เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 25481 "พระวิหาร" เรื่องที่ใครก็อยากรู้...จริงหรือเปล่า
ch@nge
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 15:50

สวัสดีค่ะ ขออนุญาตนะคะ แนะนำตัวก่อนค่ะ คร่าว ๆ คือเป็นผู้เสพงานวิชาการ เข้าขั้นเสพติดรุนแรง ทำงานสื่อความหมาย ประมาณว่าต้องประมวล และเล่าต่อ

เข้าเรื่องค่ะ

เวลาที่จะต้องเล่าเรื่องปราสาทหิน ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนในประเทศไทย ดิฉันจะนึกไปถึงตอนเรียนหนังสือ โดยเฉพาะวิชาอารยธรรมตะวันตก ที่ทำให้เรารู้ที่ไปที่มา
ของประเทศทางตะวันตก ยุโรป ฯลฯ แล้วอย่างในยุโรปนี่ ดิฉันคว้ามาเป็นต้นแบบวิธีคิดเลย เขามีศิลปกรรมหลายยุค เช่น บาโร้ค โกธิค ร้อคโคโค ฯลฯ
ซึ่งแน่นอนมีที่มาต่างกัน

และไม่เห็นว่าเขาจะยึดเอารูปแบบศิลปกรรม ไปเที่ยวอ้างดินแดนอะไร แล้วทำไมเราถึงต้องถูกทำให้ติดกับ หรือรู้สึกไม่สบายใจอะไร

เมื่อจะต้องอธิบายถึงศาลตาผาแดงที่สุโขทัย ปราสาทเมืองสิงห์ที่กาญจนบุรี หรือปราสาทหินอื่น ๆ ด้วยล่ะคะ

จะว่าไปแล้ว ตอนไปเวียงจัน เจอพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่งอยู่ที่ระเบียงคด ธาตุหลวง ชาวลาวที่ไปด้วยกัน เขายังเฉย ๆ เลยค่ะ

แล้วถ้ายึดเอารูปแบบศิลปกรรมเป็นหลักนี่ อินเดียบานเลย ดีไม่ดี โน่น ทวงได้ถึงสโตนเฮ้นจ์ ที่เขาลือ ๆ กันว่ามากับพวกโนแมด เมื่อโบราณกาล

การเรียนรู้ประวัิติศาสตร์ เพื่อเข้าใจที่มาที่ไป ดีออก ขออนุญาตร่วมฟังด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 15:55

แก้ไขข้อมูลครับ เรื่องยุคมืดช่วงที่อารยธรรมขอมอ่อนแอนั้น อ่านได้จากนิตยาสารศิลปวัฒนธรรมครับ
ขออภัยอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 16:06

เป็นเมืองสร้างคร่อมแม่น้ำอย่างพิษณุโลก แต่อาจเป็นสัณฐานของเมืองที่สร้างกันใหม่ในยุคต่อๆมา ทั้งยังปรากฏข้อความเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างในยามที่ขอมมีอำนาจ
เหนือดินแดนแถบแม่น้ำเจ้าพระอีก เช่นที่วัดเขมา วัดสมอราย วัดดุสิตาราม ผมเองจึงมองอย่างเดาหรือทึกทักเอาว่า แบบแผนงานสร้างในเมืองพระนครมีอิทธิพลต่อการสร้าง
สิ่งก่อสร้างตามพื้นที่เขมรบนเดิม(ภาคอีสานของไทย) หรือตามบริเวณทวาราวดี(ภาคกลางของไทย)อยู่ก็จริง  แต่มันก็คงไม่เข้มข้นเพียงแต่ผ่อนคลายให้เข้ากับ
รูปแบบพื้นเพเดิมของชาวเมือง และสร้างหลักฐานการมีอำนาจเหนือกว่าไว้บนสถานที่ที่มีอิทธิพลต่อจิตใจของคนพื้นเมือง อย่างเช่นที่ใจกลางเมือง
หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนดั้งเดิมอย่างกรณีการสร้างเขาพระวิหารอย่างนั้น



ส่วนมากเป็นเช่นนั้น แต่คงต้องดูเป็นรายๆไปครับ
เหมือนเรื่องการทำลายศาสนสถานขอมอีกเหมือนกัน

เช่น ถ้าพูดถึง
"ปราสาทประธาน ของปราสาทพระวิหาร"
ก็อาจจะถูกทำลายจริง เพราะศาสนสถานที่นี่สร้างได้ดีมาก
ทุกวันนี้ก็อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ซะเกือบทั้งหมด
มีแต่ปราสาทประธานที่พัง และพังอย่างไม่เป็นท่าเสียด้วย


หรือถ้าพูดถึง "ปราสาทเมืองสิงห์"
ที่นี่เป็นเมืองที่ดูเหมือน "จู่ๆก็โผล่ขึ้นมา แล้วก็หายไป"
ศาสนสถานจะถูกทำลาย หรือจะสร้างไม่เสร็จก็ไม่แน่ใจได้
แต่เรื่องที่น่าสนใจคือ "ที่นี่มีการใช้พื้นที่มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์"
เหมือนที่พบที่ ศรีเทพ หรือ ราชบุรีด้วย


แต่ถ้าพูดถึง "ลพบุรี" ปราสาทที่นี่ไม่ได้ถูกทำลาย
แต่ "ถูกซ่อม" และ "ถูกถ่ายแบบ" ไปสร้าง "วัดจุฬามณีที่พิษณุโลก"

ศิลปะเป็นแค่ "การแสดงออก" ครับ เราทำความเข้าใจกับมันได้
แต่ต้องไม่ลืมว่าควรใช้มันเป็น "หลักฐาน" ไปหาเรื่องอื่นๆด้วย
ไม่อย่างงั้นเราคงไม่สามารถเข้าใจศิลปะได้เท่าที่ควร





ปล. เห็นคำพูดคุณ virain แล้วนึกขึ้นได้

สำหรับผู้อ่านท่านไหน ถ้ารู้สึกอยู่ว่าผมเขียนละเอียดไป
หรือดำเนินเรื่องอืดอาดยืดยาด ผมต้องขอโทษด้วยนะครับ
(ออกตัวก่อน ว่าไม่ได้หมายความถึงคุณvirain นะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจกันผิดเอา)

ผมขออนุญาตเรียนชี้แจงว่าคนอ่านกระทู้แต่ละคน
มีพื้นความรู้มาทั้ง "ไม่เท่า" และ "ไม่เหมือน" กัน
ผมเลยพยายามเขียนกระทู้ให้ครอบคลุมมากพอ
เพื่อให้คนอ่านที่ไม่มีพื้นฐานมาต่างกันเข้าใจได้มากที่สุดครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 16:12

ทำไมเราถึงต้องถูกทำให้ติดกับ หรือรู้สึกไม่สบายใจอะไร

เมื่อจะต้องอธิบายถึงศาลตาผาแดงที่สุโขทัย ปราสาทเมืองสิงห์ที่กาญจนบุรี หรือปราสาทหินอื่น ๆ ด้วยล่ะคะ



ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ด้วยครับ

ต้องขอบคุณ คำถามของคุณch@nge มากครับ
คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่คนไทยควรจะถามตัวเองได้แล้ว
แต่ดูเหมือนว่าเราจะยังไม่เริ่มถามตัวเองซะที

คุณ ch@nge เคยเห็นเด็กไปตกปลา แล้วทำปลาซักตัวตกน้ำมั้ยครับ ?
เด็กจะนั่งร้องไห้ โวยวาย เสียดาย เป็นเดือดเป็นร้อนกับปลาที่ตกน้ำ
บางทีเดือดร้อนมากจน "ไม่ได้ใส่ใจกับปลาที่เหลือทั้งข้อง"

แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่.... เขาจะรู้เองว่า "ปลามันตกน้ำไปแล้ว"
อย่างมากก็เสียดาย แต่ "เก็บปลาทั้งข้องกลับบ้านดีกว่า"

นั่นล่ะครับ "ธรรมชาติ" ของคนไทยส่วนมาก




อีกเรื่องนึง ที่แย่กว่านั้น คือ "เรากำลังหลอกตัวเองอยู่"
เรื่องนึงที่ผมพยายามจะหาโอกาสเล่ามาหลายวันแล้ว
แต่ยังไม่มีโอกาสซะที คือ เรื่อง "ภาษา" แต่นี่ไม่มีเวลาซะแล้ว
ขออนุญาตยกยอดไปเป็นดึกๆคืนนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
ch@nge
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 16:28

ขอบคุณค่ะ รออ่านอย่างตั้งใจค่ะ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 16:42

ฝนตกหนัก..หนีโรงเรียนไปจับเขียด....แต่ได้รูปฟ้า(สะท้อนในน้ำ)หลังฝนมาฝาก..คืนนี้ลูกศิษย์รอครูติบอกันเยอะแยะ..ระวังดึกเกินจะเป็นหมีแพนด้ากันหมด...กำลังสนุกเชียว..อย่าเครียดล่ะ....


บันทึกการเข้า
ch@nge
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 20:10

ระหว่างรอ ฝากคำถามว่าหลังจากเรื่องภาษาแล้ว ในส่วนของศิลปกรรม จะไปจนถึงวัสดุปุรุษมณฑลไหมคะ คือตามเรื่องนี้มาร่วมสิบปีแล้วค่ะ ไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 03 ต.ค. 09, 23:21

มาเล่ากระทู้ต่อครับ เดี๋ยวจะทำคนรออ่านเป็นหมาแพนดี้ หมีแพนด้า
(ให้นายติบอเป็นไปคนเดียวเถ้อ.... eye cream อะไรก็ช่วยไม่หายแล้วครับ เหอๆ)

ขอบคุณ คุณศรี สำหรับภาพถ่ายสวยๆครับ

เรียนคุณ ch@nge ครับ วัสดุปุรุษมณฑล
เป็นเรื่องซับซ้อนเรื่องใหญ่พอดูทีเดียว
และผมเองก็ยังไม่ได้ศึกษามาทางนี้มากนัก
ถ้าจะเปิดเรื่องคุยกันในเรือน ผมขออนุญาตยกไปกระทู้ใหม่ดีกว่าครับ
ผมเข้าใจว่าถ้ายกมาทีละเรื่อง เฉพาะ "เทพประจำทิศ" อย่างเดียวก็ทำคนอ่านงงได้แล้วครับ
















มาขึ้นเรื่อง "ภาษา" ที่ผมค้างไว้ก่อน
คราวนี้คุยกันเล่นๆนะครับ
eye cream เป็นภาษาอะไรครับ ?
แน่นอน ทุกคนรู้ว่า "ภาษาอังกฤษ"

เอาล่ะ คำถามต่อไป... มีใครหาภาษาไทยมาใช้เรียกคำนี้ได้บ้าง ?
คนอ่านกระทู้คงนึกซักพัก แล้วอาจจะตอบผมว่า "ครีมทาตา"
ผมขออนุญาตปฏิเสธคำตอบนี้ครับ เพราะ "ครีม" ไม่ใช่ภาษาไทย

ผ่านไปอีกพักนึง บางคนคงเริ่มหาคำว่า "ยาทาตา" หรือ "น้ำมันทาตา"
หรือคำเรียกอะไรทำนองนี้ออกมาได้ทีละคำสองคำ

เรามาลองดูกันดีกว่า ว่า "น้ำมัน" หรือ "ยา" จะมาใช้แทนคำว่า "ครีม" ได้มั้ย ?
แน่ล่ะ ทุกคนนึกออกทันที ว่ายังไงๆก็ใช้ได้ไม่เท่า
ก็คำทั้ง 3 คำที่ผมยกมามัน "กินความไม่เท่ากัน"
แล้วจะเอามาแทนกันได้ไง ล่ะครับ ?






ทีนี้มาดูอีกคำนึงบ้าง "มะเร็ง" มีใครหาคำแทนได้มั่ง ?
หลายคนคงยิ้ม แล้วตอบทันทีว่า "เนื้องอก" ไง
โดยปกติคำนี้ใช้ได้ครับ แต่พอถึง "มะเร็งเม็ดเลือด" ล่ะ ?
มีใครคิดจะพูดว่า "โรคเนื้องอกเม็ดเลือด" บ้างมะ ??
(ร้อยละร้อยไม่มีหรอก พูดไปก็บ้านน๊อก... บ้านนอก เลยสิ)



งั้นลองอีกคำนะครับ "กระเพาะปัสสาวะ" มีใครหาคำมาแทนได้มั่ง ?
ผมถามแบบนี้หลายคนคงค้อนผมกันให้ควัก
(เผลอๆจะได้อวัยวะเบื้องต่ำด้วยรึเปล่าไม่รู้)

อ่ะๆ เฉลยก็ได้... มีกลุ่มชาติพันธุ์ ไต-กะได ในจีนตอนใต้
เรียกเจ้า "กระเพาะปัสสาวะ" นี่ว่า "ห้องเยี่ยว"
แต่คนไทย (ในประเทศไทย) ซักกี่คนจะกล้าใช้คำนี้กันล่ะครับ ?

ลองนึกภาพว่ามีสุภาพสตรีหน้าตาน่ารักซักท่าน (เหมือนคุณ sugar)
เดินเข้าไปพบคุณหมอหนุ่มรูปหล่อในคลินิกแห่งหนึ่งแล้วพูดกับหมอว่า
"ดินฉันเจ็บห้องเยี่ยวค่ะ คุณหมอรักษาให้หน่อยนะคะ"...
หมอจะทำหน้ายังไงหว่า ? ช่างมันเถอะ..... อย่าไปนึกถึงเลย เหอๆ






ที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดูนี่ เพราะอยากให้เห็นว่า
คำทั้ง 3 คำ เป็นคำยืม มาจากภาษาต่างประเทศ
เพราะทั้ง 3 คำเคยเป็น "คำใหม่" ที่โครงสร้างทางภาษาเดิมของเราไม่มี
พอเรารับเอา know how เข้ามาใช้เพราะมันดีกว่า
(ไม่เชื่อลองถามคุณสุภาพสตรีซักท่านในเรือนไทยดูก็ได้ ว่า
"ถ้ามีคนให้ eye cream ยี่ห้อ clarins คุณกระปุนึง.... เอามั้ย ?"
รับรอง ไม่ทันจะได้ถามรอบ 2 เธอจะทวงคุณก่อน เพราะมันแพงหูฉี่)

เมื่อเราเริ่มต้น โดยการ "เอา know how ของเขามาใช้"
เราก็ต้องรับเอาคำคำศัพท์เกี่ยวกับระบบทั้งระบบของเขามาใช้ด้วย
คำแรก eye cream คงเข้ามาเมืองไทยอย่างมากก็ไม่เกิน 100 ปี

แต่คำว่า "มะเร็ง" และ "กระเพาะ" เป็น "ภาษาขอมโบราณ"
ที่นักภาษาศาสตร์เขาเจอกันมาตั้งแต่จารึกสมัยสุโขทัยแล้วเป็นอย่างช้า




แล้วถ้าสงสัยต่อว่า "เราต้องยืมเขามาทำไม" ?
คำตอบ คือ ศัพท์พวกนี้เป็นศัพท์เฉพาะทางทางการแพทย์
คนในท้องถิ่นที่มีอำนาจน้อยกว่า มีทุนต่ำกว่า
ก็ย่อมมีโอกาสน้อยกว่า และหาความรู้ได้น้อยกว่า
ท้องถิ่นที่เจริญกว่า หรือเป็นรัฐมหาอำนาจโดยปกติ
(เช่น... มีทุนให้ไปเรียนต่อที่อเมริกาฟรี ใครเอาบ้าง ยกมือหน่อยครับ ใครไม่ยกมั่งล่ะ ?)

และนอกจากศัพท์เฉพาะทางการแพทย์แล้ว
ศัพท์เฉพาะทางอื่นๆ ที่ "เกี่ยวกับความรู้" ก็โดนยืมมาใช้ด้วย
เช่น "ตะกอ" หรือ "ระวิง" ที่เห็นกันใน "งานทอ"
ถึงทั้ง 2 คำมีคำที่เกือบจะแทนกันได้ในภาษาลาว
แต่ถ้าสนใจเรื่องการทอผ้าบ้าง คุณลองดูกี่ทอผ้าของคนไทย
แล้วไปเทียบกับกี่ของเขมรเองนะครับ.... ผมบอกเท่านี้ล่ะ อิอิ




ในเมื่อเขมรเริ่มตั้งตัวได้ และเป็นรัฐมหาอำนาจของภูมิภาค
ก่อนสุโขทัยจะเจริญขึ้นมาหลายร้อยปี
แถมยังเคยมีอำนาจเหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย

และที่สำคัญที่สุดจำนวนหนึ่งในการยืนยันถึง "อำนาจ" ที่ว่า
คือ "สุคตาลัยประจำอโรคยศาล" หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น
คือ "เทวาลัยประจำโรงพยาบาล" ที่กษัตริย์เขมรบอกให้สร้างไว้

ถ้าท่านไหนงงว่าทำไมเขาต้องมีเทวาลัยอยู่ในโรงพยาบาล
ขออนุญาตตอบว่า "พระเจ้าที่ชื่อวิทยาศาสตร์" เพิ่งจะยึดอำนาจ
จาก "พระเจ้าทางศาสนา" ไปไม่เกิน 400 ปีที่ผ่านมา
ก่อนหน้านั้นการรักษาโรคอยู่บนพื้นฐานของศาสนามาก่อนครับ

คำศัพท์เฉพาะทางในภาษาไทยหลายคำเลยเป็น "คำยืม" ภาษาเขมร
เพราะ "เรารับเอาเทคโนโลยี" จากเขามาไงครับ





แต่แค่ "คำยืม" มันยังเรื่องจิ๊บๆครับ
เราก็ยืม "เก้าอี้" "ยี่ห้อ" มาจากคนจีน
"ขนมปัง" มาจากฝรั่งเศส
"ขนมจีน" มาจากมอญ
"ชาละวัน" มาจากพม่า
และอีกสาระพัดยืมเยอะแยะ

แต่กับ "ภาษาเขมร" มันมีมากกว่านั้น.....
เพราะเรา "เอามา" มากกว่านี้เยอะ.....

คืนนี้ผมขออนุญาตขอตัวก่อนนะครับ
พรุ่งนี้เช้าต้องตื่นแต่เช้าไปทำธุระกับที่บ้านครับผม
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 04 ต.ค. 09, 01:45

คุณติบอนี่น่าจะเป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์นะ  ตัดจบ  ตอนกำลังเข้าด้ายเข้าเข็มพอดี  ให้คนดูต้องมาตั้งตารอตอนต่อไปไม่ให้พลาดเชียวแหละ
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 04 ต.ค. 09, 09:18

เข้ามาร่วมสนุกด้วยช้าไปมากครับ ขอเรียนเสริมคห.67 ว่าผมไปลุยมาเกลี้ยงแล้วครับปราสาททางอิสาน ตาไม่ถึงครับแยกไม่ออกว่าสวยต่างกันเพียงใด (ยกเว้น พระวิหาร นะครับ)ก็ชื่นชมความงามของทุกแห่งครับ เรื่องทหารอเม...นี่สมัยนั้นเขามาเมืองไทยไม่ต้องมีวิซ่า นะครับ เครื่องเขามาลงที่เมืองเราแล้วก็แยกกันไปตาม ที่เขาอยากไป ขากลับเขาจะเอาอะไรไป ก็ไม่มีใครไปตรวจครับ เขาก็ขนขึ้นเครื่องไปเฉยเลย ผมก็เคยกลับมาจากระเหเร่ร่อนโดยเครื่องของเขา ลงเครื่องมาผมก็เดินออกมาขึ้นรถเฉยเลย ไม่มีการตรวจลงตราอะไรทั้งนั้น นานมากถึงได้ทราบว่า อ้าว อย่างเป็นทางการ เรายังระเหเร่ร่อนอยู่หรือนี่ (คนสว.ชอบเล่าเรื่องเก่าครับฮิ ฮิ)
มานิต
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 05 ต.ค. 09, 12:15

ว่าแล้วเชียว...กระเพาะคุณกระเพาะใคร ไหงมาลงกระเพาะดิฉันล่ะคะคุณติบอ... งานนี้เสียหายหลายแสน....เห็นที..ดิฉันคงจะต้องหนีไปนับกบนับเขียดกับคุณศรีดีกว่า... แถวบ้านนอกเดี๋ยวนี้กบเขียดหาดูยากค่ะ เห็นว่าหลงแสงสีหนีเข้าเมืองกรุงกันหมดแล้ว! ...
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 05 ต.ค. 09, 20:23

มาช้าไปหลายวัน

เห็นด้วยกับคุณติบอในหลายๆเรื่องครับ

แต่เรื่องพระนครหลวง ถึงแม้ว่ามีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าคนสมัยอยุธยาในบางยุคสมัย มองว่าเมืองพระนครหลวงคือสัญญลักษณ์ของความรุ่งเรืองในอดีตกาล แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับเรื่องการโยงคำว่า "พระนครหลวง" เข้ากับความเป็นเมืองหลวงในอดีต

ผมเข้าใจว่าคำนี้ถูกใช้ในความหมายว่า "capital" ในราว ร.๔ - ร.๖ นี้เอง ก่อนหน้านี้คำว่าหลวงแปลว่าใหญ่ และนครหลวงเป็นชื่อเฉพาะ ถ้าจะแปลก็คือ "เมืองใหญ่" ตรงกับความหมายของ "นครธม" เท่านั้นเองครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ch@nge
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 06 ต.ค. 09, 01:24

เกี่ยวกับภาษานี่ เป็นเรื่องน่าแปลกมาก เมื่อก่อน ดิฉันจะต้องเล่ามากมาย เพื่อชี้แจงว่าภาษาไทยกับภาษาจีนนั้น เป็นคนละภาษากัน ระบบเขียนก็ไม่เหมือนกัน เวลาผ่านไป กลายเป็นมาได้ยินเนือง ๆ เรื่องภาษาไทยกับภาษาเขมรอีก ก็สังเกตมาพักใหญ่แล้ว

ที่ว่าแปลก ก็คือ ไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า เหมือนมีความพยายามให้เราหมดความภูมิใจในภาษาของตนเอง ไปโน่น ดิฉันอาจจะคิดมากเกินไป

จะหมดความภูมิใจได้อย่างไร ภาษาทุกภาษาต่างมีวิวัฒนาการ เกี่ยวเนื่อง เกี่ยวพันกัน ในยุโรปเอง ยกเว้นกรีกกับรัสเซีย พวกเขาต่างเขียนหนังสือด้วยตัวโรมัน ตัวละติน ซึ่งก็ไม่ใช่ตัวเขียนของเขา ญี่ปุ่นก็เขียนด้วยตัวคันจิ ตัวจีน

เราสิ เราเขียนด้วยตัวเขียนของเรา ที่เขียนกันเฉพาะในบ้านเรา ในประเทศไทย จะมีวิวัฒนาการมาอย่างไร นั่นอีกเรื่องหนึ่ง เอาแค่ว่าให้เขามาอ่านภาษาเรา อ่านได้ไหม เราเองก็อ่านภาษาเขาไม่ได้ เออ ถ้าเป็นตัวอักษรลาวก็ว่าไป ยังพอเดาได้มาก

ไม่ได้คลั่งอินเีดียนะคะ แต่นึกทีไร ตลกทุกที ว่าไม่รู้อย่างไร เอราวัณยังกลายเป็น elephant แล้วอัศว ก็เป็น horse ได้เลย ดิฉันอ่านมาจากคุณคึกฤทธิ์ค่ะ ดิฉันไปค้นต่อ มีอีกเยอะเลย ขำ ขำ

ยิ่งมาอ่านกระทู้เก่า เกี่ยวกับภาษา ที่เรือนไทยนี่ ไม่ภูมิใจ ไม่ได้แล้ว

มีเรื่องขอโทษคุณติบอ เรื่องวัสดุปุรุษมณฑล น่าจะผิดห้องค่ะ น่าจะเป็นศิลปะมากกว่า ดิฉันไปอ่านกระทู้ศัพทาภิธานมาค่ะ ที่ดิฉันถามเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะสนใจ แล้วยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง คือดิฉันไปสด๊กก๊อกธม ไปหลายครั้งแล้วค่ะ เวลาเห็นป้ายว่าได้รับเิงินทุนสนับสนุน จะจากญี่ปุ่น หรือเกาหลี ไม่แน่ใจ พร้อมกับได้ยินว่ายังมีการทุ่มทุนอีกก้อน ศึกษาเรื่องนี้ที่ในกัมพูชา ก็เลย......

คือดิฉันกำลังคิดว่า ทำไมดิฉันต้องรอให้ชาวต่างประเทศ มาบอกว่าตะไคร้ ใบมะกรูด นั้น ดีแค่ไหน แล้วค่อยวิ่งไปซื้อมารับประทาน แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่า พอรวมกับเรื่องเขตแดน มันแปลก ๆ

แล้ววิชานี้ยาก อ่านเองมาหลายปี เข้าใจแค่ระดับนึงเท่านั้น คงจะเป็นวิชาที่ต้องมีครูแน่ ๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 07:45

ผมปล่อยให้ด้ายเปื่อยคาเข็มมาร่วม 3 สัปดาห์....
ต้องขอโทษผู้ที่ตามอ่านกระทู้ด้วยครับ

เหตุเกิดจากผมบังเอิญต้องเดินทางไกลนิดหน่อย (ไปเรียนลูกเสือน่ะครับ)
แล้วมาถึงก็ติดพายุ โดนน้ำท่วม ตามด้วยของบางอย่างหาย
หาแป้นพิมพ์ภาษาไทยไม่ได้... สุดท้ายก็มีอันเป็นให้มาต่อกระทู้ไม่ได้ตามระเบียบ
งานวิจัยที่ถ่ายสำเนามาด้วยตอนนี้สงสัยจะกลายเป็นกระดาษห่อของไปซะละ (เอิ๊ก....)





ขออนุญาตมาต่อกระทู้ตอนเซ็งแล้วนะครับ
ไม่งั้นจะกลายเป็นเรื่องเขียนไม่จบอีกเรื่องนึง






เรียนคุณ CrazyHOrse ครับ

ผมเข้าใจ และเห็นด้วยครับ ว่า "เมืองหลวง" = capital เป็นความเข้าใจแบบตะวันตก
ถ้ารัตนโกสินทร์น่ะ ปูพื้นอย่างเร็วที่สุดไม่เกินรัชกาลที่ 3 และปฏิบัติราวๆรัชกาลที่ 4
แต่อยุธยาจะเริ่มมาก่อนรึเปล่า หรือเริ่มต้นเมื่อไหร่... ผมไม่แน่ใจนักนะครับ
ลองคิดดูว่ารัชกาลที่ 4 ทำอะไรให้เป็นตะวันตกบ้าง...
- เขียนพงศาวดาร(ที่ป็นเรื่องจริง)
- สร้างพระราชวังสำหรับแปรพระราชฐานนอกพระนคร
- ส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก
- คำนวณสุริยุปราคา แล้วเสด็จไปดูกับบาทหลวงฝรั่งเศส
- เปิดรับสิ่งประดิษฐ์ และพัฒนการทางความคิดใหม่ๆจากตะวันตก
- ถ่ายรูป

ถ้าตัวอย่างพวกนี้ทั้งหมด เป็นตัวอย่างของการ Westernisation แบบรัชกาลที่ 4
ตัดเรืองกล้องถ่ายรูปทิ้งซะหน่อย เพราะมันเริ่มใช้งานได้จริง พ.ศ. 2385
เราลองย้อนเวลากลับไปที่อยุธยาดู....
ดูเหมือนว่ารัชกาลที่ 4 จะไม่ใช่กษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงทำอะไรแบบนี้นะครับ

เอาเป็นว่าผมเห็นด้วยกับคุณ CrazyHOrse เรื่อง capial แน่ๆล่ะครับ
แล้วถ้าผมยังยืนยันความคิดเดิมต่อไป และบอกคุณ CrazyHOrse ว่า
"พระนครหลวง" เป็นราชาศัพท์ล่ะครับ ? จะเอาไงดีเอ่ย....


ถ้าจะคุยกันเรื่อง "เมืองพระนครหลวง" เป็นเมืองหลวงหรือไม่ ? ต่อไป
ผมขออนุญาตรวบกวนเวลาอันมีค่าของคุณ CrazyHOrse
กับพื้นที่ใหม่ในเรือนไทยอีกนิดหน่อยมานั่งเถียงกันเล่นๆ
ให้คนในเรือนอ่านกันดีกว่าครับ....
ด้วยความชำนาญทางข้อมูลประวัติศาสตร์ระดับคุณ CrazyHOrse แล้ว
สิ่งที่พิมพ์ลงมาน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอ่าน(รวมทั้งผมด้วย)อยู่ไม่น้อยครับ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 22 ต.ค. 09, 08:16

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน...คุณติบอ...คุณศรีฯลับเขี้ยวรออยู่... ยิ้มเท่ห์ เล่นปล่อยให้บรรดาศิษยานุศิษย์รอเงกนานเชียว....อ๋อ..ไปนอกมา..ไม่ว่ากัน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.111 วินาที กับ 19 คำสั่ง