เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 35133 ชาติพันธุ์วรรณา ใน ขุนช้างขุนแผน
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 30 ต.ค. 09, 22:58

บางคนยังรำฉุยฉายพลายชุมพลอยุ่ค่ะ



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 01 พ.ย. 09, 07:32

ที่กล่าวถึงกรมทหารอาสา ว่าเป็นทหารหน้า ในความเห็นข้างต้นนั้น  จะเป็นความเข้าใจผิดของผู้เรียบเรียงข้อมูลใน Wikipedia หรือเปล่าครับ
เพราะในรัชกาลที่ ๔ มีการฝึกหัดทหารอย่างใหม่  จัดเป็นกรมเกณฑ์หัดอย่างใหม่  แล้วต่อมาดูเหมือนจะเป็นในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงรวมรวมกำลังพลที่หัดอย่างใหม่นั้นเป็น "กรมทหารหน้า"  เพราะมีที่ตั้งอยู่ที่ว่าการยุทธนาธิการ คิอ กระทรวงกลาโหมที่ตั้งอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง  เมื่อท่านผู้เรียบเรียงเห็นชื่อกรมเกณฑ์หัดแย่งใหม่ซึ่งไปซ้ำกับกรมทหารอาสาครั้งโบราณจึงเข้าใจผิดว่าเป็น "ทหารหน้า" ไป
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 09:13

ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ  รู้สึกดีใจที่มีผู้มาร่วมกระทู้ความเห็นเพิ่มขึ้น  เห็นทีกระทู้นี้จะจบไม่ลงเสียแล้ว 

การฝึกทหารอย่างใหม่  หรือฝึกทหารอย่างฝรั่งนั้น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ว่า มีมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  แต่หาได้ฝึกหัดเอาจริงจังไม่ รัชกาลที่ ๕ ทรงใช้คำว่า "ทหารเล่น" เข้าใจคงเป็นช่วงที่รัชกาลที่ ๓โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองฝึก  จึงยังไม่ได้มีพระราชดำริที่จะตั้งขึ้นเป็นกรมกอง  ครั้นต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้าฯ ให้ฝึกหัดทหารอย่างฝรั่งขึ้นอีก  รายละเอียดการรื้อฟื้นฝึกหัดทหารอย่างฝรั่งครั้งนี้มีมาก  และมีการฝึกหัดอย่างนี้ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในระหว่างนี้  มีการปรับเปลี่ยนอะไรอีกหลายครั้ง ผู้ใดสนใจสามารถอ่านได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินดีกว่า

งานของนักวิชาการท่านที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับขุนนางต่างๆ เคยอ่านผ่านตามาบ้าง  เป็นข้อมูลทุติยภูมิ  ผมชอบอ่านเอกสารปฐมภูมิครับ 

อาสาญวน นี่ผมไม่แน่ใจว่าจะมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ หรือเปล่า  เพราะในรัชกาลนี้ มีพวกญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  เคยอ่านพงศาวดารสมัยกรุงธนบุรี จำได้ว่ามีพวกญวนอพยพเข้ามาเมืองไทยในรัชกาลนี้เหมือนกัน  แต่คงยังไม่ได้จัดเกณฑ์ขึ้นเป็นกองอาสาญวน  ส่วนอาสาลาวนั้นก็มามีสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง ในสมัยอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีกองอาสาดังกล่าว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 12:26

พูดถึงหัดทหารแบบตะวันตก  ก็นึกถึงกองทหารของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   และร้อยเอกโทมัส น็อกซ์
ถ้าจะคุยเรื่องทหารในรัชกาลที่ ๔  เห็นจะต้องแตกกระทู้ออกไปอีก กระมังคะ คุณหลวงเล็ก
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 14:16

ต้องขอรอดูก่อนครับ  ถ้าหากการอภิปรายยืดเยื้อ  สุดแต่ประธานรัฐสภา เอ๊ย ท่านผู้เป็นต้นเริ่มกระทู้จะพิจารณาว่าควรแตกเป็นกระทู้ใหม่หรือไม่ อาจจะต้องโหวตลงมติก่อน ผมเป็นเพียงคนอภิปรายทั่วไปคนหนึ่งครั

มีตัวละครประกอบตัวหนึ่งในเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งผมสงสัยว่าจะเป็นคนมอญหรือไม่  ตัวละครที่ว่า ชื่อ มะถ่อธะบม  มีอาชีพรับจ้างพายเรือข้ามฟาก  อยู่ในตอนขุนแผนลักพาวันทองหนีขุนช้าง  จากบทเสภา ที่บรรยายลักษณะมะถ่อะบมว่า แต่งกายด้วยผ้าเตี่ยวผืนเดียว ลงเข็นเรือออกจากโคลนริมตลิ่ง  พายเรือให้ขุนแผนกับวันทองข้ามแม่น้ำ  แม้จะเป็นบทของตัวละครประกอบเล็กๆ  แต่นับว่าเป็นหลักฐานเกี่ยวกับอาชีพเรือรับจ้างข้ามฟากที่สำคัญมาก  เพราะเคยได้เห็นภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕  ไม่แน่ใจว่า คนไทยหรือฝรั่งถ่ายไว้  เป็นภาพคนพายเรือรับจ้างในหัวเมืองอะไรสักเมือง  แต่งกายอย่างมะถ่อธะบมทีเดียว  เสียดายว่าจำไม่ได้ว่าดูจากหนังสืออะไร ไม่เช่นนั้นจะเอามาลงให้ดูกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 15:21

จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถ วัดบางน้ำผึ้งนอก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นภาพหนุ่มมอญร่วมสมัยกับกวีผู้แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน ไว้ผมทรงมหาดไทย มีอะไรบางอย่างทัดหู มีผ้าพาดบ่าสีดินแดง ในมือที่ขี้โยไว้เล็บยาวที่นิ้วก้อย นุ่งโจงหางไก่ผ้าลายดอกพิกุลพื้นดินแดง



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 15:28

ชื่อ มะ  น่าจะเป็นมอญ นะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 15:34

คู่กันเป็นภาพสาวมอญไว้ผมปีกจับน้ำมันควั่นเป็นเส้นรอบศีรษะกันไรแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดวงหน้าเต็มนัยน์ตาหรี่เล็กดูเย้ายวน ริมฝีปากบางเป็นกระจับ ประดับหูด้วยพวงเต่าร้าง ห่มผ้าสีหงชาดด้านในทับอีกชั้นด้วยผ้าสีแดงเสน คาดสังวาลย์ทอง สวมกำไลข้อมือและแหวนทั้งสี่นิ้ว ในมือถือซองขี้โย (บุหรี่) นุ่งโจงลายดอกพิกุลพื้นสีเขียวก้ามปู ไม่สวมกำไลข้อเท้า

คำบรรยายภาพหนุ่มและสาวมอญ โดย คุณ Geometry Aon
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/02/K7566455/K7566455.html


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 22:23

ภาพสาวมอญนี่ ถ้าจะเป็นสาวมอญที่กลายเป็นไทยแล้ว  เพราะนุ่งผ้าโจงกระเบน   ถ้าเป็นมอญดั้งเดิมน่าจะต้องนุ่งผ้ากรอมเท้า และนุ่งแบบพอยกย่างสว่างแวบแทบขาดศีล  คือนุ่งเอาชายผ้ามาป้ายทับกันข้างหน้า  พอก้าวขาเดินกว้างหน่อย ผ้านุ่งจะแยกให้เห็นขาอ่อน  อย่างที่สุนทรภู่ท่านว่าไว้ในนิราศวัดเจ้าฟ้า  จำได้ว่าเคยมีคนเอาภาพวาดสาวมอญยกย่างสว่างแวบแทบขาดศีลมาให้ดูเหมือนกัน แต่ไม่ทราบว่าเป็นภาพวาดฝาผนังวัดอะไร  ส่วนภาพหนุ่มมอญนี่ก็น่าจะเป็นหนุ่มมอญที่กลายเป็นไทยแล้วเหมือนกัน   บุหรี่ที่สูบ  คงไม่ไม่ใช่บุหรี่ขี้โยหรอกกระมัง  เพราะเคยได้ยินว่าบุหรี่ขี้โยมวนโตนัก  นี่คงเป็นบุหรี่ใบตองแห้ง หรือบุหรี่กลีบบัวธรรมดากระมังครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ก.ค. 10, 10:27 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 22:55

เห็นด้วยกับคุณหลวงเล็กทั้ง 3 เรื่องครับ คือ เรื่อง
- โจงกระเบน
- ผ้านุ่งสตรีมอญ
- บุหรี่

ขออนุญาตเสริมนิดหน่อย ว่าผ้านุ่งลายเล็กๆที่ไม่มีสังเวียนรอบแล้ว
เข้ามาปรากฏชัดๆครั้งแรกราวๆ พ.ศ. 2400 ถ้าจะก่อนก็ไม่เกิน 10 ปี ครับ
เชื่อว่าจิตรกรรมวัดบางน้ำผึ้งก็คงเขียนขึ้นไม่น่าจะเก่าไปกว่านั้น
ผ้าแบบที่มีแต่ท้องลายนี้ใช้กันมาเรื่อยๆ ถึงรุ่นโรงกระเบนคุณยายที่เก็บไว้ในตู้ในหีบ

ถ้าลองเทียบกับภาพสาวมอญที่ช่างภาพรุ่นนั้นถ่ายไว้ (ผมเข้าใจว่าเป็นตาทอมป์สัน)
จะเห็นว่าทั้งทรงผม และเครื่องแต่งกายต่างกันมากครับ
เสียดายว่าคนปัจจุบันคงหาต้นเรื่องไม่ได้แล้วทั้ง 2 เรื่อง
ว่า 1.) จิตรกรรมวัดบางน้ำผึ้งเขียนเมื่อไหร่
2.) ตาทอมป์สันไปคว้านางแบบมาจากละแวกไหน
ถ้าหาได้อาจจะบอกอะไรได้อีกหลายเรื่องครับ

ส่วนจิตรกรรมภาพสาวมอญที่เห็นผ้าแหวก ผมเข้าใจว่าเจอะอยู่หลายวัด
ทั้งที่อัมพวา ราชบุรี และแถวคลองอ้อม เพราะมอญเข้ามาอยู่กันมาก
ผมลองหาภาพจากน้องกุ๊กไก่ ได้มาไม่สวยเท่าที่ใจอยาก
เป็นจิตรกรรมหอไตรของวัดบางแคใหญ่, อัมพวา ฝีมือช่างรัตนโกสินทร์แล้ว
แต่หลายส่วนยังแอบมีความเป็นอยุธยาอยู่มากกว่าช่างกทม

เข้าใจว่าน่าจะเป็นภาพผ้านุ่งแบบที่คุณ luanglek พูดถึง
ว่าอยู่ในนิราศวัดเจ้าฟ้า หรือนิราศพระบาทนะครับ





ภาพจากเวบ http://www.oknation.net/blog/phaen/2009/07/13/entry-1


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 02 พ.ย. 09, 23:04

ยังอยู่กันที่วัดเดิมครับ ไหนๆ ก็ได้ภาพมาแล้ว
ผมขออนุญาตแทรกเรื่องผ้านุ่งผู้ชายนะครับ
เพราะที่นี่ช่างเขียนเก็บเอกลักษณ์ได้ชัดมาก

ที่จริง ผ้านุ่งคล้ายโจงกระเบนผู้ชายแบบนี้
ถึงจะดูเป็น ไทย-เขมร ในความรู้สึกคนไทย
แต่ก็ใช้ในสังคมทั้งพม่า-มอญด้วย
ถ้าเป็นตัวละครจะใช้กับหนุ่มเจ้าชู้ ป้อเขาไปทั่ว
(ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเหตุของการเน้นเป้ารึเปล่า ?)
วิธีนุ่งผ้าแบบนี้มีชื่อเรียกตามภาษาเขาว่า "ขะโดะ เอนจี"

ต่างกับโจงแบบไทย-เขมร นิดหน่อยตรงที่ถ้าเป็น มอญ-พม่า แล้ว
จะนุ่งให้เป้าตุงผิดปรกติเสมอ ถึงจะเป็นภาพเขียนในจิตรกรรม
ถ้าเป็นช่างพม่า-มอญเขียน ก็จะรักษาเอกลักษณ์นี้เอาไว้





ภาพจากเวบเดิมครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 09:08

ผ้านุ่งสาวมอญ  ที่คุณหลวงเล็กเอ่ยถึง  มาจากนิราศวัดเจ้าฟ้า ค่ะ

  เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา                      ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง 
  ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด                     แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง 
  ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง                                ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมตีน 
  เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ                           เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล 
  นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน                       เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง
 
  ไปเปิดฉบับหอพระสมุด  อ่านตอนมะถ่อธะบม     ไม่เห็นมีร่องรอยว่าแกสักพุงสักขา ค่ะ
  กลอนข้างบนนี้  สุนทรภู่เล่นสัมผัส  -อีน   ซึ่งทางภาษาถือกันว่าเป็นสุดยอดของคำยาก  มีให้สัมผัสอยู่ ๔ คำ ในภาษาไทย  คือ  ตีน  ศีล ปีน จีน    บางคนหาคำบาลีมาเพิ่ม คือ ปวีณ  แต่ก็หาที่ลงยากมาก
  ถ้าหากว่าเล่นกลอนสด  ใครแกล้งด้วยการใช้คำนี้ลงท้ายกลอน  ทีมฝ่ายตรงข้ามเหมือนถูกฆ่าบนเวทีได้เลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 09:31

 

จากนิราศพระบาท

พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก                         ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง
ให้รุ่มร้อนอ่อนจิตระอิดแรง                               เห็นมอญแต่งตัวเดินมาตามทาง
ตาโถงถุงนุ่งอ้อมลงกรอมส้น                             เป็นแยบยลเมื่อยกขยับอย่าง
เห็นขาขาววาวแวบอยู่หว่างกลาง                         ใครยลนางก็เป็นน่าจะปรานี


จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถ วัดบางน้ำผึ้งนอก



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 10:11

เป็นอันว่าได้ดูภาพหญิงมอญตามประสงค์แล้ว  และขอบคุณท่านที่ช่วยค้นกลอนนิราศของสุนทรภู่ที่กล่าวถึงการนุ่งผ้าของชาวมอญแท้ๆ เอาไว้   ส่วนมะถ่อธะบมที่ได้กล่าวถึงนั้น  ที่อยากให้พิจารณาคือการใช้ผ้าเตี่ยวปกปิดร่างกายเท่านั้น  เป็นเครื่องแต่งกายที่เหมาะกับอาชีพพายเรือข้ามฟาก เพราะต้องลงลุยโคลนเลนเข็นเรือออกจากตลิ่ง  ถ้าแต่งกายอย่างชาวบ้านทั่วไป จะเปรอะเปื้อนโคลน ล้างออกยาก  ในเสภาบรรยายไว้ให้เราได้ทราบว่าคนมีอาชีพพายเรือรับจ้างข้ามฟากสมัยก่อน  มีลักษณะอย่างไร   ส่วนรอยสักไม่มีหรอกครับ  คุณเทาชมพูอาจจะเข้าใจพลาดไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 03 พ.ย. 09, 10:36

จารึกที่วัดโพธิ์ แต่งโดย ขุนมหาสิทธิโวหาร กล่าวถึงการสักของคนมอญว่ามักสักที่ไหล่และหลัง

นี้ภาพตเลงเขตรแค้วน             หงสา วดีแฮ
คือเหล่ารามัญฉมัง                 หมู่นี้
ไว้หวังเพื่อประชา                  ชมเล่น
เผื่อว่าภายหน้าลี้                   ลับหาย

นุ่งผ้ารางริ้วเช่น                    ชาวอัง วะแฮ
พันโพกเกล้าแต่งกาย              ใส่เสื้อ
มอญมักสักไหล่หลัง               ลงเลข ยันต์นา
พลอยทับทิมน้ำเนื้อ                นับถือ




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง