virain
|
จากทริปไปวิเศษฯคราวนี้ แม้มีเวลาน้อยแต่ก็ทำให้ผมได้พบเจออะไรดีในเวลาสั้นๆครับ มีคนเคยพูดว่าเมืองเพชรฯคือลมหายใจของอยุธยา แต่ถึงอย่างนั้นศิลปะอยุธยาก็ยังมีอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บางทีก็เป็นส่วนเล็กๆน้อยๆที่กระจัดกระจายอยู่ รู้กันแต่เฉพาะคนในชุมชนนั้นๆ(หรือไม่รู้เลยก็มี) ทำให้นับวันยิ่งค่ิอยๆถูกทำลายหรือเลือนหายไปเรื่อยๆ ทั้งงานจิตรกรรม และ สถาปัตยกรรม
ความตั้งใจแรกที่ผมจะไปวิเศษฯก็คือ การไปนมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก ด้วยความชื่นชมศรัทธามากๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 15:03
|
|
พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีความเป็นมายาวนาน มีเตำนานเล่าว่าสร้างในสมัยสุโขทัย ก็คิดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัยหรืออโยธยาเดิมล่ะครับ เพราะบริเวณแถบนี้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ในระดับภูมิภาคมาตั้งแต่อดีต เป็นเส้นทางน้ำในการล่องเรืองขนส่งสินค้าจากด้านตะวันตกและทางเหนือ เพราะเป็นจุดที่แม่น้ำน้อยไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาในตำบลโผงเผง ทำให้ในฤดูแล้งจะเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาได้ในจุดนี้ (อาจจะเพราะเป็นตะกอนทรายจากแม่น้ำน้อย) จากพระราชพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงยกทัพเสด็จข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลโผงเผง แล้วจึงเสด็จไปนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ก่อนไปทำสงครามกับทัพหงสาวดี
และยังมีตำนานพระพุทธไสยาสน์ที่คนท้องถิ่นเล่ากันมาว่า เมื่อแม่น้ำน้อยกัดเซาะตลิ่งพังทลายเข้ามาใกล้ องค์พระเลยลุกขึ้นเสด็จไปประทับสีหไสยาสน์ให้ห่างลำน้ำ  แต่เรื่องนี้ใช่จะเป็นเรื่องไร้เหตุผลไปซะทีเดียว ในสมัยพระเจ้าท้ายสระแม่นำ้กัดเซาะตลิ่งจนเข้าใกล้องค์พระจะเป็นอันตราย พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงมีพระดำริจะให้สร้างใหม่ แต่พระยาราชสงครามได้ขอจะทำการชลอย้ายองค์พระให้ห่างจากที่เดิม พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระไม่วางพระทัย เพราะกลัวองค์พระจะเสียหายระหว่างขนย้ายเป็นที่อับอาย พระยาราชสงครามจึงขอเดิมพันด้วยชีวิต (ต้องขอบคุณพระยาท่านที่เป็นตัวอย่างในการรักษาโบราณสถานโบราณวัตถุ แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีใครเอาอย่าง) พระยาราชสงครามทำการอย่างยากลำบาก โดยต้องขุดดินทำร่อง ใช้ซุงทำราง ใช้แรงงานทั้งคนทั้งช้าง และสามารถเคลื่อนย้างองค์พระเป็นผลสำเร็จ นับว่าท่านเป็นวิศกรคนเก่งเลยจริงๆ หลังจากนั้นก็สร้างพระวิหารครอบองค์พระแต่แล้วเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศงานไม้แกะสลักหน้าบันพระวิหาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 15:12
|
|
นอกจากองค์พระที่งดงามแล้วพระวิหารก็งามเช่นกัน แม้ในตอนนี้จะมีการสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นปะปน ทำให้พระวิหารไม่สง่างามโดดเด่น แต่ก็นับว่ายังคงรูปแบบงานสถาปัตยกรรมอยุธยาไว้ได้ ตัวพระวิหารทำหลังคาลดสองชั้นหน้าหลัง มีพาไลยื่นออกมาทางด้านหน้า มุงกระเบื้องดินเผาแบบเป็นลอน หลังคาเชิดตามฐานที่แอ่นโค้งมีความเหมาสมกะทัดรัดน่าชืนชมมากๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 15:23
|
|
เป้าหมายต่อมาของแผนการไปเที่ยววิเศษไชยชาญของผมก็คือ การไปชมภาพเขียนที่วัดเขียน รองมาคือวัดหลงสุนทราราม และก็ไปดูพระตำหนักคำหยาด ตามด้วยไปวัดอ้อยเป็นจุดหมายสุดท้ายที่ไม่ใส่ใจนัก
แต่วัดอ้อยนี่แหละเป็นวัดที่ทำให้ผมทึ่งใจมากๆ เพราะจากข้อมูลที่ได้รู้มามีไม่กี่บรรทัด คือมีพระอุโบสถสมัยอยุธยาทรงคล้ายกับวัดราชบูรณะ เคยใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่หล่อด้วยสำริด ประมาณนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 15:30
|
|
หลังจากที่ได้เห็นพระอุโบสถก็เป็นแบบอยุธยาตอนต้นจริงๆครับ ทรงจะคล้ายกับวัดราชบูรณะแค่ไหนนั้นผมไม่ทราบเหมือนกัน ลายแกะสลักไม้บนหน้าบันพระอุโบสถยังไม่ทำให้ผมตื่นเต้นเท่าไหร่ เพราะดูไม่ออกว่าสมัยไหนคิดเองว่าคงเป็นฝีมือช่างท้องถิ่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 15:36
|
|
การเดินทางต้องเข้าทางหลังวัดเพราะหน้าวัดหันเข้าหาแม่น้ำน้อย ผมสังเกตเห็นนใบเสมาที่ทำจากหินทรายสีแดง มีบางใบยังมีลวดลายเหลืออยู่ จากลายบนใบเสมาทำให้ผมเข้าใจว่าวัดนี้เก่าแก่ไปถึงยุดอู่ทองหรือยุคอโยธยาเิดิมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 15:48
|
|
ด้านหน้าพระอุโบสถที่ติดกับแม่น้ำน้อย มีซากเจดีย์สามองค์ผมดูไม่ออกว่ายุดไหน แต่พอหันไปมองลายบนกรอบประตูก็ทำให้แปลกใจ เพราะไม่คิดว่าจะเห็นงานปูนปั้นแบบนี้ครับ ลายที่ขมวดเป็นเส้นกลมๆนั่นไม่เท่าไหร่แต่ตรงช่วงนาคสะดุ้ง ที่เป็นเส้นคดๆอย่างเส้นคดกริช แบบทวยสมัยอยุธยาตอนต้น แม้ฝีมืออาจไม่เท้ากับลายปูนปั้นในอยุธยาแต่ก็ดีใจที่ยังเหลือ งานยุคอยุธยาตอนต้นไว้ให้ศึกษาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 15:56
|
|
หลังจากนั้นผมก็เข้าไปในพระอุโบสถ ก็เจอพระประธานองค์สีดำตั้งอยู่บนฐานชุกชีที่สูงมาก(หล่อสำริด) ฐานชั้นล่างทำใหม่แต่ฐานชั้นบนดูเป็นของเก่าไม่รู้ว่าสูงอย่างนี้ตั้งแต่แรกหรือเปล่า แต่องค์พระน่าจะสมัยอู่ทองประมาณนั้นต้องให้ผู้รู้ดูก่อน องค์พระมีพุทธลักษณะงดงามครับ บนฐานชุกชียังมีพระยืนอีกสององค์ขนาบสองฝั่งและมีพระนั่งอีกน่าจะสามองค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 16:05
|
|
ภาพยในพระอุโบสถไม่มีหน้าต่างแต่มีประตูอยู่ด้านหลังสองบาน ด้านหน้าสามบาน ที่ริมผนังยังพระพุทธรูปวางอยู่ทั้งสองด้าน มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งงดงามเช่นกัน ก่อนหน้าที่ผมไปวัดปราสาทมากพระที่นั่นเล่าให้ฟังว่า ขโมยมากเหลือเกินพองัดเข้า โบสถ์ได้ก็ทุบดูก่อนว่าองค์ไหนเป็นปูน องค์ไหนเป็นสำริด ทองเหลือง ถ้าองค์ไหนเป็นพวกสำริด ทองเหลืองก็ขมโยไปเลย 
น่าหวั่นใจดีแท้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 16:14
|
|
หลังคาพระอุโบสถทำเป็นมุขลดสองชั้นหน้าหลัง มีเสาหารขนาดใหญ่ค้ำมุขที่ยื่นออกมาถึงหกต้น คู่นอกค้ำชายคาปีกนกและก่อเป็นเสาเรียงไปตลอดความยาวพระอุโบสถ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเป็นลอนมีเชิงชายรูปเทพพนมสวยงามครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 16:26
|
|
พระอุโบสถหลังนี้ทำให้มองภาพงานสมัยอยุธยาตอนต้นได้ชัดเจนขึ้นมากครับ แม้พวกเครื่องลำยองช่อฟ้าหางหงส์จะไม่มี คงเพราะผุพังไปและไม่ได้ทำขึ้นแทนที่ ถ้ามีเวลามากๆผมคงเดินจะไปดู ถามว่ามีโบราณวัตถุอย่างอื่นเหลืออยู่อีกไหม ผมสรุปเองว่าวัดอ้อยคงเป็นวัดที่มีมาแต่สมัยอโยธยาเดิมและมาก่อสร้างเพิ่มเติม ในสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งคงเป็นวัดสำคัญสำหรับเมืองวิเศษไชยชาญ เพราะต้องการอาคารที่มีขนาดใหญ่โตทำให้ต้องสร้างเสาจำนวนมาก ผนังก็ไม่เจาะช่องหน้าต่าง เพื่อรับน้ำหนักหลังคาเลยทำให้ภาพรวมดูเทอะทะไปบ้างฐานก็ยังไม่ตกท้องช้าง รวมๆคงคล้ายกับพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดหน้าพระเมรุ
ไม่รู้ว่าในประเทศไทยยังเหลืออาคารลักษณะนี้อยู่อีกหรือเปล่า ถ้ามีก็แนะนำบ้างนะครับ ภาพตรงช่วงกลางของอกเลาบานประตูพระอุโบสถวัดอ้อย เป็นลายไทยโบราณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 16:50
|
|
พระตำหนักคำหยาด เดิมสันนิฐานว่าเป็นที่ประทับของขุนหลวงหาวัดเมื่อคราวมาประทับที่วัดโพธิ์ทอง แต่มีแนวคิดตามมาว่าพระตำหนักอาจสร้างมาไว้อยู่ก่อนแล้ว สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหรือพระองค์ใด พระองค์หนึ่งหลังรัชสมัยพระนารายณ์ลงมา และเมื่อมีการเสด็จผ่านแม่น้ำน้อยขึ้นมาบริเวณนี้ก็คงมีการ ให้บูรณะพระอุโบสถวัดอ้อยด้วย เป็นสมัยอยุธยาตอนปลายไปปะปน สำหรับพระตำหนักคำหยาดเดิมมีคูล้อมทั้งสี่ทิศ แต่ปัจจุบันคูด้านหนึ่งเป็นถนนไปแล้ว ส่วนพระตำหนัก ตั้งอยู่กลางพื้นที่ มีซากอาคารอยู่ด้านข้างคิดว่าคงเป็นหอพระหรือวัดน้อยประมาณนั้น มีร่องรอยการจัดสวนประดับตกแต่ง มีการสร้างแบบใช้เทคนิคตะวันตกมาผสมผสาน ซึ่งปรากฏหลายแห่ง อย่างที่วังในลพบุรีหรือตำหนักในวัดกุฏีดาว เป็นพระตำหนักที่ค่อนข้างสง่างามและสร้างอย่างตั้งใจเป็นที่ประทับ แม้จะเป็นพระนิเวศน์ขนาดเล็กก็ตาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 17:08
|
|
ตัวพระตำหนักที่ชั้นสองจะเห็นการทำฐานให้แอ่นตกท้องช้างชัดเจน ด้านหน้าทำเป็นมุขเด็จยืี่นออกมามีเสาหารขึ้นไปรับ ด้านข้างมีทางขึ้นซ๊ายขวา มุขเด็จนี้คงใช้เป็นที่เทียบพระคชาธาร ด้านหลังก็เป็นมุขยื่นออกไปแต่ก่อผนังออกไปเป็นห้อง คล้ายๆพระวิหารวัดมหาธาตุที่ลพบุรี มีข้อสันนิฐานไว้แล้วว่าคงเป็นห้องพระบนพระตำหนัก ส่วนตัวผมเดาเอาว่าอาคารนี้อาจใช้เป็นท้องพระโรง แล้วมีพระตำหนักประทับเป็นเครื่องไม้สร้างไว้ด้านหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 17:50
|
|
นอกจากละแวกวิเศษไชยชาญจะมีงานสถาปัตยกรรมโบราณไว้ให้ชมแล้ว ยังมีงานจิตกรรมให้เราไปชื่นชมได้หลายที่ แต่เนื่องจากเวลาน้อนผมเลยเลือกไว้สามที่คือวัดปราสาท วัดเขียน และวัดหลวงสุนทราราม วัดแรกคือวัดปราสาท อยู่ที่ตำบลนรสิงห์ ซึ่งมีอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์อยู่ด้วย สำหรับในบริเวณวัดมีพระปรางค์ทรงสูงมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปรูปอยู่ด้านบนทั้งสี่ทิศ ซุ้มทิศตะวันออกมีพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาปางห้ามสมุทร ส่วนอีกสามด้านพระสงฆ์ในวัดเล่าว่า ถูกขโมยปืนขึ้นไปโจรกรรมโดยเอาเชือกผูกพระศอองค์พระแล้วห้อยทิ้งลงมา (กรรม)
ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนอยู่บริเวณผนังด้านหลังพระประธาน เขียนเป็นป่าหิมพานต์ และผนังด้านข้างเหนือช่องหน้าต่างทั้งสองด้านเขียนรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนและพระสาวก และมีลายอดไม้ร่วง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 15 ส.ค. 09, 18:05
|
|
ภาพเขียนในส่วนด้านหลังพระประธานนั้นที่จริงคงเป็นภาพเขาพระสุเมรุ หรือจักรวาล แต่ไม่แน่ใจว่ายังไงภูเขาเห็นแค่ครึ่งเดียวเพราะชนกับฝ้าพอดี เลยเข้าใจว่าเป็นภาพ ป่าหิมพานต์ไป ซึ่งก็จะมีภาพกินรี หงส์ คชสีห์ ฯลฯ บางตัวก็ไม่รู้จักชื่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|