เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3118 วิทยากล หรือ มายากล ครั้งแรกเริ่มในเมืองไทย
มายากล
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 25 ส.ค. 09, 11:27

ผมได้บังเอิญพบเรื่องวิทยากลในเมืองไทย เมื่อครั้งสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตาม Link ที่ผมโพสท์ไว้ http://chobmapagon.googlepages.com/thaimagichistory

อยากทราบว่ามีบันทึกเรื่องราววิทยากล หรือ มายากล ที่เก่ากว่านี้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
มายากล
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ก.ย. 09, 10:22

ขอรบกวนถามว่า คำว่า "มายากล" หรือ "วิทยากล" เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใดครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 พ.ค. 22, 09:18

ความเป็นมาของวิทยากลไทย
ฉบับปรับปรุงแก้ไข เมื่อ พ.ค. 2549
โดย...ชาลี ประจงกิจกุล
 

วิทยากลในโลกเรานี้ก่อกำเนิดมานานนับพันปี มีผู้พบภาพบนผนังถ้ำ เป็นการแสดงกลด้วยถ้วย 3 ใบและยังพบบันทึกเรื่องราวต่าง ๆเกี่ยวกับวิทยากลเป็นจำนวนมากกระจัดกระจายตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สันนิษฐานโดยสรุปว่าวิทยากลน่าจะกำเนิดมา จากชาวกรีก โบราณ ค่อยๆ เผยแผ่ไป ในยุโรป และเอเซีย
ตอนสมัยเด็กผู้เขียนเคยนึกสงสัยและตั้งคำถามตัวเองตลอดว่า วิทยากลเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อใด ได้สอบถามผู้สูงอายุหลายท่านแต่ก็ไม่ได้คำตอบที่แจ่มชัดนัก นอกจากคำบอกเล่าที่ว่า เคยดูกลตั้งแต่เด็กพอจำความได้ เป็นการแสดงกลของชาวอินเดียเสียเป็นส่วนใหญ่ เป็นการแสดงชุดปลูกมะม่วง และแทงคนในตะกร้า ด้วยคำถามที่ยังคั่งคาใจ จึงได้พยายามเสาะหาหนังสือประวัติศาสตร์ไทย พงศาวดาร จดหมายเหตุ และบันทึกต่าง ๆ แต่ด้วยความที่มีความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์กระท่อนกระแท่นเต็มที ทำให้ไม่รู้ทิศทางที่จะเริ่มต้นว่าต้องอ่านเล่มไหน อ่านอะไร อ่านอย่างไร จึงเริ่มต้นไล่ย้อนลำดับจากปัจจุบันไปอดีต ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ ไปกรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัยบันทึกต่าง ๆ ที่อ่านพบมักจะเป็นเรื่องอภินิหาร คาถาอาคม เช่น แทงลิ้น ล่องหนหายตัว ตาทิพย์ หูทิพย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สรุปไม่ได้ว่าเป็นวิทยากลหรือไสยศาสตร์ เพราะในสมัยโบราณการปกครองต่าง ๆ ยังเป็นระบบศักดินา เจ้าขุนมูลนาย ระบบทาสและไพร่ ซึ่งการจะให้บริวารอยู่ในอาณัติ ง่ายต่อการปกครองต้องทำให้คนเหล่านั้นเชื่อถือและเกรงกลัวในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์เป็นเบื้องแรก
แม้ในประวัติศาสตร์ที่เรียนสมัยเด็ก ๆ ยังกล่าวถึงเรื่องราวสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชช่วงที่ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นฑูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสว่า เมื่อเดินทางไปถึงได้ใช้มือเปล่ารูดใบมะขามมาเสกเป่าให้กลายเป็นตัวต่อตัวแตน บินไล่ต่อยชาวฝรั่งเศสจนกระจัดกระเจิง ซึ่งออกจะฟังดูเหนือจริง แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองจึงต้องบันทึกไว้เช่นนั้น

ในหนังสือนิทานเรื่องศรีธนญชัย ฉบับของ พ. ณ บางพลี เขียนไว้ว่ามีแหม่มสาวเดินทางเข้ามาเมืองไทยเปิดการแสดงกล แต่ถูกศรีธนญชัยท้าให้แสดงกลแข่งกัน ว่าใครสามารถปัสสาวะใส่ขวดได้โดยไม่เลอะเทอะ คนนั้นเป็นผู้ชนะ ท้ายสุดแหม่มก็ต้องแพ้กลับไป ส่วนตัวของผู้เขียนเองมีความเชื่อว่าวิทยากลน่าจะเข้ามาในเมืองไทยพร้อม ๆ กับการที่เริ่มทำการค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาเผยแพร่วัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งวิทยากลด้วย ฝรั่งชื่อ นิโกลาส์ แชรแวส เคยบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อ พ.ศ. 2231 ว่า นักแสดงบางคนสามารถแสดงปาฏิหาริย์ให้เกิดดอกไม้ต่างๆ ในกระถางขึ้นได้ แต่ไม่ได้ระบุว่าใครแสดง เป็นชาวอะไร ผู้เขียนเองสันนิฐานว่า คงเป็นชาวอินเดีย แสดงชุดปลูกต้นมะม่วง จากหลักฐานตรงนี้ทำให้เรารู้ว่าเมืองไทยมีการเล่นกลมาไม่น้อยกว่า 300 ปี และที่น่ายินดีคือเราเคยมีสมาคมกล , การประกวดวิทยากล และยังเคยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นนักวิทยากล

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เรื่องนิทราชาคริต ซึ่งทรงนิพนธ์ในช่วงปี พ.ศ.2420 ระบุว่าในเมืองไทยเคยมีสมาคมกลมาก่อน ใช้ชื่อว่า ROYAL MAGICAL SOCIETY แต่เดิมเรียกอ่านกันว่า รอแยล มายิเกมต์ โซไซเอตี หรือ สมาคมนักกลหลวง (ระบุชื่อภาษาไทยตามระเบียบตำนานละคร พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.2465) สมาคมนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2419 ประธานสมาคมคือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช (ต้น สกุลภาณุพันธุ์) ซี่งทรงเป็นพระอนุชาแท้ ๆ ของ ร.5 มีนักวิทยากล หลายท่าน คือ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ (ต้นตระกูลชมพูนุช) พระเจ้าประดิษฐ์วรการ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หม่อมเจ้าประวิช แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ในหนังสือก็ได้บันทึกไว้ว่า ทรงซ้อมเล่นกลแต่จะแสดงด้วยหรือไม่นั้น ไม่มีการบันทึกไว้“เวลาย่ำค่ำเสด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทดสวดมนต์แล้วตรัสกับ
สมเด็จกรมพระฯ ทูลเรื่องภาษีอากรต่างๆ แล้วทูลว่า เจ้าพระยาสุรวงศ์มาพูดด้วยการหาดไทยกับท่านเวลาวันนี้ว่า จะช่วยฉลองพระเดชพระคุณทุกอย่าง ให้ทรงจัดการออฟฟิศเสียให้เรียบร้อยด้วยกรมหาดไทยค้นหนังสือหนังหานั้นยากนัก ถ้าจะจัดการแล้วให้เอาพระนรินทรมาไล่เลียงดูก็ได้ เขาเคยแล้ว
ท่านทรงตอบเวลานี้เพิ่งแรกรับการจะขอรอไว้ก่อน ท่านจึงว่าภายหลังต่อไป (สมเด็จดูค่อยสบายพระทัยมาก) สวดมนต์จบแล้วเสด็จขึ้น ทรงซ้อมเล่นกลจนเวลา ๘ ทุ่ม เลิกเสด็จขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท”

หากจะไล่เรียงเอกสารบันทึกต่าง ๆ เกี่ยวกับสมาคมนักกลหลวง ก็คงต้องไล่ตั้งแต่หนังสือ ลิลิตนิทราชาคริช ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2465 ในบทท้าย มีคำอธิบายไว้เกี่ยวกับงานรื่นเริงประจำปี ว่า

".....บางปีโปรดฯ ให้นัดแต่งพระองค์กันแปลก ๆ ซึ่งหมายถึงแต่งแฟนซี บางปีโปรดฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการสมาคม
รอแยล มายิเกล โซไซเอตี เล่นกลและเล่นละครพูดเป็นการรื่นเริงประจำปี......"

บันทึกใน หนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 1 พระราชนิพนธ์ในรัชการที่ 5 บันทึกถึงงานรื่นเริงปีใหม่ (พ.ศ.2419) ว่า"....หนนี้ (ร.5) แต่งแฟนซีเป็น ปชา (PACAH เจ้าเมืองตุรกี) เจ้านายองค์อื่น ๆ แต่เป็นขุนนางอังกฤษบ้าง รอบินฮูดบ้าง ชายครึ่งหญิงบ้าง ฯลฯ ครั้นเสวยแล้วจับฉลากของต่าง ๆ แล้วเล่นกลแลเซียเตอ (THEATRE) คือเล่นกลและละครปีนี้เล่นเรื่องอาลีบาบา ผู้เล่นกลมี กรมขุนเจริญผลฯ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นต้น พระองค์ทรงทอดพระเนตรการเล่นกลจบแล้ว ทรงตรัสว่าแลกลนี้เล่นสนุกนัก...."

ในหนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 6 มีบันทึกเขียนว่า
"....วันแรม 13 ค่ำ เดือน 4 จ.ศ.1239 สวดมนต์จบแล้ว ร.5 ทรงซ้อมเล่นกล จนถึง 8 ทุ่ม จึงเสด็จขึ้น...."
หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ เล่ม 2 หน้า 130 ของหมอบรัดเลย์ ซึ่งพิมพ์ในสมัยรัชการที่ 4 บันทึกว่า
"ปี พ.ศ.2409 กรมพระราชวังบวรไชยชาญ ทรงกำลังหัดเล่นกลด้วยน้ำยาเคมีต่าง ๆ เป็น
การประหลาด " และท่านยังทรงลงทุนจ้างล่ามมาแปลหนังสือตำราภาษาอังกฤษออกเป็นภาษาไทย แสดงว่าวิทยากลเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่มารวมตัวก่อตั้งเป็นรูปร่างในนามสมาคมนักกลหลวง ในรัชกาลที่ 5 นอกจากนั้นแล้วยังเคยมีการแจกรางวัลให้กับผู้ที่แสดงกลดี ตามที่มีบันทึกไว้ว่า
เสด็จมาที่กลางชลาด้านตะวันตกแห่งพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร ประทับร้อนด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายในเปนอันมาก ที่ชลาหน้าโรงกลทอดพระเนตรเล่นกลของรอยยัลมายิเกมต์ โซไซเอตี แลกลนี้เล่นสนุกนัก แลเล่นอยู่จนเวลา 10 ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเลือกใบโวต สำหรับแจกของรางวัลใครจะเล่นดีแลของดีแลคิดดี อยู่ที่ชลาโรงกลนั้นณ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีชวดยังเปนสัปตศก จุลศักราช 1237 เวลาย่ำรุ่งแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรจากชลาข้างพระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬารด้านตวันตก ทรงทอดพระเนตรพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดไว้ประมาณ 10 นาที ครั้นแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานรางวัลพวกที่เล่นกล คือ ดีโปลมาชั่นที่ 1 เปนแพรสีเหลือง ข้างริมมีดิ้นสีทองสลับกัน มีตัวอักษรพิมพ์ในนั้น กับหีบกาไหล่ทอง 1 กล้องสำหรับดูลคร 1 ได้แก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ (ต้องถือว่าเป็นนัก
วิทยากลชาวไทยท่านแรก ที่ได้รางวัลที่ 1 – ผู้เขียน)ดีโปลมาชั่นที่ 2 เปนแพรสีแดงกับหีบวงเวียนหีบ 1 แก่พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ซึ่งเปนช่างทำเครื่องกลดีโปลมาชั่นที่ 3 เป็นแพรสีขาวกับลูกปืนสำหรับไว้บุหรี่ แก่ พระอมรวิไสยสรเดชเพราะท่านทั้ง 3 นี้ได้มีความชอบในการมายิกเก็มต์ โซไซเอดตี (หลักฐานแต่ละฉบับ สะกดต่างกัน – ผู้เขียน) เปนอันดับกันดังเช่นว่ามาแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแจกสำเนาความในดีโปลมาลงอักษรพิมพ์ในแผ่นกระดาษเหลืองแก่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

ในปี พ.ศ. 2421 มีนักวิทยากลอีกท่านหนึ่งที่น่าสนในคือ หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักวิทยากลและจิตรกรวาดรูป ท่านเคยคิดจะตั้งโรงเล่นกลขึ้น แต่ต่อมาไม่ทราบด้วยเหตุใดเรื่องนี้จึงไม่มีการบันทึกเพิ่มเติม ช่วงนั้นมีการฉายภาพหมู่ของนักกลหลวงหน้าโรงละครแห่งนี้โดยช่างภาพชาวต่างประเทศ ชื่อ เฮนรี ชูเรน ซึ่งเข้ามารับจ้างถ่ายรูปและเปิดเป็นสตูดิโอ ชื่อ H.S.PHOTOGRAPHIC STUDIO BANGKOK SIAM ภาพนี้ปัจจุบันเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม ที่หอสมุดแห่งชาติ รหัส ภอ.001 หวญ.8

เป็นเรื่องแปลกที่เรื่องราวของ สมาคมนักกลหลวง ได้หายไปไม่มีการบันทึกไว้รัชสมัยของ รัชกาลที่ 6 ทั้งๆ ที่พระองค์ (รัชกาลที่ 6) ท่านก็ทรงเป็นผู้ที่ชื่นชมเรืองราวการแสดงอยู่ไม่น้อย เรื่องเกี่ยวกับวิทยากลของไทยที่รวบรวมมานี้ ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าครบถ้วนเพราะยังคงมีเรื่องราวอีกมากที่ยังหาไม่พบ ในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะสืบค้นเรื่องราวของวิทยากลไทย ในยุคช่วงสงครามโลก ที่เข้ามาเผยแผ่ในรูปแบบของ กลกลางแปลง กลขายยา และ ปาหี่

เอกสารอ้างอิง
- เอกสารชมรมสยามเมจิกคลับ ฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 โดย ชาลี ประจงกิจกุล
- ลิลิตนิทราชาคริช ปี พ.ศ. 2465 หน้า 231
- หนังสือบางกอกรีคอร์เดอร์ เล่ม 2 ปี พ.ศ. 2409 หน้า 130
- จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวัน ปี พ.ศ. 2476 และ พ.ศ. 2477 ภาค 1,6,7
- หนังสือข่าวราชการปี พ.ศ. 2418 และ พ.ศ. 2419
- ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2231
- จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป รศ. 116 โดย พระยาศรีสหเทพ
- หนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือน กรกฎาคม 2539
- หนังสือราชสำนักสโมสร โดย อเนก นาวิกมูล
- หนังสือเจ้าชีวิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 โดยพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

https://sites.google.com/site/chobmapagon/Articles/thaimagichistory
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 09:53

นักมายากลของไทย ในปัจจุบัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 09:56

นักมายากลในอดีต  ไฉน แสงทองสุข


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 09:57

โชว์ของคุณไฉน ในอดีต

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 09:59

ฟิลิป หรือ เฉลิมสวรรค์ ไพบูลย์พันธ์

https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_12610
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 มิ.ย. 22, 16:29

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง