เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
โพลล์
คำถาม: เสมาพญาครุฑกับบุตรทั้งสองน่าจะเป็นศิลปสมัยใด?
อยุธยาตอนกลางรัชสมัยพระนเรศวร
สุโขทัย
อโยธยาสุพรรณภูมิ
อู่ทอง
ทวารวรดี

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 21972 ใบเสมาใหม่ล่าสุด เปิดตัวแล้ว
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:01

เอี้ยงดำ...ซุ้มเรือนแก้ว...กระจัง...ประจำยาม...เหนือสุดของซุ้มประตูด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ.....ท้าทายแดดฝนง..รอวันหลุดล่อน..ลงมา...ไม่รู้ว่าวันใด.....?


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:03

นาคสะดุ้ง..ลอยองค์มาอวดเอว...ที่หน้าบัน..ซุ้มประตูทิศตะวันออก


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:10

ครุฑยุดนาค..ซุ้มประตูทิศใต้..หน้าครุฑถูกยุดหายไปแล้ว...เหลือเพียงชายไหวแกว่งไกวอยู่พองาม...


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:14

นี่คงจะเป็นหน้าของศรีสยามแต่ปางบรรพ์เองกระมัง...เหนือซุ้มทิศตะวันออก


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:16

หน้าบันที่ซุ้มประตูทิศเดียวกัน..


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:18

นาคสะดุ้ง...ที่หน้าบัน


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:22

เมื่อปูนที่ฉาบกระเทาะล่อนออก...การก่ออิฐสอปูนที่สะท้อนหลักฐานแห่งยุคสมัย...ก็ปรากฎให้เห็น....(เจดีย์ระฆ้งดอด-หน้าพระอุโบสถ)


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:26

ผู้เชี่ยวชาญสามารถมองเพียงแวบเดียวก็จะรู้ว่าเป็นการก่ออิฐของยุคใด


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:30

ขาสิงห์ที่ฐานซุ้มประตูทิศตะวันออก..เพิ่งอวดโฉม..หลังจมดินมานานแสนนาน..เข่าสิงห์บิ่นเล็กน้อยด้วยคมชะแลงของช่างที่ขุดแต่ง...เล็กน้อยพอทน..ไม่ว่ากัน..


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 17:41

เจดีย์ระฆังคอดหน้าพระอุโบสถวัดบ้านน้อยเทียบกับภาพจิตรกรรมพระเจดีย์ศรีจุฬามณีในสมุดข่อยไตรภูมิพระร่วง-วัดหัวกระบือ-วาดสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ...กรุณาหาจุดต่าง...


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 18:18

คุณศรีสยามรับไหว้ดิฉันทีเถอะค่ะ

มหัศจรรย์


ชอบปีกครุฑ   ชอบมาก   เกิดมาไม่เคยเห็น

เจดีย์ระฆังคอดก็วิเศษเมื่อเทียบกับสมุดข่อย

เป็นมงคลชีวิตที่ได้เห็น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 20:57

กระทู้รามเกียรติ์วัดสุทัศน์ และกระทู้ใบเสมานี้

งามราวทิพยสมบัติ

สองตานี้มิพอจะแลเลย
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.ย. 09, 23:59

น. ณ ปากน้ำกล่าววัดบ้านน้อยไว้ใน "ไปพิสูจน์เจดีย์ยุทธหัตถีที่ดอนเจดีย์"ในนิตยสารชาวกรุง เล่ม 7 ประจำเดือน เมษายน 2516  ว่า......ถ้าจะดูให้เห็นชัดก็ให้ไปดูที่วัดบ้านน้อย ซึ่งอยู่ห่างจากเจดีย์ยุทธหัตถีเพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น ที่นั่นศิลปการก่อสร้างเป็นแบบอยุธยาอย่างชัดเจน เจดีย์ระฆังคอดกว่าส่วนบน เป็นเจดีย์รุ่นเดียวกับปรางค์ยอดบานดังว่า แสดงว่าสร้างในยุคสมัยเดียวกัน ที่วิหารหลังเจดีย์พบกระเบื้องลอน และกระเบื้องเชิงชายแบบอยุธยา ซุ้มประตูมีลวดลายเป็นเครือเดียวอันปรากฎที่ปรางค์ใกล้เจดีย์ยุทธหัตถี ด้วยพระพุทธรูปประธานในวิหาร ทำด้วยหินทรายแดงแบบอยุธยาตอนกลาง เสาประดับที่ซุ้มประตู เป็นเสาแปดเหลี่ยม บัวกลุ่มเป็นกลีบ เป็นเสาอยุธยา
ศิลปของวัดบ้านน้อยมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มเจดีย์ใกล้กับเจดีย์ยุทธหัตถีแทบเป็นอันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีแล้ว ก้ได้สร้างกลุ่มเจดีย์ ซึ่งมีปรางค์เป็นประธาน สำหรับสวมพระมหาอุปราชากับเจ้าชายพม่าที่สิ้นพระชนม์ครั้งนั้น และก็ได้ทรงสร้างวัดขึ้นด้วยในอาณาบริเวณเดียวกันเป็นการล้างบาป ด้วยสงครามครั้งนี้ผู้คนช้างม้าล้มตายเหลือคณนานับ แม้บัดนี้ชาวบ้านก็ยังขุดเอากระดูกอันเกลื่อนสมรภูมิขึ้นมาเผาทุกปี ก็ยังไม่หมดง่ายๆ ไม่ว่าเดินไปทางไหนจะพบแต่ชิ้นกระดูกทั้งนั้น
วัดบ้านน้อย   จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราสามารถกำหนดอายุสมัยของพระเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลางให้เชื่อมโยงถึงกันได้โดยตลอด  ซึ่งแต่เดิมหมวดหมู่เจดีย์รุ่นนี้ขาดหายไป  แม้ในอยุธยาก็พังเสียหมดไม่ปรากฎ คงห็นแต่ในภาพเขียนเท่านั้น  เมื่อมาปรากฎอยู่บริบูรณ์ ณ วัดบ้านน้อยเช่นนี้ จึงเป็นลาภอันประเสริฐในการศึกษาศิลปกรรมของชาติ .....................////.........ทุกวันนี้บ้านเมืองฟั่นเฝือไป ก็เพราะว่าบุคคลบางคนเช่นนักประวัติศาสตร์ สำคัญตนผิด อวดรู้ว่าเป็นนักปราชญ์ทางศิลป ไปเที่ยวชี้โน่นชี้นี่ ว่าใช่หรือไม่ใช่ เป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก ของอย่างนี้มิใช่มาศึกษากันเล่นๆเพียงวันสองวันแรก จะต้องลูบคลำกินนอนอยู่กับมันเป็นแรมปี จึงจะเข้าใจวิญญาณของศิลปเหล่านั้น ข้าพเจ้าถ่ายรูปงานเหล่านี้ส่งให้อวบ สานะเสน ซึ่งเคยไปจำเจอยู่ในอยุธยาเป็นเวลานาน เพียงมองปราดเดียวก็เห็นว่าเป็นศิลปอยุธยา นั่นเขาชำนาญงานมามากเพียงเห็นก็รู้  สมพงษ์ สมใจเจริญ ซึ่งเคยไปชลุกอยู่อยุธยามานาน พอไปเห็นวัดบ้านน้อย เขาก็อุทานออกมาว่า เป็นศิลปอยุธยาอย่างชัดๆ...........


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ก.ย. 09, 00:31

.....เสาประดับที่ซุ้มประตูป็นเสาแปดเหลี่ยม  บัวกลุ่มเป็นกลีบ เป็นเสาอยุธยา..........




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ก.ย. 09, 00:32

วลีที่ว่า  สำคัญตนผิด  นี่ดิฉันยืมมาจากพี่คนหนึ่ง ใช้ได้ทุกประการในที่สาธารณะ
วันสองวันนี่รู้สึกอิ่มใจ   คว้าแฟ้มงานเก่าที่พักไว้มาดูต่อได้  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 21 คำสั่ง