เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
โพลล์
คำถาม: เสมาพญาครุฑกับบุตรทั้งสองน่าจะเป็นศิลปสมัยใด?
อยุธยาตอนกลางรัชสมัยพระนเรศวร
สุโขทัย
อโยธยาสุพรรณภูมิ
อู่ทอง
ทวารวรดี

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 21965 ใบเสมาใหม่ล่าสุด เปิดตัวแล้ว
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 ก.ย. 09, 10:47

...ลองย้อนรำลึกนึกถึงบรรยากาศคราเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถีครั้งนั้น...หลังจากขับไล่ทำลายอริราชศัตรูที่เป็นผู้รุกรานล้มตายมากกว่ายี่สิบพันในวันเดียว...บรรยากาศผ่อนคลายจากการได้ชัยชนะเหนือพม่า..เสร็จจากการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ..และเก็บเผาศพเหล่าวีรชนคนกล้าทั้งหลาย...ก็เป็นวาระของการบูรณะสร้างบ้านแปงเมืองในชายขอบ..เนื่องด้วยต้องคงปราการด่านหน้าอันสำคัญนี้ไว้..ทหารผ่านศึกที่ยังคงบาดเจ็บต้องรักษาเป็นเพลานาน..คงตัดสินใจลงหลักปักฐานในย่านนี้..เกิดเป็นชุมชนใหม่ใหญ่กว่าเดิม..ที่บ้านหนองขาว...พนมทวน..การบวชอุทิศเหล่าวีรชนมิตรร่วมรบที่เสียสละ...ก็เกิดขึ้น..พร้อมเป็นการล้างบาป...ทหารผ่านศึกจำนวนมหาศาล....คงบวชพร้อมกันในวันเดียว..เป็นนาคหลวงในพระบรมราชานุเคราะห์แห่งพระองค์ดำ..ในพรรษานั้น..การสร้างวัดในย่านทุ่งกระพังกรุก็ก่อเกิดการประชันขันแข่งในฝีมือ...เฃิงช่างหลากหลาย...ก็ทะลักทะลายออกมาให้ปรากฎ...อวดเด่นเป็นสง่าอวดสายตาเอ็งข้าอยู่..ตราบวันนี้..
ทนหน่อยพี่น้อง...ของมันขึ้น..มิได้อวดรู้...แต่ด้วยความเคารพบูชาฝีมือช่างบรมครูแต่ปางบรรพ์...เมื่อผันมาเห็นเจดีย์ระฆังคอดองค์งามนี้...ก็อดมิได้ที่จะออกอาการเพื้อเจ้อละเมอกลางวัน...ฝัน...ฝัน..เล่นๆว่าแรงจูงใจอันใดฤๅ..เป็นพลังผลักดันให้ท่านรังสรรค์งานได้วิจิตรบรรจง....อันสุโขทัยนั้นรู้อยู่...ว่าท่านนฤมิตรงานได้ปานสวรรค์สร้างเพราะความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด..แห่งพระพุทธศาสนาและพระบารมี..แรงขับเคลื่อนจึงน่าจะมาจากศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นปัจจัยหลัก...แต่ยุคสมัยองค์พระนเรศ..นั้นแผ่นดินที่เพิ่งตกอยู่ใต้อุ้งตีนพม่ามานานหลายปี...มาพลิกฟื้นคืนกลับมาดีได้ก็ด้วยพระมหาฤทธานุภาพแห่งพระองค์ท่าน...พวกซ้ายตกขอบกรุณาอย่าเอ่ยอ้างว่าประชาชนนั้นมีส่วนสร้าง ไม่เถียงเอ็งดอก...แต่อย่าบ้าลัทธิสิทธิมนุษยชนและปัจเจกชนนิยมจอมปลอมจนลืมรากเหง้าของเราเอง.....พล่ามมายาว..ได้โปรดอย่าถือสา...แรงบันดาลใจมาจากระฆังคอดองค์นี้องค์เดียว...จริงๆ...โปรดสังเกตุความอวบอิ่มชั้นกลีบบัวหงายล้อกับอวบอ้วนแห่งระฆังคอด..อัตราส่วนความสูงโดยเปรียบเทียบของทั้งสองช่วงนี้...ไม่เหมือนองค์อื่น..มีเสน่ห์ไปอีกแบบ..เชื่อด้วยส่วนตัวว่านี่คือการประชันขันแข่งแห่งฝีมือและเชิงช่างโดยยังอยู่ในกรอบแห่งศิลป์สมัยสไตล์อยุธยาตอนกลางในสภาวะบรรยากาศผ่อนคลายแห่งการฉลองชัย....ขออภัยอีกครั้งในความไม่สงบแห่งอารมย์


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 08 ก.ย. 09, 11:04

...น่าจะพอใจลอยคล้อยตามความเพื้อเจ้อของข้าฯผู้น้อยด้อยปัญญานี้ได้...เพียงชายตาดูองค์นี้ให้พอเห็นชัด...





บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 08 ก.ย. 09, 11:33

ถ้าเอาเรื่องประวัติศาสตร์มาเี่กี่ยว จะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่นที่สร้างเจดีย์เหล่านี้เพื่อบรรจุอัฐิของทหารหาญ
ไว้เป็นอนุสรณ์หรือเปล่า ถึงไม่ประดับอย่างปราณีตเหมือนในเมืองหลวงแต่ก็สร้างอย่างตั้งใจ เพราะอารมณ์นั้นความสุข
และความเศร้าคงมีพอๆกัน
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 08 ก.ย. 09, 11:42

ขอบคุณครับ...อาจเป็นได้กระมัง...แต่อย่าลืมความจริงข้อหนึ่งว่า..เมื่อพ.ศ.นั้น..ประชากรในชุมชนท้องถิ่นมีมากน้อยเพียงใด(และบรรดาทหารหาญก็มาจากทุกเขตแคว้นแดนสยาม..มีบางส่วนที่เป็นคนท้องถิ่นซึ่งไม่น่าจะมีมากนัก  อย่างประชากรดอนเจดีย์ในพ.ศ.นี้มีเพียงประมาณ 6,000คน..ถ้าจำไม่ผิด..แล้วในพ.ศ.2135 - กว่า 400 ปีที่แล้ว..จะมีเท่าใด..?)..ในสภาพบ้านป่า..ชายแดน..ไกลปืนเที่ยง..เมื่อเทียบกับประชากรของทั้งประเทศในยุคสมัย..นี่พูดในฐานะคนท้องถิ่น..ที่คัดความเป็นท้องถิ่นนิยมออก..บางทีการก่อสร้างวัดมากมายที่กระพังกรุ-พนมทวน ในยุคอยุธยาตอนกลางนี้..อาจเป็นจุดเริ่มและที่มาของฝีมือสกุลช่างท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดจากช่างหลวงก็เป็นได้...
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 08 ก.ย. 09, 17:15

ดูกรุเจดีย์ระฆังคอดต่อดีกว่า..


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 08 ก.ย. 09, 17:16

..องค์เดิม..อีกมุมที่วัดพังตรุ..สัปดาห์หน้าจะพาไป..take a close look ระฆังคอดฉบับ update...ดีบ่..อ้าย...


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 02:59

ฝากภาพรอยพระพุทธบาทจำลองไม้แกะสลักประดับมุกที่วัดพระแท่นดงรังมาให้คุณvirain-jean1966-Wandee   ช่วยพิเคราะห์พิจารณ์หน่อยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 12:06

คล้ายๆที่อยู่ในงานศิลป์แผ่นดินะครับ แต่ตัวผมความรู้น้อย ขอฝากให้พี่ยีนส์แล้วกัน
บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 12:28

     A
   AAA
 AAAAA
   AAA
   AAA
 

ภาพรอยพระพุทธบาทด้านบนขอเป็นภาพขยายใหญ่ชัดชัดได้ไหมครับ
พอดีว่าชอบดูลวดลายบนพระพุทธบาทเป็นพิเศษนะครับ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 12:53

จัดให้......มีแถมด้วย..ดูทั้งแผ่นดีกว่า..?


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 14:04

ชัดขึ้นหน่อย


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 14:22

ตามดูด้วยความนับถือคนเอามาฝากค่ะ
อธิบายไม่ได้
ทราบแต่ว่า สวย  ไม่สวย  อ่อนช้อย   มีพลัง  ภาพโดยรวมรับส่งกัน
เหมือนฟังเพลงไทยเดิมโดยไม่มีเนื้อร้อง  ก็เข้าใจ



อยากกลับไปถามที่รูปครุฑใหม่อีกที   ตั้งแต่เอวลงไปนี่ครุฑเป็นนกมิใช่หรือคะ
ไม่เคยเห็นขาหรือเครื่องทรง และเท้าเป็นกรงเล็บ

หรือติดรูปแบบที่เจ้่านายท่านเขียนไว้
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 16:05

ลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทบนพระบฎที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศส่งไปถวายกษัตริย์ลังกาเลยครับ รูปประกอบเป็นงานที่ผมคัดลอกลายมาแล้วประยุกต์เขียนสีให้แก่ลูกค้าท่านนึงของผมครับ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 16:08

รายละเอียดของกรอบคล้ายกันมาก


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 09 ก.ย. 09, 16:19

เสียดายตอนที่วาดเสร็จไม่ได้ถ่ายรายละเอียดของภาพมาดีนัก เพราะมัวแต่รีบส่งจะเอาตังค์ ต้นฉบับเลยไม่ชัดนี่cropเฉพาะส่วนที่ใกล้เคยงกับที่พระแท่นดงรังมาให้ดู


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 21 คำสั่ง