เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 5148 ต้นทางฝรั่งเศส วรรณคดีเก่าแก่ที่เพิ่งพบใหม่ ห้ามพลาดเด็ดขาด
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 30 ม.ค. 01, 03:24

จาก
ศิลปวัฒนธรรมฉบับ online ครับ

พลาดไม่ได้จริงๆ



href='http://202.183.211.7/art/ac_story.asp?selectdate=2001/01/01&stid=143'
target='_blank'>http://202.183.211.7/art/ac_story.asp?selectdate=2001/01/01&stid=143
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ม.ค. 01, 18:12

ขอบคุณค่ะ กำลังรออ่านเรื่องนี้อยู่
บันทึกการเข้า
Oatmeal
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ม.ค. 01, 20:43

เป็นโชคดีมากที่เราได้วรรณคดีเรื่องนี้กลับมานะครับ นับจากปีที่ โกษาปานไปฝรั่งเศสเมื่อปี ๒๒๒๙ ถึงปีนี้ก็นับได ๓๑๕ปีพอดี
ดังนั้นต้นทางฝรั่งเศสก็คงมีอายุนานถึง ๓๑๕ปีแล้ว
ผมค้นหามานานมากว่าคนไทยสมัยก่อนเรียกชาวฝรั่งเศสว่าอย่างไร  ในหน้าปกของวรรณคดีนี้เขียนไว้ว่า
"ต้นทางฝรงงเสษ"
จึงสรุปได้ว่าสมัยนั้นคงเรียกชาวฝรั่งเศสว่า ฝรั่งเศสเหมือนกัน

น่าเสียดายนะครับที่หนังสือเก่าของไทยเราไปอยู่ต่างประเทศเสียมาก
เมื่อสัปดาห์ก่อน  ผมไปร้านหนังสือเก่าแห่งหนึ่ง   เห็นห่อหนังสือใบลาน  คุณป้าเจ้าของร้านบอกว่าเป็นของเก่า  ผมขอดูก็เห็นว่าเก่าแท้ครับ  เป็นหนังสือคล้าย Encyclopedia  เรื่องในนั้นจารึกเกี่ยวกับเรื่องการเผยแพร่ศาสนาของบาทหลวงฝรั่งเศสในอยุธยา เขียนไว้ว่าพิมพ์เมื่อประมาณพศ. ๑๗๐๐ กว่าๆ
ผมมือไม้สั่นไปหมดเพราะไม่เคยเห็นของเก่าจริงๆขนาดนั้น  คุณป้าไม่ยอมบอกว่าได้มาจากไหน บอกเป็นจรรยาบรรณของผู้ค้าของเก่า
คุณป้าบอกราคาแล้วผมยิ่งสั่นหนัก
ราคา๑๐๐,๐๐๐บาท...
เธอบอกว่ามีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งสนใจมากิยากได้ไปเก็บไว้ใน collection ส่วนตัว
แต่ป้ายังรีรอว่าใครจะให้ราคาดีที่สุดจึงจะขายให้
ผมเสียดายที่สุดถ้าหนังสือนี้จะตกไปอยู่ในมือคนต่างชาติ  แต่เสียดายไม่มีเงินซื้อ
เลยมาเล่าสู่กันฟังครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ม.ค. 01, 21:14

เรื่องนี้น่าจะมีการแปลเป็นไทย เป็นพงศาวดารภาคใดภาคหนึ่งแล้วนะคะ
การแผยแพร่ศาสนาของบาทหลวงนิกายเจซูอิทหรือเปล่า?

อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ เป็น "ห่อหนังสือใบลาน" ของไทย  ใบลานมันต้องเขียนหรือจารึก ไม่ใช่หรือคะ?  ไม่ใช่พิมพ์
หรือว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเย็บเล่มมีปก แบบของฝรั่งคะ?
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ม.ค. 01, 21:43

คงเป็น ค.ศ. ๑๗๐๐ กระมังครับ
เพราะว่าถ้าเป็น พ.ศ. ตอนนั้นยังเป็นยุคสุโขทัยอยู่เลย
บันทึกการเข้า
Oatmeal
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ม.ค. 01, 22:33

ที่ผมไปพบเป็นห่อผ้ากำมะหยี่ครับ
ขอโทษที่เล่าไม่ Clear ครับ
ในห่อนั้นมี ทั้งหนังสือพวกสมุดไทยขาว สมุดไทยดำจำนวนหนึ่ง
ส่วนเล่มที่ผมเล่าเป็น หนังสือเย็บเล่มมีปกแบบหนังสือฝรั่งครับ
เข้าใจว่าน่าจะมีใครแปลออกมาแล้ว  ผมอ่านไม่ออกครับเพราะเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส
ข้างในมีรูปแผนที่ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาหลายหน้า  สวยและสมบูรณืมากจริงๆครับ

และขอบคุณครับ ที่ถูกเป็นปี คริสตศักราช ไม่ใช่พุทธศักราช  ผมจิ้มดีดผิดไปนิด อิอิ
บันทึกการเข้า
โสกัน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ม.ค. 01, 04:29

ไปอ่านมาแล้วครับ
ผมเคยได้ยินมาว่าชื่อ "ฝรั่งเศส" นั้นน่าจะมาจากคำฝรั่งเศส "ฟรํองเซส"  คนไทยเลยเรียกคนต่างชาติจากตะวันที่ผิวขาวตาสีฟ้า ว่าเป็น "ฝรั่ง" กันหมด
บันทึกการเข้า
อัญ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ม.ค. 01, 10:27

เมื่อวานที่หอสมุดแห่งชาติมีการสัมมนาเรื่องนี้ค่ะ แบ่งเป็นช่วงเช้ากับช่วงบ่าย  ช่วงเช้ามีอ.นิธิ  เอียวศรีวงศ์ พูดเรื่องประวัตฺศาสตร์อยุธยาโดยเน้นสมัยพระนารายณ์   แล้วมีวิยากรอีกสามคนคือ อ.ภูธร  ภูมะธน  พูดเรื่องประวัติศาสตร์ลพุรีเน้นที่วังนารายณ์   อ.กุสุมา  รักษ์มณ๊พูดเรื่องวรรณกรรมอยุธยา  ปิดท้ายด้วยอ.ขวัญดี  อัตวาวุฒิชัย พูดเรื่องประวัติศาสตร์และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกัน  บรรยากาศการสัมมนาสนุกสนานเป็นกันเอง มีเสียงหัวเราะตลอดเวลา  ได้ความรู้  ช่วงบ่ายจะพูดถึงเรื่องต้นทางฝรั่งเศส  แต่ไม่ได้อญ่ฟังค่ะเพราะต้องรีบกลับมาทำงาน  เสียดายมาก
บันทึกการเข้า
อัญ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ม.ค. 01, 10:30

ขอโทษค่ะที่พิมพ์ผิดบางคำ  ตอนที่แสดงคำตอนพิมพ์ตัวเล็กมาก  มองไม่ค่อยเห็นค่ะ
บันทึกการเข้า
Oatmeal
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ม.ค. 01, 11:03

น่าเสียดายจังครับ ผมไม่มีโอกาสได้ไปฟัง
ผมชอบประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มาก รู้สึกว่าเป็นยุคที่ราชสำนักมีสีสันมาก และคง "เปิ้ดสะก้าด" น่าดูทีเดียว
รวมทั้งการเมืองคงเข้มข้นไม่ปพ้เลือกตั้งครั้งนี้

 ผมว่าคนไทยเก่งมากในเรื่องการแปลงภาษาต่างชาติให้คุ้นลิ้นไทยๆนะครับ
นายHenry ยังแปลงเป็นหันแตร ได้  ผมว่า classic ดีจริงๆ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 ม.ค. 01, 20:06

เคยคุยกับนักประวัติศาสตร์ฝรั่งมานะคะ  ผิดถูกอย่างไรไม่รับรองเพราะไม่ใช่นักประวัติศาสตร์

คำว่าฝรั่งนี่  มาจากคำว่า Frank  ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณในประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษปัจจุบัน  มีความรุ่งเรืองในยุกมืด  
คือประมาณคริสศตวรรษที่ ๘-๙ เนี่ยะค่ะ  ซึ่งตอนนั้น พวกอาหรับก็มีอิทธิพลมาก  ตั้งป้อมอยู่ที่ตะวันออกกลาง เลยมาฝั่งอัฟริกาจนถึงโมรอคโค  
ก็ข้ามทะเงเมดิเตอรเรเนียนไปรบกับพวกโรมันประจำ  การรบสมัยก่อนใครแพ้ก็ถูกจับเป็นเชลย  พวกแฟร้งค์ที่ถูกจับเป็นเชลย  
ขายต่อกันมาเป็นทอดๆถึงอาณาจักรพาร์เธีย(Parthia  ไม่ทราบสะกดถูกรึเปล่านะคะ )  ซึ่งอยู่ในอิหร่านและอัฟกานิสถานในปัจจุบัน  
พวกแขกก็เรียกพวกนี้ว่า ฝรั่ง กันมาแต่โปราณ  เมื่อมาค้าขายกับไทย  ก็พาคำนี้มาด้วยในสมัยที่ฝรั่งเข้ามาครั้งแรก  ฝรั่งพวกแรกที่เข้ามาคือ
โปรตุเกสนะคะ  ไม่ใช่ฝรั่งเศส  ดูเหมือนฝรั่งเศาจะมาทีหลังเป็นร้อยปี  เพราะฉะนั้น  จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ว่า คำว่าฝรั่งจะมาจาก ฝรั่งเศส  
แต่จะเป็นไปได้มากกว่าว่า  คำว่า ฟร็องซัว มาจาก แฟร้ง หรือ ฝรั่งน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
โสกัน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ม.ค. 01, 03:00

ผมกลับไปอ่านประวัติศาสตร์ ก็พบว่า โปรตุเกส เข้าไทยก่อนฝรั่งเศส จริงอย่างที่คุณพวงร้อยทักท้วงมา ฝรั่งโปรตุเกสเข้ามาอยู่กินในไทยตั้งแต่ปี คศ. ๑๕๑๘ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี เป็นคนผิวขาวชาติแรก จากนั้นก็มีฝรั่งอังกฤษ ฮอลันดา สเปญ ทะยอยตามมาทำมาค้าขายกับไทย ส่วนคนฝรั่งเศสเข้ามาเป็นล่ำเป็นสัน ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔  ตามจารึกทางประวัติศาสตร์บอกว่า "บาทหลวงคณะเยซูอิตชาวฝรั่งเศส ใช้เวลาเดินทางสามปี จึงได้ถึงกรุงศรีอยุธยาราชธานี เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พศ. ๒๒๐๕"

ขอบคุณคุณพวงร้อย มากครับ
( แหะ แหะ..สงสัยอยากถามมานานแล้วว่า
ชื่อเก๋ๆ นี้ ...อะไรครับ ที่ร้อยอยู่เป็นพวงน่ะ)
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ม.ค. 01, 04:13

ขอบคุณคุณภูมิมากด้วยค่ะ  ที่อุตส่าห์ไปค้นมาให้  ดิฉันทราบว่าพวกฝรั่งเศสมาทีหลังเป็นร้อยๆปี  แต่ไม่ทราบแน่นอนว่ากี่ร้อยกันแน่  
นึกไม่ถึงเหมือนกันว่าห่างกันต้ังเจ็ดร้อยปี

ชื่อนี้เต็มๆแล้วว่า พวงร้อย คำเรียง ค่ะ  คือความหมายรวมกันว่า  เรียงคำมาร้อยเป็นพวง เหมือน มาลัยคำ  ก็ไม่ได้นึกอะไรมาก  
มานึกได้ทีหลังว่าไปพ้องกับชื่อ ท่านผู้หญิงพวงร้อย ก็สายไปเสียแล้ว  เลยใช้มาเรื่อยน่ะค่ะ  นึกไม่ถึงอีกเหมือนกันว่ามันจะกลายเป็นอื่นได้  
ตอนเข้าไปที่หว้ากอ มีคนมากลายชื่อไปให้ตั้งแต่พวงสลึงยันพวงล้าน  บ้างก็เลียนเสียงเป็น พวงหรอย พลอยล้วง ไปอีก  มิน่า
สมัยนี้จึงไม่ได้ยินคนใช้ชื่อนี้อีกแล้ว หึหึ
บันทึกการเข้า
โสกัน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ม.ค. 01, 23:10

คุณพวงล้อยครับ
ผม...โสกัน (มิใช่ภูมิ) ขออภัยอีกหน ที่ทำให้เข้าใจผิด
เพราะอีตอนโปรตุเกสเข้ามา ผมใส่ คศ.
แล้วตอนฝรั่งเศสเข้าเมืองไทย ผมใส่ปี พศ.
ต้องเอา ๕๔๓ ลบออกจากจำนวนเจ็ดร้อยปีที่คุณพวงฯ
คำนวนออกมานะครับผม
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 ม.ค. 01, 03:31

อุ๊ย ขออภัยเป็นอย่างยิ่งค่ะ คุณโสกัน  กำลังเป็นหวัดงอมแงมเลยเบลอๆไปหน่อยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง