ผมเห็นด้วยในสิ่งที่คุณ CrazyHOrse ขัดคอมาครับ
และค่อนข้างเชื่อว่า "ชนชั้นปกครอง" ของกรุงศรีอยุธยาส่วนมาก
ที่ได้ศึกษาทั้งภาษาเขมรและไทยก็คงคิดและเชื่อเช่นนั้น
ถึงได้ยกข้อความจากพงศาวดารฯ ฉบับวันวลิตขึ้นมาอธิบาย
และเกริ่นไว้ตั้งแต่ต้น ว่าเรื่องที่เล่าเป็น "ก๊อชชิป" ของคนอยุธยา
ถึงความยิ่งใหญ่ในการเป็น "เมืองหลวงเก่า" ของเมืองพระนครที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาไปแล้ว ณ จุดหนึ่งในความสืบเนื่องของประวัติศาสตร์
แต่ทั้งหมดที่ยกมานั่น คงไม่ใช่ทั้งหมดที่คนอยุธยาทั้งหมดได้รับรู้
ประวัติศาสตร์ ที่คนปัจจุบันพูดถึง คือ การเมือง ของคนในยุคก่อนนี่ครับ
และเมื่อเป็นการเมือง คนในสังคมก็ย่อมไม่มีใครเห็นตรงกันทั้งหมดอยู่แล้ว
อย่างน้อย คำว่า "เมืองนครหลวง" ก็ยังถูกคนอยุธยาใช้มาถึงการรับรู้ของวันวลิตแน่ๆ
แม้จะไม่ได้หมายถึง
เมืองหลวงทางการปกครอง แบบที่เราใช้เรียก "เมืองหลวง" อย่างกรุงเทพในปัจจุบัน
แต่ก็เป็น
นครศักดิ์สิทธิ์ หรือ
เมืองสำคัญของบรรพบุรุษ และเชื่อได้ว่าในความรับรู้ของคนอยุธยาจำนวนหนึ่งที่
เมืองพระนครเป็นเมืองหลวงเก่าด้วย
โดยที่ การรับรู้ทั้งหมดนั้นเกิดจากการถ่ายทอดผ่าน "การบอกเล่า" จากรุ่นสู่รุ่น
ในยุคที่ยังไม่มีการจัดการการศึกษาและตำราเรียนที่เป็นแบบแผนจากส่วนกลางเราจึงเอา "นิยาม" และ "ความคิด" แบบ westernization ไปอธิบายตรงๆไม่ได้
และข้อความในตอนท้ายของพงศาวดารฯฉบับวันวลิตที่ผมยกขึ้นมาอ้างก็บอกเอาไว้เอง ว่า
1.) คนอยุธยาเองก็มีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป
2.) พระเจ้าอู่ทองให้พระโอรสปกครองเมืองหลวงแทน
เมืองหลงในที่นี้ = เมืองพระนคร ไม่ใช่กรุงศรีอยุธยา
(เสียดายที่ฉุกละหุกไปหน่อย ผมเลยยังไม่ได้หาวิธีสอบเอกสารเดิมครับ)
ประเด็นสนับสนุนอื่นๆที่ทำให้ผมเชื่อว่าในความคิดของคนอยุธยาจำนวนหนึ่ง
มีเมืองพระนครเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ประจำภูมิภาค แต่ไม่ได้ยกมาเล่าไว้ เช่น
- การตีเมืองพระนคร ดูจะเป็นการแสดงพระราชอำนาจอย่างหนึ่งของกษัตริย์อยุธยา
(และรวมไปถึงชาติอื่นๆในภูมิภาคที่เรืองอำนาจขึ้นมา เช่น จามปาด้วย)
ถ้าลองเทียบกับการพิชิตแม่น้ำคงคาของกษัตริย์จากส่วนต่างๆในประเทศอินเดีย
ก็เชื่อได้ว่าเมืองพระนครที่เสื่อมอำนาจไปแล้วนั้นยังมีความ "น่าพิชิต" อยู่โดยตัวของเมืองเอง
- การพบพระพุทธรูปร่วมแบบกับศิลปะอู่ทองขนาดใหญ่จำนวนมากที่นครวัด
- ภาษาขอม เป็นภาษาที่แทรกตัวอยู่ทั่วไปในภาษาของภูมิภาคนี้
และมี "ศักย์ทางภาษา" ที่
"สูง" กว่าภาษาเดิมของเจ้าของภาษา
แต่ถ้าจะต้องอธิบายรายละเอียดทั้งหมดที่ยกมานี่ให้คนอ่านเข้าใจในกระทู้ เพียงเพื่อบอกว่า
"ในพุทธศตวรรษที่ 19 - 21 เมืองพระนครที่เสื่อมความนิยมลงไปแล้วยังเป็นนครศักดิ์สิทธิ์"
หรือ "คนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำนวนหนึ่ง ยังรับรู้ และเห็นว่าเมืองพระนครเป็นเมืองหลวงเก่าอยู่"
ผมเกรงว่ามันเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนมากจนเกินไป
และอาจทำให้ผู้อ่านกระทู้หลายๆท่านจะตามไม่ทันกับรายละเอียดด้วย
รายละเอียดทั้งหมดถึงต้องถูกตัดออกไป และเก็บไว้เฉพาะส่วนที่คำว่าจำเป็น
โดยย้ำไว้แต่แรกว่าพงศาวดารฯ ฉบับวันวลิต เป็น
"ก๊อซซิป" ของคนอยุธยา
เท่าที่อธิบายมา คุณ CrazyHOrse มีอะไรสนใจจะคุยกันเพิ่มเติมมั้ยครับ
ปล. เผยไต๋ไปซะเยอะเลย ถ้าเรื่องที่เล่าค่ำนี้กร่อยล่ะก็..... ฮึ่ม!!!
