เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 17817 เอกศิลปะในสมัยปฐมบรมราชจักรีวงศ์
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 12:07

10 รูปทวารบาลบนตู้พระไตรปิฎก(ตู้พระธรรม) ที่หอสมุดวชิรญาณสมัยรัชกาลที่1
    รูปนี้เขียนเป็นรูปเสี้ยวกางหรือเขี้ยวกางยืนอยู่บนหลังสิงโตแบบจีนพร้อมลูกน้อยเคล้าคลอไปกับลายกนกเปลวซึ่งคลี่คลายมาแล้วต่างจากอยุธยา โดยเขียนเป็นแบบแผนมากขึ้น ดูสวยงามไปอีกแบบ รูปนี้ผมเคยคัดลอกไว้ยังมีต้นฉบับกระดาษไขเหลือเก็บอยู่ทีบ้านเลย ยังว่าจะเอามากระทบเส้นคัดลอกใหม่เพราะของเก่าโทรมหมดแล้วครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 12:17

11.หน้าบันสมัยรัชกาลที่1
 ในรูปเป็นหน้าบันที่วัดราชสิทธาราม หน้าบันในสมัยนี้ ฝีมือนับว่ายอดเยี่ยม มักจำหลักเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ อันหมายถึงรชวงศ์จักรี คือ จักร กับ ตรี รวมกัน อันเป็นอาวุธของพระนารายณ์ ซึ่งนอกจากที่นี่แล้วเราก็ยังจะเห็นหน้าบันอย่างนี้ที่วัดพระแก้ว วัดระฆัง วัดโพธิ์ วัดสุวรรณาราม และวัดชนะสงคราม


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 12:26

12.หน้าบันพระวิหารรายในเขตพุทธาวาส วัดโพธิ์
     เป็นรูปท่าจับในเรื่องรามเกียรติ์ อันเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของศิลปะสมัยรัชกาลที่1 ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์ ซึ่งก็เป็นวัจถุประสงค์เดียวกับการเขียนภาพที่รอบพระระเบียงวัดพระแก้วในวังหลวง ซึ่งเปรียบได้ว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีนั้นก็คือพระนารายณ์อวตารมานั่นเอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 12:36

13.จิตรกรรมฝาผนังที่วัดราชสิทธารามสมัยรัชกาลที่1
  เคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับวัดนี้ไปแล้ว ขอให้ไปดูรายละเอียดได้ที่นั่นครับ ปัจจุบันกำลังมีการซ่อมแซมเขียนใหม่ให้เต็มอยู่ รีบไปดูฝีมือดั้งเดิมซะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 12:57

14.จิตรกรรมบนสมุดข่อยวัดบางขนุน
เขียนเป็นเรื่องทศชาติชาดก ปัจจุบันไม่แน่ใจว่ากรมศิลปรับมาครอบครองจากวัด หรือยังอยู่ที่วัด ผมเองเคยได้เข้าไปชื่นชมในวันเดียวกับที่กรมศิลปเข้ามาพบพอดี 25ปีมาแล้ว และได้ถ่ายภาพไว้1เล่ม ทราบว่ามีหลายเล่ม แต่ไม่เคยเห็นเล่มอื่นอีกเลย นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ฝีมือยังคงเป็นศิลปะที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย (อาจจะเป็นสมัยอยุธยาก็ได้ อันนี้ผมว่า) ลักษณะใหญ่ๆก็คือ
1.ระบายด้วยสีฝุ่นผสมกาว และใช้สีหลายสีแบบอยุธยาตอนปลาย ด้วยในยุคหลังนี้มีสีตกเข้ามาขายโดยส่งมาจากเมืองจีนและอาจจะมาจากที่อื่นด้วย สีที่เพิ่มขึ้นเช่นสีแดงชาด สีเสน สีเหลือง สีเขียว สีคาม นำเน(สีขาบ) ส่วนสีม่วงคงใช้สีแดงผสมกับสีขาบ การระบายสีท้องฟ้า หรือสีพื้นเป็นสีส้ม หรือแสด อันเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายอย่างเช่นที่วัดหัวกระบือ ก็มีปรากฎให้เห็น ส่วนเครื่องประดับ เช่น ชฎา สังวาลย์และส่วนอื่นๆก็จะมีการปิดทองและตัดเส้นด้วยสีแดงรองใต้เป็นลักษณะของศิลปะตกแต่งที่งดงามตามาก
 จากในรูปประกอบเป็นภาพตอนพระเตมีย์ใบ้ ซึ่งพื้นหลังเป็นสีแสด ช่างคงเห็นว่าถ้าปล่อยพื้นให้ว่างจะดูเลี่ยนตา จึงเขียนรูปใบไม้ร่วงด้วยสีขาวดูเป็นลาย ทำให้เกิดช่องไฟขึ้น เป็นลักษณะศิลปะตกแต่งที่ยังคงรับแบบอย่างจากศิลปะอยุธยาอยู่เหมือนเช่นที่วัดราชสิทธารามนั่นเอง
  ขอจบกระทู้นี้แต่เพียงเท่านี้ ข้อมูลส่วนใหญ่ได้มาจากวารสารเมืองโบราณ ปีที่13 ฉบับที่2 เมษายน-มิถุนายน 2530 มีการต่อเติมเสริมแต่งด้วยภูมิปัญญาอันพึงมีของผม จึงขอขอบคุณเนื้อหาและรูปบางส่วนจากวารสารดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ขอเชิญเพื่อนสมาชิกทัศนาและร่วมถามตอบกระทู้ตามอัธยาศัย


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 14:45

พิมพ์ผิดไปนิดตรงสีคราม สีน้ำเงิน(สีขาบ)
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 20:17

สวัสดีครับพี่ยีนส์ สวยมากครับ เห็นหน้าบันรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ แล้วนึกถึงวัดที่ทำการบูรณะวัดหนึ่ง(ไม่นานนี้เอง)
เขาเอารูปไม้สลักพระนารายณ์และครุฑบนหน้าบันที่ผิวผุกร่อนลงมา แล้วซ่อมโดยวิธีการแกะสลักซ้ำทับรอยเดิมเข้าไปใหม่ ดูแล้วไม่เข้าใจว่า
ทำไมไม่เอาไม้ท่อนใหม่มาสลักไปซะเลย อันนี้ก็ไม่กล้าจะไปติเตียน แต่เห็นแล้วเสียดายของแปลกๆ ขนาดในวัดหลวงนะเนี่ย
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 23:58

เรียนถามคุณ jean ครับ
วัดในชุดวัดราชสิทธาราม (เท่าที่ดูจากผัง และโครงสร้างวัด)
ผมเข้าใจว่าน่าจะมีวัดทองธรรมชาติอีกแห่งนึง (รึเปล่า?)
ที่นั่นมีจิตรกรรมฝาผนังที่งามเลิศ และแปลกตาอีกมากนะครับ



ปล. วัดสังข์กระจายไฟไหม้ครับ จิตรกรรมส่วนมากสูญไปแล้ว
(แม้จะซ่อมให้เห็นโครงเดิมบ้าง)
ผมลองเทียบโครงภาพบางส่วนที่ซ่อมใหม่กับวัดดุสิต
หรือวัดราชสิทธาราม (ผมว่าวัดทองธรรมชาติด้วย) ดูยังพอเห็นเค้าครับ
ฉากหลายฉากมักจะใช้มุมที่ค่อนข้างซ้ำกันมากจนติดตา
เช่น ฉากท้าวจตุโลกบาลถวายบาตรครับ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ก.ย. 09, 14:14

นึกว่าจะไม่มีใครเข้ามาชมเสียแล้ว น้องเนประเดิมต่อด้วยคุณติบอ ขอตอบเรื่องวัดทองธรรมชาตนั้นเดิมเป็นวัดราษฎร์ไม่รู้ว่าสร้างมาแต่สมัยใด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่1 พ.ศ.2330 "พระองค์หญิงเจ้ากุ"(ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี)พระขนิษฐาในรัชกาลที่1ซึ่งคนทั้งหลายขนานพระนามว่า"เจ้าครอกวัดโพธิ์"พร้อมด้วยกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์พระภัศดา ทรงมีศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างอุโบสถ วิหาร และเสนาสนะต่างๆขึ้น การนั้นไม่แล้วเสร็จโดยเฉพาะพระอุโบสถจนล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่2 เพราะกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์สิ้นพระชนม์ลง จนล่วงมาถึงรัชกาลที่3ขึ้นเสวยราชย์ ทรงทราบว่าวัดนี้บูรณะแล้วแต่ยังค้างอยู่ จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร(ต่อมาได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร) เป็นแม่กองสร้างวัดที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นลง ดังนั้นพระอุโบสถนั้นน่าจะเป็นช่างรัชกาลที่3แล้ว ไม่ใช่ร.1 ส่วนวิหารซึ้งสร้างเสร็จก่อน ก็น้าจะมาบูรณะเสียในรัชกาลที่3ด้วยเช่นกัน เพราะจากสภาพปัจจุบันปรากฎอยู่เป็นเช่นนั้น และทีมช่างของผมเคยได้เข้าไปบูรณะในวิหารนี้เสียหมดแล้ว โดยคัดลอกของเดิมเท่าที่หลงเหลืออยู่และเขียนเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายไปโดยยึดรูปแบบเดิมทั้งหมด รายละเอียดเรื่องวัดทองธรรมชาติเคยนำเสนอในกระทู้"วัดทองธรรมชาติที่ไม่ธรรมชาติเสียแล้ว"ให้ไปดูได้ที่กระทู้นั้นครับ เรื่องวัดสังขจายนั้น ผู้วาดใหม่นั้นได้นำเอารูปแบบที่ปรากฎอยู่ตามวัดต่างๆมาจัดองค์ประกอบหรือบางทีก็ลอกเอาไปทั้งดุ้น มิได้เอาเค้าโครงเดิมของวัดสังขจายที่มีเหลืออยู่มาวาดหรอกครับ(เพราะมันไม่มีเหลือ) ดังนั้นไม่สามารถทราบได้เลยว่า เดิมนั้นวัดสังขจายเขียนไว้อย่างไร เนื่องจากยังไม่ปรากฎมีหลักฐานภาพถ่ายเก่าเหลืออยู่เลยเท่าที่หราบ(นอกจากรูปทวารบาลที่ผมโพสต์นั่นแหละ) ส่วนวัดทองธรรมชาตินั้นเป็นจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่3แน่นอนมิใช่รัชกาลที่1และปัจจุบันก็ได้มีการซ่อมแซมแทบทุกผนังจนหากใครไม่เคยดูงานครั้งเก่าก่อนซ่อมอาจไม่ทราบเลยว่าเป็นของที่เขียนขึ้นใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ตรงนี้แหละที่น่าเสียดายนักว่าการบูรณะปฏิสังขรณืใดๆในบ้านเราก็สักแต่ทำให้มันเสร็จๆไปไม่บันทึกหลักฐานทั้งภาพถ่ายหรือวีดีโอไว้เพื่อเปรียบเทียบเก่าใหม่ทั้งที่ทำได้ ทำให้ประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีและศิลปะของไทยสูญหายลงไปทุกวัน(รูปประกอบจิตรกรรมฝาผนังวัดทองธรรมชาติตอนพระอุปคุตทรมานพระยามาร ซึ่งปรากฎมีเขียนอยู่ไม่กี่วัดเท่านั้น ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่3)


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 ก.ย. 09, 23:17

ขอบพระคุณ คุณjean สำหรับคำอธบายครับ
ผมเพิ่งได้เปิดหูเปิดตาอีกเรื่องวันนี้เองครับ
ข้อมูลที่ผ่านๆมา เจอตัวจริงเข้าวันนี้เอง

ในพระอุบโบสถวัดสังข์กระจาย ผมเข้าใจว่า
หลังพระประทานด้านพระหัตถ์ขวา ยังเหลือภาพเก่าอยู่ส่วนหนึ่ง (?)
ไม่แน่ใจว่าเก่ารึเปล่า แต่เห็นค้าว่าต่างจากส่วนอื่นๆ ของวัด
รบกวนขอความรู้จากคุณjean ด้วยครับผม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 ก.ย. 09, 00:22

รายงานว่าเฝ้าดูด้วยความพึงใจอย่างใหญ่หลวง

ภูมิใจในราชรถมานานแสนนานแล้วค่ะ  ไม่มีใครมีเหลือแล้วเอิงเงย

ชอบเกราะของเซี่ยงกางเสียนี่กระไร

ไม่กล้ารีบมาคุย เกรงจะขัดจังหวะการโพส
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 ก.ย. 09, 12:01

วัดสังขจายนั้นเท่าที่ทราบ เป็นการลบทิ้งเขียนใหม่หมดโดยคุณนิตยา ศักดิ์เจริญเมื่อ20กว่าปีมาแล้ว ในสมัยนั้นผู้ที่ร่ำเรียนทางศิลปะ ใหรู้สึกเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ถ้าจำไม่ผิด อาจารย์ น. ณ ปากน้ำท่านยังบ่นว่าน่าเสียดายในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งนี่แหละผมจำไม่ได้ ผมเองก็ไม่ได้เข้าไปนานมากแล้ว ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะเหลือฝีมือเดิมอยู่ เพราะไม่เห็นว่ามีหนังสือเล่มใดกล่าวถึงอีกเลยรูปที่ผมโพสต์นั้นก็มาจากวารสารเมืองโบราณเมื่อปี 2530ก่อนจะลบทิ้งไม่นาน หากมีข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้จะนำมาเล่าให้ฟังอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 ก.ย. 09, 23:56

ต้องขอขอบคุณคุณjean อีกครั้ง ดูแล้วเพลินตาเพลินใจ แต่อดเสียดายไม่ได้กับการที่ภาครัฐไม่ใส่ใจให้ความสำคัญกับสมบัติล้ำค่าที่บรรพบุรุษท่านทิ้งไว้ให้ หากนักการเมือง มีรสนิยมและรักศิลปวัตถุของเรา จะดีกว่านี้มาก ...ยกตัวอย่าง...หากได้งบมาสร้างอาคารจัดแสดงเป็นการเฉพาะให้กับมหาพิชัยราชรถ ให้กว้างขวาง มองเห็นได้เต็มแนวด้านข้าง ฉากหลังให้เข้มๆ ส่องไฟให้ได้แสงเฉพาะราชรถ....ลองจิตนาการเอาเอง ว่าจะยิ่งงามเพียงใด ลูกหลานเด็กเล็กมาดูจะได้ดื่มด่ำประทับใจมากกว่านี้..
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 20 ก.ย. 09, 02:03

เห็นคำวิจารณ์ของคุณ Srisiam แล้วอดตอบไม่ได้
ผมไม่แน่ใจว่าที่กรมศิลป์ทำแบบนี้กับราชรถเพราะ
โรงเก็บราชรถ เป็น "โรงเก็บ" ไม่ใช่ "พิพิธภัณฑ์จัดแสดง" หรือเปล่า (?)
แต่จะว่าไปอีกที.... พิพิธภัณฑ์สำหรับคนไทย
มีสภาพเป็นโรงเก็บของไปก่อนก็น่าจะรับกับสภาพสังคมนะครับ
ของสวย สถานที่งาม ดูจะกระเดียดไปทางของใหม่อย่างงาน "ศิลป์แผ่นดิน" มากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 20 ก.ย. 09, 07:51

ก็น่าจะเป็นดังคุณติบอว่า..ในแง่ของผมคืออยากให้ของดี เกิดประโยน์สูงสุด-ทุกวัน ทุกครั้งที่เข้าชม(เด็กๆจะเห็นความงามสง่าอย่างเต็มตา) แทนที่จะเก็บซุกดังที่เป็นอยู่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง