Agonath
อสุรผัด

ตอบ: 32
|
สวัสดีครับ ถ้าผมตั้งกระทู้เพื่อที่จะให้เพื่อนๆพี่ๆ โพสของเก่าสะสม ผมว่าพี่ยีน 1966 กะคุณ เน virain ต้องมีเยอะแน่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 ส.ค. 09, 20:53
|
|
พระพุทธรูปประดับอยู่บริเวณซุ้มด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ วัดโบสถ์ สามเสนครับ เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดง องค์ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกหินทรายร่อนหักพัง เป็นอนัตตาจริงๆ ส่วนทิศอื่นไม่ได้ดูครับเพราะมีการกั้นกำแพงต้องเดินย้อนไปไกล ถึงองค์พระสัดส่วนจะไม่ดีมากแต่ก็งดงามครับ ยิ่งเอามาลงก็ยิ่งกลัวครับ เพราะใจคนสมัยนี้คำว่าบาปกรรมใช้ไปก็ไม่มีความหมายให้กลัวเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 23 ส.ค. 09, 20:57
|
|
การเอาภาพมาลงแบบนี้ผมชักไม่วางใจ ทำยังไงถึงเราจะเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาศิลปะไทยได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อโบราณวัตถุสถานต่างๆ น่ากังวลจริงๆเล้ย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 05 ก.ย. 09, 06:49
|
|
งามเหลือเกิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 05 ก.ย. 09, 15:37
|
|
ช่วยดูให้หน่อยว่าของเก่าหรือเปล่าคับ ผมไม่แน่ใจไม่เคยเห็นสิงห์สมัยอยุธยาทำท่านี้ หรือถ้ามีก็แนะนำหน่อยครับ
สวัสดีคุณWandee ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 05 ก.ย. 09, 20:04
|
|
เป็นนรสิงห์ทำขึ้นใหม่แน่นอน ไม่ใช่อยุธยาทั้งลวดลายและรูปทรงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 05 ก.ย. 09, 20:58
|
|
ขอบคุณครับพี่ยีนส์พอดีเห็นอยู่ที่วัดใหม่เทพนิมิตร แปลกใจเลยถ่ายมาถามโดยเฉพาะเลย
หลังจากได้ศึกษางานศิลปะไทยตามที่ต่างๆอย่างจริงจังมาสักพัก ทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าทำไมงานศิลปะถึงตายลงไปทุกวันๆ เนื่องจากได้เห็นสภาพความจริงที่พัวพันกับองค์ประกอบมากมาย ตามวัดวาอารามที่จริงเป็นแหล่งรวบรวมงานศิลปะชั้นเลิศเอาไว้ เพราะเป็นงานที่ศิลปินสร้างด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา และสร้างด้วยวิญญาณให้เป็นงานที่จรรโลงใจ แต่ในปัจจุบันงานศิลปะ ในเชิงพานชย์มีมาก คนไทยเองคงเห็นโน่นเห็นนี่จนเจนตา เมื่อแยกไม่ออกก็ไม่รู้ถึงคุณค่าเสียอย่างนั้น และยิ่งมีสื่ออะไรต่อมิอะไร เข้ามามากๆคนก็พาลไม่ใส่ใจกันไปเลย จะไปโทษใครเขาก็ไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 05 ก.ย. 09, 21:20
|
|
แต่สำหรับชาวต่างชาติที่มีอันจะกินแล้วชื่นชมในงานศิลปะ เมื่อเขาอยากจะได้งานดีๆไว้ชื่นชมสะสม ก็ต้องเล็งเป้ามายังบ้านเมืองอย่างเรา การโจรกรรมศิลปะวัตถุตามวัดวาอารามจึงเกิดขึ้นอย่างเอาเป็นเอาตาย เอาไปขายให้ต่างชาติ ประเทศไทยสูญเสียงสมบัติขิงชาติไปมากต่อมากเหลือเกินแล้ว คนในชาติที่จะศึกษางานศิลปะไทย ก็จะมีมุมมองแคบลงๆเพราะหางานดีๆดูได้ไม่ถนัด การโจรกรรมจากพวกคนเหล่านี้ก็เป็นวิบากกรรมของศิลปะไทยที่สาหัสเหลือเกิน
เมื่อมีการโจรกรรมเกิดขึ้น การไม่ไว้วางใจกันก็เกิดขึ้นตามมาติดๆ ทางวัดก็หาทางป้องกันเพราะไม่ใว้ใจใครให้เข้าไปดูหรือไปถ่ายภาพ กลัวว่าจะเป็นการเข้าไปถ่ายรูปเพื่อนำไปเสนอขาย หรือมาดูเพื่อจะมาขโมย บางอย่างก็ถูกรักษาไว้อย่างดีมากและไม่บอกให้ใครรู้ ก็กลายเป็นสมบัติเก็บอนุชนรุ่นหลังก็ไม่มีโอกาสจะได้ดูได้ศึกษา นานวันเข้าก็ลืมไปหรือไม่ก็เสื่อมสลายไปอย่างนั้นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 05 ก.ย. 09, 21:29
|
|
ตอนนี้กรมศาสนาก็มีหนังสือเวียนไปตามวัดต่างๆ ไม่ให้วัดเปิดโบราณสถานให้บุคคลแปลกหน้าเข้าไปถ่ายภาพ นอกจากจะมีหนังสือรับรองมา ดีที่ผมยังเป็นนักศึกษายังพอมีโอกาสได้ดูได้เห็นบ้าง เว้นแต่บางอย่างที่รักษาไว้ โดยเฉพาะและไม่ให้ใครดู เพราะกลัวจะหายสาบสูญ จะไปโทษกล่าวหาวัดก็ไม่ได้เพราะท่านก็ต้องระวังไว้ เพราะไม่รู้เจตนาจริงๆของคน แต่สำหรับคนที่เจตนาดีทั่วไปๆจะขอเข้าไปชมหรือศึกษางานไทยแบบศิลปินอิสระบ้าง ก็หมดทางดิ้นรนเพราะไม่มีสังกัดรับรองให้
กรมศิลปากร กองโบราณคดีหรืออื่นๆผมก็เชื่อว่าบางครั้งก็ทำดีที่สุดแล้ว ตามแต่การเอื้ออำนวยและสถาณการณ์ ผมก็เห็นใจเหมือนกัน ถึงบางครั้งจะมีข้อโต้แย้งกันบ้างสำหรับผู้ที่มีความรู้อื่นๆ แต่ก็เป็นคนที่ดูแลศิลปะไทยเหมือนกัน
ที่จริงสมบัติของชาติเหล่านี้น่าจะได้รับการจัดการ ให้มีการเปิดให้คนในชาติได้ชื่นชมสมบัติที่ได้ชื่อว่าเป็นของชาติ ได้กว้างๆมากขึ้น หากพูดตรงๆก็คือทำอย่างอารยะประเทศเขา แต่ต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจในการชม การจัดสถานที่ให้ดี การตรวจตรารักษาที่เข้มงวดจริงจัง ก็อาจจะมีทางที่ศิลปะไทยจะได้กลับมาเป็นที่เชิดหน้าชูตาได้อีกครั้ง อย่างที่เคยเป็นมาแล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 10:32
|
|
เอาภาพธรรมาสน์สมัยอยุธยาจากวัดใหม่เทพนิมิตรมาให้ชมครับ อาจารย์ น ณ ปากน้ำกล่วถึงธรรมาสน์หลังนี้ไว้ว่า เป็นธรรมาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งดัดแปลงเป็นลายฟรั่ง หลังคาโค้งแบบฟรั่ง แต่มีย่อมุม มีนาคเบือนทุกย่อมุม ลายบนผนังเป็นลายไทยผสมฟรั่ง เป็นแบบปฏิรูปอย่างหนึ่งของอยุธยาตอนปลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 10:38
|
|
ที่จริงหลังคาทรงคล้าๆยแบบนี้ ผมเห็นในภาพเขียนของวัดช่องนนทรีเหมือนกัน ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องเป็นที่นิยมในสมัยนั้นหรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 10:40
|
|
หลังคามีการย่อมุมปักนาคปักแบบไทย เป็นการผสมผสานที่ลงตัวหรือไม่ก็แล้วแต่มุมมองครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 10:44
|
|
ทวยค้ำเป็นแบบไทย ธรรมาสน์หลังนี้ปรากฏร่อรอยการโจรกรรมเสียจนบอบช้ำเหลือเกินแล้ว แม้แต่ภาพถ่ายจากเมื่อครั้งอาจารย์ น ไปพบก็ไม่ต่างจากนี้เท่าไร ตัวกระจังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร หรือเครื่องประดับที่ชั้นฐานอื่นๆก็ไม่สมามารถจินตนาการได้เลย เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 10:48
|
|
ลายที่ผนังธรรมาสน์เป็นลายไทยผสมฟรั่ง ดูคล้ายๆกับที่บานประตูหอไตรวัดระฆังครับ ธรรมาสน์หลังนี้นับเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่บอกเล่าการปฏิวัติของศิลปะสมัยอยุธยา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 10:53
|
|
กาบประดับโคนเสาก็ไม่เหลือเช่นกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|