เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6557 ยุทธหัตถี มีพระองค์ขาวตามเสด็จด้วยหรือไม่
prasit
อสุรผัด
*
ตอบ: 35


 เมื่อ 22 ก.ย. 09, 14:02

อยากรู้ว่าตอนที่องค์ดำ ทำยุทธหัตถี ที่พระองค์หลงเข้าไปในหมู่ศัตรูพม่าเพียงลำพังนั้นหมายความว่า
อย่างไร อย่างน้อยต้องมีองครักษ์เหลือสักคนสองคน แล้วองค์ขาวเสด็จเคียงด้วยยุทธหัตถี ฤาไม่
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ก.ย. 09, 10:54

ตำราโบราณที่ผมเรียนสมัย 2488 มีระบุว่าทรงกระทำการยุทธฯทั้ง 2 พระองค์นะครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ก.ย. 09, 13:33

อ่านมาจาก ขุนศึก  ของไม้เมืองเดิม  เริ่มหน้า ๔๗๗


สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จทรงช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นคชาธาร  และแวงจัตุรงคบาทนั้น
พระมหามนตรีขุนพลอยู่ฝ่ายหน้าขวา   พระมหาเทพอยู่ฝ่ายซ้าย
หลวงอินทรเทพและหลวงพิเรนทรเทพรักษาเบื้องหลัง

อันหน้าช้างเหนือไปนั้น  แล้วขุนศักดิ์ขุนพลคู่พระไทยประจำตำแหน่งเป็นทะลวงฟันร้อยสามสิบหกคน
ถือดาบเขนยี่สิบสองคน  ดายโล่ยี่สิบสองคน   ทั้งดาบสองมือเจ็ดสิบสองคน

แต่หน้าพระคชาธารประชิดนั้นคัดล้วนแต่ขุนแก้วขุนพลเพียงสี่



สมเด็จพระเอกาทศรถราชอนุชาก็เสด็จทรงช้างต้นพระยาปราบไตรจักรเป็นพระคชาธารพร้อมด้วยแวง
และจัตุรังคบาทล้อมรักษา

เสียงพลโห่สะท้านสะเทือน   
เสียงกลองรบกลองศึกเริ่มระงมกึกก้องท้องทุ่งไปจนจดป่า
สนั่นบันลือศัพท์นฤนาทด้วยแตรสังข์และสำเนียงฆ้องไชย
ปืนจ่ารงค์มณฑกนกสับก็ยิงถวายฤกษ์


สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงดำเนินทัพตามขัติยโยคฤกษ์กษัตริย์
กระบี่ธุชโบกอยู่เบื้องทักษิณ   และพระครุฑพ่าห์เบื้องซ้ายฉัตรไชยก็ประจำฝ่ายเฉียง
เรียงตามพระอภิรุมชุมสายทั้งบังแทรกบังสุริยามืดฟ้า

สองปีกนั้นล้วนท้าวพระยาทรงช้างพลายทั้งนื้อค่ายและหนุนทัพ
นำพลเข้าทะลวงเป็นหลั่นด้วยพลเท้า
ทั้งหอกทวนดั้งเขนและเสโลโตมรดาบสองมือสะพรึบ

เคลื่อนพลตามเกล็ดนาคเต็มทุ่งแถวเกลื่อนโดยโยธาทัพ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ก.ย. 09, 13:43

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ยุรยาตรพระคชาธาร
เป็นพระบาทย่างสะเทินมา  บ่ายหน้าต้อข้าศึก


จึงเจ้าพระยาไชยานุภาพและเจ้าพระยาปราบไตรจักร  ครั้นได้ยินเสียงพลโห่หึกกระหึ่ม
ทั้งเสียงฆ้องกลองศึกอึงคะนึง

ก็เรียกมันครั้นครื้นกิริยาปั่นป่วนแล้วก็เดินเป็นบาทย่างใหญ่  รวดเร็วไปด้วยกำลังน้ำมัน

ยิ่งใกล้ข้าศึกเบื้องหน้าก็ยิ่งแล่นดุ่มด่วน
จนนายมหานุภาพผุ้เป็นควาญท้ายคัดมิอยู่  มุ่งแต่จะโถมเข้าใส่ศึก


ทั้งเจ้าพระยาปราบไตรจักรอันหมู่แวงจัตุรังคบาทและหน้าช้างนั้น
ก็แล่นตามเพราะตระหนกตกใจนั้น



ส่วนช้างท้าวพระยาแม่ทัพทั้งหลายซึ่งเป็นปีกเป็นดั้งกันทั้งซ้ายขวามิทันจะรู้ตัว


ทั้งกองหลังก็ตามมิทันเสด็จ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ก.ย. 09, 14:15

........................................
.......................................
พลันธุมาการก็มืดคลุ้มตลบ  เป็นหมอกมัวไปมิได้เห็นประจักษ์

บรรดาจัตุรังคบาทและทหารหน้าพระคชาธารก็แล่นตาม
แล่นตีแย้งแทงฟันแก่ข้าศึกเป็นตลุมบอน  ติดตามพระคชาธารที่นั่ง
ซึ่งถลำไประหว่างมืดกลุ้มคลุ้มอยู่ด้วยควันฟุ้งดุจหมอกนั้น


แต่เจ้าพระยาไชยานุภาพ  และปราบไตรจักรนั้นเป็นช้างชำนะงาตกมันกล้า
ครั้นยิ่งเห็นข้าศึกแตกพ่าย  และช้างม้าบ่ายหนัากลับพากันหนี
ก็ออกเผ่นตามด้วยเมาน้ำมัน   พาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์
เข้าสู่ท่ามกลางทัพข้าศึก  

มีแต่จัตุรังคบาทกับทหารคู่พระองค์
แล่นตามไปเข้าหักหาญตะลุมบอนเป็นโกลาหล


ฝุ่นฟุ้งตลบจนมืดมัวทั่วทิศ
มิอาจต่างมองกันได้เห็นถนัดตราบช้างพระที่นั่งตะลุยไปประมาณร้อยเส้นเศษแล้ว



เมื่อนภากาศยังมืดคลุ้มอยู่กระนั้นเอง
ทรงตระหนักว่าล้ำมากลางทัพข้าศึก  กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าและเพียงทหารรักษาพระองค์  และจัตุรังคบาทที่เข้าประจันบาน


จึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จึงตรัสอธิษฐานแก่เทพยดาทั้งปวงว่า

ให้เกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตร  จะให้บำรุงบวรพระพุทธศาสนาแล้ว
ไฉนจึงให้มีมืดคลุ้มมิสว่างพอเห็นข้าศึกเล่า
พอรับสั่งตกพระโอษฐ
มหาวายุก็พัดควันหมอกมืดให้พลันสว่างไป

ก็ทอดพระเนตรเห็นช้างศึกยืนอยู่สิบหกช้าง
มีช้างดั้งช้างกันอยู่เป็นอันมาก  ทั้งมีเศวตฉัตร
แต่มิได้เห็นองค์สมเด็จพระมหาอุปราชา


ครั้นแปรพระพักตร์ไปเบื้องขวา  จึงเห็นช่างเศวตฉัตรช้างหนึ่ง
พรั่งพร้อมด้วยเจ้าพระยาทั้งหลาย  ยืนอยู่ ณ ฉายาไม้ข่อย....
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ก.ย. 09, 14:33

อยากออกความคิดเห็นเรื่องที่ไม่ตรงทีเดียวนัก แต่ก็น่าจะเฉียดๆ(ไม่ถึงกับเสียมรรยาทนัก มั้ง) นิดหนึ่งว่า ที่เรารบสู้พม่าไม่ได้ในสมัยนั้น นั้น สรีระของเราเป็นปัจจัยหนึ่งไหม รูปร่างเราเสียเปรียบไหม(เอ่ย)
มานิต 
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ก.ย. 09, 02:44

ในความเป็นจริง เอกสารและพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาหลายเล่มระบุไม่ตรงกันครับ
แต่ข้อมูลส่วนมากที่ถูกประมวลเข้าไปในตำราเล่มที่คุณมานิตเรียน
(ผมเข้าใจว่ากรมการรักษาดินแดนยังใช้กันอยู่ถึงทุกวันนี้ด้วย)
รวมทั้งนวนิยายที่คุณ Wandee กรุณานำมาลงให้อ่านกันนั้น
เป็นการประมวลข้อมูลจากลิลิตตะเลงพ่าย (ซึ่งแต่หลัง พ.ศ. 2350 ลงมาแล้ว)
และการสันนิษฐานของเจ้านายหลายพระองค์ในสมัยรัตนโกสินทร์
เช่น การสันนิษฐานของกรมพระยาดำรง เมื่อเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดสุวรรณดาราราม
ซึ่งพระยาอนุมานฯ(หลีกวางหยง) และหลวงวิจิตรฯ (กิมเหลียง) เอามาถ่ายทอดต่ออีกทีหนึ่ง
ซึ่งแน่นอนว่ามีการเติมแต่งจินตนาการบางส่วนของผู้ถ่ายทอดลงไปด้วย

ถ้าลองอ่านพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาดู.... จะเห็นว่าข้อมูลที่ได้ค่อนข้างต่างกันครับ







แต่จะว่าไปอีกที พงศาวดารก็เป็นนิทานยอพระเกียรติประเภทหนึ่ง
ลองเทียบฝั่งไทยกับพม่าดู มุมมองต่าง เรื่องราวก็ต่างกันลิบลับครับ
คนพม่ามองพระนเรศวรไม่ต่างจากคนไทยมองเจ้าอนุวงศ์ซักเท่าไหร่....
แต่คงเป็นโชคดีของคนไทยหน่อย ที่พระเจ้าอยู่หัวนันทบุเรงไม่เอาอ่าว
จนคนพม่าไม่ชอบขี้หน้ามากพอจะอนุโลมให้พระนเรศวรได้มั้งครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ก.ย. 09, 07:31

คุณติบอคะ

เล่าเรื่องเจ้าดวงคำหน่อยค่ะ
ทำไมเจ้าอนุวงศ์ถึงต้องขอพระราชทาน   ท่านงามนัก หรือมาจากสกุลใหญ่

คุณพุ่มเขียนถึงอยู่นิดหน่อย  ว่าท่านงามเสงี่ยมและเศร้า
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ก.ย. 09, 00:53

เรียนถาม คุณWandee ครับ

เจ้าดวงคำ ที่คุณWandee ถามถึง
ใช่เจ้าจอมมารดาดวงคำ พระมารดาในพระองค์เจ้าประดิษฐาสารีรึเปล่าครับ
ถ้าใช่ ผมขออนุญาตค้นหนังสืองานศพจำนวนหนึ่งก่อนนะครับ
อาจจะได้คำตอบมากกว่าที่ลงไว้ใน wikipedia ตอนนี้เพิ่มครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 ก.ย. 09, 22:42

ถึงนานเพียงใดก็จะรอค่ะ

มีหนังสืออนุสรณ์ไม่มากเหมือนคนแถวนี้
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ต.ค. 09, 11:45

อยากออกความคิดเห็นเรื่องที่ไม่ตรงทีเดียวนัก แต่ก็น่าจะเฉียดๆ(ไม่ถึงกับเสียมรรยาทนัก มั้ง) นิดหนึ่งว่า ที่เรารบสู้พม่าไม่ได้ในสมัยนั้น นั้น สรีระของเราเป็นปัจจัยหนึ่งไหม รูปร่างเราเสียเปรียบไหม(เอ่ย)
มานิต  

ไม่เกี่ยวแต่อย่างใดครับ มูลเหตุที่ สยามอยุธยา มักจะเสียเปรียบพม่า(ไม่ได้แปลว่าสู้ไม่ได้เสมอไป) มาจาก

๑..หลักนิยมในการสงครามของสองอาณาจักรต่างกัน พม่าจะนิยมเข้ากระทำ แต่สยามอยุธยานิยมตั้งรับ(ใช้มาตั้งแต่พระเจ้าอู่ทอง จะเปลี่ยนบ้างก็เห็นจะมีแค่ยุคของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เท่านั้น มาเปลี่ยนอีกทีก็ ธนบุรีเป็นต้นมา)

๒..ความสามารถในการควบคุมพลเมือง(ถ้าสมัยก่อนก็คงจะต้องเรียกว่า ไพร่)ต่างกัน  อาจจะเนื่องด้วยหลายสาเหตุ เช่น ความใกล้ไกลของศูนย์กลางอำนาจ(อยุธยา,หงสาวดี) , นโยบายของกษัตริย์แต่ละพระองค์ , พระปรีชาสามารถของกษัตริย์แต่ละพระองค์ ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนใหญ่ที่เห็น สยามไม่ค่อยจะมีนโยบายไปตีพม่าเสียเท่าไร แต่จะเน้นขยายอิทธิพลลงมาทางด้านอ่าวเบงกอล ผ่านทางเมืองท่าสำคัญ ๆ เช่น ทวาย,มะริด,ตะนาวศรี มากกว่า และก็ขยายไปทางด้านตะวันออก อย่าง เขมร และ ลาว ซึ่งทรัพยากรน่าจะอุดมสมบูรณ์กว่าทางพม่า ที่มีผู้คนเยอะกว่า

และถ้าทำสงครามกับพม่าอาจจะต้องเสียทรัพยากร(เงินทอง,ไพร่พล,อาหาร) เยอะกว่า การไปทำสงครามกับ อาณาจักรด้านตะวันออกเช่น เวียงจันทน์,เขมร,ล้านช้าง ฯลฯ เป็นต้น  (ไม่ได้แปลว่า สยามอยุธยาสู้ไม่ได้ หรือ อ่อนแอกว่าพม่า แต่ อยุธยาเลือกที่จะไม่ทำสงครามเอง )

อีกประการ คำว่า "ราชาธิราช (หรือก็คือ สมมติเทพ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ปกครองชมพูทวีป ฯลฯ)" คำ ๆ นี้ ในสองอาณาจักร(พม่า,อยุธยา) มีความหมายที่ต่างกัน

ของพม่า จะเน้นไปที่การต้องพิชิตให้ได้ทุกหัวเมือง เน้นสงครามเข้าว่า , แต่ของ สยามอยุธยา ส่วนใหญ่(เน้นว่าส่วนใหญ่) จะเน้นไปที่ ความรุ่มรวยในด้านของการดำรงชีวิต ,ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี,เงินทอง ส่วนการทำสงครามจะสื่อไปในความหมายของการไปปราบมาร(ตามแนวคิดของพระพุทธศาสนา และมันก็ส่งผลออกมาเป็นรูปธรรม ทั้งในเรื่องของ อาวุธ หรือแม้แต่ วรรณคดีอย่าง ลิลิตยวนพ่าย นั่นชัดเจนมาก ๆ ครับ) เสียมากกว่า

สรุปง่าย ๆ  พม่าเน้นทำสงคราม ถ้าชนะคือ HERO แต่ของ สยาม เป็น HERO อยู่แล้ว แต่ที่ทำสงครามเพื่อปราบมาร ในความคิดผม ถ้าเปรียบไป พม่าก็คงเหมือน นครรัฐ สปาร์ตา  ส่วน สยามจะเป็น เอเธนส์ ครับ

ที่ผมเดา ๆ ได้ก็คงมีเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ต.ค. 09, 12:00

คนพม่ามองพระนเรศวรไม่ต่างจากคนไทยมองเจ้าอนุวงศ์ซักเท่าไหร่....
แต่คงเป็นโชคดีของคนไทยหน่อย ที่พระเจ้าอยู่หัวนันทบุเรงไม่เอาอ่าว
จนคนพม่าไม่ชอบขี้หน้ามากพอจะอนุโลมให้พระนเรศวรได้มั้งครับ

ข้อนี้เห็นจะไม่จริงครับ

ถ้าได้อ่าน พงศาวดารพม่าฉบับของ นายกุลา หรือ กะลา (UKALA) มันจะเป็นคนละเรื่องเลยครับ

เล่าสั้น ๆ เกี่ยวกับ นายกุลา หรือ นายกะลา คนนี้ เขามีศักดิ์เป็นลูกครึ่งอยุธยา-พม่า เนื่องด้วย ทางย่า(ถ้าจำไม่ผิด หรืออาจจะเป็นแม่ก็ได้) เป็นเจ้าหญิงของอยุธยาครับ(จริง ๆ แล้วเป็นเจ้าหญิงจากพิษณุโลก แต่ตอนนั้นควบรวมกับอยุธยาแล้ว ขอเหมาเป็นอยุธยาเลยแล้วกัน ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยครับ)


พระนเรศวรมหาราช ในฉบับ พงศาวดารของ นายกุลา นี่ ออกไปในทำนองละครภาคค่ำช่อง ๗ สี ครับ เพราะมูลเหตุที่ทรงไปตีพม่า ก็เพื่อจะไปช่วยเหลือ พระเจ้านันทบุเรง (ท่านผู้อ่านตาไม่ฝาดครับ ผมเขียนถูกต้องแล้ว) ให้กลับมาครองบัลลังก์ใหม่

เนื่องด้วยที่ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพอพระทัย พระธิดาของพระเจ้านันทบุเรงพระองค์หนึ่ง ดังนั้นเมือ่พระเจ้านันทบุเรงถูกชิงบัลลังก์ไป พระนเรศวรฯ ทรงเป็นห่วงพระธิดาพระองค์นั้น ก็เลยยกทัพไปช่วยพระเจ้านันทบุรเงชิงบัลลังก์คืนครับ

ส่วนเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี (วกเข้ามาที่เจ้าของกระทู้แล้ว) จริง ๆ แล้ว ทางพม่าไม่ได้เขียนแบบของไทยเขียนไว้

พม่าบอกว่า(ทั้งของ นายกุลา และ มหายาสะวิน) สมเด็จพระมหาอุปราช ต้องกระสุนปืน(ใหญ่) ของทางสยามสิ้นพระชนม์ครับ  (หลักฐานทางไทย เห็นจะมีของ หมอแกมป์เฟอร์ ที่มาแนวเดียวกัน) และที่สำคัญ สมเด็จพระนเรศวรฯ และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงบัญชาการทัพอยู่บนกำแพงพระนคร หาได้ไสช้างพระที่นั่งไปถึง หนองโสน แต่อย่างใดไม่ !!!!!!!!!!

สมเด็จพระมหาอุปราชเองต่างหาก ที่ทรงยกทัพมารุกประชิดกำแพงพระนคร !!!!!!!!  (ว่าไปนั่น)

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ต.ค. 09, 12:54

หว๋า.... ผมยังไม่มีโอกาสได้อ่านเลยครับ
ที่ผ่านมาได้อ่านแต่ หม่อง ทินอ่วม เอ๊ย ทินอ่อง

คุณsamun007 พอจะกรุณาบอกได้มั้ยครับ
ว่าพงศาวดารฉบับที่ว่ามีพิมพ์เป็นภาษาไทยมั้ย ?
ถ้ามีใครเป็นคนพิมพ์ ? พิมพ์ราวๆปีไหน ?
แต่ถ้าไม่มีจะพอหาอ่านได้ที่ไหนบ้างครับ ?



ปล. เล่มนี้เป็นเล่มเดียวกัน หรือ คนละเล่มกับพงศาวดารพม่า 2 เล่มหลัก
ที่ปกติต้องอ่านกัน คือ
- มหายาสเวงดอญี
- ฮมันนาญาสเวงดอญี
รึเปล่าครับ (ผมไม่แน่ใจตัวสะกดของตัวเองนะครับ)
(ผมจำไม่ได้แล้วว่าเล่มไหนคือฉบับหอแก้ว)



รบกวนขอความรู้จากคุณ samun007 เพิ่มด้วย ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ต.ค. 09, 13:25

ฉบับของ อูกะลา หรือ นายกะลา หรือ นายกุลา นั้น ฉบับเต็ม ๆ (แบบไม่วิเคราะห์ หรือ ตัดมาเฉพาะหัวข้อ) ยังไม่มีแปลออกมาเป็นภาษาไทยครับ

แต่ถ้าเป็น คัดมาเฉพาะบางส่วน แบบนี้มีแปลเป็นไทยแล้วครับ โดย คุณ มิกกี้ ฮาร์ท สถาปนิกชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย

ลองไปหาซื้อได้ที่ มิวเซียมสยาม ครับ ออกมาเป็นปีแล้วเหมือนกัน พร้อม ๆ กับ หนังสือ โกษาปาน ของ อ.ภูธร ภูมะธนะ

ตัวหนังสือถ้าจำไม่ผิดจะชื่อ โยเดีย...(อะไรสักอย่าง) นี่ล่ะครับ หน้าปกสีแดง ๆ ร้อยกว่าบาท

เนื่องจาก นายกุลา อยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ-สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทำให้ นักวิชาการด้ารประวัติศาสตร์ของพม่า มักจะให้ความเชื่อถือ พงศาวดารฉบับนี้มากครับ นัยว่าเหตุการณ์น่าจะร่วมสมัยกับพระนเรศวรฯ จริง ๆ  

พงศาวดารของนายกุลา จะมีไม่ถึง ราชวงศ์ก่งบง(คองบอง) ครับ เพราะนายกุลาแกตายไปก่อนหน้านั้นนานพอสมควร (เป็นร้อยปี)

ส่วนฉบับ มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า (มหายาสะวิน : หรือที่คุณ ติบอ เรียกว่า มหายาสเวง นั่นเอง) เล่มนี้ จะมาเริ่มบันทึกในสมัยราชวงศ์ก่งบง(คองบอง) แล้วล่ะครับ

ส่วน เล่มสุดท้ายของ ดร.ทินอ่อง นี่ มันน่าจะอยู่ราว ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้กระมัง ? (หลวงวิจิตรฯ ของไทยเป็นแบบไหน  ดร.ทินอ่อง ก็เป็นแบบนั้นครับ...)


ในเล่มของ คุณมิกกี้ ก็ได้พยายามวิเคราะห์ถึงเรื่องต่าง ๆ ทั้งเรื่อง ยุทธหัตถี,เรื่องพระนางสุพรรณกัลยา (เจ้าหญิงทอง แห่งพิษณุโลก ที่ต่อมามีศักดิ์เป็นต้นตระกูลของ นายกุลา นั่นเอง)


บทบาทของ สมเด็จพระนเรศวรฯ ในฉบับของ นายกุลา นี่... อย่างที่ได้บอกไปครับ กลายเป็นคนละมุมมองไปเลย
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 ต.ค. 09, 13:35

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า การทำยุทธหัตถี มีจริง  แต่ไม่ได้กระทำที่ จ.สุพรรณบุรี เหมือนอย่างในปัจจุบัน

แต่กระทำกันที่ จ.กาญจนบุรี ครับ ซึ่งก็สอดคล้องกับ การจดบันทึกของทางมอญ (อ่านเพิ่มเติมรายละเอียดได้ในหนังสือ ประวัติของ หลวงพ่ออุตตมะ สนพ.มติชน)

เหตุผลที่ สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงมาสร้างเจดีย์ที่ป่าแขวงเมืองสุพรรณฯ เพราะ ห่างจากสมรภูมิพอสมควรจะได้ไม่โดนทำลายง่าย ๆ ก็พอจะเชื่อเหตุผลนี้ได้ เพราะอย่างกรณี เจดีย์ปราบเวียงจันทน์ สมัย ร.๓ พอสร้างเสร็จไม่นาน พวกลาวเวียงจันทน์ ก็ข้ามมาทำลายเจดีย์เสีย เนื่องจากสร้างไว้ใกล้เกินไป

ยิ่งถ้าไปอ่าน พระราชพงศาวดารฉบับพิสดาร(ร.ศ.๑๒๐) ที่พิมพ์ใหม่เมื่อสักไม่เกิน ๕ ปี ที่ผ่านมา โดย สนพ.มติชน จะยิ่งให้รายละเอียดมากขึ้นไปอีกครับ ขนาดที่ว่าบอกเลยว่า ทัพสยามจัดทัพกระบวนไหนไปตีทัพพม่า (น่าสนใจที่ว่า ประธานของการจัดทำพงศาวดารชุดนี้คือ หลวงประเสริฐอักษรนิตย์ ครับ...!!!!!!!!)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 19 คำสั่ง