เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4661 สงสัยเรื่องอณาจักรไทยค่ะ
ต่าย
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 07 ก.ย. 00, 12:00

อย่างประเทศจีนเกิดเป็นอาณาจักร์ขึ้นมาก็ตอนที่จินซีฮ่องเต้
รวมรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้
ก็เลยสงสัยค่ะ ว่าประเทศไทยเนี่ยะ เกิดรวมเป็นหนึ่งเดียวได้ในสมัยใหนคะ

เพราะช่วงสุโขทัย ก็มีอณาจักรไกล้ๆ อยู่ ทั้งอู่ทอง ละโว้
ช่วงนั้นก็ยังไม่น่าจะนับเป็นประเทศไทยได้นี่คะ เพราะยังแยกๆ กันอยู่
เขาใช้อะไรในการแบ่งคะ ว่าเมื่อไหร่ถึงจะเกิดเป็นประเทศไทย

คิดว่าน่าจะรวมกันได้สมัยอยุธยานะค่ะ แต่ไม่ทราบว่า พระมหากษัตริย์ องค์ใหน
เป็นผู้รวมให้เป็นปึกแผ่นได้เป็นองค์แรกคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ส.ค. 00, 00:00

ลองลำดับดูตามนี้นะคะ
เดิม บนแผ่นดินแหลมทองมีอาณาจักรหลายแห่งกระจายตัวกันอยู่   อย่างสุโขทัย ละโว้  อโยธยา
แต่ต่อมาเริ่มรวมกัน   อโยธยาในชื่อใหม่ว่าอยุธยา นับจากพระเจ้าอู่ทอง สามารถดึงสุโขทัยมารวมกันได้สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ก็น่าจะนับเป็นความปึกแผ่นครั้งแรก
ทรงแบ่งการปกครองใหม่  มีหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี และเมืองท้าวพระยามหานคร  อย่างหลังนี้ก็คือพวกมลายู  กลันตัน ฯลฯ มีสุลต่านปกครองแต่ส่งบรรณาการ
ตอนนั้นยังไม่เรียกว่าประเทศ แต่เรียกว่าอาณาจักรตามชื่อเมืองหลวง คืออาณาจักรศรีอยุธยา
บางยุคก็ได้อาณาจักรใกล้ๆมารวมไว้  บางยุคเมื่ออยุธยาอ่อนแอลง อาณาจักรเหล่านี้ก็แยกตัวออกไป  ก็ต้องไปตีมารวมกันอีก
เป็นอย่างนี้มาจนถึงรัตนโกสินทร์   จนถึงรัชกาลที่ ๕  เราเรียกอาณาจักรว่า สยาม แต่ยังไม่เป็นประเทศไทย
การรวมกันเป็นปึกแผ่น  น่าจะเป็นสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล ส่งข้าหลวงไปปกครองแทนท้าวพระยาเดิมๆ
ส่วนมาเปลี่ยนชื่อใหม่ กลายเป็น Thailand สมัยจอมพล ป. ค่ะ  ก่อนหน้านี้เรียกประเทศว่า สยาม   เรียกคนที่อยู่ในสยามว่า คนไทย

เขียนจากความทรงจำ   ถ้าผิดตรงไหน ใครทราบช่วยท้วงด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ต่าย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ส.ค. 00, 00:00

ขอบคุณค่ะ เคยเรียนมาสมัยเด็กๆ ว่าประเทศไทยเริ่มต้นมาจากสมัยสุโขทัย
ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งแรก ก็เลยสงสัยน่ะค่ะ

แต่ความจริงชื่อว่า สยามก็เพราะดีอยู่แล้ว
เอไม่ทราบว่ามีความหมายว่าอะไรหรือคะ
บันทึกการเข้า
Homeless UK
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 ส.ค. 00, 00:00

คำแปลของสยามนี่ผมไม่ทราบครับ แต่น่าจะมีความหมาย... (ไม่กล้าเดาครับ)

เรื่องการที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นประเทศไทย สมัยจอมพล ป. นั้นเคยได้ยินมาว่า
เป็นเพราะอยากจะรวบรวมคนเชื้อสายไทยที่กระจัดกระจายอยู่ตาม ละแวกใกล้
เคียงให้มาอยู่รวมกัน ... จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบได้ครับ แต่เคยได้ยินมาอย่างนี้ครับ
ท่านใดทราบเหตุผลที่ถูกต้องกว่าช่วยแก้ไขด้วยแล้วกันครับ... แฮะๆ

เมื่อเช้าอ่านคอลัมน์ในไทยรัฐ ก็เห็นมีเขียนว่า ในเวียดนามก็มีเชื้อสายไทยอยู่
มาตั้งแต่โบราณเหมือนกัน แถมมีภาษาพูดที่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมากด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 ส.ค. 00, 00:00

คุณต่ายคะ ดิฉันก็เรียนแบบคุณเหมือนกัน  เข้าใจเหมือนกันว่า อาณาจักรต่างๆเกิดขึ้นแล้วสูญไป  เรียงแถวกันตามลำดับเวลา  เริ่มด้วยมีสุโขทัยก่อนแล้วค่อยมามีอยุธยา แล้วก็ถึงรัตนโกสินทร์
หลักฐานชั้นหลังก็ไม่เชื่อกันยังงั้นแล้วค่ะ เพราะทางโบราณคดี ไม่ใช่อย่างนั้น ร่องรอยความเจริญของอยุธยา ที่เรียกว่าอาณาจักรอโยธยามีให้เห็นก่อนหน้าพระเจ้าอู่ทอง อย่างพระพุทธรูปวัดพนัญเชิงและตำนานเรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก
การเรียนแบบที่คุณและดิฉันเรียน เข้าใจว่าวางหลักสูตรกันมาสมัยจอมพลป. มีคุณหลวงวิจิตรวาทการเป็นที่ปรึกษา
จุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งคือแสดงถึงชาตินิยมและยกย่องความสามารถของบรรพชนไทย
คำว่า สยาม เข้าใจว่ามาจาก "ศยาม" แปลว่าผิวคล้ำ  สมัยจอมพลป.ก็เลยมาเปลี่ยน เป็นไท แปลว่าใหญ่ หรือเป็นอิสระ   ก่อนหน้านี้เราก็มีคน "ไต" หรือ "ไท" กระจัดกระจายกันในแหลมทอง ขึ้นไปถึงตอนใต้ของจีน
ใช่ค่ะ ในเวียดนามมีคนเชื้อสายไท   คำบางคำของเขาเป็นภาษาในศิลาจารึกเลยละค่ะ  อย่างคำว่า "ลุก" แปลว่า "จาก " ลุกบ้านลุกเมืองแปลว่าจากบ้านจากเมือง  ในศิลาจารึกก็ใช้คำนี้  พูดถึงมหาเถรที่ลุกมาแต่เมืองนครศรีธรรมราช
ตอบมากอีกแล้ว  เดี๋ยวคุณวิมม่ามาประท้วง  ขอลาไปดำน้ำซะทีละค่ะ
บันทึกการเข้า
Homeless UK
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ก.ย. 00, 00:00

บังเอิญผมไปเจอบทความเรื่อง เกี่ยวกับ คำว่า สยาม-ไทย-และ ร่องรอยของชนเผ่า
ไทย ในภูมิภาคต่างๆ เป็นเว็ปของคุณ Tomdenver ครับ ผู้เรียบเรียงบอกว่า
คัดมาจากหนังสือ "คำสยาม ไทย ลาว และขอม" โดยจิตร ภูมิศักดิ์
เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาฝากครับ อยู่ที่

http://geocities.com/Nashville/Opry/3009/history/019.htm' target='_blank'>http://geocities.com/Nashville/Opry/3009/history/019.htm
บันทึกการเข้า
Homeless UK
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ก.ย. 00, 00:00

ตอนที่น่าสนใจเช่น .... ( ผมลอกมาเลยครับ )
เคยมีนักปราชญ์บางท่านตั้งข้อสันนิจฐานไว้ว่า สยาม น่าจะมาจากคำว่า ศยม ในภาษาสันสกฤษ ซึ่ง
แปลว่า ดี เลิศ ประเสริฐศรี อะไรเทือกนั้น แต่เราก็ได้ข้อสรุปมาแล้วว่า คำ สยาม นั้น มีที่มาจากทาง
ตอนใต้ของจีน ไม่ใช่ทางอินเดีย และสะกดด้วย ส ไม่ใช่ ศ ทฤษฏีดังกล่าวจึงต้องตกไปมีคำอยู่คำหนึ่ง เรียกว่า ซำ
ปัจจุบันจะพบคำนี้เฉพาะที่เป็นชื่อเมืองในประเทศลาวเท่านั้น คือ ซำเหนือและซำใต้ โดย
ยังไม่พบว่ามีการใช้คำนี้ในที่ใดๆในปัจจุบัน แต่ความหมายของคำๆนี้ก็ยังคงอยู่ นั่นคือ หมายถึงที่ๆ
มีน้ำซึมออก มาจากดิน บางที่ก็กินพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และเก็บน้ำได้เพียงพอแก่การดำรงชีพ ตาม
หลักฐานของจีนโบราณก็บ่งบอกว่า คนสยามชอบตั้งหลักแหล่งอยู่ตามซำ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแห่ง
ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน คนทั่วไปจึง เรียกคนที่อยู่ตามซำว่า คนซำ ตามแหล่งที่อยู่ในสมัยต่อ
มา พวกซำกลายเป็นพวกแรก (ที่ไม่ใช่จีน) ที่สามารถพัฒนาตนเองจนพ้นสภาพการดำรงชีพแบบ PRIMITIVE
เริ่มมีการพัฒนาทางด้านการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยี่ใหม่ๆเข้ามาช่วย เริ่มมีการจับจอง
ที่ดิน และหวงแหนที่ดินสร้างระบบปกครองแบบสังคมเมือง และการอยู่รวมกันแทนการอยู่แบบต่าง
คนต่างอยู่ในแต่ละครอบครัวอย่างแต่ก่อน ทำให้ คนสยามเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และได้แตกหน่อ
ออกไปเป็นคำต่างๆดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น
ถึงตรงนี้ ข้าพเจ้าก็ยังไม่อาจปักใจเชื่อได้ว่า สยามคือคำที่มีที่มาจากคำว่า ซำ ดังกล่าว แต่ในขณะที่
ยังไม่มีทฤษฏีใดที่ดีกว่านี้ ข้าพเจ้าก็อยากจะขออนุมานเอาทฤษฏีนี้ตั้งไว้เป็นบรรทัดฐานก่อน จนกว่า
จะมีทฤษฏีที่ดีกว่ามาหักล้าง เราก็อาจจะมา ทำการศึกษากันใหม่อีกครั้ง ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจาร
ณญานของท่านในการอ่าน และในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อใน ทฤษฏีดังกล่าว

บันทึกการเข้า
Homeless UK
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ก.ย. 00, 00:00

ต่อครับ... หนังสือแล่มนี้ได้พูดถึงความหมายของคำว่าไท สอดคล้องกับที่คุณ
เทาชมพูบอกครับ .... ( ผมก็ลอกมาอีกและครับ )

ความหมายของคำว่า ไท

ในสมัยที่คนไทยังอยู่ในจีนนั้น คนจีนเรียกคนไทด้วยความดูถูกเหยียดหยามว่า ฮวนนั้งบ้าง ไป่อี๋บ้าง ซึ่งเป็นคำที่หมาย
ถึงคนป่า คนไม่มีวัฒนธรรม หรือบางครั้งก็ถูกกดลงไปต่ำจนเหมือนไม่ใช่คน ซึ่ง
ล้วนเป็นคำที่มีความหมายที่ไม่ดีทั้งสิ้น เมื่อคนไทถูกเรียกแบบนั้นหนักเข้า ก็เกิดความกดดัน และต้อง
การประกาศตัวว่าเป็นคนไม่ใช่สัตว์ เป็นไทไม่ใช่ ไป่อี๋, ไท ในสมัยนั้นจึงมีความหมายว่า คน (PEOPLE)
คือคนที่อยู่กันอย่างมีสังคม ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตพันธุ์หนึ่งที่อยู่กันแบบ PRIMITIVE

บันทึกต่างๆในสมัยโบราณ ทั้งในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่ง ตำนานสิงหนวัต ต่างก็เคยใช้คำว่า ไท ในความ
หมายที่หมายถึง คน ซึ่งน่าที่จะเป็นหลักฐานได้ว่า ไท เคยมีความหมายว่า คน มาก่อน สมัยราชวงศ์ถัง
คนจีนมีความอ่อนแอ จีงถูกคนไทที่อยู่ทางตอนใต้ยึดอำนาจ ถึงแม้จะยึดได้เพียงยูนนาน แต่ก็ถือว่าเป็น
ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ เพราะไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน แม้แต่ราชสำนักที่อยู่เมืองหลวงยังต้องยอมเรียกคน
ไทว่า ไต ในภาษาจีนออกเสียงว่า ต้า และเรียกเมืองที่คนไตอยู่ว่าต้าหมิง หรือ ต้าเหมิง สรุปได้ว่า ไต
น่าจะเป็นคำที่เกิดมาจากคนไตเอง เพราะถ้าเป็นคำที่เกิดจากคนจีนแล้ว คนจีนจะไม่ ยอมตั้งชื่อใคร ให้
มีความหมายที่ดีแบบนั้นแน่นอน และคำว่าไตในสมัยแรกๆนั้น มีความหมายเพียงเพื่อแสดงฐานะความ
เป็นคน (PEOPLE) เท่านั้น ต่อมา เมื่อคนไทมีนิสัยรักความอิสระเสรี ไทจึงมีความหมายว่า อิสระ ในสมัย
ต่อมา

บันทึกการเข้า
คนลำปาง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 ก.ย. 00, 00:00

โอ้โฮ เพิ่งรู้ว่า"ลุก"เป็นภาษาในศิลาจารึก ภาษาบ้านผม(ภาษาเหนือ)ก็ยังใช้คำว่า"ลุก"เพื่อหมายถึง
"จาก" อยู่เลย ว้าว รู้สึกภูมิใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง