เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 35147 ชาติพันธุ์วรรณา ใน ขุนช้างขุนแผน
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:24

สงสัยคุณพระท่านจะเขียนภาพเองแล้วค่ะ

ท่านเป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ปี ๒๔๕๗  ไปเรียนที่แมนเชสเตอร์
(เรื่องชื่อเมืองต่างๆในอังกฤษมีคนหน้าแตกมาหลายรายแล้วค่ะ  นักแปลกลัวมากต้องถามกันไปมา)
ท่านเรียนวิศวกรรมศาสตร์

เมื่อกลับเมืองไทยแล้วเป็นอาจารย์ คณะวิซวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ย่อเลยนะคะ

ท่านเป็นปลัดกระทรวงธรรมการ
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ร.ม.ต.กระทรวงศึกษาธิการ

ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เห็นความงามของวรรณคดีสมัยนี้น่าจะหาตัวยากแล้วนะคะ


มีรูปอื่นๆอีกไหมคะ

ขอบคุณที่มาช่วยกันคุยค่ะ
บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:32

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและความรู้เช่นกันครับ

ขอลงภาพประกอบเท่าที่ได้ทำการถ่ายมานะครับ
เริ่มจากหน้าปกครับ เสียดายว่า เงาของตัวอักษรวับแวมไปหน่อย เพราะพิมพ์ด้วยสีทอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:35

พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร)

ผู้สมัครแสวงหาความรู้ทางวรรณคดีไทยที่น่านับถือ


บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:40

ภาพประกอบ ในขุนช้างขุนแผนตอนต่างๆ ดังนี้

๑.ทำขวัญพลายแก้ว


บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:41

๒.ขุนช้างลวงนางศรีประจัน ว่าพลายแก้วถูกลาวแทงตาย

(แหม ผู้ร้ายเสียจริง)


บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:43

๓.ขุนแผนเข้าห้องแก้วกิริยา

(ไม่คลาสสิก เหมือนตอนฟันม่านเลย ... )


บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:44

๔.ขุนแผนประจัญบานกับแม่ทัพเชียงใหม่


บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:45

๕.พิธีแต่งงานพระไวยกับนางศรีมาลา



บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:47

มีแผนที่ ที่ตั้งเมือง ในท้องเรื่อง

(อาจจะไม่ถูกทั้งหมด ... เพราะไม่อย่างนั้นคงไม่มีกระทู้ฉะนี้ ขึ้นมาถกเถียงกันดอก ... จริงไหมครับ)
บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:47

ลืมแนบแผนที่ครับ แหะๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 22:50

หากพิจารณาตามภาพประกอบ ก็จะเห็นแนวคิดของผู้เขียนเรื่องการแต่งกาย , ประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวัน
และความเชื่อต่างๆ ตามท้องเรื่อง

นับว่าน่าสนใจทีเดียวครับ

แต่หากจะนับเอาความสุนทรียะ ของการเสพภาพประกอบแล้ว

งานของครูเหม เวชกร ... ดูทีจะเย้ายวนใจกว่ากระมัง ?

^___________________________^
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 23:15

รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ คลาดเคลื่อน 

พลายงามใช้ดาบสองมือ

ขุนแผนขับขี่ช้างค่ะ


ง้าวยาวมากยังจะทวนประลองยุทธที่อัศวินสู้กัน  อิอิ


ก็น่าดีใจที่หลายคนสนใจเรื่องขุนช้างขุนแผน  จนนำมาสนทนากันได้
คุณหลวงเล็กที่นับถือหายไปหลายวัน

ความรู้ที่คุณหลวงเล็กนำมาก็เป็นความรู้ใหม่
เปิดทางให้ค้นคว้าเพิ่ม

ดีใจหาใดปาน
บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 23:20

พูดถึงเรื่องพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง

ต้องไปคว้า กฏหมายตราสามดวง มาอ่านประกอบ

เครื่องพิธีและค่ากำเหน็จเจ้าพนักงาน มากมายเหลือเกิน
ถ้าจมน้ำ ไฟคลอกตาย ... จะคุ้มกันไหมนี่

อิอิ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 20 ต.ค. 09, 23:43

ตอนขุนช้างติดคุก   นางวันทองขนเงินไปเป็นกระบุง
พัสดีเรียกพี่
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 21 ต.ค. 09, 09:01

หายไปหลายวัน กลับแล้วครับ บังเอิญว่ามีอุปัทวเหตุนิดหน่อยครับ  วันจันทร์เลยไม่ได้มาต่อกระทู้ตามสัญญา

เรื่องภาพวาดเรื่องขุนช้างขุนแผนในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพคุณพระตรีรณสารฯ เคยเห็นเหมือนกัน
เข้าใจว่า วาดขึ้นตามความเข้าใจ หนังสือเล่มนี้เห็นบ่อยถึงบ่อยมาก  แต่ผมยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อมาครอบครองสักที
ประเด็นรายละเอียดของภาพวาด เรื่องง้าวที่ยาวมากนั้น  คงวาดเอาตามที่เคยเห็น ที่ผมเคยเห็นมาง้าวก็ยาวอย่างนี้แหละครับ  ถ้าสั้นนักก็ฟาดฟันไม่ถึงศัตรู  แถมจะเสียท่าศัตรูที่มีง้าวยาวกว่าด้วย ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงระยะห่างของช้างม้าด้วยว่า  ยืนอยู่ห่างกันขนาดไหนเวลาเข้าต่อสู้  และที่ยาวก็เพื่อให้มีน้ำหนักมากพอที่เหวี่ยงคมลงตัดให้ขาดหรือลึกมากที่สุดในครั้งเดียว  ไม่เหมือนดาบที่จะฟันกี่ครั้งก็ได้เพราะเป็นอาวุธที่ใช้ในระยะประชิดตัว

ภาพวาดพิสูจน์ดำน้ำระหว่างขุนช้างขุนแผน เคยเห็นนะ แต่จำชื่อหนังสือไม่ได้ ขอค้นก่อน  สมัยก่อนถ้าสู้คดีจนถึงขั้นสาบานพิสูจน์ตัวนั้น  แสดงว่า  ไม่สามารถค้นหาหลักฐานพยานยืนยันคำให้การของฝ่ายจำเลยและโจทก์ได้แล้ว    ที่สุดแล้วจะพิสูจน์ว่าใครให้การจริงหรือเท็จก็ต้องพิสูจน์ด้วยกันอย่างนี้  แต่คงไม่ได้พิสูจน์เช่นนี้กันบ่อยมากนัก  คงใช้เฉพาะคราวที่จำเป็นที่สุดจริงๆ  คู่โจทก์จำเลยถ้าไม่จำเป็นจริงก็คงไม่อยากพิสูจน์เหมือนกัน  เพราะถ้าพลาดขึ้นมาจะถูกปรับโทษ  ยิ่งถ้าฝ่ายคนถูกแพ้พิสูจน์แล้วยิ่งน่าเจ็บใจ  เพื่อไม่ให้ใครมาอ้างขอพิสูจน์สาบานพร่ำเพรื่อเพื่อรังแกคนอื่น   ถึงต้องตั้งราคาค่าธรรมเนียมไว้ถียิบไว้อย่างนี้  บอกแล้วใครขึ้นโรงศาลก็มีแต่จะต้องเสียเงินทั้งนั้น  และเงินเหล่านี้แหละเป็นค่าตอบแทนของคนที่ทำงานในโรงศาลและของราชการ  อ้อ การพิสูจน์สมัยก่อน  เขาเอาตามความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายนะครับ  ไม่ใช่ว่าทางการบังคับให้พิสูจน์  เดี๋ยวจะเข้าใจผิด

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง