เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 25464 "พระวิหาร" เรื่องที่ใครก็อยากรู้...จริงหรือเปล่า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 06 พ.ย. 09, 21:02

ไม่แน่ใจ ว่าคุณมานิตเคยไปแอ่วเมืองลาวบ้างหรือเปล่า ?
ถ้าเคย ก็อาจจะให้สภาพเดียวกันกับที่เคยพบจากเมืองเขมร
แต่คำที่ได้ จะเป็นคนละคำกันกับคำที่เดาได้ในเมืองเขมรครับ
ค่อยๆเทียบกันดูได้ครับ จะพอนึกออกเองว่าคำไหนของภาษาไทยปัจจุบันไปเดาได้ที่ไหน

ที่จริงถ้าสยามไม่เอาภาษาขอมมาปนภาษาไทให้เป็นภาษาไทยสยาม
เราก็อาจจะพูดกับคนลาว หรือคนไทอาหมได้รู้เรื่องมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
เพราะปัจจุบันนี้ ไทหลายๆไทที่เขายังใช้ "ภาษามรดกไทเดิม" กัน
เขาก็คุยกันรู้เรื่อง... มีแต่สยามน่ะล่ะครับ ที่ตั้งชื่อประเทศตัวเองว่า "ไทย"
แต่ดันคุยกับเขารู้เรื่องน้อยกว่าคนอื่นๆ

ส่วนเรื่องที่เดาได้ ที่จริงมันคือคำๆเดียวกันในภาษาพูดครับ
แต่ต่างกันเพราะสำเนียงภาษาพูดจะต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
"แกงเนื้อใส่มะเขือ" คุณมานิตอ่าน "แกง - เนื้อ - ใส่ - มะ - เขือ"
คนอีสานใต้อ่าน "แกง - เนี้ย - ใส่ - มะ - เขีย"
ไม่มีใครผิดซักคนครับ เพราะขนบของแต่ละถิ่นมันต่างกัน
มีแต่คนกรุงเทพน่ะล่ะครับสมองน้อยคิดไม่รอบคอยไปชี้หน้าว่าเขาว่า "บ้านนอก"
แล้วก็เอาความถูกต้องไปยัดเยียดให้สำเนียงกรุงเทพ
ทั้งๆที่ตัวเองคุยกับไทอื่นๆ ที่รักษาภาษามรดกไทเดิมไว้ได้มากกว่าด้วยภาษาอังกฤษ!!!



สำหรับเรื่องภาษาของคนเขมร(ที่ระอุอยู่ตอนนี้)
ในขณะที่ไทยสยามอย่างคุณมานิตเดาเขาได้
ไทอื่นๆที่อยู่ห่างออกไป อย่างไทอาหมในอัสสัม
หรือไทอื่นๆในพม่าและลาวตอนเหนือ(พวกที่เขายังคุยกันรู้เรื่องน่ะล่ะครับ)
จะแทบไม่มีวันเข้าใจเลยว่าคำที่คุณมานิตเดาได้มันแปลว่าอะไร

พอนึกออกบ้างมั้ยครับ ?





ปล. ม้าก็ Trojan ไงครับ


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 06 พ.ย. 09, 21:26

ว่าจะถามมาหลายวันแล้วครับ ว่าระยะนี้
ประเด็นเรื่อง "เขมร" ที่เคยถูกพรมรูป "ปราสาทพระวิหาร" กลบไว้
มันเริ่มระอุขึ้นมาจนพรมเป็นรูโหว่ไปซะแล้ว...

เรื่องขอม เรื่องบรรพบุรุษร่วมกัน เรื่องชาติพันธุ์
ต่อให้ไม่ไปเกี่ยวกับเรื่องการเมืองแต่ประการใด
แต่เมื่อต้องข้องแวะกับชื่อประเทศเขา....
และมาเจอสำนวนจิกๆกัดๆของตาติบอเข้าไปอีก
ผมเกรงว่าคนอ่านจะเสียดใจไปกับเรื่องการเมืองเสียก่อน

มีผู้อ่านท่านไหนอยากให้หยุดกระทู้ไว้เท่านี้ก่อนมั้ยครับ ?
บันทึกการเข้า
Whitearmy
อสุรผัด
*
ตอบ: 23



ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 08 พ.ย. 09, 20:04

.


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 10 พ.ย. 09, 00:21

เป็นหนังสือที่น่าสนใจมากครับ เขียนโดย อ.ศิลป์ เสียด้วย
ผมเองช่วงนี้ก็มีเหตุให้ต้องระหกระเหออกจากบ้านมาอีกหลายวัน
กว่าจะกลับกระทู้ก็คงหล่นไปอยู่หน้า 2 หรือกว่านั้นอีกตามเคย
รบกวนท่าน Whitearmy เล่าเรื่องในหนังสือไปพลางๆก่อนได้มั้ยครับ
ถ้าได้จะเป็นพระคุณแก่ชาวเรือนเป็นอย่างยิ่งเทียวนะขอรับ
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 10 พ.ย. 09, 12:00

สมัยก่อนโน้น ผมต้องโดนเนรเทศไปลาวปีละครั้ง สองครั้งทุกปี ไปแบบนี้อยู่ประมาณ 20 ปีครับ แต่พุดภาษาเขาทีใด มีแต่คนหัวเราะ บอกว่า พูดไทยเถอะลุง สาวที่ลาว เกล้าผมไม่เหมือนสาวเมืองไทยนะครับ ทุกท่านที่ผมได้เสวนาด้วย นิสสัยดีมากครับ (ที่จริงอยากเขียนคำว่า อัธยาศรัย แต่รู้ตัวว่าเขียนผิด แน่ๆครับ ที่จริงตอนเตรียมตัวสอบเข้าเรียนที่ รร.นึง ต้องซื้อตำราเรื่องราชาศัพย์ คำไทยที่มักเขียนผิดมาท่องครับ แต่ตอนนี้ลืมหมดแล้วครับผม)
เขียนต่อนะครับ สนใจมากครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 19:31

กลับมาบ้านแล้วครับ
ขออนุญาตไม่คอย คุณ whitearmy
และมาเล่ากระทู้เองเลยนะครับ

ตอบคำถามข้อ 2 ที่คุณ sugar ถามไว้ดีนะครับ


"ปราสาทพระวิหาร เป็นศิลปะขอมใช่หรือไม่ ?"

ขออนุญาตบอกก่อน ว่าเป็นคำตอบที่ "ตอบยาก" ครับ
(พูดแบบนี้นักนิยมศิลปะหลายคนคงนึกด่าตาติบอในใจ)
คำถามแค่นี้ เขาให้ตอบ ใช่ - ไม่ใช่
ใครๆก็ตอบกันได้แบบฟันธง... ทำไมไม่ตอบไปล่ะ!


ขออนุญาตเรียนก่อนว่า "ชื่อเรียกศิลปะ" เป็นสิ่งที่ "คนสมัยหลังกำหนดขึ้น" ครับ
ปราสาทพระวิหาร เป็นชิ้นงานที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ของคน 2 กลุ่ม
คือ 1.) คนจากเมืองพระนคร และ 2.) คนในท้องถิ่น
ลักษณะแบบนี้เป็นเรื่องที่อธิบายด้วยวิธีเดิมๆลำบากครับ

ตัวอย่างที่เห็นได้ เช่น วัดสีสะเกด เวียงจันทน์
ที่เคยยกตัวอย่างไปแล้ว ว่าไม่ใช่ทั้งสยาม และลาว แต่เป็นลูกครึ่ง



กับปราสาทพระวิหารก็เช่นกัน
ถ้ามองว่า "กลุ่มคน และ ศิลปะ" ในบริเวณเขาพระวิหาร เป็นพื้นเมือง
ที่แยกออกจาก "ขอม" ใน "เมืองพระนคร" เขาก็เป็นสกุลช่างต่างหาก
เห็นรายละเอียดที่แยกออกจากกันได้หลายเรื่อง

แต่ถ้ามองว่า "กลุ่มคนที่พระวิหาร อยู่ในวัฒนธรรมขอม" ก็เป็นศิลปะขอม



สำหรับผม ผมถ้าจะอธิบายพื้นฐานทางศิลปะ
ผมก็ยังไม่เห็นประโยชน์ที่จะแยกออกมาเป็นศิลปะพื้นเมือง
ยกเว้นว่าจะไปศึกษาลงรายละเอียดยิบๆย่อยๆกันอีกที
ว่าปราสาทพระวิหารมีอะไรจุกจิกที่ต่างจากศิลปะขอมในเมืองพระนครบ้าง
(ซึ่งคนทั่วไปที่สนใจเขาพระวิหารก็คงไม่ได้อยากรู้กันนักหรอก)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 19:57

คำถามข้อที่ 3 (ที่จริงเป็น 3 กับ 4 ขออนุญาตรวบ)
ปราสาทพระวิหารอยู่ในประเทศไทยได้อย่างไร ? สร้างขึ้นสมัยใด ?
และ ข้อที่ 4 (ที่จริงคือ 5) ทำไมถึงสร้างบนหน้าผา



บริเวณพื้นที่ของเขาพระวิหาร เป็นหน้าผาใกล้กับช่องเขาขนาดใหญ่ของทิวเขาพนมดงเร็กครับ
(คำนี้ ผมพยายามออกเสียงตามภาษาเขมร คือ "ดอง - เร็ก" แปลว่าไม้คาน
เพราะเขาทิวนี้ยาวเป็นสันยาว สูงค่อนข้างเสมอกันดูคล้ายไม้คาน)

พูดถึงไม้คานไปนิดหน่อยพอให้คนวัย 30up เสียวใจเล่นหลายคนแล้ว
มาว่ากันต่อดีกว่า ว่าเขาลูกนี้ปัจจุบันบางส่วนใช้เป็นเส้นกั้นเขตแดน ไทย-กัมพูชา ในแผนที่
บริเวณเขาพระวิหารนั้นเป็นพื้นที่ๆใช้เป็นทางผ่าน และเป็นจุดสังเกตสำคัญ
เพราะฉะนั้น... คนที่ได้ครอบครองพื้นที่บริเวณนี้จะ

1. ได้เงินจากค่าผ่านทาง หรือค่าที่พัก
2. มีโอกาสได้ติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจากต่างถิ่นมาก
3. จาก 2 ข้อแรก ได้วิทยาการจากโลกภายนอก และความมั่นคงทางเศรษฐกิจไปโดยปริยาย...

ตัวอย่างอื่นๆ เช่น นักวิชาการจีนปัจจุบันนี้ที่ต้องการศึกษาเรื่องเครื่องถ้วยจีน
ถ้าเป็นงานวิจัยใหญ่เขาต้องไปตุรกี ดูตัวอย่างเครื่องถ้วยที่นั่น
เพราะตุรกีเป็นทางผ่านไปยุโรป เลยมีเครื่องถ้วยจากจีนเป็นจำนวนมาก... เป็นต้น





เมื่อเขาพระวิหารมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจไปแล้ว
ในการเมืองระดับ การเมืองระหว่างรัฐเล็กๆ
เหมือนขอมสมัยเมืองพระนคร
คนที่ครอบครองพื้นที่ทำนองนี้ก็มักต้องเป็นฐานกำลัง
ให้กษัตริย์ที่อยากปราบฎาภิเษกไปโดยปริยาย

ปราสาทพระวิหารเดิม เป็นเทวาลัยเก่ามาตั้งแต่ต้นเมืองพระนคร
อาจจะสร้างขึ้นในสมัยที่ขอมกับจามยังต้องอิงอำนาจกันเองอยู่
รูปแบบศิลปะยังแบ่งกันไม่ได้ชัดเจน แต่เห็นความเป็นอินเดียสูงมาก

ปล่อยพวกนักประวัติศาสตร์ศิลป์เขาทะเลาะกันดีกว่า ว่าจะชื่อศิลปะไหน
เอาเป็นว่าทั้ง พนมดา ถาลาบริวัตร สมโบร์ไพรกุก และไพรกเมงนั่น
มีนักวิชาการมาพยายามเสนอวิธีแบ่งใหม่ๆกันตลอดเวลา...
(แต่เผลอๆ มันอาจจะแยกกันไม่ออกด้วยซ้ำ
เพราะแต่ละที่เป็นปัจเจกกันสูงมากจน grouping ได้ไม่ชัดเจน)



เนื่องจากเป็น landmark สำคัญ ปราสาทแห่งนี้ก็เลยได้รับการซ่อมสร้างตลอดเวลา
ที่สร้างได้เพราะนอกจากจะรวย แล้วยังสำคัญต่อสายราชวงศ์ด้วย
เช่นเดียวกับ landmark สำคัญใกล้ๆ คือ ปราสาทวัดภู
ที่ต้องสร้างปราสาทวัดภูเพราะแม่น้ำโขงบริเวณคอนพะเพ็งเชี่ยวมาก
การเดินทางทางน้ำทำไม่ได้ ก็ต้องย้ายไปเดินบก
ยอดเขารูปแปลกๆที่วัดภู (พราหมณ์แกว่าเป็นศิวลึงค์)
เลยกลายเป็น landmark สำคัญให้คนสังเกตเห็น
เทวาลัยบนหน้าผา ที่จุดไฟได้ในเวลากลางคืน
(เหมือนประภาคารกลางทุ่งนา อย่างปราสาทพระวิหาร) ก็ทำหน้าที่เดียวกันครับ ไม่แตกต่าง

แล้วถ้าจะถามว่าระหว่าง
1.) เป็น landmark
2.) รวย
3.) สำคัญ
4.) ศักดิ์สิทธิ์
อันไหนเป็นเหตุผลในการสร้างมากกว่ากัน...

ขออนุญาตตอบว่าแยกออกจากกันไมได้ครับ
เจ้าของ landmark สำคัญย่อมรวยและมั่นคง
ซึ่งเป็นรากฐานของความสำคัญ... และเมื่อรวยและมั่นคงแล้ว
เทวาลัยประจำตระกูลที่กราบไหว้บูชามาก็ย่อมศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน






ส่วนเรื่องเข้ามาอยู่ในไทยได้อย่างไร (แผนที่) ขออนุญาตไม่ตอบหมดนะครับ
เพราะมันถูกขีดขึ้นมาทีหลัง เอาเป็นว่าหลัง ร.ศ. 112 แล้วกัน
(คิดว่าหลายคนคงจำบทอาขยานสมัยมัธยมปลายกันได้)
และสำหรับใครที่(พอจะ)นึกออก เหตุการณ์ในครั้งนั้น
ส่งผลกระทบกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในระดับสูงมาก


โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าชนชั้นปกครองที่ผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมาแล้ว
ย่อมจะมีความ "เกรง" และ "ระแวง" ฝรั่ง อยู่ในใจ
ซึ่ง รัชกาลที่ 5 หรือ กรมพระยาฯ ดำรง ก็น่าจะทรงอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
การตัดสินพระทัยในทาง "ยอมเสียเปรียบชาติมหาอำนาจตะวันตก"
จึงเป็นนโยบายหลักเมื่อต้องทำแผนที่ในช่วงปลายรัชกาล...

และหลักมากเสียจนเป็นเหตุให้วัยรุ่นที่โตเมืองฝรั่ง และสนิทกับฝรั่งมากขึ้นมาก
อย่างชนชั้นปกครองในยุครัชกาลที่ 6 ไม่พอใจกับคนรุ่นก่อนหน้าเอาเสียเลย
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 20:16

ข้อที่ 6 มีปราสาทหินมากขนาดไหน
ขออนุญาตตอบ ว่าตอบไม่ได้อีกเช่นเคยครับ
ถ้าจะประเมินกัน ก็ต้องประเมินเป็นหลักคร่าว

แต่ก่อนจะประเมิน ขออนุญาตเล่าต่อไปก่อน
ว่าสมัยแรกๆในการสร้างศิลปะขอม
หรือที่เรียกกันทุกวันนี้ในหมู่นักนิยมศิลปะว่า
"ศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร"
เขาไม่ได้สร้างปราสาทหินครับ....

ปราสาทสมัยนี้ส่วนมาก สร้างด้วยอิฐ
อาจจะมีชิ้นส่วนสำคัญบางชิ้นเท่านั้น ที่ใช้หิน
เพราะขนาดของชิ้นส่วนมีขนาดใหญ่มาก
และทำอิฐให้ใหญ่ขนาดนั้นไม่ได้
(ถึงได้ก็อาจจะหัก เอาหินทำซะเลย ง่ายกว่า)


วิธีการสร้างแบบนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พบในขอมก่อนเมืองพระนคร จาม ทวารวดี ชวา บาหลี และพม่า-มอญ
และยังใช้กันต่อๆลงมาถึงสมัยหลัง
ในศิลปะที่สร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐ เช่น สุโขทัย อยุธยาเป็นต้น

ศาสนสถานบางแห่งที่ดูแล้วไม่ไปทางไหน หรือไปได้หลายทาง...
เลยโดนขอมลากไปไทยลากมา หรือจามลากไปขอมลากมาก็มี
เช่น ปราสาทวัดภู ที่พูดถึงไปแล้ว

แถมบางที่ก็ถล่มไปแล้วก็มี...
ส่วนของที่เห็นทุกวันนี้หลายส่วนศัลยกรรมอิฐปูนกันตามภาพถ่ายเก่า
(ที่ก็โดนโทรม... เอ๊ย ซ่อมไปหลายหนแล้ว) เช่น พระธาตุพนม เป็นต้น



เพราะฉะนั้น อย่าไปประเมินเลยครับว่ามีซักกี่ที่
ในเมือวัฒนธรรมมันแยกกันได้ไม่ชัดเจน...
จะไปแยกว่าอันไหนเป็นอะไรก็ยากนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 20:27

ข้อที่ 7 "มันคือของเรามั้ย ?"
เป็นคำตอบที่ตอบง่ายมาก... แต่น่าหนักใจที่สุด
เพราะเกี่ยวกับการเมือง ชัดเจน


อย่างแรก ถ้าวัดจากภาษา ศิลปะ หรือวัฒนธรรม...
ขอมเป็นทั้งบรรพบุรุษของเขมรปัจจุบัน และอยุธยา
ก็แปลว่าขอมเป็นบรรพบุรุษของไทยปัจจุบันไปด้วย

ถ้าคิดว่าปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกชิ้นหนึ่ง
มรดกของพ่อกับแม่ ถ้าพินัยกรรมไม่ได้แบ่งกันชัดเจน..
ญาติพี่น้องก็ต้องมาตกลงกันเองทีหลังครับ ว่าเป็นของใคร




เผอิญ ญาติพี่น้องของเรามาตกลงกันไปแล้วครับ
ก็ครั้งทำแผนที่สมัยรัชกาลที่ 5 ไงครับ
ตกลงโดยสยาม กับ ฝรั่งเศส(ที่เป็นนายของเขมร)
ไประหว่างที่ "สยามเกรงฝรั่งเศส" อยู่มิใช่น้อย
และ.... สยามก็เลยขีดเส้นแบ่งให้เขาไปแล้ว
เมื่อกรมพระยาดำรงจะเสด็จไปทอดพระเนตร
สยามก็ทำหนังสือขออนุญาตเขาไป "ดูของเขา" แล้ว



เมื่อต้องขึ้นศาลโลก... หนังสือขออนุญาตฉบับนั้น
ก็เป็นหลักฐานการตกลงไปโดยปริยาย ว่าเขาพระวิหารเป็นของใคร
ศาลโลกก็ย่อมต้องตัดสินกันตามหลักฐานว่าเป็นของเขมร...
ชนกลุ่มน้อยที่รับไม่ได้ คือ "คนไทย" ที่เรามัวแต่ "เสียดายปลาที่ตกน้ำ" ครับ

ผมขอยกคำตอบที่เหลืออีก 5 ข้อ คือ
- ปลอดภัยมั้ย ?
- น่าท่องเที่ยวแบบไหน ?
- มีภัยแอบแฝงหรือไม่ ?
- ขอมดำดินคืออะไร ?
- ควรภูมิใจแบบไหน ?
ไปตอบพรุ่งนี้นะครับ 



ระหว่างนี้ถ้าผู้อ่านท่านไหนจะภูมิใจกับข้าราชการไทย
นักการเมืองไทย นักข่าวไทย นักวิชาการไทย
และสังคมไทย ไปพลางๆก่อน.... ก็ตามสะดวกนะครับ
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 12 พ.ย. 09, 23:02

1.จะคอยอ่านครับผม
2.ผมจะเป็นคนที่ชอบถ่าย colour slide ได้ถ่ายพระวิหารไว้เยอะมาก ไม่ทราบว่าจะหาเจอหรือไม่นะครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 13:39

สวัสดีค่ะคุณติบอ ยิงฟันยิ้ม 


อ๊ะ! ปลาตกน้ำไปนานแล้วหรอคะคุณติบอ ตกใจ.... แล้วอย่างนี้เราต้องโยนอุปกรณ์ตกปลาทิ้งไปด้วยหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 19:33


อ๊ะ! ปลาตกน้ำไปนานแล้วหรอคะคุณติบอ ตกใจ.... แล้วอย่างนี้เราต้องโยนอุปกรณ์ตกปลาทิ้งไปด้วยหรือเปล่าคะ

ฟังดูน่ากลัวแปลกๆจังเลยครับประโยคนี้ ... แฮะๆ

บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:37

อาจไม่น่ากลัวเท่ากับลูกอมเคลือบน้ำตาล ข้างในมีสาส์นพิษยี่ห้อ 113 ดอกกระมัง??? ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 22:23

ขอบพระคุณสำหรับการคอยของท่านมานิตครับ

และขออนุญาตตอบคำถามของคุณ sugar กับคุณ virain ก่อน
ว่าถ้าคนเคยหาปลาได้ จับปลากิน ได้สารอาหารจากปลา
มาเสียดายปลาที่ทำตกน้ำไปเมื่อหลายสิบปีก่อนตัวเดียว
แล้วทิ้งเครื่องมือหาปลาเสียหมด... ก็ขาดสารอาหารตายกันพอดีสิครับ

เราก็ต้องหาปลาตัวใหม่ต่อไป หรือไม่ก็ดูแล รักษา และถนอมปลาที่มีอยู่
และทำอย่างรู้คุณค่าครับ ไม่ใช่ตีโพยตีพายเหมือนเด็ก 7 ขวบตอนอายุเข้าใกล้ 70
สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมลองหาอ่านดูใน pstcho-social development theory
ของตาเปียเจ้ดูได้ครับ สนุกดีไม่ยากเย็นอะไร มีแปลเป็นภาษาไทยด้วย
เพราะพวกเรียนจิตวิทยาเขาต้องเรียนกันทุกสถาบัน




ส่วนคุณศรี อย่างที่ผมเรียนไว้แล้ว ว่าการกวนลูกอมหมายเลข 113 ที่คุณว่า
เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมาก... แต่เป็นเรื่องลำบากใจสำหรับผมมากที่จะทำ

การยอมรับความจริง ทดลองมองอย่างคนนอก
และทำความเข้าใจกับเรื่องต่างๆรอบตัว (และรอบโลก) ที่เกิดขึ้น
เป็นสิ่งพึงกระทำสำหรับคนทุกคนที่อยากอยู่ร่วมกันในโลกใบนี้
แต่ขาดแคลนอย่างแทบจะหาไม่ได้ในสังคมไทย...
เพราะเรามักอยู่กันอย่างตัวกู ของกู... ถ้ามึงแย่งของกู.. กูจะเยี่ยวรดหัวมึง



หลายวันก่อนที่ห่างกระทู้นี้ไปร่วมเดือน
ผมเลยพอจะมีเวลาค้นตำราอ่านหนังสือหลายเล่มเสียใหม่
(เพราะไม่เคยมีโอกาสได้อ่านจากห้องสมุดไหนๆที่คุ้นเคย)

อ่านมาอ่านไปถึงได้เข้าใจว่าตำราประวัติศาสตร์ไทยที่ใช้กันอยู่
ถ้าอยากปรับปรุงให้ทันกับโลกที่ยังหมุนไปวันละ 24 ชั่วโมง...
ก็ควรจะต้องถูกฉีกทิ้งเสียใหม่ตั้งแต่อยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา

ตำราฉบับครูประชาบาลและกรมการรักษาดินแดนที่เราใช้ๆกันอยู่นี่...
หลอกตัวเองและดูถูกบรรพบุรุษอย่างร้ายกาจครับ เราเลยเข้าใจเขาแบบนั้น
แต่ในความเป็นจริง ชาติอื่นๆที่เริ่มเข้าใจบรรพบุรุษของตัวเอง
และเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่าเราแล้ว...
เขาพัฒนาไปถึงไหนๆก่อนเราตั้งแต่นมนานกาเลแล้วล่ะครับ





ตัวอย่างการไม่ยอมรับความจริงง่ายๆ สำหรับสังคมไทย คือ
ถ้ามีใครซักคน เอาหลักฐานมาบอกว่า "เราผิด"
คนไทยโดยทั่วไปก็มักจะ "แก้ต่าง" ให้ตัวเอง
ถ้าหาหลักฐานมาแก้ได้น่าเชื่อถือ ก็เรียกว่าแก้ต่าง
(หาหลักฐานไม่ได้ เอานู่นนี่มาอ้าง ก็เรียกว่า "แก้ตัว")

หรือถ้าทั้งการแก้ต่างและแก้ตัวช่วยอะไรไม่ได้
สิ่งที่คนไทยโดยทั่วไปมักจะทำต่อไป... คือ
โวยว่าคนนู้นคนนี้ก็ทำผิดเรี่องนี้เรื่องนั้น...
(เพื่อสื่อนัยว่าแล้วทำไมฉันจะทำผิดไม่ได้....)
จนกระทั่งการ "ไม่เคยยอมรับความผิด" กลายเป็นบุคลิกประจำชาติไป
หรือที่แย่กว่านั้น... รับไปแต่พอว่ารับแล้วก็ทำใหม่อีก...

เรื่องบางเรื่อง ถ้าต้องกวาดขี้ฝุ่นไว้ใต้พรม
ก็แปลว่า "ฝุ่น" ต้องเป็น "แค่ฝุ่น" นะครับ
ไม่ใช่พรุ่งนี้ก็มีฝุ่น มะรืนนี้ก็มีฝุ่น อาทิตย์หน้าก็มีฝุ่น มีไปเรื่อยๆ
แบบนั้นมันกองขยะครับ ในที่สุดพรมผืนใหญ่แค่ไหนก็จะปิดไม่มิด...

ในที่สุด ถ้าเป็นปัญหาระหว่างคนเหมือนขุนแผน กับขุนช้าง...
แกก็ว่ายน้ำเข้าหาพระพันวสา แล้วก็เรียกซะว่า "จระเข้ใหญ่"
แต่ถ้าเป็นปัญหาระหว่างประเทศ มีประชากรทั้งโลกคอยดูอยู่
เมื่อเวลานั้นมาถึง จะแก้ปัญหายังไง... สังคมไทยยังปฏิเสธที่จะนึกถึงอยู่




หลักฐานเรื่องการขีดเส้นแผนที่เสียใหม่
การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน หรือการบูรณะของกรมศิลปากร
กับหลักฐานการขออนุญาตของกรมพระยาดำรง
อะไรเกิดขึ้นก่อน อะไรเกิดขึ้นทีหลัง... ผมเชื่อว่าให้เด็กประถมดูก็รู้
ไม่ต้องไปพึ่งศาลโลกก็ยังได้

ของที่ให้เขาไปแล้ว แบ่งกันเรียบร้อยไปนานแล้ว
ถ้ายังไปวุ่นวาย เอาหลักฐานที่ทำเองข้างเดียวเสียใหม่มายืนยันว่าเป็นของกู
มันไม่ต่างอะไรกับคนเสียสติครับ... ไม่โดนเขาให้ข้อหาบุกรุก
หรือเปลี่ยนแปลงโบราณสถานของคนอื่นมาจังๆอีกข้อ... ก็บุญแล้วนะครับ
เพราะเท่านี้เราก็เป็นตัวร้าย ลิ้น 2 แฉกไปแล้วในสายตาประชาคมโลก
(สงสัยด่าเขาไว้มาก แต่ลืมนึกไปว่าเราก็มีบรรพชนเป็นขอมร่วมกันเสียละกระมัง)




สำหรับผมถ้าไม่มองเรื่องผลประโบชน์ทับซ้อนอื่นๆ
เอาแต่เฉพาะเรื่องปราสาทพระวิหารเรื่องเดียว
ผมดีใจ ที่มีข้าราชการการเมืองที่กล้าลุกขึ้นมายอมรับความจริงกับประชาคมโลกได้
ในเมื่อคนไทยเลือกที่จะไปขอความเป็นธรรมจากศาลโลกเอง...
ยอมรับการตัดสินไปเสียได้ก็เป็นทางออกดีที่สุดแล้วครับ

แต่กลายเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ เพราะข้าราชการการเมืองกลุ่มนี้
ไม่กล้ายอมรับ และตีแผ่ความจริงกับสังคมไทย
จะว่าทำไปเพื่อผดุงพระเกียรติยศของเจ้านาย.. ก็ไม่น่าใช่
เพราะดูเขาจะปล่อยไว้ให้ผลมันเป็นอย่างอื่นเสียมากกว่า

ในเมื่อเหตุ และผลในการพิจารณาคดีเกิดขึ้นแล้ว
และเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลเสียด้วย...
ทำไมต้องปล่อยให้เรื่องแบบนี้ค้างไว้
เป็นชนวนระเบิดที่พร้อมปะทุระหว่างชนชาติล่ะครับ ?

ไม่ว่าจะเป็นของใคร ถ้าตกลงตามที่เคยตกลง
เราก็มีสิทธิ์ในการเข้าชมเท่าๆกันทั้ง 2 ฝ่าย
และของที่เราเอามาจากปราสาทแล้วเราก็ไม่ต้องคืน
เพราะโดยเศรษฐกิจแล้ว เขมรก็ต้องพึ่งไทยอีกมาก

แต่ดูเหมือนเขาก็อยากปล่อยเอาไว้ให้เรื่องมันกลายเป็นดินอีกก้อน
ที่คอยพอกทับลงไปบนหางหมู... เพื่อรอวันที่หางเน่าแล้วตัดทิ้งหรือครับ ?








ปล. เรื่องที่น่าเศร้ากว่านั้นของสังคมไทย คือดูเหมือนว่าเราต้องการคนโง่ครับ
เพราะคนฉลาดจะรู้ว่าข้าราชการประจำทุกวันนี้... โง่ และขี้เกียจร้อยละ 99
ส่วนข้าราชการการเมืองนั่น... ไม่เคยถือศีลข้อ 4 และข้อ 2 ร้อยละร้อย

แถมที่โชคร้ายกว่านั้น.... กระแสการเมืองไทยที่มีมาหลายสิบปีนี่..
เป็นกระแสที่นำไปโดยนักปลุกระดมนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน และไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายไหน
สีสันมันมาจากการปลุกระดมให้สังคมแตกแยกทั้งนั้น...
คนไทยหลายคนก็แปลก... ยอมให้เขาจับเขาใส่หัวแล้วเสี้ยมเอาๆ
เสี้ยมเสร็จพอแหลมพอก็ขวิดกันไปทั่ว
เผลอๆจะขวิดแม้แต่คนอยู่บ้านเดียวกัน นอนเตียงเดียวกัน กินข้าวหม้อเดียวกันเองเสียด้วย!!!



ปล. 2 ถ้าให้พูดตรงๆ แบบไม่มีน้ำตาล มีแต่สาส์นพิษ
จี้ใจคนฟังแบบนี้น่ะ... นายติบอถนัดนักแล
แต่เกรงว่าคนฟังจะเอาอวัยวะเบื้องต่ำมาให้ผมเสียก่อนล่ะครับ เหอ รูดซิบปาก




ปล. 3 ผมเกิดและไปสุโขทัยไม่ทันเห็น.. ว่าขอมดำดินเต็มๆชิ้นจะเป็นยังไง
บันทึกที่ดีที่สุด เขียนโดยกรมพระยานริศ เมื่อท่านเสด็จพิษณุโลก
และแวะไปเที่ยวชมเมืองสุโขทัย และเมืองฤๅษีสัชนาลัย
แต่หนังสืออ้างอิงต้องรอพรุ่งนี้ถึงจะได้มาครับ... ขออนุญาตยกยอดรวบครับผม
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 12:48

จุ๊ จุ๊ คุณติบอก็... ถามปลาตัวเดียวเอง ตอบซะปลาเฉาเน่าตายหมดข้องเลยนะคะ

ทักทายคุณ virain และคุณศรีฯค่ะ ยิงฟันยิ้ม  สุขภาพจิตยังดีกันอยู่หรือเปล่าคะ...  อย่าทำหน้ายู่ยี่อย่างนั้นสิคะ ถึงคุณติบอจะตอบได้ร้ายกาจดี ก็ฝากเค้าไว้ก่อนเถอะค่ะ เพราะคุณติบอเค้าพิมพ์เยอะอยู่คนเดียว....ฉงฉาน


คุณติบอคะ... ไหนว่าจะตอบคำถามที่เหลือไว้ไงคะ...รออยู่ค่ะ แหม! ดิฉันก็ไม่น่าขัดขึ้นมาเล้ย..ทำเอาสติ เอ้ย สมาธิคุณติบอเสียซะนี่  ขอโทษด้วยค่ะ เผอิญความฉลาดของดิฉันไม่เข้าใครออกใครซะด้วยสิ อย่างคุณติบอพูดเป๊ะเลย 1 ใน 99% น่ะค่ะ อิอิ แม่นแท้!!!


 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง