เรื่องที่ราชบัญฑิตยสถาน กำหนดให้ Ph แทน พ นั้น เห็นจะเป็นการกำหนด ที่ใช้อักษรโรมัน แทนการออกเสียงภาษาไทย ครับ ซึ่งชาวต่างชาติ ก็ต้องรู้ว่า Ph นี้ ออกเป็นไทยนะครับ เทียบกับ p ของภาษาอังกฤษ ส่วน P แทน ป เทียบกับ p ของภาษาฝรั่งเศส
อันนี้ ชาวต่างชาติก็ต้องอ่านเอกสารประกอบการออกเสียงครับ

ภาษาอื่นๆ ที่ใช้อักษรโรมััน แทนการออกเสียงของภาษาตัวเอง (ไม่อิงกับการออกเสียงภาษาอังกฤษ) ก็มีหลายภาษาครับ เช่น เวียดนาม พินอินของจีน โรมันจิของญี่ปุ่น มาเลย์-อินโด
อย่างจีนใช้ Q แต่ไม่ออก คฺว ตามอังกฤษ ทางการจีนกำหนดให้ออก ช
หรือ Zh ก็ไม่ออก ซ ตามอังกฤษ แต่ให้ออกคล้ายๆ จ
ชัดๆ คือ B ไม่ออก "บ" ตามอังกฤษ แต่ออก "ป"
หรืออย่างคำญี่ปุ่น ที่เขียน Fu ก็ออกคล้ายๆ ฮุ หรือ ฮึ ทุกคำ ไม่ได้ออก ฟุ แต่อย่างใด
=============================
ผมเข้าใจว่า ทางราชบัณฑิตยสถาน ใช้ "h" เข้ามาช่วยสำหรับแยกเสียงในกลุ่มต่างๆ คือ
๑. เสียงกัก - เพดานอ่อน : ก = K ; ข,ค,ฆ = K
h๒. เสียงกัก - ปุ่มเหงือก : ฏ-ต = T ; ฐ-ถ, ฑ-ท, ฒ-ธ = T
h๓. เสียงกัก - ริมฝีปากทั้งสอง : ป = P ; ผ,พ,ภ = P
hดังนั้น ในทางกลับกัน ถ้าฝรั่งออกเสียงผิดทำเป็นตลก เราก็ตอบไปว่า ยูไม่รู้อะไร Ph บ้านไอ ไม่ได้ออกแบบบ้านยู เอาแค่ภาษาอังกฤษของยูเอง ยังเขียนอย่างอ่านอย่างเลย เช่น night, fight ยูออก i (ไอ) แต่ fish, kiss ทำไมยูทะลึ่งออก i ว่า อิ

ถ้าฝรั่งตอบว่า ก็ถ้า ตามด้วย -ight ก็ออก ไอ ไง, เราก็ตอบว่า ก็เหมือนกัน P ถ้าตามด้วย h บ้านไอ ออก พ เหมือน p บ้านยู
ส่วน p บ้านไอนั้น บ้านยูไม่มีเสียงนี้

ดังนั้นภาษาไอ มีเสียงมากกว่าภาษายูนะ

อิอิ
สรุปว่า ราชบัณฑิตยสถาน ไม่ได้ ใช้เกณฑ์ในการกำหนดอักษรโรมัน มาจากการออกเสียงของภาษาอังกฤษครับ แต่ใช้เกณฑ์การออกเสียงภาษาไทย มากำหนดอักษร เหมือนที่ประเทศอื่นๆ ก็ใช้ครับ