เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 21175 วัดเกาะ(พญาเจ่ง)และวัดกู้ทริปของหัวหน้าชมรมฯที่สมาชิกมิได้ไป
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


 เมื่อ 22 ส.ค. 09, 21:29

นอกจากวัดโชติการามแล้ว มีอีก2วัดที่เดิมตั้งใจว่าจะพาสมาชิกชมรมฯไป เมื่อไม่ได้ไปก็ต้องนำข้อมูลมานำเสนอ เพราะ2วัดนี้เกี่ยวเนื่องกัน เกิดจากบรรพบุรุษของชนชาติมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย เข้ามารับราชการสร้างความดีความชอบมาชั่วลูกหลานเป็นที่โปรดของเจ้าแผ่นดินจนสืบเนื่องมาเป็นต้นสกุล "คชเสนี" ท่านผู้นั้นคือพญาเจ่ง(เจ่งแปลว่าช้าง) เรื่องราวและประวัติวัดเกาะพญาเจ่งมีดังนี้
วัดเกาะพญาเจ่ง หรือวัดเกาะบางพูดเดิมนั้น เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน แต่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าประวัติเดิมของวัดนับแต่เริ่มสร้างนั้น สามารถค้นคว้าได้น้อยมาก อาจเป็นเพราะวัดนี้เป็นวัดเล็กๆ อยู่ในชุมชนชาวมอญไม่กี่หลังคาเรือนรอบวัด ชาวมอญนั้นได้นำพุทธศาสนาในรูปแบบของมอญมาด้วย มีวัดมอญประจำหมู่บ้าน และเนื่องจากเป็นผู้พลัดบ้านเมืองมาด้วยกัน จึงมีความรักใคร่เห็นใจกัน มีการติดต่อพึ่งพาอาศัยในหมู่เดียวกัน ความจำเป็นที่จะติดต่อกับคนนอกกลุ่มเกือบจะไม่มี 1

            อีกทั้งอุปสรรคทางด้านภาษาที่ขัดขวางการติดต่อกับคนไทยทั่วไป ทำให้การบูรณปฏิสังขรณ์อาจทำได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร ข้อมูลต่าง ๆ จึงไม่มีการรวบรวมไว้ แต่เมื่อความเจริญเริ่มเข้ามา วัดก็ได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่สามารถลำดับการพัฒนาของวัดได้ดังต่อไปนี้.-

สมัยกรุงธนบุรี

             พ.ศ. ๒๓๑๘ เริ่มสร้างวัดเกาะบางพูดโดยพระยาเจ่ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

            เจ้าพระยามหาโยธา นามเดิมว่า เจ่ง(แปลว่าช้าง) เป็นมอญนอก เดิมทำราชการอยู่กับพม่า ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงแสนอยู่คราวหนึ่ง(มีเชื้อสายสืบกันมาอยู่ในเมืองนครลำปาง) แล้วจึงย้ายไปอยู่เมืองเตริน (อังกฤษเรียกว่าอัตรัน)อันเป็นเมืองข้างตอนใต้ ครั้นเมื่อสมัยกรุงธนบุรี พวกมอญถูกพม่ากดขี่เหลือทนเกิดเป็นกบฏขึ้น พระยาเจ่งเป็นหัวหน้าของพวกกบฏคนหนึ่งรวมกำลังยกขึ้นไปตีเมืองร่างกุ้ง สู้พม่าไม่ได้ก็พากันอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งไทย ในครั้งกรุงธนบุรีจะมีบรรดาศักดิ์อย่างใดไม่ทราบ ถึงรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งเป็นเจ้าพระยามหาโยธา จางวางกองมอญ ต่อมารบพุ่งพม่ามีความชอบ โปรดให้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ บุตรของท่านคือเจ้าพระยามหาโยธา(ทอเรียะ) ท่านเป็นต้นสกุล คชเสนี 2
 
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ ๑

            พ.ศ. ๒๓๓๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

รัชกาลที่ ๒-๔

            เจ้าพระยามหาโยธา(ทอเรียะ) บุตรชายพระยาเจ่ง ทำการสร้างวัดต่อจากบิดา ขณะนั้นเรียกกันว่าวัดเกาะรามัญ เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นชุมชนชาวมอญ และมีคลองบางพูดอยู่โดยรอบวัด

            เจ้าพระยามหาโยธา นามเดิม ทอเรียะ เป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา(เจ่ง) ในรัชกาลที่ ๑ เกิดในเมืองมอญ อพยพเข้ามากับบิดาด้วยกัน จะมาได้เป็นตำแหน่งมีบรรดาศักดิ์อย่างใดก่อนหาทราบไม่ ได้เป็นเจ้าพระยามหาโยธาแทนที่บิดา ในรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ โปรดฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาโยธาและได้เป็นแม่ทัพยกพลไปช่วยอังกฤษตีเมืองพม่าครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ บุตรของท่านคือ พระยาดำรงราชพลขันธ์(จุ้ย) ซึ่งเป็นบิดาเจ้าจอมมารดากลิ่น เจ้าจอมมารดาของกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ รัชกาลที่ ๔ และพระยามหาโยธา(นกแก้ว) พระยาเกียรติ์(ขุนทอง)เป็นต้น

            เจ้าพระยามหาโยธา(ทอเรียะ คชเสนี) ถึงอสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔ 3

            พ.ศ. ๒๓๖๕ - ๒๓๙๕ สมัยพระสุเมธาจารย์(เถ้า) เป็นเจ้าอาวาส

            ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยามหาโยธา(ทอเรียะ คชเสนี) มีศรัทธาสร้างวัดเกาะรามัญขึ้นที่ตำบลบางพูด เมืองนนทบุรีแล้วถวายเป็นพระอารามหลวง จึงขอพระราชทานพระสุเมธาจารย์(เถ้า) จากวัดปากอ่าว(วัดปรมัยยิกาวาส) ไปเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก โดยมีพระปลัดและพระวินัยธรซึ่งเป็นพระฐานานุกรมตามไปอยู่ด้วยตามธรรมเนียม พระสุเมธาจารย์เป็นเปรียญรามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญ และเป็นเจ้าสำนักเรียนชั้นสูงของเมืองนนทบุรีขณะนั้น ท่านถึงแก่มรณภาพราว พ.ศ. ๒๓๙๕ 4

            พ.ศ. ๒๓๙๕ สมัยพระครูอินทมุนี เป็นเจ้าอาวาส วัดเกาะรามัญยังคงเป็นสำนักเรียนปริยัติธรรมรามัญ

สมัยรัชกาลที่ ๕ - ๘

            พ.ศ. ๒๔๒๓ เกิดเหตุการณ์เรือพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ อัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล่มลง ณ ตำบลบางพูด ซึ่งต่อมาได้ทรงโปรดให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่วัดเกาะบางพูด

วันที่ ๔๒๒๐ วันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒(วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓)

            เรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ได้เกิดอุบัติเหตุล่มลง ณ ตำบลบางพูด  สมเด็จพระนางเจ้า, เจ้าฟ้าในพระครรภ์, พระราชธิดา สิ้นพระชนม์พร้อมพระพี่เลี้ยงแก้ว การสิ้นพระชนม์ของพระปิยมเหสีและพระราชธิดาในครั้งนั้น ยังความโทมนัสยิ่งมาสู่พระพุทธเจ้าหลวง พระองค์จึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่วัดเกาะบางพูด ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปก่อด้วยปูน หันพระพักตร์ไปทางทิศทั้งสี่ เข้าใจว่าทรงสร้างอุทิศให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ, เจ้าฟ้าในพระครรภ์, พระเจ้าลูกเธอและพระพี่เลี้ยงแก้ว กล่าวกันว่าพระพุทธเจ้าหลวงได้โปรดให้ฝังเรือพระที่นั่งซึ่งล่มไว้นั้น ไว้ใต้พระเจดีย์องค์นี้ด้วย ส่วนที่ข้างพระเจดีย์นั้น มีข้อความว่า

                                        ลาภยศใดใดไม่พึงปราถน์    นางใดใครปราถน์พี่ไม่ข้อง

                                        นางเดียวนางในหทัยปอง     นางน้องแนบในหทัยเรา

                                                 ตราบขุนคีรีขัน          ขาดสลาย    แลแม่

                                                 รักบ่หายตราบหาย     หกฟ้า

                                                 สุริยจันทรขจาย        จากโลก       ไปฤา

                                                 ไฟแล่นล้างสี่หล้า      ห่อนล้าง       อาลัย 5

            พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๓๔ สมัยพระครูอมราธิบดี(วร) เป็นเจ้าอาวาส

            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานสมณศักดิ์ให้ พระวร นนฺทิโย เป็นพระครูอมราธิบดี ไปอยู่วัดเมืองนนทรามัญ (วัดเกาะรามัญ) ในตำแหน่งเจ้าคณะรอง เมืองนนทบุรีรวม ๓ พรรษา แล้วจึงย้ายไปครองวัดบ่อและวัดปรมัยยิกาวาสตามลำดับ ซึ่งต่อมาท่านคือพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระสุเมธาจารย์ บริหารธรรมขันธ์ รามัญสังฆนาธิบดี ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายรามัญ และเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส 6

            พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๙๐ ช่วงนี้วัดเกาะบางพูดมีเจ้าอาวาสองค์ต่อมาแต่ไม่ทราบประวัติ จนมาถึงสมัยหลวงปู่พลัด, อาจารย์กรี, หลวงตาเหมือน, หลวงตาเกียเป็นเจ้าอาวาสมาตามลำดับ วัดเกาะบางพูดยังคงเป็นวัดเล็ก ๆ ในหมู่บ้านชาวมอญเช่นเดิม ในช่วงนี้ได้เปลี่ยนจากรามัญนิกาย เข้าสังกัดมหานิกายตามพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. ๒๔๘๔

สมัยรัชกาลปัจจุบัน

            พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๒๒ สมัยพระอธิการสงวน เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิ ศาลาการเปรียญ โดยได้รับวัสดุบางส่วนมาจากการที่กรมชลประทาน ปากเกร็ด ได้ทำการยุบวัดหน้าโบสถ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรมชลประทานให้ไปรวมเป็นวัดชลประทานปากเกร็ด

            ราว พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๔๙๙ วัดบางพูดได้ทำการก่อสร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลหลังใหม่ จึงให้นักเรียนได้มาอาศัยเรียนที่ศาลาการเปรียญวัดเกาะบางพูดเป็นการชั่วคราว

            พ.ศ. ๒๕๐๑ เริ่มทำการบูรณะพระอุโบสถ โดยเปลี่ยนหลังคากระเบื้องที่ชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถกันน้ำฝนที่มาทำลายภาพจิตรกรรมฝาผนังได้ ในครั้งนั้นใช้สังกะสีเนื่องจากโครงหลังคาไม่แข็งแรงเท่าที่ควร บริจาคโดยคุณเกษม-ลูกอินทร์ ต่างใจ เป็นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๐๘ ทำการฉาบปูนภายนอกพระอุโบสถ และทำลวดลายที่ซุ้มประตู หน้าต่าง โดยขอบริจาคซุ้มละ ๒,๕๐๐ บาท มีผู้บริจาคครบ
ทุกซุ้ม

            พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๗ หลวงบริณัย, ภรรยาและลูกหลานตระกูลคชเสนี ผู้สืบสกุลมาจากเจ้าพระยามหาโยธา(ทอเรียะ) หรือทองชื่น คชเสนี ได้มาทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และเห็นว่าเป็นวัดที่ต้นตระกูลคชเสนีเป็นผู้สร้างขึ้น จึงขอเปลี่ยนนามใหม่ ซึ่งทางการก็ได้ประกาศเปลี่ยนเป็น
วัดเกาะพญาเจ่ง ตามนามผู้สร้าง เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗

            พ.ศ. ๒๕๑๐ ทำการเทปูนในพระอุโบสถทำเป็นพื้นหินขัด ซึ่งเดิมเป็นพื้นปูน โดยนายสง่า แป้นเพชร เป็นเงิน ๒๘,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๑๕ ทำลวดลายที่ชั้นประตู หน้าต่าง เป็นรูปลอยตัวลายดอกไม้ โดยคุณเกษม-ลูกอินทร์ ต่างใจ

            พ.ศ. ๒๕๑๙ เปลี่ยนหลังคาพระอุโบสถเดิม จากสังกะสีเป็นกระเบื้องพร้อมโครงหลังคา โดยมีคณะกรรมการได้แก่

                        คุณดิเรก ถึงฝั่ง(รองผู้ว่าราชการ จ.นนทบุรี, ตำแหน่งในขณะนั้น)

                        คุณนิพนธ์ บุญภัทโร(นายอำเภอปากเกร็ด, ตำแหน่งในขณะนั้น)

                        คุณสงบ แป้นเพชร ไวยาวัจกร, คุณลมูล ชูศรี ผู้ร่วมดำเนินการ

                        คุณบุญเรียบ อินทิแสง, คุณทวีศักดิ์ เปรื่องการ กรมชลประทาน

                        บริจาคโดยคุณสุรพล-สรญา ชวาลดิษฐ์ เป็นเงิน ๒๓๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๔๘ สมัยพระอธิการสำเริง เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ทำการถมดินที่เพิ่มขึ้นเองจากการตื้นเขินของดินบริเวณโค้งชายแม่น้ำ ขยายออกไปอีก ๒ ไร่เศษ เป็นเงิน ๒๗๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๒๖ บูรณปฏิสังขรณ์พระราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเรือล่ม และจัดทำสวนหย่อมโดยรอบ โดยคุณสุรพล-สรญา ชวาลดิษฐ์ เป็นเงิน ๙๐๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๒๗ บูรณปฏิสังขรณ์หอสวดมนต์-กุฏิพระสงฆ์ ร่วมบริจาคโดยคุณสุรพล-สรญา ชวาลดิษฐ์ เป็นเงิน ๗๒๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๓๐ ทำการสร้างศาลาเรือนไทยริมน้ำที่บริเวณพระราชอนุสาวรีย์ เพื่อถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ โดยคุณ
สุรพล-สรญา ชวาลดิษฐ์ เป็นเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒ กรมศิลปากร ทำการซ่อมแซมภาพจิตรกรรมฝาผนังและตัดความชื้นภายในพระอุโบสถ ด้วยการเจาะฝาผนัง
ฝังแผ่นโลหะไร้สนิมไว้ภายใน เพื่อป้องกันมิให้ความชื้นซึมผ่านขึ้นมาได้

            พ.ศ. ๒๕๓๒ สร้างกำแพงแก้ว, ประตูรอบพระอุโบสถ โดยคุณสุรพล-สรญา ชวาลดิษฐ์ เป็นเงินทั้งสิ้น ๖๕๒,๕๔๔.๕๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๓๓ บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิพระสงฆ์, สร้างห้องน้ำพระสงฆ์, ห้องน้ำสาธารณะ, ทางเดินและศาลาริมน้ำ

            พ.ศ. ๒๕๓๔ - สร้างหอระฆังใหม่ โดยคุณชวลิต-มุกดา เอื้อชูยศ, พ.อ.อ.สินชัย ต่างใจ, คุณอดุลย์ โพธิ์อ่อน, คุณม่วย ศรีดี, คุณวีระศักดิ์ สวัสดี, ร.ต.นิยม ใจซื่อ, บริษัทสักทองไทย และเงินบริจาครวมทั้งสิ้น ๔๕๐,๐๐๐ บาท

                    - สร้างกุฏิเจ้าอาวาสใหม่ โดยคุณป้าถม เพิ่มเทศ, คุณสุรพล-สรญา ชวาลดิษฐ์ เป็นเงิน ๖๕๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๑ ซ่อมแซม ต่อเติมศาลาการเปรียญ, สร้างศาลาอเนกประสงค์, สร้างห้องน้ำสาธารณะ, ถมพื้นที่ชายฝั่งแม่น้ำและทำเขื่อนกั้นดิน, ซ่อมแซมเสาหงส์และตัวพญาหงส์ โดยหลวงตาวงและเงินบริจาครวมทั้งสิ้น ๑,๙๐๐,๐๐๐ บาท

            พ.ศ. ๒๕๔๑ กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๓ ง 
ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๑

            พ.ศ. ๒๕๔๒ ปิดทององค์พระประธาน, พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร, บูรณะฐานชุกชีในพระอุโบสถ, ซ่อมแซมซุ้มประตูทางเข้าวัด พร้อมทั้งร่วมปลูกต้นไม้บริเวณเขื่อนริมแม่น้ำ โดยคุณสุรพล-สรญา ชวาลดิษฐ์, กฐิน-ผ้าป่าสามัคคีและเงินบริจาครวมทั้งสิ้น ๓๘๖,๗๘๕ บาท

สถานที่ตั้งและอาณาเขตวัด

            วัดเกาะพญาเจ่ง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๘ หมู่ ๑ ซอยสุขาประชาสรรค์ ๒ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวง/เขต ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ส.ค. 09, 21:58

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกาะพญาเจ่งนี้น่าจะเขียนขึ่นในต้นรัชกาลที่4 จากรูปแบบและสีสันในการเขียนเป็นแบบรัชกาลที่4ที่ยังยึดคติการเขียนแบบดั้งเดิมก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นแบบนิยมตะวันตก พระอุโบสถหันหน้าสู่แม่น้ำ เรื่องราวที่เขียนก็ยังเป็นคตินิยมคือด้านหน้าพระประธานเขียนภาพมารผจญ หลังพระประธานเขียนภาพเสด็จดาวดึงส์โปรดพุทธมารดาแต่มีที่แปลกออกไปคือ ผนังโดยรอบนั้นเขียนเป็นเรื่องทศชาติชาดกซึค่งทั้วไปมักจะเขียนเสมออยู่ระดับความสูงของหน้าต่างแต่ที่นี่เขียนเลยขึ้นไป โดยแบ่งผนังที่สูงเกนระดับหน้าต่างขึ้นไปเป็น5ส่วนคือส่วนที่หนึ่งเขียนชาดกที่กล่าวชั้นที่2และ3เขียนเป็นเทพชุมนุมชั้นที่4เขียนอดีตพุทธจบด้วยชั้นที่5ซึ่งรวมอยู่กับชั้นที่4เป็นนักสิทธวิทยาธร กล่าวถึงเรื่องชาดกที่เขียนนั้นยังมีที่เป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากวัดอื่นก็คือมีเพิ่มเรื่องสุธนชาดก(พระสุธน-มโนราห์)และเรื่องพระรถ-เมรี(นางสิบสอง)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ส.ค. 09, 22:25

บานประตูด้านหน้าพระประธานทางเข้านั้นมี3คู่คือคู่กลางจะสูงกว่าบานขวา-ซ้าย คติการสร้างประตูอย่างนี้กล่าวกันว่าประตูคู่กลางนั้นจะเป็นทางเข้าเฉพาะพระมหากษัตริย์ก็เห็นจะเป็นจริงดังนั้นส่วนประตูซ้าย-ขวาก็สำหรับข้าราชบริพารและชนชั้นสามัญทั่วไปเท่านั้น ที่ประตูคู่กลางนั้นเขียนเป็นภาพเวี่ยวกางอย่างไทย ท่าทางทะมัดทะแมงสวยงามยิ่งนัก ส่วนคู่ซ้ายขวาเขียนเป็นภาพชาวต่างชาติน่าจะเป็นชาวอังกฤษรวมทั้งบานคู่หลังด้วย คติการเขียนภาพชาวต่างชาตินั้น ผมคิดว่าเนื่องด้วยเมื่อชาวต่างชาติต่างภาษาเข้ามามาในสมัยนั้นมีทั้งมาดีและมาร้าย การเขียนภาพชาวต่างชาติต่างภาษาให้เห็นเป็นรูปร่างนั้นก็เพื่อว่าชาวบ้านร้านช่องเมื่อได้เห็นแล้วจะได้รู้จักว่าหน้าตาคนเล่านี่เป็นเยี่ยงไรโดยเฉพาะการแต่งตัวและผลิจะว่าคนเหล่านี้พระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าศิวิไลส์หากคนในประเทศของท่านเลือกแต่สิ่งดีที่ชาวต่างชาตินำมาแล้วศึกษาเรียนรู้ประเทศของเราจะได้เจริญทัดเทียมอารยประเทศเหล่านั้นบ้างก็เป็นได้


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ส.ค. 09, 22:28

ภาพชาวต่างชาติที่บานประตู


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ส.ค. 09, 22:33

ที่บานหน้าต่างทุกบานเขียนเป็นเทวดายืนแท่นมือขวาถือดอกบัวมือซ้ายถือพระขันธ์เหมือนๆกันทุกบาน ฝีมือทัดเทียมกันสวยงามทีเดียว


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ส.ค. 09, 22:45

เริ่มเรื่องจากผนังด้านขวามือพระประธานเขียนเรื่องสุธนชาดกเป็นเรื่องแรก เสียดายว่าภาพเขียนช่วงที่อยู่บริเวณหน้าต่างนั้นชำรุดเสียกว่าครึ่งแม้จะมีการอนุรักษ์แล้ว แต่ก็ด้วยการอนุรักษ์แบบมักง่ายเช่นเดิมคือแทนที่จะทำการกั้นความชื้นด้วยการฝังโลหไร้สนิมไว้แล้วก็ตามแต่ปูนที่ใช้กับใช้ปูนซิเมนต์ปัจจุบันที่มีความเค็มในการฉาบทำให้ความเค็มจากผนังนั่นแหละทำลายภาพเขียนลงไปทุกวันทุกวัน ฝีมือภาพเขียนระหว่างหน้าต่างนั้นจัดว่าเขียนได้ละเอียดงดงามกว่าส่วนที่สูงขึ้นไปเหนือหน้าต่างมากนัก เมื่อ20กว่าปีก่อนผมเคยเข้าไปถ่ายรูปที่วัดนี้มาก่อน ภาพเขียนยังเหลือมากกว่านี้ ไว้มีโอกาสจะนำเสนอเปรียบเทียบต่อไป


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ส.ค. 09, 22:55

เรื่องสุธนชาดกส่วนที่เหนือหน้าต่างขึ้นไป เนื่องด้วยพระอุโบสถตอนนี้มีเพิ่งมีการพุทธาภิเศกพระไปไม่นานเพราะเจ้าอาวาสท่านเดิมมรณะภาพ ทำให้ช่วงบนของผนังนั้นถ่ายได้ลำบาก เพราะติดแนวสายสิญจ์เต็มไปหมดจะดึงทิ้งก็ไม่ได้ จึงถ่ายได้เท่าที่ความสามารถจะมี ขอทิ้งท้ายไว้เท่านี้ก่อนเพราะง่วง พรุ่งนี้มาต่อ ส่วนใครจะแวะมาชมโพสต์สอบถามก็เรียนเชิญเลยครับ ไม่รู้สมาชิกไปไหนกันหมด เหงานะเนี่ย โม้อยู่คนเดียว


บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 09:09

หัวหน้าชมรมฯอย่างเพิ่งน้อยใจนะคะ หนูยังอยู่ทั้งคน

ตอนนี้กำลังย้ายหอกับบ้านคะ คอมไม่มี เนตก็ไม่มีให้เล่น  ขอเวลาสักครู่นะคะ แล้วจะไปอัพกระทู้ทริปตัวเองคะ

ยังติดตามอยู่นะคะ
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 12:41

ทำไมน้องแพรชอบคิดว่าหัวหน้าจะน้อยใจละจ๊ะ ก็แค่เหงาและไม่มีคนร่วมคิดร่วมคุยต่างหาก เพราะนำเสนออยู่คนเดียวแล้วไม่มีกระแสตอบรับ ก็ไม่ได้ต่อยอดความคิด มันก็เลยไม่สนุก อย่างตอนที่ไปวัดเกาะฯนั้นเจอนักเรียนมาทัศนะศึกษาพอดี วิทยากรก็อธิบายไม่ใคร่จะถูก ก็เลยได้ช่วยเสริมให้ความรู้เค้าไป ทำให้เรามีความสุขอย่างประหลาด อนาคตต้องรับเชิญเป็นวิทยากรซะแล้วมั้งเรา หาตังค์ใช้5555555555555 ภาพต่อไปตอนพระเตมีย์ใบ้


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 12:46

มหาชนก ช่วงล่างลอกเสียเยอะเห็นแต่เฉพาะปราสาทนิดหน่อย เลยนำเสนอช่วงบน


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 12:50

สุวรรณสามชาดก


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 12:57

พอจบตอนสุวรรณสามช่างเขียนกลับเขียนตอนมโหสถชาดกต่อแทนที่จะเป็นเนมีราช พอจบมโหสถถึงจะเขียนเนมีราช


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 13:02

เนมีราชชาดก น่าเสียดายที่ไม่สามารถถ่ายภาพเต็มผนังได้ภาพจึงออกมาเป็นส่วนๆดูไม่เป็นเรื่องราว


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 13:11

ข้ามมาผนังซ้ายมือพระประธานเริ่มจากท้ายผนังด้านหลังเขียนเรื่องพระรถเมรี(นางสิบสอง)เขียนถึง2ช่องผนัง


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 ส.ค. 09, 13:18

ภูริทัตชาดก


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง