เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7203 "ประวัติศาสตร์"หรือจะเป็นประวัติศาสตร์!
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


 เมื่อ 15 ก.ย. 09, 19:29

วันนี้ดิฉันได้เข้าประชุมเรื่องแนวทางการศึกษาระดับประถม วิชาประวัติศาสตร์นั้นแต่เดิมเค้าเรียนกันเป็นเล่มเป็นวิชาเป็นเนื้อเป็นหนัง ต่อมาแผนการศึกษาระดับประถมก็เอาวิชานี้ไปรวมอยู่กับ สปช. ครน. หรม. กกน.อะไรก็ไม่รู้ จากวิชาที่เป็นสิ่งที่แตะต้องได้ กลับต้องสิงสู่อยู่หนังสือเล่มเดียวที่ผสมผสานคละเคล้าของสารพัดวิชาเข้าด้วยกัน  เป็นที่น่ายินดีแต่ก็น่าร้องไห้ ว่าหลักสูตรใหม่ปี พ.ศ.2551 นี้ได้มีวิชาสังคมศึกษาที่มีวิชาประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์รวมกัน ผลุบขึ้นมานิดแล้วนะ

เนื้อหาสาระของหลักสูตรขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551  ระดับ ป.4-6

1.ภาษาไทย                                      6  คาบ/สัปดาห์
2.คณิตศาสตร์                                   6   คาบ/สัปดาห์
3.วิทยาศาสตร์                                   3  คาบ/สัปดาห์
4.สังคมศึกษา(ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์) ผสมอยู่ในเล่มเดียวกัน    4  คาบ/สัปดาห์
5.สุขศึกษาและพลศึกษา                     3  คาบ/สัปดาห์
6.ทัศนศิลป์ (ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์)     3  คาบ/สัปดาห์
7.การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน งานเกษตร งานช่าง คอมพิวเตอร์) ผสมอยู่เล่มเดียวกัน   2.5  คาบ/สัปดาห์
8.ภาษาต่างประเทศ                           2.5  คาบ/สัปดาห์
และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ ชมรม ห้องสมุด แนะแนว)    5  คาบ/สัปดาห์

หมายเหตุ  1คาบ = 50 นาที
จะเห็นว่าเราเรียนอังกฤษก็น้อยไป....ไม่ทันยุคทันสมัยเลย.... เอาเวลาไปมุ่งกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซะมาก ไม่เห็นจะเข้าท่า

แผนการสอนที่ได้เปลี่ยนแปลงวิชาประวัติศาสตร์นั้น เพราะกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จฯ ท่าน  ความโดยรวมที่ว่าเด็กเราสมัยนี้ไม่รู้ประวัติศาสตร์......(ก็เลยผลุบมาให้เห็นสักหน่อย)

เห็นว่าอนาคตอาจได้โผล่เต็มตัว เป็นวิชาประวัติศาสตร์อย่างเต็มภาคภูมิ ...   (แต่ก็ไม่แน่นะ อย่าเพิ่งหลงดีใจ)

บางคนบ่นว่าลูกเค้าเหมือนเป็ดเข้าไปทุกที  คือเป๋ไปเป๋มา ไม่ได้อะไรซักอย่าง...  ก็อันที่จริงจะไปว่าเด็กก็ไม่ถูกดูหลักสูตรมันก็เป็ดเหมือนกัน เป๋ไปเป๋มา แล้วแบบเนี้ยหรอจะมุ่งให้เด็กเก่ง ดี มีความสุข เอาทักษะความรู้ไปใช้จริงได้ (มันน่าจะเป็นรู้มากและใช้ไม่เป็นมากกว่า) ให้เด็กทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ (ดิฉันว่าถ้าจะเอาตัวรอดยากซะนะ) แล้วก็ยังให้เป็นคนดีและรักความเป็นไทย.... (จะเอาอะไรมารักนะ อยากจะรู้) เฮ้อ!
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ก.ย. 09, 20:58

จริงนะครับ สมัยผมเด็กๆเรียนประวัติศาสตร์เยอะมาก เรียนแล้วสนุก รู้ว่าชาติเราเป็นมาอย่างไร(จริงไม่จริงอีกเรื่องหนึ่งนะครับ)ตอนนี้เรียนน้อยจัง เดาไม่ถูกว่าเปลี่ยนหลักสูตรเพื่ออะไร เพื่อไปเพิ่มให้วิชาที่(เขาว่า)สำคัญกว่ากระนั้นหรือ มีคนบอกว่าเกรงจะกระทบความสัมพันธ์ ผมว่าไม่น่าใช่เหตุผล นะครับ
มานิต
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 00:55

สำหรับผม การศึกษาเริ่มที่บ้านครับ
ผมเข้าใจว่าคำว่า School ในภาษาอังกฤษ หรือ École ในภาษาฝรั่งเศษ
นั่นมีรากคำมาจาก scholar ในภาษาละติน
ที่สื่อความหมายถึงการศึกษาแบบกลุ่มย่อยเล็กๆที่มีความผูกพันกันยาวนาน
เช่น โรงเรียนสอนร้องเพลงในโบสถ์ที่นักร้องรุ่นพี่ๆ
จะกลับมาเป็นครูสอนรุ่นน้องๆอีกต่อหนึ่ง
(เราถึงใช้ลักษณะนามของปลาที่อยู่ด้วยกันเป็นฝูงๆ ว่า school)
school ของลูกในสังคมเดี่ยวก็หนีไม่พ้น พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา หรือพี่ๆ น้องๆ
ถ้าการศึกษาที่บ้านล้ม การศึกษาในสถานศึกษาก็ล้มเหลว

แต่ข้อเสียอย่างนึงของคนไทยคือ ขี้เกียจ และ ชอบโยนกลอง
เรื่องในทำนองที่ว่า
- นักเรียนนักศึกษาในประเทศไทย coppy งานใน internet ส่งเป็นการบ้าน
(หนักหน่อยก็ไปโพสต์ถามซะเลย แล้วก็คร่ำครวญว่ายากๆๆๆๆ ทำไม่ได้)
- คนไข้ไทยโบ้ยทุกอย่างให้หมอ คิดว่าไปหาหมอแล้วโรคอะไรก็หายได้หมด
(หนักหน่อยก็ต่าหมอว่าเลว ทำไมรักษาโรคเอดส์ให้หายไม่ได้)
- พุทธศาสนิกชนไทยโยนศีลธรรมทุกอย่างเข้าวัดหมด
(หนักหน่อยก็ฆ่าคนตายไปสวดตัดกรรมแล้วจะไม่บาป)

ฉันใดฉันนั้น ระบบโยนแหลกนี่ก็เกิดกับพ่อแม่คนไทยด้วย
พ่อแม่คนไทย(ผมว่าเกินร้อย 80) โยนทุกอย่างให้โรงเรียน
ถ้าโรงเรียนรับไม่ไหวก็ส่งลูกต่อไปให้สถาบันกวดวิชา
(ทำซะยังกะเป็นนักฟุตบอลงั้นอ่ะ ลูกคุณเป็นคนอยู่ป่ะเนี่ยะ ?)
หรือกับพ่อแม่บางครอบครัวที่พอมีสตางค์ซะหน่อย (และคิดว่าลูกยังโง่อยู่)
ก็จ้างครูสอนพิเศษค่าตัวแพงๆมาสอนลูกซะตัวต่อตัวได้ก็จะเรียกได้ว่าหมดเรื่อง
(พอให้โล่งอกไปได้ สำหรับพ่อแม่ที่ไม่แก้ปัญหาด้วยตัวเองทั้งหลาย)




คิดดูอีกที พ่อแม่พวกนี้ จะคิดอะไรได้ล่ะครับ ถ้าทำงานในสังคม
(ลูกตัวเองทำให้เกิดมาเองแท้ๆ ยังคิดว่าโง่จนตัวเองสอนไม่ได้ซะเลย
แล้วสังคมที่คุณสร้างมันได้ยากกว่า ดูแลมันได้ยากกว่า.... จะเหลืออะไร!!!)
แล้วถ้าเด็กที่โดนพ่อแม่โยนเป็นลูกบอลนั่น โตขึ้นมา จะเป็นคนแบบไหน....
ผมเชื่อว่าทั้งหมดที่ผมพูดมานี่ล่ะครับ ประชากรเกินครึ่งของคนในกลุ่มที่คุณ sugar ไปนั่งประชุมด้วย
(ไม่ใช่ติดต่อมาเลยครับ ผมพาไปเลี้ยงห้อยเทียนเหลามื้อนึงเลยเอ๊า!!!)





ปล. ประวัติศาสตร์อยู่ไหนหว่า ผมพาออกนอกเรื่องรึเปล่าเนี่ยะ เง๊อ...
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 08:50

ขอบคุณนะคะสำหรับความเห็นของคุณมานิตและคุณติบอ

สังคมในปัจจุบันเราต่างเร่งรีบดูชุลมุนพิลึก ดิฉันเป็นคนบ้านนอกคอกนาค่ะ เคยใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯก็หลายสิบปีเหมือนกัน ตอนอยู่ก็ไม่รู้สึกอะไรในความวุ่นวายนั้น แต่พอมาอยู่บ้านนอกก็พบว่ามันช่างแตกต่างเสียจริง อะไรดูเรียบง่าย คล่องตัว และจริงใจ.... แต่ในความต่างที่คิดว่าดีก็ย่อมมีข้อด้อยค่ะ อย่างการศึกษาพบว่าน้อยโรงเรียนที่จะมีคุณภาพทัดเทียมกับกรุงเทพฯ (ก็รู้ๆกันอยู่) พ่อแม่ส่วนมากก็ทำงานรับจ้าง เป็นลูกจ้างตามบริษัท โรงงาน 80-90% (เถ้าแก่ นักธุรกิจรายใหญ่ก็น้อย) รายได้ต่อหัวก็ย่อมน้อยกว่า การศึกษาเริ่มที่บ้านที่คุณติบอพูดนั้นก็ถูก แต่ทำยากค่ะ หวังพึ่งโรงเรียนกันถึงขนาดว่าไปส่งลูกระดับอนุบาลตั้งแต่ยังไม่ 7 โมง ทานข้าวที่โรงเรียน และฝากพิเศษเพื่อให้ครูช่วยอาบน้ำ หาข้าวหาน้ำให้ทานก่อนพ่อมารับกลับ 6 โมง เป็นเรื่องที่เศร้ามาก.... ใครเศร้ากว่าก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ


ถ้าเรามองมุมกลับอย่างที่คุณติบอพูดถึง  แล้วทำไมเห็นเข็นเด็กไปเรียนคุมอง ไปเรียนพิเศษวิทย์ คณิต แม้แต่ภาษาไทยล่ะคะ นอกจากนั้นบางคนต้องเรียนบัลเล่ต์ เรียนเปียนโน เรียนคาราเต้ เรียนศิลปะ เหมือนไล่ออกจากบ้านทุกเวลาอย่างนั้น  แต่ดิฉันคิดว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ทำแบบนี้แล้วรู้สึกว่าทำผิดนะคะ


สำหรับวิชาประวัติศาสตร์ที่หลุดโผ TOP 10 วิชาน่าเรียนมากที่สุดนั้น  อาจเป็นเพราะคนยุคนี้ชอบไปข้างหน้า แค่ข้างหน้าก็ยังวิ่งตามเกือบไม่ทัน จะให้หันหลังกลับไปดูอะไรคงไม่มีเวลาหรอกนะ เรียนไปก็ไม่ทันสมัยไม่มีใครเค้าพูดคุยกัน วันๆ ต้องพูดเรื่องกระเป๋าแบรนดัง  โทรศัพท์สุดไฮเทค ผมทรงประหลาดล้ำ กางเกงก้นหลุด กับเสื้อร้านไหนกระดุมอกแข็งแรง ศัลยกรรมตรงไหนดีเพราะที่มีมันไม่เด่นกระตุ้นสายตา หากิ๊กประดับข้างกายไม่มีอายเพื่อน อ้อ!แล้วก็ห้อยเทียนเหลาไม่ไปหรอกนะ....มันมีแต่คนแก่น่ะ อิอิ


ก็แล้วแบบนี้จะให้วิชาประวัติศาสตร์ถูกจมกลืนหายไปกับเด็กยุคใหม่ จริง จริงหรอ?
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 09:13

ยกมือสนับสนุนคุณติบอค่ะ  ลุกขึ้นยืน แล้วยกให้ 2 มือด้วย
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 22:12

อ่านกระทู้ของk suger แล้วสงสารบ้านเมืองของไทย ต่อไปใครจะมาดูว่า ตรงนี้เคยมีความสำคัญ ตรงนั้นเป็นบ้านเจ้าพระยาที่มีคุณต่อบ้านเมือง  ผมเกิดมายังไม่ทันหลายๆอย่างที่ยังไม่รู้ มาได้ความรู้จากท่านครูในเวปนี้มากกว่าในห้องเรียนมากมาย ต่อไปหากหมดพวกท่านๆแล้ว จะมีใครจะรับรู้ประวัติบ้านเมืองของเรา  แต่ก่อนเคยดู ทหารเสือพระเจ้าตากทางช่อง 3 พระทินวงศ์ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์  สังข์ทอง สางเขียว ทางช่อง 7 แต่ทุกๆวันนี้แทบจะไม่มีใครรู้ว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร  เห็นแล้วเศร้า  ไม่กี่เดือนนี้ได้ดู ขวานฟ้าหน้าดำ เวอร์ชั่นใหม่ ปล่อยลำแสงเป็น ดราก้อนบอล ต่อไปเด็กๆ ก็คงจะสอนลูกสอนหลานต่อไปว่า ขวานฟ้ามีอาวุธคือลำแสงดราก้อนบอล  คิดแล้วเศร้า  แล้วจะทำอย่างไรกันดีครับท่าน พันท้ายนรสิงห์ก็กลายเป็นน้ำพริกเผาไปแล้ว พระเจ้าตาที่เกาะแก้วพิสดารก็กลายเป็นยาหอมไปแล้ว 
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ก.ย. 09, 23:49

สังคมในปัจจุบันเราต่างเร่งรีบดูชุลมุนพิลึก ดิฉันเป็นคนบ้านนอกคอกนาค่ะ เคยใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯก็หลายสิบปีเหมือนกัน ตอนอยู่ก็ไม่รู้สึกอะไรในความวุ่นวายนั้น แต่พอมาอยู่บ้านนอกก็พบว่ามันช่างแตกต่างเสียจริง อะไรดูเรียบง่าย คล่องตัว และจริงใจ....

มีใครคิดว่า "มาลินี" ในผู้ใหญ่ลีกับนางมา "เป็นคนบ้านนอก" บ้างครับ ?
ขอเสียงนิดนึงครับผม  แลบลิ้น



แต่ในความต่างที่คิดว่าดีก็ย่อมมีข้อด้อยค่ะ อย่างการศึกษาพบว่าน้อยโรงเรียนที่จะมีคุณภาพทัดเทียมกับกรุงเทพฯ (ก็รู้ๆกันอยู่) พ่อแม่ส่วนมากก็ทำงานรับจ้าง เป็นลูกจ้างตามบริษัท โรงงาน 80-90% (เถ้าแก่ นักธุรกิจรายใหญ่ก็น้อย) รายได้ต่อหัวก็ย่อมน้อยกว่า

จากประสบการณ์ในการอยู่บ้านนอกของผมมาบ้าง(นิดหน่อย)
ผมว่าค่าครองชีพเขาต่ำกว่า ภาวะการแข่งขันก็ต่ำกว่า
การจะอยู่อย่างพอเพียงในชีวิตก็ง่ายกว่านะครับ
ถ้าเทียบระหว่างคนในชุมชนเดียวกัน ที่หาเลี้ยงปากท้องได้เอง
รายได้ระดับที่คนกรุงหลายคนที่ต้อง"อดมื้อกินมื้อ"
นั่นเรียกว่า.... "รวย" สำหรับคนบ้านนอกเลยล่ะครับ



...ไปส่งลูกระดับอนุบาลตั้งแต่ยังไม่ 7 โมง ทานข้าวที่โรงเรียน และฝากพิเศษเพื่อให้ครูช่วยอาบน้ำ หาข้าวหาน้ำให้ทานก่อนพ่อมารับกลับ 6 โมง เป็นเรื่องที่เศร้ามาก.... ใครเศร้ากว่าก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ
สมัยเป็นเด็กประถม บ้านผมอยู่คลองสานบ้าง บางแคบ้าง
แต่คุณแม่ต้องขับรถไปส่งลูกที่สี่แยกอโศกซะทุกเช้า....
ผมต้องออกจากบ้านก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และกลับหลังพระอาทิตย์ตก
จนคุณแม่ถึงกับออกปากว่า "ปลูกคุณนายตื่นสายไว้ คุณนายตัวจริงไม่เคยได้เห็นดอกซะที"

เรามีความหวังที่รัฐบาลโปรยเอาไว้ให้กันแค่ว่า "ซักวันนึงรถไฟฟ้าจะเสร็จ"
หลายครั้งที่รถติดอยู่กลางสี่แยกอโศก คุณแม่จะชี้โบ้ชี้เบ้กลางอากาศให้ผมดู
แล้วบอกผมว่า "ซักวันนึงจะมีรถไฟในรางลอยฟ้าวิ่งผ่าน แล้วลูกจะตื่นสายกว่านี้ได้ ชั่วโมงกว่าๆแหนะ"

แล้วรถไฟฟ้าก็เสร็จจริงๆครับ.... ตอนผมอยู่ ม.5
เสียดาย ว่าผมย้ายโรงเรียนจากสี่แยกอโศกมาถนนอังรีดูนังต์แทน
เลยอดรู้เลย ว่าผมจะตื่นสายขึ้นได้อีกชั่วโมงกว่าจริงรึเปล่า


ถ้าเรามองมุมกลับอย่างที่คุณติบอพูดถึง  แล้วทำไมเห็นเข็นเด็กไปเรียนคุมอง ไปเรียนพิเศษวิทย์ คณิต แม้แต่ภาษาไทยล่ะคะ นอกจากนั้นบางคนต้องเรียนบัลเล่ต์ เรียนเปียนโน เรียนคาราเต้ เรียนศิลปะ เหมือนไล่ออกจากบ้านทุกเวลาอย่างนั้น  แต่ดิฉันคิดว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ทำแบบนี้แล้วรู้สึกว่าทำผิดนะคะ
คนไทยไร้รากแบบนั้น... ศัพท์เฉพาะทางเรียกว่า
"ชนชั้นกลางอยากทำตัวเป็นชนชั้นสูง" ครับ
อย่างที่ผมพูดไปแล้วพ่อแม่ไทยหลายครอบครัวมีความคิดว่าการเรียนต้องเกิดขึ้นในโรงเรียน
เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามที่ไม่ได้เกิดขึ้นในโรงเรียน.... ไม่ใช่การเรียนรู้

คนพวกนี้เลยขาดแคลนกับสถานที่เรียนรู้ต่างๆ เช่น
สวนพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ห้องสมุด พจนานุกรม หรือแม้แต่อินเตอร์เนตข้างหน้าเรา
เรื่องที่เราเห็นกันทั่วไปในสังคม เป็นต้นว่า

- ผู้ใหญ่เกินร้อยละ 50 ไม่รู้จักต้นไม้ หรือสัตว์เกือบทั้งหมดในหนังสือภาพสำหรับเด็กอ่าน
(บางทียังไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าผักผลไม้ที่กินเข้าไปนั่นมันเรียกว่าอะไรกันบ้าง)
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ฝรั่งมากมายอยากเข้าชมเวลามาเมืองไทยกลายเป็นห้องเก็บของที่คนไทยต้องเสียภาษีให้
(แถมยังไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าไอ้ตึกพวกนั้นมันเป็นโรงละคร หรือพิพิธภัณฑ์กันแน่)
- คนกรุงเทพคิดว่าต้องไปเที่ยวสวนสัตว์ที่เชียงใหม่เพื่อ "ดูหมีแพนด้า"
(และถ้าซื้ออุจาระแพนด้าตากแห้งใส่กระปุกที่ขายเป็นของที่ระลึกมาด้วยจะเก๋มาก)
- ห้องสมุดกลายเป็นที่นั่งคุยและนอนหลับของนักศึกษา หรือที่กินของว่างของบรรณารักษ์
(ใครเคยไปใช้ห้องสมุดศิลปากรสาขาวังท่าพระคงรู้ดี ว่ากลิ่นน่ะเปลี่ยนทุกวัน)
- ที่แย่ที่สุดคือมีนักศึกษาปริญญาโทจำนวนมากสะกดคำง่ายๆ เช่น "เพชร" หรือ "จระเข้" ไม่ถูก
(ไม่ต้องพูดถึงปริญญาโทนะครับ.... จะเรียนปริญญาตรีไปทำไม จบพาณิชย์ให้รอดก่อนเหอะ)
- คนไทยเล่นแคมฟรอกกันมากที่สุดในโลก จนเขาต้อง grouping ใหม่ให้ไปเลยประเทศนี้
(ที่แย่คือเกือบร้อยละร้อยที่เข้าไป ไปเพื่อหาอะไรสยิวกิ้วดู หรือหาคู่นอนแบบล่าแต้ม)


แล้วจะให้ผมไม่คิดได้ยังไงครับ ว่าการศึกษาไทยล้มเหลว
การเรียนประเภทที่ไปเรียนแล้วต้องดัดจริต ซื้อรองเท้าบัลเลต์คู่ละเป็นพัน
หรือเปียโนหลังละเป็นแสนนั่น.... เขามีไว้ให้พวกมีเหลือกินเหลือใช้ครับ
การค้นคว้า หาความรู้ หาคำอธิบายให้ตัวเองได้
ไม่ว่าจะเรื่องยากหรือง่ายแค่ไหนคือการศึกษาเสมอนะครับ
แต่เด็กไทยรุ่นใหม่(โดยเฉพาะในสังคมเมือง) ไม่รู้จักจะเริ่มต้น
เพราะพ่อแม่คิดไปแล้ว และปลูกฝังให้ลูกคิดตามว่า "มันไม่ใช่การศึกษา"

เด็กป.6 บางคนไม่รู้ว่าสับปะรดเป็นลูกคือสับปะรดที่เขากินเป็นชิ้นๆ
เด็กมัธยมบางคนยังผูกเชือกรองเท้าไม่ได้
และเด็กไทยที่โตในเมืองใหญ่จำนวนมากฝากชีวิตไว้กับอาหารถุง ทั้งๆที่รู้ว่ามันอันตราย
เพราะตัวเองทำกับข้าวไม่เป็น (และไม่คิดที่จะเริ่มเรียนด้วย!!!)
ถามคุณ sugar หน่อยเถอะครับ ว่าถ้าจะเรียนทำไข่เจียวนี่...
ต้องเสียค่าเรียน 30,000 ไปเรียนกะดุสิตธานี หรือกอดองเบลอร์ป่ะครับ ??
(หรือว่าเสียน้ำมันซักขวด ไข่ซักสิบยี่สิบฟอง น้ำปลา-พริกไทย อีกนิดหน่อย
แล้วเรียนรู้ด้วยตัวเองที่บ้านก็ได้ ?)


เรื่องอื่นยังไม่ตอบนะครับ ผมคิดว่ามันยังไวไปที่จะพูดถึงอยู่







ปล. ถ้าเป็นคนอื่น ผมก็คงชวนกินอย่างอื่นนะครับ
เลือกอันนี้ให้คุณ sugar เพราะเห็นว่าน่าจะทันสมัยที่สุดช่วงที่คุณอยู่กรุงเทพฯน่ะครับ  แลบลิ้น
แล้วก็ห้อยเทียนเหลาไม่ไปหรอกนะ....มันมีแต่คนแก่น่ะ อิอิ
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ก.ย. 09, 15:56

สวัสดีค่ะคุณ Natadol และคุณติบอ


ดิฉันว่าที่ เลอ กอดองเบลอเค้าคงไม่สอนอะไรแบบนั้นหรอกนะคะ ขอโทษนะคะคุณติบอ กรุณาอย่าโม้ค่ะ.....  ดิฉันว่าคุณทอดไข่เจียวสูตรของคุณแล้วขอน้ำพริกพันท้ายของคุณ Natadol ทานแก้โม้ก่อนดีกว่ามั๊ยคะ... เหอ เหอ

เห็นไม๊คะ คุณ Natadol พันท้ายนรสิงห์ช่วยได้จริงๆ...

 


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ก.ย. 09, 23:11

 รูดซิบปาก ขอโทษที่โม้คราบ
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 ก.ย. 09, 15:35

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 11:32

การเรียนประวัติศาสตร์ในแบบเรียนสมัยเด็กๆ ดิฉันมักรู้สึกไม่ชอบขี้หน้าพม่าเอาเสียเลย... เหมือนเราถูกเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะจริงเท็จหรือเป็นข้อมูลที่รับรู้เพียงด้านเดียวก็ตาม แต่มันกลับฝังรากลึกในจิตใจไปแล้ว.... เลยไม่รู้ว่าที่เรียนกันมานั้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไรกันแน่ เพื่อให้รักชาติรักบ้านเมืองและรังเกียจการกระทำของคนอื่นที่มารังแกเรา หรือเพื่อเรียนรู้เพราะมันคือประวัติศาสตร์ชาติไทยกันแน่....แบบรู้ไว้เฉยๆ


แล้วถ้าเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไว้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต.... เมื่อวันหนึ่งเจ้าเชื้อโรคร้ายมันกลายพันธุ์ ภูมิคุ้มกันที่มีก็ใช้ไม่ได้เสียแล้ว เราจะตัดสินใจอย่างไร ยอมแพ้แก้โชคชะตาไม่ว่าจะพาไปนรกขุมใด หรือกระตุ้นมโนสำนึกจากภูมิเก่าพยายามยับยั้งมิยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย.....


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 13:03

ก็คุณ sugar เรียนประวัติศาสตร์ด้านเดียวนี่ครับ
(ตำรามันเป็นอย่างนั้นเนาะ จะทำยังไงได้)

การศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาแบบ "ตะวันตก" แขนงหนึ่ง
คนรัตนโกสินทร์เพิ่งจะมารับรู้ และทำความเข้าใจกับมันก็ราว พ.ศ. 2400 แล้ว
เพราะก่อนหน้านั้น เรามองบรรพบุรุษที่ตายก่อนเราเกิดขึ้นไปแบบอภินิหารซะส่วนมาก
การเรียนประวัติศาสตร์รุ่นแรกๆสังคมก็ต้อง "ปรับตัว" กันบ้าง เพราะมันยังใหม่อยู่






ถ้าจะสมมุติให้ "คนศึกษา" ประวัติศาสตร์กันง่ายๆ
เคยมีคนเสนอกันเล่นๆในวงอาหารว่า เราแบ่งกันได้ยุคละ 50 ปี
ผมลองสรุปมาให้ฟังเล่นๆนะครับ ไม่ต้องไปจริงจัง

1.) ยุคแรก พ.ศ. 2401 - 2450 ประวัติศาสตร์สร้างชาติ
สร้างโคตรวงศ์ ต่อต้านจักรวรรดินิยม สร้างกรุง
เพราะเป็นยุคที่เพิ่งจะเปิดรับวิทยาการแบบตะวันตกเข้ามา
แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก เพราะ "ติดวิธีเดิมๆ" กันอยู่

ผู้ศึกษาในยุคนี้ มีรัชกาลที่ 4 และ 5 เป็นตัวอย่าง



2.) พ.ศ. 2451 - 2500 ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ - ชาตินิยม
เป็นผลจากยุคแรก ผู้ศึกษาในยุคนี้เริ่มอ่านตำราต่างชาติมากขึ้น
และคิดแบบ westernization มากขึ้น
มากพอจะคิดว่า "อภินิหาร" กับ "ความจริง" เป็นคนละเรื่องกันแล้ว
แต่เมื่อคิดแบบตะวันตก ข้อเสียของผู้ศึกษาคือหลายครั้งจะดูถูกชาติพันธุ์รอบตัว
และเผลอๆ... ดูถูกตัวเองไปโดยไม่รู้ตัวด้วย

ผู้ศึกษาในยุคนี้ มีรัชกาลที่ 6 และกรมพระยาดำรงฯ เป็นตัวอย่าง
คนที่นำไปเผยแพร่จำนวนมาก เช่น พระยาอนุมาน และหลวงวิจิตร เป็นต้น
เพราะสื่อเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น



3.) พ.ศ. 2501 - 2550 ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์นิยม
เป็นผลมาจากยุคที่ 2 อีกเหมือนกัน เพราะเมื่อการคมนาคมดีขึ้น
ชาวตะวันตกเริ่มเดินทางมารู้จักโลกตะวันมากขึ้น เขาเองก็เริ่มรู้ตัว
ว่าที่ผ่านมาตัวเองก็เข้าใจอะไรพลาดมาเยอะ เขาก็เริ่มศึกษาใหม่
แล้วก็ต้องรื้อทฤษฎีเก่าๆทิ้ง เพื่อสร้างทฤษฎีที่ดีขึ้นกันยกใหญ่
และเริ่ม "ตื่นเต้น" กับความเป็นพื้นเมืองมากขึ้น

ผู้ศึกษาในยุคนี้ มี จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นตัวอย่าง
คนที่นำไปเผยแพร่คือเหล่า "กูรู" ทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่
หาอ่านได้ทั้งในเวบ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้ง หนังสือพิมพ์ และวารสาร

อ่อ... ดูเหมือนว่านักประวัติศาสตร์ "ที่มีชื่อเสียง" ของยุคนี้จะ "มีสื่ออยู่ในมือ" ไปแล้ว



4.) นี่ปี พ.ศ. 2552 เหลืออีกไม่กี่เดือนแล้วนะครับ
ผ่าน 2550 มา 2 ปีกว่าๆละ.... ถ้าเราจะ "อยู่" ต่อไป
ก็คงต้อง "เข้าใจ" ในสิ่งที่มีมาก่อนหน้า เราจะรับกับอนาคตทันมั้ย... ?


















อ่อ ทั้งหมดที่ว่ามา เป็นเรื่องสมมุติขึ้นเพื่อให้ "เข้าใจ" ทรรศนคติอย่างกว้างๆ ของงานเขียนในแต่ละยุคนะครับ
ถ้าลงลึกกับตัวงานเขียนแต่ละเรื่อง รายละเอียดก็ต่างกันออกไปอีกเหมือนกัน
เหมือนที่ทุกวันนี้เรามีคำว่า "อนุรักษ์นิยม" หรือ "หัวก้าวหน้า" ใช้กัน
คนแต่ละคนก็มีสิทธิ์คิดไปได้ทั้ง 2 ทาง เพราะฉะนั้น
งานเขียนต่างชิ้นกันของนักประวัติศาสตร์คนเดียวกัน ก็อาจจะเปิดมุมมองที่ต่างกันได้ครับ

ปล. ทั้งหมดนี่เป็นแค่ทฤษฎีๆนึงครับ มีอะไรผิดพลาดได้เยอะแยะ
มันเป็นแค่เรื่อง "สมมุติเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ" นะครับ

ปล.2 คุณ sugar ว่า ตำราประวัติศาสตร์ที่คุณเรียนมา...
มันอยู่ในยุคไหนดีครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 14:25

ตอนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ก็เกลียด....เพราะสมัยนั้นไม่มี internet ไม่มีเอกสารที่ทันสมัยแบบเดี๋ยวนี้ แต่โตขึ้นไปเรียนในรร.ที่มีพม่ามาเรียน ก็ไม่มีอะไร คุยกัน แลกเปลี่ยนสิ่งที่เราเรียนมาตอนเด็กๆกับเขา มีโอกาสได้เห็นเจดีย์ของเขา ที่เราว่าเอาทองของเราไปทำ(จริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) วันงานรร.เราแต่งไทย เขาแต่งพม่า ไปด้วยกัน ยังนึกอยู่เลยว่าพม่าคนนี้ทำไมไม่ดู...เหมือนที่เรียนมา นั่นเป็นจุดที่พยายามหาข้อมูลมาตลอด เพราะอยากทราบแค่นั้นแหละว่าอะไรคือความจริง
มานิต
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 14:51

คุณติบอคะดิฉันมองหาตั้งนานไม่ยักมียุคกบในกะลาแฮะ...ดิฉันคงอยู่ยุคนั้นแน่ๆเลย   สมองมีแต่สนิม


แล้วนักประวัติศาสตร์ที่ว่าเป็นนักธุรกิจด้วย ดูแย่กว่าพระเป็นนักธุรกิจ หมอเป็นนักธุรกิจ หรือนักการเมืองเป็นนักธุรกิจหรือเปล่าคะ....


มันยังไงกันหรอคะคุณติบอ...ดิฉันจะเขย่งหูฟังค่ะ ยิงฟันยิ้ม


ดิฉันใจร้ายกว่าคุณมานิตเยอะเลยล่ะค่ะ.... ใครรู้ว่าเป็นพม่าอย่ามาใกล้นะ... โกรธ เดี๋ยวงานเข้า
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 ก.ย. 09, 15:01

คุณ sugar ต้องเจียดเวลาซักวันละชั่วโมงข้องแวะกับ
- งานเก่าๆใน "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน"
- หน้าแรกๆของ "วารสารเมืองโบราณ"
- หน้าสีใน "หนังสือพิมพ์มติชน"
- และสิ่งพิมพ์ในเครือมติชน-ศิลปะวัฒนธรรม ดู

มองหาชื่อเดิมๆ ที่ได้ครอบครองพื้นที่ที่ผมบอกไว้
รับรองไม่เกินเดือน คุณจะตอบคำถามได้ด้วยตัวเอง




ปล. ผมว่าคุณไม่ต้องเขย่งหูไปฟังหรอกครับ
"สีสันในการดำเนินเรื่อง และคำอธิบายที่ทำความเข้าใจได้ง่ายอย่างเหลือเชื่อ"
เป็นลักษณะร่วมอย่างหนึ่งของนักประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง