เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 35065 ชาติพันธุ์วรรณา ใน ขุนช้างขุนแผน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 25 ก.ย. 09, 20:43

ตั้งหัวข้อกระทู้เอาไว้ก่อน  มีเวลาเมื่อไรจะเข้ามาต่อเรื่อง
หัวข้อนี้เกิดจากอ่านขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุด  แล้วพบว่ามีการพูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง
แต่ไม่เห็นมีใครพูดถึง
ก็เลยจะรวบรวมเอาไว้   คงทำให้เห็นภาพในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ได้มากขึ้นค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 ก.ย. 09, 14:38

เข้ามากราบขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ
สำหรับหัวเรื่องที่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญาโทหรือเอกได้สบายๆ
ขออนุญาตฝากตัวเป็นแฟนกระทู้นะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ก.ย. 09, 15:06

ติบอเข้ามาเร่งแล้ว  ว่างั้นเถอะนะ
ขอเวลา 2 วันค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ก.ย. 09, 22:07

มาปูพื้นไว้ก่อน  
ชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography)  ในกระทู้นี้ คือดูว่าในขุนช้างขุนแผน กล่าวถึงชนเผ่าอะไรบ้าง    ไม่ได้มองในด้านภาษาหรือตัวละครเอก  
ที่จริงก็เหมือนดูรายละเอียดในฉากหลังของเรื่อง    โดยมากมักจะถูกมองข้ามไป   เพราะคนอ่านขุนช้างขุนแผนจะมุ่งไปอ่านบทบาทพระเอกนางเอก   หรืออ่านความไพเราะของบทเสภา    ไม่ค่อยมีใครดูสิ่งละอันพันละน้อย ที่เหมือนพลอยร่วงกระจายอยู่นอกเรือนแหวน

อ่านขุนช้างขุนแผนมาหลายครั้งแล้ว   จนเมื่อเอาใจออกห่างพ้นเนื้อเรื่องหลัก  ก็เริ่มสังเกตด้วยความทึ่งว่า กวีที่แต่งเสภา ซึ่งมีอยู่หลายคนและน่าจะหลากหลายรัชกาลด้วย      ท่านบันทึกท้องถิ่นภูมิประเทศ และชาติพันธุ์เอาไว้เป็นพื้นหลังของเรื่อง ได้ฝีมือเยี่ยมมาก  
รายละเอียดพวกนี้  บางทีก็แม่นยำตามที่เห็นด้วยตาจริงๆ นำมาศึกษาเชิงวัฒนธรรมได้    บางทีก็เป็นการอ้างอิงชื่อเฉยๆ   จริงไม่จริง ไม่รู้   แต่ก็น่าจะเอามาวิเคราะห์ให้เห็นกัน
ก็เลยจับเรื่อง ชาติพันธุ์วรรณา ขึ้นมาเล่าสู่กันฟัง

ชาติพันธุ์แรกที่จะเอ่ยถึง คือ มอญ  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 ก.ย. 09, 23:11

ขออนุญาตเข้ามาปูเสื่อนั่งรออาจารย์เล่าเป็นคนแรกครับ
ชาติพรรณในเสภาขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องน่าสนใจมากครับ
แต่ปัญหาที่แก้ไม่ตกเรื่องแรก คือ "การกำหนดอายุวรรณกรรม"
อย่างที่อาจารย์เล่าไว้แล้ว ว่าฝีมือแต่งน่าจะหลากยุคหลายสมัย
ต้องขอบพระคุณอาจารย์แทนชาวเรือนไทยครับ ที่กรุณาหยิบมาเล่าให้เราฟังกัน


และมาเรียนสารภาพกับอาจารย์ว่า ที่โพสต์ไปความเห็นแรก
ผมไม่ได้ตั้งใจจะเข้ามารบกวนเวลาของอาจารย์ แต่สายตาไม่ดี
อ่านไม่เห็นหัวข้อกระทู้ตั้งแต่แรกครับ ถ้าเห็นแต่แรกคงรีบมานั่งรอฟังอาจารย์ก่อนล่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 09:15

เว้นที่บนเสื่อให้คุณ wandee หน่อยนะคะ    ยิ้มเท่ห์

ชาติพันธุ์ มอญ มีบทบาทสำคัญมากในขุนช้างขุนแผน   เรียกอย่างเล่นลิ้นหน่อยก็ต้องบอกว่าถ้าไม่มีมอญ ก็ไม่มีขุนแผนคนนี้
เพราะอะไร...ก็เพราะขุนแผน  เป็นคนเชื้อสายมอญ
ชื่อ พลายแก้ว นี่แหละ บอกให้รู้   เพราะพลายเป็นภาษามอญ แปลว่า หนุ่ม  
เรายังหลงเหลือรากฐานคำนี้อยู่ในคำว่า ช้างพลาย  
ข้อนี้คุณ Ho น่าจะช่วยแตกแขนงออกไปได้

น่าเสียดายที่คนอ่านส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่รู้   ว่าขุนไกรพ่อของขุนแผนเป็นมอญ  เพราะผู้แต่งประวัติขุนไกร ไม่ได้ปูพื้นบอกรายละเอียดเอาไว้ในฉบับหอพระสมุด    
แต่จะว่าไม่บอกเสียเลยก็ไม่ใช่    
มีบอกเอาไว้คำเดียวตรงกลอนวรรคนี้

ด้วยตัวข้าขุนไกรกระทำผิด                   ถึงชีวิตจะม้วยสังขาร
จะตายด้วยความสัตย์ปฏิญาณ               อย่างพงศ์พลายฝ่ายทหารอันชาญชัย

คำนี้บอกให้รู้ว่า ชื่อเดิมของขุนไกรน่าจะมีคำว่า พลาย ประกอบด้วย แบบเดียวกับลูกชาย   บอกเชื้อสายของตระกูล
คนฟังเสภาเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ฟังแล้วก็เข้าใจ ว่าขุนไกรเป็นเชื้อสายมอญ
แต่พอเวลาผ่านมาสองร้อยกว่าปีให้หลัง   ไม่รู้กันแล้ว  ต้องมาอธิบายกันอีกที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 09:42

อ่านมาถึงตรงนี้คงมีบางคนเกิดคำถามขึ้นในใจ ว่าทำไมพระเอกวรรณคดีไทย ถึงต้องเป็นเชื้อสายมอญ
คำตอบก็คือ เรื่องนี้มี "ที่มาที่ไป"
ไม่ใช่อยู่ๆกวีก็นึกสนุกสมมุติขึ้นมาตามใจชอบ    และไม่ใช่คำตอบว่ากวีคงได้ยินมาว่าขุนแผนตัวจริงรัชกาลพระไชยราชาสมัยอยุธยาโน่น มีเชื้อมอญ
ที่มาที่ไปของเรื่องก็คือ   มอญ ได้ชื่อว่าเป็นชาติพันธุ์นักรบ มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
บทบาทหน้าที่ของมอญ ในสมัยอยุธยา  คือเป็นพวกกองอาทมาต   คือพวกลาดตระเวณชายแดนด้านพม่า ทำหน้าที่สืบราชการลับ  สืบข่าวความเคลื่อนไหวด้านการศึก    เพราะว่ามอญพูดภาษาพม่าได้ จึงแนบเนียนที่จะทำตัวเป็นสายลับ  และเหตุผลที่สองคือมอญไม่ชอบพม่า ถือว่าเป็นศัตรูกันมาแต่ดั้งเดิม เมื่อมอญยังเป็นใหญ่อยู่เหนือแผ่นดินพม่า แล้วถูกพม่ามายึดครองแผ่นดินส่วนใหญ่ไป

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   รัชสมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งดิฉันถือว่าเป็นยุคเรอเนสซองส์ของไทย หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ   ชาติพันธุ์วรรณาของมอญก็มีบทบาทสำคัญทางด้านวรรณคดี อันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเหมือนกัน   เห็นได้จากหนังสือ "ราชาธิราช" ที่เจ้าพระยาพระคลังหน ท่านเรียบเรียงไว้  เป็นหนังสือสำคัญรองลงมาจากสามก๊กทีเดียว
ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไร ที่กวีสร้างนักรบสำคัญขึ้นมา  ก็บอกว่าเป็นเชื้อสายมอญ  เพราะคงเจนใจกันทั้งกวีและคนฟังเสภา ว่ามอญเขาเป็นนักรบอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 11:00

มาปูเสื่อรอฟังด้วยคนครับ
ว่าแต่ขุนช้างขุนแผน นอกจากฉบับหอสมุดแล้ว
ฉบับอื่นอื่น(ครูแจ้ง) หาซื้อมาอ่านได้จากที่ไหนบ้างครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 11:47

กอง ขุนช้าง - ขุนแผนฉบับหอสมุดแห่งชาติ ไว้ ๓ เล่ม  แพร่พิทยาพิมพ์ ๒๕๑๓  เพื่อค้นตามที่คุณเทาชมพูบอกไว้


ในเล่ม ๓  หน้า (๒๕)  น.ส. อารี สุทธิเสวันต์ เรียบเรียงไว้ ว่า

ขุนไกรพลพ่าย  เดิมชื่อ พลายจันทน์  เป็นลูกพลายประจำยาม  รับราชการอยู่กรมอาสาหกเหล่า
เดิมอยู่บ้านพลับ  แล้วย้ายมาบ้านภริยาที่วัดตระไกร

ญาติของขุนไกรพลพ่ายอยู่ที่ดอนเขาชนไก่  กาญจนบุรี




ถามเพื่อน ๆ แถวนี้แบบไม่ให้อาจารย์ได้ยิน  ว่า อาสาหกเหล่า  มีอะไรบ้าง
อ่าน  พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง  ใน กฎหมายตราสามดวงแล้ว   หาคำตอบที่แน่ชัดยังไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 12:43

ขุนศรีวิชัย  พ่อของขุนช้าง  รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก เมืองสุพรรณบุรี

คงมีคาถาอาคมและอำนาจจิตเข้มแข็งมาก เพราะหนังเหนียว

โอกาสที่ขุนศรีวิชัยจะเป็นมอญก็มากอยู่

(อ่านเรื่องการโพนช้าง และกรมช้างนอกกรมช้างใน มาจาก หนังสือเรื่องช้าง
ของ ฮ. ไพรวัลย์   สำนักพิมพ์ ๒๒๒  พฤศจิกายน ๒๕๓๗
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรก ปี ๒๔๘๑   คุณลุงเฮงเล่าเรื่องครูเฒ่ากล่อมช้างเป็นภาษามอญ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 13:09

มาเพิ่มเติมเรื่องตำแหน่งหน้าที่นายทหารมอญ ใน พระไอยการนาพลเรือนฯ

พญาอุดมราชา เจ้ากรมกลิอ่อง สังกัดกรมอาสามอญศักดินา   1600
พญาพระราม เจ้ากรมดั้งทองขวา สังกัดกรมอาสามอญ ศักดินา1600
พญานครอินทร์ เจ้ากรมดาบสองมือกลาง สังกัดกรมอาสามอญ ศักดินา 1600
พญาเกียร(ติ์?) เจ้ากรมดั้งทองซ้าย สังกัดกรมอาสามอญศักดินา1600
พญาอัคศิริ นายกองสังกัดกรมอาสามอญ ศักดินา1000
พญาศรีหราชา นายกองกรมดั้งทองซ้าย สังกัดกรมอาสามอญ ศักดินา 1000

ไม่แน่ใจว่า พญา ต่างจากออกญาอย่างไร ทำไมเรียกแยกเป็น ๒ คำ 
ออกญา คือ พระยา ในสมัยรัตนโกสินทร์
แต่พิจารณาแล้ว  ทั้งพญาและออกญา เป็นระดับเจ้ากรม เหมือนกัน

ส่วนเรื่องกรมอาสาหกเหล่า ก็ยังไม่ได้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นเท่าไรค่ะ  ได้มาแต่รายละเอียดประกอบ
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=muangloei&id=11

ในหนังสือ "บันทึกเรื่องการปกครองของไทย สมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เรียบเรียงจากคำสอนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พ.ศ. ๒๕๑๖ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔๙ นั้น มีกล่าวถึง "พระยาท้ายน้ำ" ไว้เล็กน้อยในหน้า ๓๖, ๕๗, ๕๙ และ ๖๐ แสดงว่าตำแหน่งนี้ไม่ใคร่จะสำคัญนัก


ในหน้า ๓๖ กล่าวถึงแต่เพียงว่า "การแบ่งเป็นทหารพลเรือนเป็นเพียงการขึ้นทำเนียบเท่านั้น แต่ลักษณะการงานไม่ต่างกันระหว่างตำแหน่งพลและมหาดไทย ตามกฎหมายกล่าวว่า ตำแหน่งพลของหัวเมืองเอก แม่ทัพกรุง คือ พระยาเดโช ส่วนพระยาท้ายน้ำเป็นผู้รั้ง"


ในหน้า ๕๗ ได้กล่าวถึงการแบ่งทหารว่า "ต่อมาการแบ่งทหารเปลี่ยนแปลงไป เพราะทหารช้าง (คชบาล) ทหารม้า (อัศวราช) ยกออกจากทหารไปขึ้นกับพลเรือนขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์เพื่อความปลอดภัยของราชบัลลังก์ เพราะมีการคิดชิงราชสมบัติอยู่เสมอ

ต่อมาแบ่งเป็นสมุหนายก สมุหพระกลาโหม

สมุหพระกลาโหมมีแม่ทัพขึ้น ๓ คน
๑. พระยารามจตุรงค์ ศักดินา ๑๐๐๐๐
๒. พระยาเดโช
๓. พระยาท้ายน้ำ (คงจะคุมฝีพาย)"

ในหน้า ๕๘-๖๐ ได้กล่าวถึงว่า
"๑. ทหารราบ แบ่งเป็น ๘ กรม ประจำการเป็นทหารอาชีพ
๑) - ๖) กรมอาสา ๖ เหล่า
๗) กรมทวนทองใน-นอก
๘) กรมเขนทองใน-นอก

พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ ดูแลบังคับบัญชาทหารอาสา ๖ เหล่า มีหน้าที่ป้องกันกรุง ไม่ใช้ออกนอกกรุงปราบกบฏในเขตประเทศ จะออกนอกประเทศได้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินยกทัพหลวง ถ้าเป็นศึกไม่สำคัญใช้ทหารเกณฑ์

นอกจากจะเป็นทหารอาชีพฝึกอาวุธแล้ว ยังมีหน้าที่ศึกษาข่าวศึก ดูแลด่านเก็บภาษี

(อีกกรมหนึ่งสำหรับสืบข่าวคือ กรมอาทมาต คนในกรมเป็นมอญสำหรับสืบข่าวด้านพม่า ยามสันติก็ใช้ในกิจการอื่น ๆ ด้วย เช่น ขุนไกรพลพ่าย ดูในทำเนียบมอญ)

ทหารหน้าเหล่านี้ในยามสันติ เมื่อเวลาเสด็จราชดำเนินไปไหน ๆ ไม่ใช้ขบวนเสด็จ แต่ใช้รายทาง ถ้าเสด็จทางชลมารค ใช้ลงเรือนำและตาม หน้าที่พิเศษออกหัวเมืองกวาดต้อนคนมาสักเลก ควบคุมการทำงานสาธารณะ

เหตุที่คนมาสมัครเป็นทหารหน้ามีน้อยทั้ง ๆ ที่มีเกียรติสูง

๑. ไม่ใช้ไปตีบ้านเมืองโอกาสที่จะได้ทรัพย์สมบัติเชลยศึกน้อย ได้รับพระราชทานแต่เพียงเบี้ยหวัดธรรมดา

๒. โอกาสที่จะทำงานให้เป็นประโยชน์เช่นพลเรือนไม่มี

๓. อยู่ใกล้ชิดพระเนตรพระกรรณ โอกาสที่จะลงพระราชอาญามีมาก ปลายกรุงศรีอยุธยากรมนี้เสื่อมลงแทบหาตัวคนมาเป็นพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำไม่ได้"

(รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้จาก "บันทึกเรื่องการปกครองของไทย สมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์" สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเรียบเรียงจากคำสอนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔๙)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 13:13

แอบกระซิบตอบคุณ Wandee (ไม่ให้อาจารย์ได้ยินอีกเหมือนกัน)
ว่า "ช่างสิบหมู่มีอะไรบ้าง ? ค้นได้จากที่ไหน?"

เท่าที่ผมเคยค้นมาเองนิดเดียว(นิดเดียวจริงๆครับ)
ผมค่อนข้างจะรู้สึกว่าวิธีทำความรู้จัก อาสาหกเหล่า
ไม่ต่างจากวิธีทำความรู้จัก "ช่างสิบหมู่"
ที่ "ชื่อ" หรือ "จำนวนกรมกอง" สำคัญกว่า "หน้าที่" ครับ

มาตอบช้ากว่าอาจารย์เสียแล้ว ต้องขอโทษสมาชิกเรือนที่อ่านซ้ำด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 13:23

ขยายหน่อยซิคะ  คุณติบอ

อ้างถึง
ผมค่อนข้างจะรู้สึกว่าวิธีทำความรู้จัก อาสาหกเหล่า
ไม่ต่างจากวิธีทำความรู้จัก "ช่างสิบหมู่"
ที่ "ชื่อ" หรือ "จำนวนกรมกอง" สำคัญกว่า "หน้าที่" ครับ

มาโปรยไว้แล้วก็จากไป  ก็ต้องทวงถามกันละ
แล้วจะมาเล่าถึงมอญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ให้ฟังต่อ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 13:55

ขอบคุณค่ะ

มีหลายอย่างที่ไม่ทราบและไม่แน่ใจค่ะ

คราวนี้ขอถามเพื่อนๆไปก่อน  เพราะอยากให้คุณเทาชมพูเขียนเยอะๆค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 14:19

เอื้อก... ไม่ได้โปรยครับอาจารย์
แต่พยายามตอบให้สั้น เพื่อให้ไม่กินพื้นที่กระทู้เรื่องชาติพันธุ์
ขออนุญาตตอบลงรายละเอียด ตามที่อาจารย์ทวงถามครับ


อย่างแรก เท่าที่ผมค้นได้ คำว่า "อาสา 6 เหล่า"
ดูเหมือนว่าแต่ละสมัยจะไม่ตรงกันเอาซะเลย
แถมเอกสารบางชิ้นก็พูดเหมือนจะเป็นอาสาต่างชาติ
บางชิ้นก็พูดเหมือนว่าเป็นเหล่าตามหน้าที่ของทหาร
(ยังไม่ได้เปิดค้นดูในสมุดจดนะครับ ตอบตามความจำเอา)
ที่ร้ายกว่านั้น คือ ดูเหมือนว่าบางที่จะพูดถึงเหล่าไม่ครบด้วย



ลักษณะแบบนี้เหมือนกับที่นักวิชาการพยายามจะหาว่า
"ช่างสิบหมู่ มีอะไรบ้าง" แล้วก็นับกันได้เกิน 10 บ้าง
บอกมาไม่ตรงกันบ้าง หรือไม่ก็ลากเข้าความไปหาภาษาบาลีเลย
บอกว่า "ช่างสิบหมู่" คือ "ช่างสิปป์หมู่" ซึ่งแปลว่าศิลปะ

ถ้าตัดเรื่องนิรุกติศาสตร์ไปว่า "ช่าง" กับ "หมู่"
มันไม่น่าเอามาผสมกับ "สิปปฺ" ให้เนียนสนิทกันได้
ก็ยังเหลือเรื่อง "การเก็บความของสังคม"
เหมือนที่คุยกับคุณ CrazyHOrse ไปเมื่อวาน
ที่มาของคำ กับ การเก็บความของสังคม เป็นคนละเรื่องกันครับ

ความหมายที่สังคมหยิบยื่นให้กับคำ คือ "ความเข้าใจของสังคม"
และไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไปเกี่ยวข้องอะไรกับที่มาของคำ
เพราะความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็น "สมบัติส่วนบุคคล" เสมอครับ



ที่มากกว่านั้น คือ สังคมที่ "สร้าง" คำว่า "ช่างสิบหมู่" หรือ "อาสาหกเหล่า" ขึ้นมา
เป็นสังคมขนาดไม่ใหญ่นัก การคมนาคมยังไม่สะดวกด้วย
คนจึงไม่สามารถอาศัยการหาเลี้ยงชีพแบบ specialist ได้
(ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการแบ่งทหารเป็น ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
และทหารเหล่าอื่นๆอีก ก็ถือเป็นวิธีคิดแบบ specialist อย่างหนึ่ง)
ที่ทุกวันนี้เราถึงได้เอาวิธีแบ่งหน้าที่กันแบบ specialist มาใช้ได้
เพราะประชากรของเราเพิ่มขึ้นมากและการคมนาคมสะดวกขึ้น


แต่ในวันที่คำว่า "ช่างสิบหมู่" หรือ "อาสาหกเหล่า"
ถูก "คิดขึ้น" และ "นำมาใช้จริง" ในสังคม
ในทุกสายอาชีพจึงแทบไม่มี specialist อยู่จริง
เหมือนที่เราเห็นได้จากวรรณคดี ว่าช่างประทัดก็เล่นเสภาไปด้วยได้
หรือ เห็นจากประวัติศาสตร์จริงๆ ว่า ผู้บัญชาการทหารเรือ
ก็ต้องออกแบบเมรุถวายพระเจ้าอยู่หัวไปด้วย ทำนองนั้นล่ะครับ




ทีนี้มาดูกันที่ "อาสาหกเหล่า" ของคุณ Wandee ครับ
ถ้า "เหล่า" หมายถึงหน้าที่ เมื่อไม่มี specialist การปฏิบัติงานแต่ละเหล่าก็ต้องสลับหน้าที่กันได้
หรือถ้า "เหล่า" หมายถึง "ชนชาติ" ในแต่ละสมัย ชนชาติที่เข้ามาเป็นทหารก็ไม่ได้เหมือนกันตลอดอีก
คำว่า "อาสาหกเหล่า" ก็เลยเหมือนกับ "ช่างสิบหมู่" ที่ไปสำคัญเอาที่ "คำ" และ "จำนวนนับ 6 หรือ 10"
จนสังคมต้อง "เก็บคำเอาไว้" แต่แทบจะไม่มีความสำคัญอะไรในรายละเอียดเอาเสียเลยไงครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง