เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 11689 ศิลปะไทยประยุกต์ที่วัดราชาธิวาสฯ
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


 เมื่อ 31 ส.ค. 09, 19:41

วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุติ  อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก
หน้าวัดจึงหันไปทางทิศตะวันตกเข้าหาแม่น้ำ อาคารหลักๆของวัดเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์
ที่ออกแบบโดยสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  โดยเฉพาะพระอุโบสถที่ทรงประยุกต์


อาจารย์ น ณ  ปากน้ำได้กล่าวไว้ว่า  เป็นผลงานปฏิวัติสถาปัตยกรรมครั้งสำคัญของชาติ
เริ่มตั้งแต่การไม่เอาอย่างของโบราณ  แต่เอาลักษณะที่ดีงามมาดัดแปลงใหม่โดยวางแปลนให้แปลกตาขึ้น 
แม้พระอุโบสถของพระองค์จะดูเล็กกว่าของโบราณ  แต่ก็กะทัดรัดสง่างามอย่างน่าอัศจรรย์


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 19:45

วัดราชาธิวาสแต่เดิมชื่อวัดสมอราย เคยรู้มาว่าเดิมมีโบราณสมัยขอมหรือสุโขทัยตั้งอยู่เช่นเดียวกับที่วัดเขมา 
แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานแล้ว??  ภายในพระอุโบสถแบ่งออกเป็นสามห้อง ห้องโถงกลางเป็นห้องที่กระทำพิธี
ส่วนห้องหลังเป็นห้องที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขาดใหญ่ ห้องกลางนั้นประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี
เป็นพระประธานในพระอุโบสถ  ซึ่งจำลองมาจากองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 
ประดิษฐานเหนือแท่นชุกชีภายใต้ฉัตรเก้าชั้น  เบื้องหลังประดับด้วยซุ้มปูนปั้นขนาดใหญ่ 
ทำให้ดูๆไปก็คล้ายอาสนวิหารของวัดคาทอลิค แต่คนละอารมณ์กับวัดราชบพิตร


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 19:50

ลายบนซุ้มนั้นเป็นการนำเอาตราพระราชลัญจกร ของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  มาประกอบกันจนดูงดงามลงตัว 
กล่าวคือด้านบนสุดเหนือช้างสามเศียรเป็นตราของรัชกาลที่หนึ่งเป็นรูปปทุมอุนาโลมมีอักขระ อุ 
รูปครุฑยุดนาคในรัชกาลที่สอง  รูปปราสาทในรัชกาลที่สาม  รูปเทวดาเชิญมงกุฎในรัชกาลที่สี่  พระคเณศเชิญจุลมงกุฎในรัชกาลที่ห้า

อาจารย์ น ณ ปากน้ำ กล่าวถึงซุ้มเรือนแก้วนี้ว่า  ปูนปั้นซุ้มเรือนแก้วหลังพระประธานวัดราชาธิวาส  เป็นลายฟรั่งผสมกับเสาแบบสุโบทัย 
เนื่องจากองค์พระประธานมีขนาดย่อมมาก  สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์จึงทรงออกแบบปูนปั้นเป็นซุ้มเรือนแก้วผสมกับซุ้มจระนำที่โอ่อ่างดงามมาก 
ผู้เขียนภาพบนผนังประกอบกคือนาย ซี. ริโกลิ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 19:55

ภาพเขียนในพระอุโบสถนั้นเขียนโดยนาย ซี. ริโกลิ เป็นภาพปูนเปียกหรือเฟรสโก้ (ภาพที่เขียนตอนปูนยังแห้งไม่สนิท)
ออกแบบร่างโดยสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  ภาพนี้ยังปรากฏอยู่ที่ตำหนักปลายเนินที่อยู่แถว MRT
ตรงข้ามกับฝั่งสวนลุมไนซ์พลาสซ่า  ซึ่งเป็นตำหนักของสมเด็จท่านด้วย







บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 19:59

พระอินทร์เป่าสังข์


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 20:05

งานจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสนี้ เป็นงานศิลปะไทยที่ได้รับการประยุกต์โดยใส่ลักษณะทางกายภาพแบบฟรั่งเข้าไป
ทำให้ดูมีกล้ามเนื้อดูลึกแต่ก็ไม่ขาดลีลาแบบไทย คงเป็นอีกรสชาติในงานศิลปะในสมัยนั้น
มีอีกภาพหนึ่งที่ได้รับยกย่องเช่นกันแต่ภาพนี้อยู่ที่พระที่นั่งบรมพิมาน
ในพระบรมมหาราชวัง เป็นภาพพระทิตย์ทรงรถที่ได้ออกแบบโดยสมเด็จฯท่านเช่นกัน


ภาพนี้ผมสงสัยว่าเทวดาถืออะไรในมือครับ ดูคล้ายคทาแต่ท่าจับเหมือนจะเป็นเรื่องเป่า


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 20:07

ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านอื่นก็เขียนเรื่องพระเวสสันดร  โดยคัดเอาแต่ตอนที่สำคัญๆมาเขียนเท่านั้น


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 20:09

ภาพเหล่านี้เขียนเป็นภาพใหญ่ บอกเล่าเป็นฉากๆเต็มๆ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 20:15

เหล่านี้คือภาพที่ผมเอามาฝากครับ สำหรับคนที่อยู่ไกลการเดินทางมากรุเทพฯไม่สะดวกนัก
ก็คงเปิดเข้ามาดูได้เพลินๆ  แต่ท่านใดที่เคยไปวัดนี้มาแล้วมีข้อมูลที่น่าสนใจก็นำเสนอได้ครับ

ผมเคยเห็นวัดหนึ่งอยู่แถวๆสวนสันติภาพ  ได้สร้างพระอุโบสถโดยนำแบบไปจากวัดราชาธิวาสนี้
แต่รู้สึกว่าจะใหญ่โตทาสีทองประดับกระจก  ไม่ทราบว่าชื่อวัดอะไรนะครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 20:18

เชื่อว่าคงมีหลายท่าน ที่เคยได้เข้าไปชมความงามของวัดราชาธิวาสกันไม่น้อย
และคงเล่ารายละเอียดได้ดีกว่าผม เพราะวัดแห่งนี้ค่อนข้างมีสิ่งสวยงามอยู่มาก
ทำให้เป็นที่สนใจของคนที่ชื่นชมศิลปะ

เพราะนอกจากพระอุโบสถแล้ว  ยังมีศาลาการเปรียญ ธรรมาสน์และเรือนสวดที่ทำเลียนของอยุธยา
แต่เสียดายผมไม่ได้เข้าชม  แต่ถ้าใครสนใจที่จำไปชมความงามและกราบพระในวัดราชาธิวาส
พระอุโบสถจะเปิดวันเสาร์อาทิตย์ครับ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 20:39

ขอปรบมือให้ในความขยันของน้องเน ฝีมือนายช่างเอกแห่งกรุงสยามนั้น นามนี้มิได้ได้มาอย่างง่ายๆ พระองค์ท่านเป็นพหูสูตรทางศิลปะ เวลาว่างของพระองค์มักจะเสด็จเที่ยวไปชมวัดวาอารามโดยทั่วราชอาณาจักร ท่านย่อมจะได้รู้ได้เห็นได้ซึมซับงานศิลปะของครูช่างต่างๆอย่างที่ท่านนำมาพร่ำพรรณาไว้ในสาสน์สมเด็จประทานแด่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผมเองเคยเข้าไปที่วังปลายเนิน ศิลปะสวยๆงามปรากฎอยู่ที่นี่เป็นจำนวนมากและเป็นชิ้นงามๆทั้งนั้น งานออกแบบวัดราชาธิวาสของพระองค์ท่าน ถือเป็นงานมาสเตอร์พลีสที่เดียว
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 ก.ย. 09, 01:18

งานจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสนี้ เป็นงานศิลปะไทยที่ได้รับการประยุกต์โดยใส่ลักษณะทางกายภาพแบบฟรั่งเข้าไป
ทำให้ดูมีกล้ามเนื้อดูลึกแต่ก็ไม่ขาดลีลาแบบไทย คงเป็นอีกรสชาติในงานศิลปะในสมัยนั้น
มีอีกภาพหนึ่งที่ได้รับยกย่องเช่นกันแต่ภาพนี้อยู่ที่พระที่นั่งบรมพิมาน
ในพระบรมมหาราชวัง เป็นภาพพระทิตย์ทรงรถที่ได้ออกแบบโดยสมเด็จฯท่านเช่นกัน


ภาพนี้ผมสงสัยว่าเทวดาถืออะไรในมือครับ ดูคล้ายคทาแต่ท่าจับเหมือนจะเป็นเรื่องเป่า

ในรูปคือ เทวดาดีดพิณเพียะ (พิณเปียะ หรือ เปียะ) ครับผม

ตามรูป



จาก http://www.cm77.com/cmb/home/attachment/200908/2/118_1249218714IZpz.jpg
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 ก.ย. 09, 11:54

ตำหนักปลยเนินรู้สึกปีหนึ่งจะเปิดครั้งเดียวใช่ไหมครับ สงสัยวันนั้นคนคงมากมายนะครับพี่ยีนส์

ขอบคุณคุณศศิศ ด้วยครับที่เอารูปของจริงมาให้ดูด้วย  แต่ผมไม่เคยเห็นเลยนะครับนี่


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง