jean1966
|
เป็นความภาคภูมิใจของผมเป็นอย่างยิ่งที่ ท่านแอดมินใหเกียรติกับผมในการเปิดห้องชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย เพื่อการนำเสนอข้อมูล เรื่องราว รูปภาพเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยและศิลปะไทยทั้งหลายทั้งปวง โดยได้ย้ายข้อมูลทั้งหมดจากห้องศิลปวัฒนธรรมมายังห้องใหม่นี้ โดยมีผมเป็นผู้ดูแลแล้วยังเพิ่มขนาดของไฟล์ที่จะแนบประกอบกระทู้ให้ถึง250KB ก็ขอเรียนเซิญทุกท่าน ร่วมกันนำเสนอข้อมูล ถาม ตอบกระทู้ ตามอัธยาศัยเลยครับ วันนี้เพื่อเป็นการประเดิมห้องใหม่ ขอนำเสนอเรื่อง เอกศิลปะในสมัยปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งก็หมายถึงศิลปะชิ้นเยี่ยมๆในสมัยรัชกาลที่1นั่นเอง จะขอนำรูปประกอบและข้อมูลนำเสนอคร่าวเพื่อต่อยอดให้ผู้สนใจได้ศึกษา อันที่จริงศิลปะสมัยรัชกาลที่1นั้นได้เคยนำเสนอไปหลายส่วน อย่างเช่นกระทู้วัดราชสิทธาราม กระทู้นี้ก็จะเป็นการนำเสนอรวมๆเพื่อให้รู้ว่านี่แหละคือรากเหง้าของศิลปะไทยที่สืบเนื่องคงอยู่มาถึงปัจจุบัน ไม้แพ้ความยิ่งใหญ่ของศิลปะอยุธยาเลย รูปที่1 พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิ์พิมาน พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน เป็นบุษบกประกอบท้ายเกรินทั้ง 2 ข้าง ที่ท้ายเกรินปักฉัตรลายทอง 7 ชั้น ประดิษฐานอยู่ที่ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับ ในวโรกาสเสด็จออกฝ่ายหน้าในงานมหาสมาคม หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุในพระราชพิธี ปัจจุบันใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระมหากษัตริย์ อัครมเหสี ในการพระราชพิธีสำคัญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 22:01
|
|
2 พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก ซึ่งนับเป็นศิลปวัตถุอันล้ำค่า ประดิษฐานอยู่เหนือพระแท่นลากกลางในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร 9 ชั้น เป็นพระราชบัลลังก์ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ในวโรกาสเสด็จออกมหาสมาคม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ในการพระราชพิธีสำคัญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 22:16
|
|
3.พระราชยานกงหรือพระแท่นราชบัลลังก์แบบกง เป็นราชยานที่สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทอง สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชยานสำหรับประทับห้อยพระบาทมีกงกับพนักสำหรับพิง โดยรอบฐานกง จะมีกระจังปฏิญาณประดับโดยรอบ ตอนด้านหลังเป็นกระจังปฏิญาณตัวใหญ่ติดอยู่ตรงกระดานพิง ตอนฐานส่วนลดท้องไม้ มีภาพครุฑยุดนาค ประดับอยู่โดยรอบ พระราชยานองค์นี้ได้ใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ที่เชิงสะพานพุทธ เพราะใช้ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินในขบวนราบเต็มพระอิสริยศเช่น ในการเสด็จพระราชดำเนินวัดพระแก้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 22:20
|
|
4พระมหาพิชัยราชรถ พระมหาพิชัยราชรถ ปรากฏบันทึกการสร้างในพระราชพงศาวดารว่า “...ปีเถาะ สัปตศกพระโองการรับสั่งให้ช่างทำพิชัยราชรถที่จะทรงพระโกศพระอัฐิ ๗ รถ ให้ตัดเสาพระเมรุตั้ง ทรงประดับเครื่องให้แล้วเสร็จในปีเถาะ” การสร้างราชรถครั้งนั้นก็คือการสร้างพระมหาพิชัยราชรถขึ้น เพื่อการพระบรมศพพระปฐมบรมมหาชนก ใน พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยโปรดให้สร้างเป็นราชรถขนาดใหญ่ตามแบบพระราชประเพณี ที่เคยมีมาครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ มีขนาดสูง ๑,๑๒๐ เซนติเมตร ยาว ๑,๕๓๐ เซนติเมตร งานพระเมรุ พ.ศ. ๒๓๓๙ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๔๒ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี สิ้นพระชนม์ ก็โปรดให้อัญเชิญพระโกศทรงบนพระมหาพิชัยราชรถออกพระเมรุอีกครั้งหนึ่ง นับจากนั้นพระมหาพิชัยราชรถก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นราชรถเฉพาะ อัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินตลอดมา
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 22:25
|
|
5.แผงลับแลรายรดน้ำ เรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกอินทรชิต เป็นฝีมือช่างวังหน้าสมัยรัชกาลที่1 อยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร เป็นงานรายรดน้ำ ฝีมือดั้งเดิมที่ไม่ถูกซ่อมแซมเลย งดงามมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 22:38
|
|
6.บานประตูประดับมุกพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นลายประดับมุก ลายแบบกนกเปลวเคล้าภาพ ฝีมือเจ้าพระยามหาเสนา(บุนนาค)ฝีมือประดับมุกชิ้นนี้มีความทัดเทียมเท่ากับลายประดับมุกที่ตู้พระไตรปิฎกซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑป ลวดลายนั้นท่านผู้ทำคงมีความปรารถนาอย่างยิ่งยวดที่จะให้มีความเสมอเหมือนด้วยช่างฝีมือบานประตูประดับมุก สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ติดตั้งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมที่วัดเดียวกันนั่นเอง *พรุ่งนี้มาต่อครับ ง่วง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 22:40
|
|
อีกรูป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 23:34
|
|
ขอบคุณ คุณ jean1966 สำหรับภาพที่ดูแล้วอิ่มทั้งตาและใจครับ เสียดาย คนเปิดกระทู้ง่วงซะแล้ว ผมเลยอดชมต่อเลย
ชง capuchino มาฝากแก้วนึงครับ ไม่รู้จะถูกใจคนรับรึเปล่า
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 16 ก.ย. 09, 09:31
|
|
ตอนเราเป็นเด็ก ครูพาไปทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์ และโบราณสถานต่าง ๆ เราก็ดูแล้วก็รู้สึกว่าสวยดีนะ มีคุณค่าก็จำตามคำที่วิทยากรท่านบอก เมื่อประสบการณ์ชีวิตเพิ่มขึ้น มาเห็นภาพอย่างนี้เรารู้ซี้งถึงแก่นเลยว่า ความสวยงามที่เห็นอยู่ตรงหน้าไม่ใช่แค่สวย แต่หมายถึงทักษะ ความสามารถ และวิริยะอุตสาหะของผู้สร้างสรรค์อย่างยิ่ง ชั่วชีวิตคน ๆ หนี่งจะทำอะไรอย่างนี้ได้กี่ชิ้น แล้วในคนเป็นร้อย เป็นพันจะทำงานอย่างนี้ได้กี่คน กราบสักการะบรรพชนที่ได้สร้างสรรค์งานเช่นนี้เป็นบุญหูบุญตาพวกเรานะคะ ขอบพระคุณคุณJeanคะที่มุ่งมั่นสะสมสิ่งดี ๆ เหล่านี้เอาไว้ และนำมาเผยแพร่เป็นบุญตาอย่างยิ่งค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 16 ก.ย. 09, 11:16
|
|
ขอบคุณทั้ง2ท่านคือท่านติบอและท่านpakun2k1dที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ มาต่อกันเลย 7.จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรยในภาพเป็นตอนพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพีตอนหนึ่งในพุทธประวัติภาพนี้ก่อนมีการซ่อม ปัจจุบันมีการซ่อมแซมภาพดังกล่าวหรือไม่ยังไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชม เนื่องด้วยปิดซ่อมแซมอยู่ แต่เท่าที่ทราบก่อนหน้านี้ก็มีการซ่อมแซมอยู่หลายผนังแล้วก็ทำอย่างขาดความปราณีตมีการท้วงติงจากนักวิชาการทางศิลปะหลายท่านแต่ก็ไม่สนข้าจะซ่อมมีไรมั๊ย 55555555555555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 16 ก.ย. 09, 11:23
|
|
อีกรูป เป็นตอนพระเจ้าพิมพิสารภายในปราสาทตอนพระยามหาชมพูฟันยอดปราสาทจนภายหลังพระเจ้าพิมพิสารต้องไปพึ่งพระพุทธเจ้า ในภาพจะเห็นการตกแต่งภายในพระราชวังมีฉากลายทอง การใช้เส้นสีแดงอันขลังและการจัดวางองค์ประกอบได้อย่างยอดเยี่ยม นี่แหละคือเอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 16 ก.ย. 09, 11:36
|
|
อีกรูป ภาพพุทธประวัติ แสดงภาพภายในสันฐาคารตอนถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ เป็นภาพที่เขียนพื้นในปราสาทด้วยสีแดงฉ่ำ มีม่านทอง ม่านปักลาย เห็นฉากเขียนลายดอกไม้ข้างในเป็นศิลปะบวกกับการตกแต่งสมัยรัชกาลที่1 ที่มีความเป็นพิเศษไม่มีแห่งใดเหมือน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 16 ก.ย. 09, 11:46
|
|
8.จิตรกรรมฝาผนังที่วัดดุสิดาราม ปากคลองบากกอกน้อย ผมได้เข้าไปถ่ายที่วัดนี้เมื่อ 19 มิ.ย.52 สภาพปัจจุบันแม้จะซ่อมแซมแล้ว กลับหลุดร่อนอย่างมาก อีกไม่นานนักคงจะไม่เหลือฝีมือเดิมคงอยู่เฉกเช่นวัดสังขจาย ช่างฝีมือสมัยเดียวกัน รูปประกอบ เป็นภาพมารผจญ สังเกตว่าพื้นหลังระบายด้วยสีชาดแดงฉ่ำ และมีรูปดอกไม้ร่วงเพื่อเป็นตัวลายประกอบมิให้ภาพว่าง นับว่าเป็นภาพมารผจญที่งดงามแห่งนึงทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 ก.ย. 09, 11:51
|
|
ภาพทวารบาลคู่หนึ่งที่วัดดุสิดารามปัจจุบัน ใหดูเปรียบเทียบกับภาพต่อไป๘องวัดสังขจาย จะมองเห็นได้เลยว่าเป็นช่างฝีมือสมัยเดียวกันและอาจจะเป็นชุดเดียวกันด้วยตามความคิดของผม
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 16 ก.ย. 09, 11:58
|
|
9. จิตรกรรมฝาผนังที่วัดสังขจาย ภาพทวารบาลที่เหลืออยู่ถ่ายไว้ก่อนจิตรกรรมฝาผนังที่นี่จะถูกลบเขียนใหม่ทั้งหมดเมื่อกว่า20กว่าปีมาแล้ว โดยสำนักพิมพ์เมืองโบราณ จะเห็นว่าเป็นช่างสมัยรัชกาลที่1เช่นที่วัดดุสิดารามไม่มีผิดเพี้ยน น่าเสียดายงานจิตรกรรมฝาผนังที่นี่เป็นอย่างยิ่ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|