ่งดิฉันเดาว่าเป็นผ้านุ่งโจงกระเบน(ซึ่งอาจจะนุ่งแบบลอยชาย)  ไม่ใช่ผ้าเตี่ยว

แล้วเลื่อนตัวมาเอาผ้านุ่ง                                 ฉวยผ้าพันพุงขมีขมัน

ถ้าพันได้แปลว่าผ้านั้นกว้างพอจะพันท่อนกลางของร่างกาย    ถ้าเป็นผ้าเตี่ยว น่าจะแค่คาดเอวเท่านั้น  บังเฉพาะส่วนหน้า
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 15:38

หนุ่มมอญที่สักหลังสักไหล่ แบบที่คุณเพ็ญชมพูพุดถึง
พบในภาพจิตรกรรมที่วัดคงคาราม จ.ราชบุรีครับ
เป็นพลทหารมารในฉากมารผจญสองสามตัว

แต่หนุ่มมอญในจิตรกรรมที่อื่นๆบางที่ก็ไม่ได้แต่งตัวแบบนี้
ผมเข้าใจว่าเพราะอยู่กันคนละชุมชน ช่างเขียนคนละคน
แถมบางทีเขียนขึ้นต่างสมัยกันอีกตะหาก...
ในเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป รายละเอียดหลายๆเรื่องในสังคมก็ต่างกันไปครับ


ผมยังหาภาพเก็บรายละเอียดชัดๆในอินเตอร์เนตไม่พบอีกตามเคยครับ
ภาพที่เอามาลงขโมยเขามาอีกตามเคย เสียดายจำเจ้าของเดิมไม่ได้เสียแล้วครับ






.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 15:53

เรื่องรอยสักนี้  เคยใช้เป็นสิ่งที่แสดงความต่างระหว่างคนลาวด้วยกัน  คือ ลาวพุงขาวและลาวพุงดำ  แต่จำไม่ได้ว่า ลาวพุงดำนี่หมายถึงลาวล้านนาหรือลาวอีสาน  เรื่องรอยสักนี่มีเรื่องให้เล่าเพิ่มเติมอีกว่า  ในกฎหมายลาวโบราณ ถือว่า ชายฉกรรจ์ที่มีรอยสัก เป็นรูปสำคัญบางอย่าง จะมีค่าตัวสูงกว่าชายที่ไม่มีรอยสัก  และว่าชายที่ไม่มีรอยสัก สาวๆ ไม่สนใจเอาเป็นสามีด้วย 


การสักที่เอวจนถึงหัวเข่าเป็นความนิยมของคนพม่าในสมัยโบราณ โดยถือว่าเป็นเครื่องแสดงความเป็นลูกผู้ชาย และถือว่าผู้มีลายสักเป็นผู้ที่มีความอดทนและกล้าหาญ  ดังนั้นผู้ชายที่ไม่สักลายมักจะถูกดูแคลน นั่นหมายรวมถึงอาจไม่เป็นที่หมายปองของหญิงสาวอีกด้วย

เมื่อพม่ามาเป็นเจ้าเข้าครองล้านนานานกว่า ๒๐๐ ปี อิทธิพลวัฒนธรรมความเชื่อของพม่าย่อมถ่ายทอดสู่ชาวล้านนา หนึ่งในวัฒนธรรมความเชื่อนั้นคือการสักโดยเฉพาะตั้งแต่เอวลงมาจนถึงหน้าขา ชาวล้านนาจึงมีชื่อเรียกว่า "ลาวพุงดำ" ส่วนลาวล้านช้างไม่ถูกพม่ามาครอบครองจึงไม่มีความนิยมดังกล่าวและได้ชื่อเพื่อให้แยกจากชาวล้านนาว่า "ลาวพุงขาว"

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน เป็นภาพหนุ่มสาวกำลังเกี้ยวพาราสีกัน ชายหนุ่มในภาพเปลือยอกเห็นรอยสักเต็มตัว ทั้งแขน ไหล่ หน้าอก พุง และหน้าขา



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 16:41

พงศาวดารโยนกกล่าวถึงของชายชาวล้านนาไว้ว่า พม่ามาบังคับให้ชาวล้านนาสักขากันในยุคปลายที่พม่าครองล้านนาแล้ว  เห็นจะเป็นช่วงหลังที่พม่ากลับเข้ามาครองเชียงใหม่ภายหลังสมเด็จพระนารายณ์ยกขึ้นไปตีเชียงใหม่แล้ว  พร้อมกันนั้นก็บังคับให้สตรีชาวล้านนาเจาะใบหูที่เรียกขวากหู  เพราะสามารถเอาใบลานหรือบุหรึ่ขี้โยสอดเข้าไปได้
บันทึกการเข้า
Whitearmy
อสุรผัด
*
ตอบ: 23



ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 20:12

Post 140 and 142 were not Mon.
They looked exactly the same with pictures of  Thais taken in 2400s (=2401-2409).

More can be said that the two drawings reflected those in the palace (chao wang).
Thing that differentiated ordinary Thai and chao wang  had to do with pa-noong: puen vs dok.


*Pls excuse my typing.

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 22:41

ผมว่ายังแบ่งไม่ขาดครับ ว่าชาวบ้านหรือชาววัง
ถ้าจะเขียนตัวทวารบาล... ช่างเขาก็คงไม่ขี้ข้ากระยาจกมาเป็นแบบนี่ครับ
แต่ก็ค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณ Whitearmy นะครับ
ว่าดูจากเครื่องแต่งตัวแล้วกระเดียดไปไทยมากกว่ามอญ

แต่ถ้าลองคิดเล่นๆว่าคนพวกนี้เป็นมอญ(กรุง)เก่า...
ก็ไม่น่าแปลก ถ้าเขาจะเอาอย่างไทยไปบ้าง
ระยะเวลาตั้งแต่ก่อนกรุงแตก ถึง 2400 มันไม่ได้ห่างกันน้อยๆนะครับ
เผลอๆระหว่างนั้นอาจจะมีมอญบางคนได้เป็นพระราชินีบ้าง
หรือมีกษัตริย์ลูกครึ่งมอญครองกรุงสยามไปบ้างแล้วซะด้วยซ้ำ



ส่วนเรื่องผ้านุ่งผ้าลายรุ่น พ.ศ. 2400 (เผลอๆ จะ 2350) ลงมา
นี่เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนอีกเรื่องครับ
(ก่อนหน้านั้นก็คงไม่แพ้กัน แต่เราชอบไปคิดว่ามันง่ายกันเอง)
ยิ่งถ้าจะเอาลายจิตรกรรมไปเทียบกับลายผ้า... ผมว่าเหลวครับ

ลองคิดดูง่ายๆว่าสถาปัตยกรรมที่นึงๆ
มีลายจิตรกรรมประเภทลายแผงที่ผนังกับเสา
รวมกับลายผ้านุ่งทวารบาลองค์ใหญ่ๆ ที่ฝีมือดีพอจะจับลายได้
ให้มากที่สุด อาคารหลังนึงก็คงไม่เกิน 20 ลาย
(ลายผ้าที่ตัวละครในจิตรกรรมภาพเล่าเรื่องนุ่งผมตัดออกนะครับ
เพราะโดยมากต้องย่อลงจนเก็บรายละเอียดของลายไมได้)
วัดซักแห่ง ยกให้มีอาคารซัก 5 หลัง ก็ตกราวๆ 100 ลาย

วัดหลวงมีซักกี่แห่ง... คูณร้อยเข้าซะให้หมด
ผมว่าก็ยังไม่น่าจะถึงห้าหมื่นลาย
ถ้าลองเทียบกับผ้าที่ซื้อเข้ามาจนขาดทุนปีละเป็นล้านตั้งแต่สมัย ร.1
จำนวนตัวอย่าง และความหลากหลายของตัวอย่าง 2 กลุ่มมันต่างกันมากนะครับ

ถ้าคิดไปถึงว่าผ้าเป็นการ "ส่งแบบ" ไปให้ทำ คนทำยังไงก็ไม่ใช่คนไทย
แต่จิตรกรรมเป็นงานไทยแท้... variation ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามเมืองที่ผลิดไปด้วย
เหมือนเครื่องเบญจรงค์ที่ทำจากจีนหน้าเทพนมก็ดูไม่เป็นไทยไปตามระเบียบ

ยิ่งในความเป็นจริงลายแบบรัตนโกสินทร์ยิ่งนิยมอะไรที่เหมือนๆกันไปหมด
คนชำนาญเห็นปุ๊บชี้บอกได้ ว่าอะไรเขียนเมื่อไหร่ ราวๆไหน
จิตรกรรมวัดนึงกว่าจะเขียนงานเสร็จก็กินเวลาเป็นปีๆ

ถ้าเทียบกับผ้านุ่งผ้าห่ม ถึงจะมีราคาค่างวดสูงแค่ไหน
หรือใช้ซ้ำจนขาดเปื่อยโดนเขาว่าแขวะเอาก็เถอะ
นับๆดูผ้านุ่งที่ชนชั้นสูงในพระนครนุ่งกันวันนึง
เผลอๆจะมากกว่าจิตรกรรมที่เขียนขึ้นใน 1 รัชกาลด้วยซ้ำ

แต่เรื่องปริมาณตัวอย่างที่ต่างกันมากขนาดนี้เราชอบลืมนึกกันไป
เลยเป็นเรื่องธรรมดามาก ที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายท่าน
จะไปคิดเอาเองว่าลายผ้าเท่ากับลายเขียนในงานจิตรกรรม
ในขณะที่เรื่องจริงมันไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นครับ

ทั้งเซียนผ้าและเซียนจิตรกรรมเจ๋งๆหลายท่านเลยพลาดกันมาเยอะแล้ว
เซียนคนแรกที่แม่นกว่าใครทั้ง 2 เรื่องและหงายเก๋งมาก่อนใครแล้ว...
คือ สมเด็จฯ นริศ (หลักฐานอยู่ในสานส์สมเด็จเล่ม 1)

เรื่องมีอยู่ว่า
วันหนึ่งกรมพระยาดำรงเชิญท่านไปช่วยกำหนดอายุผ้าจำนวนหนึ่ง
ที่หอพระสมุดได้มา(ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร)
สมเด็จท่านก็ใช้พระวินิจฉัยอย่างช่างที่ทรงมีหยิบเลือกๆไว้ กองนั้นอยุธยา กองนี้ต้นกรุง
ไม่กี่วันให้หลัง เด็กที่บ้านท่านรื้อผ้านุ่งในหีบของแม่ท่านเองออกมาผึ่งแดดไล่แมลง
ทรงเห็นเข้าก็รีบร่างสานส์ถึงกรมพระยาดำรงทันที ว่าอย่าเพิ่งแบ่งตามที่เคยทรงแบ่งไว้
ของที่เป็นกรุงเก่ากรุงใหม่อะไรนั่นมีเหมือนๆกันอยู่ในหีบสมบัติแม่ท่านเอง
ท่าจะพลาดเสียแล้ว...


นี่เฉพาะลายนะครับ... เรื่องเนื้อผ้ายิ่งมีเรื่องใหญ่(กว่า)อีกหลายเรื่องครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง