เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9534 ของเก่าแก่ในภูเก็ตที่โดนทำลาย
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 02:59

เก็บได้แต่ผนังหน้าก็ยังดีครับ
คงเหมือนหัวหนุมานเก่ามาจับใส่คนเล่นใหม่
อย่างไรเสียก็ขึ้นเวทีได้ไม่งามเท่าคนเล่นเดิม...

แต่ก็ดีกว่าเอาหัวโขนใหม่มาใช้ล่ะครับ




เป็นปัญหามาร่วมร้อยปีแล้วครับ
ที่สังคมไทยจะต้องมานั่งบ่นเสียดายของเก่าๆกันตลอดเวลา

แต่จะมีใครซักคนมั้ยครับ ที่หาวิธีให้คนมี "บ้านเก่า" เขา "หาเงิน" จากของเก่าๆที่เขามีได้ ?
ถ้ายังไม่มีบ่นไปก็ไม่เกิดผลครับง






ปล. ขโมยภาพบ้านเก่าหลังนึงมาฝากกันครับ
เป็นบ้านโบราณ อายุราวๆ 200 ปีได้ บนเกาะ Cebu ประเทศฟิลิปปินส์
บ้านอยู่เกือบจะใจกลางเมืองเก่าเลยล่ะครับ ถล่มมาหนนึงแล้ว
แต่เขาก็สู้อุตส่าห์บูรณะกลับไปให้อยู่ในสภาพดีได้
และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่..... น่าชื่นชมมากครับ





บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 09:54

บ้านเก่าอีกแห่งในกทม. ครับ

ซ่อมบ้านเก่า เล่าอดีต 'กุฎีจีน'

        บ้านวินเซอร์ บ้านเก่าอายุเกินร้อยยังรอบูรณะ ทั้งที่หลายฝ่ายตั้งใจฟื้นฟู แต่อุปสรรคสำคัญคือปัญหาร่วมกัน
ของสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในเขตเมืองเก่า

จาก กรุงเทพธุรกิจ ๒๓ พ.ย. ๕๒

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20091123/87488/%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99.html


บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 15:09

เท่าที่อ่านๆมาหลายกระทู้ก็ทำให้ได้มุมมองหลากหลายแตกต่างกันไป

ประเด็นที่ว่า ถ้าของเก่าชำรุดทรุดโทรม จะหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีสภาพแบบเดิมได้จากไหน งบประมาณรายจ่ายจะหาจากไหน ในเมื่อของแบบนั้นมันแพงกว่าของปกติหลายคนเลยเลือกหาทางออกโดยการรื้อแล้วปลูกตึก ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาหลักที่สำคัญ เพราะถ้าไม่มีเงินจะเอาเงินที่ไหนมาดูแล ขออ้างถึงประสบการณ์ที่ได้รับรู้เลยว่าการดูแลบ้านโบราณหลังหนึ่งไม่ได้ใช้งบประมาณน้อยๆ ไหนจะค่าบำรุงรักษาเรื่องโครงสร้างที่ทรุดลงทุกๆวัน ค่าดูแลเรื่องปลวก ยิ่งถ้าเป็นบ้านไม้ยิ่งเครียดนัก ค่าทาสี ไม่ทาสีเคลือบเนื้อไม้ไว้ อากาศ ลม ฝน แดดก็ทำลายเนื้อไม้ โดยข้อเสียของบ้านโบราณแต่ละหลังๆ เท่าที่ประสบพบเจอนั้น กล่าวคือ บ้านหลังใหญ่มีเกินไปสำหรับขนาดครอบครัวที่เล็กลง บางคนที่ไม่ชินก็ว่าดูน่ากลัวด้วยซ้ำ ดูแลไม่ทั่วถึงปลวกก็กิน บ้านก็ทรุด ข้างของก็ชำรุด พอชำรุดก็ต้องหาของมาเปลี่ยนให้เหมือนเดิม ซึ่งบางอย่างก็มีราคาสูงหรือหาไมได้เสียด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าเป็นบ้านเก่าในกรุงเทพ ยิ่งถ้าอยู่ทำเลดีๆ ราคาพื้นทีเปล่าๆตรงนั้น ก็สูงลิ่วจนเจ้าของอยากจะรีบขาย เพราะคนรุ่นใหม่บางคนก็มองว่าที่แบบนั้น ปลูกเป็นบ้านเฉยๆก็เปลืองพื้นที่เปล่าๆ ทำเป็นตึก อาคาร ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เป็นเหตุผลหลักที่ทำไมบางคนอยากขายที่ นอกจากเป็นพวกกลุ่มคนที่มีฐานะดีก็โชคดีไปที่สามารถดูแลรักษาเอาไว้ได้ตลอดไป หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยก็ยังพอรับได้

ส่วนประเด็นเรื่องรั้วบ้านที่ลงรูปให้ดู โดยส่วนตัวก็เสียดายเช่นกัน เพราะบ้านกับรั้วแบบนั้นช่างดูสวยงามนัก แต่เจ้าของคงมีเหตุผลถึงยอมตัดใจปลูกตึกด้านหน้า แต่ถึงจะรู้สึกไม่ดี แต่อยากจะให้มองในอีกแง่มุมหนึ่งว่า การที่มีตึกสร้างบังนั้น ไมได้เป็นการบดบังอย่างเดียวแต่เป็นวิธีการคุ้มกันตัวอาคารอย่างหนึ่ง เนื่องจากสภาพในปัจจุบัน รถราวิ่งควักไคว่ สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย แรงสั่นสะเทือนจากรถวิ่งบนถนน แสงแดดที่ส่องตึก ฝนที่สาด ล้วนเป็นการทำลายตัวอาคารเก่าๆอย่างช้าๆแบบไม่ทันรู้ตัว อีกทั้งการมีตึกมาอยู่นั้นอาจจะทำให้เจ้าของพื้นที่มีรายได้มาดูแลตัวอาคารไว้ได้สืบต่อไป สถานการณ์แบบนี้ก็เคยอ่านเจอในนิตยสารเช่นกัน ที่กล่าวถึงบทสัมภาษณ์ของมล.ปนัดดา ดิศกุล ทายาทที่ดูแลวังวรดิศ ท่านก็ได้กระทำการให้มีการปลูกตึกแถวบังวังด้วย เหตุผลเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น ขออนุญาตคัดลอกมาให้อ่านกัน  ความว่า...

"คนชอบพูดกันว่า ทำไมปล่อยให้สร้างตึกแถวปิดวังหมด แต่นั่นกลับเอื้อผลดี ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมของกรมโยธาธิการบอกว่า ถ้าไม่มีอาคารพาณิชย์เหล่านี้ วังจะเก่าและทรุดโทรมเร็วกว่านี้มาก เพราะรถวิ่งทั้งวัน มลภาวะสูงมาก ผู้เช่าล้วนก็อยู่กันมานานจนเหมือนญาติพี่น้อง ค่าเช่าอาคารก็ได้กลับมาเลี้ยงดูวังด้วย"

ที่มาจาก จากหนังสือ Hello ปีที่ 3 ฉบับที่6 วันที่ 20 มีนาคม 2551





บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 10:44

           พูดถึงการสร้างตึกสมัยใหม่ล้อมอาคารบ้าน-วัดเก่า ที่นอกจากจะเป็นการใช้พื้นที่เพื่อสร้างรายได้
ให้กับเจ้าของสถานที่แล้วยังเป็นการป้องกันอาคารนั้นโดยแลกกับทัศนียภาพงามงดที่ถูกบดบัง

             ทำให้นึกถึงกรณีที่เป็นเรื่องดังเมื่อประมาณ ๒๐ ปีก่อน นั่นคือ โครงการรื้อโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย
เพื่อเผยทัศนียภาพของโลหะปราสาท วัดราชนัดดา และเพื่อใช้พื้นที่สร้างลานเมืองสำหรับรับแขกเมือง
ที่เรียกว่า "ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร " ในปัจจุบัน

            ฝ่ายคัดค้านแสดงความเห็นว่าเฉลิมไทยนี้นอกจากมีคุณค่าทางความทรงจำของชาวกรุงหลายต่อหลายรุ่นแล้ว
ตัวอาคารยังมีคุณค่าทางการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของประเทศไทย เป็นตัวอย่างสำคัญของสถาปัตยกรรม
ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีการสร้างอาคารทันสมัยรูปแบบสากลกลมกลืนขนาบตลอดแนวสองข้างถนนราชดำเนิน
โดย"ชุดตึกแถว" นี้มีศาลาเฉลิมไทยและโรงแรมรัตนโกสินทร์เป็นหัว-ท้ายของชุด และการทุบเฉลิมไทยก็คือ"การถูกกุดหัว" นั่นเอง

เฉลิมไทยปิดโรงด้วยโปรแกรมสุดท้ายย้อนคืนกลับวันเก่ากับละครเวทีเรื่อง พันท้ายนรสิงห์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 10:46

         แต่ในที่สุดแล้ว ข้อขัดแย้งก็สรุปลงท้ายที่บทความของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ด้วยข้อเขียนของท่าน
ในนสพ. สยามรัฐ ที่ว่า
           "...โรงหนังเฉลิมไทย อันเป็นโรงมหรสพ และมีสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ซึ่งต่ำทรามกว่าสถาปัตยกรรม
ของวัดราชนัดดาเป็นอย่างยิ่ง..."

           (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จะบอกว่า มรดก -จากยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง- เหล่านี้ไม่มีคุณค่าใดๆ ทั้งสิ้น
เพราะเป็นเพียงเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ไปเดินแถวถนนชองเอลิเซ่ของฝรั่งเศสเพียง 2-3 รอบ แล้วหยิบจับโน่นนี่
มาสร้างในประเทศไทยช่วงที่ตัวเองมีอำนาจ - ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร)

การดำเนินงานรื้อถอนอาคารโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยเริ่มในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ใช้เวลาทั้งสิ้น ๒ เดือน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 10:58

ทัศนียภาพหลังการรื้อถอน

ขอบคุณแหล่งที่มาของเรื่องและภาพประกอบ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 11:00

         สำหรับท่านที่ชื่นชอบย่านเก่าๆ ในอดีต และอาจยังไม่ทราบ ขอแนะนำรายการโทรทัศน์ที่จะพา
ผู้ชมย้อนอดีตไปยังถิ่นฐานย่านเก่า

           พินิจนคร  ออกอากาศทางช่อง thaipbs ทุกคืนวันจันทร์เวลา ๒๑.๑๐ น. ครับ

เมื่อคืนรายการพาไปย่านคลองบางหลวง และหนึ่งในสถานที่ประทับใจจากรายการคือ บ้านพาทยโกศล


บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 11:03

เมื่อก่อนบ้านอยู่ริมถนนราชดำเนิน ติดกับบ้านท่าน พ.ต.แปลก ราชดำเนินสมัยนั้นสวยมาก ร่มรื่นมีต้นมะฮอกกะนีสองฝั่ง นึกขึ้นมาแล้วก็เสียดาย โลหะปราสาทนั้นก็เดินเล่นปีนป่ายขึ้นไปตามประสาเด็กซน สมัยนั้นโลหะปราสาทยังเป็นสิ่งที่ขอประทานโทษถ้าจะใช้คำว่า"สลักหักพัง" มีต้นไม้ขึ้นรกมาก เสียดายบางอย่างเช่นกัน ครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 11:12

         ถ้าคุณมานิตมีเวลาว่าง อยากฟังเรื่องราวเก่าๆ ของถนนราชดำเนิน - ถนนสายรมณีย์
(เรียกตามชื่อซีรี่ส์เรื่องสั้นจบเป็นตอนๆ ของคุณสุวรรณี สุคนธา) ครับ

          เครื่องดนตรีประดับมุกลาย พศ โดยช่างที่ชื่อ "เจ๊กฮุย" ลวดลายเป็นฝีพระหัตถ์การออกแบบของ
กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ที่บ้านพาทยโกศล

ภาพจาก http://x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?p=29596&sid=5ea738483b632ba91477ef43652c6615     


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ธ.ค. 09, 11:26

อยากฟังเช่นกันค่ะ
คุณมานิตตั้งกระทู้ใหม่ไหมคะ  กรุงเทพเมื่อ ๕๐ ปีก่อนมีถนนสายรมณีย์อยู่หลายสายด้วยกันค่ะ   เดี๋ยวนี้ไม่เหลือร่องรอยแล้ว
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 ธ.ค. 09, 13:08

เรียนท่านที่เคารพทั้งสอง 
ข้อมูลเกี่ยวกับถนนราชดำเนินของผมตัดที่ 50 ปีนับแต่ปีนี้ คือ ตั้งแต่เด็ก-27ขวบ เป็นข้อมูลที่ไม่ใช่สิ่งที่สมัยใหม่เรียกว่า clip แต่เป็น snapshots ที่อย่างดีก็แค่ insert เวลามีใครคุยถึงหรือประกอบ power point  เพราะว่าอยู่สมัยเด็ก 3 ขวบ ที่คุณยายเลี้ยงดูยังกะไข่ในหิน ออกไปไหนได้เสียเมื่อไร เพราะฉะนั้น ก็ได้แค่ตอนเย็นยืนบนเก้าอี้รอคุณพ่อกลับ ก็ได้เห็นตัวถนนที่ห่างออกไปสัก 20-30 เมตร บ้านท่านพ.ต.แปลกก็ห่างจากถนนประมาณนี้ เห็นรถยนต์บ้าง ตอนกลางคืนได้ยินเสียง “เฉโป” ปีนเก้าอี้ดูเห็นโคมไฟผ่านไ ป วันหยุดคุณพ่อพาเดินไปวังสราญรมณ์บ้าง ก็ได้ เห็นดอกจำปี จำปา ที่มีเยอะ ดอกลั่นทม ที่มีเยอะมากเต็มไปหมด มีสระน้ำคอนกรีตด้วย ไปสนามหลวงดู”ยุทธกรีฑา”ยิงกันสนั่นหวั่นไหว ที่สนามหลวงเวลากินหมูสะเต๊ะที่เจ๊กหาบมา ก็ต่างคนต่างก็เอาไม้จิ้มไปในหม้อเลยทีเดียว ฮิ ฮิ ครับผม
มานิต
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง