เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 13032 ความรู้และความลับในลำดับพยัญชนะไทย
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
 เมื่อ 22 ก.ค. 09, 11:02

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมพยัญชนะไทยถึงต้องเรียงลำดับอย่างที่เป็นอยู่ ทำไม ภ กับ ถ ถึงได้วางไว้ห่างกันนัก ทั้งๆที่หน้าตาคล้ายๆกัน ยิ่ง ท กับ ฑ ที่น่าจะอยู่ติดกันเหมือน  ช กับ ซ หรือ ค กับ ฅ ฯลฯ ด้วยแล้ว ยิ่งน่าแปลกใจเข้าไปใหญ่

เรื่องนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับคนอย่างผมที่ตั้งแต่จำความได้ไม่เคยท่อง ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก ได้เลยนั้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปิดพจนานุกรมไทย ก็ต้องปวดหัวสิครับ

ความปวดหัวนี้ผมแก้ไขได้ด้วย "ความรู้" เมื่อหลายปีก่อน และก็มองเห็นบางอย่างที่ดูเหมือนจะเป็น "ความลับ" ที่แสดงอัจฉริยภาพของนักปราชญ์ในสมัยโบราณอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียวครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ก.ค. 09, 11:12

เรื่อง "รูป" หน้าตาของอักษรไทย ขอละไว้ในที่นี้ เพราะมีคนพูดถึงในเน็ตมากอยู่แล้ว

แต่จุดเริ่มต้นของลำดับพยัญชนะไทยนั้น มีจุดเริ่มต้นจากพยัญชนะที่ใช้ในภาษาสันสกฤต ส่วนจะผ่านมาตามเส้นทางไหนนั้น ก็ขอละไว้เช่นเดียวกัน ขอเอาลำดับพยํญชนะสันสกฤตมาแสดงไว้ในที่นี้เลยครับ

วรรค ก - ก   ข   ค   ฆ   ง

วรรค จ - จ   ฉ   ช   ฌ   ญ

วรรค ฏ - ฏ   ฐ   ฑ   ฒ   ณ

วรรค ต - ต   ถ   ท   ธ   น

วรรค ป - ป   ผ   พ   ภ   ม

เศษวรรค - ย   ร   ล   ว   ศ   ษ   ส   ห   อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ก.ค. 09, 11:28

ลำดับพยัญชนะภาษาสันสกฤตนั้นมีความมหัศจรรย์อยู่ในตัวเอง เพราะแสดงถึงภูมิปัญญาในเรื่องสัทศาสตร์ของชาวอินเดียโบราณ
ลองอ่านออกเสียงพยัญชนะในแต่ละวรรรคดูนะครับ
วรรค ก - กะ ขะ คะ ฆะ งะ   วรรคนี้เรียกว่า กัณฐยะ ฐานเสียงอยู่ที่คอ
วรรค จ - จะ ฉะ ชะ ฌะ ญะ  วรรคนี้เรียกว่า ตาลวยะ ฐานเสียงอยู่ที่เพดานปาก
วรรค ฏ - ฏะ ฐะ ฑะ ฒะ ณะ วรรคนี้เรียกว่า มูรธันยะ ฐานเสียงอยู่ที่เหงือก(แต่ไทยเราออกเสียงเหมือนวรรค ต)
วรรค ต - ตะ ถะ ทะ ธะ นะ   วรรคนี้เรียกว่า ทันตยะ ฐานเสียงอยู่ที่ฟัน
วรรค ป - ปะ ผะ พะ ภะ มะ   วรรคนี้เรียกว่า โอษฐยะ ฐานเสียงอยู่ที่ริมฝีปาก

นอกจากนี้ พยัญชนะในแต่ละสดมภ์ (ก จ ฏ ต ป, ข ฉ ฐ ถ ผ, ฯลฯ) ยังมีคุณสมบัติทางสัทศาสตร์ที่แตกต่างกัน แต่ขอละที่จะลงรายละเอียดในที่นี้นะครับ เพราะส่วนมากแล้วไทยเราออกเสียงไม่ได้ ดังจะเห็นว่า สดมภ์ที่ ๒,๓,๔ ของไทยนั้นจะออกเสียงเหมือนกันหมด แตกต่างกันตรงที่เป็นเสียงสูงหรือต่ำเท่านั้นเอง

จากลำดับลำดับพยัญชนะในภาษาสันสกฤตที่ยกมาข้างต้น คงสังเกตเห็นกันนะครับว่าเป็นต้นเค้าของลำดับพยัญชนะของไทย และเห็นได้ว่าชาวอินเดียโบราณผู้คิดค้นระบบนี้ขึ้นมา เป็นผู้มีความรู้ทางสัทศาสตร์อย่างน่าทึ่งทีเดียวครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ก.ค. 09, 11:35

เมื่อไทยรับเอาพยัญชนะสันสกฤตเข้ามาใช้ ก็มีการดัดแปลงอะไรอีกหลายประการ ที่เห็นได้ชัดเจนคือการเติมพยัญชนะเข้าไปอีกหลายตัว กลายเป็นดังนี้

วรรค ก -  ก   ขฃ   คฃ   ฆ    ง

วรรค จ -  จ     ฉ   ชซ   ฌ   ญ

วรรค ฏ - ฎฏ    ฐ    ฑ    ฒ   ณ

วรรค ต - ดต    ถ    ท    ธ    น

วรรค ป - บป   ผฝ   พฟ   ภ   ม

เศษวรรค - ย   ร   ล   ว   ศ   ษ   ส   ห   ฬ  อ   ฮ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ก.ค. 09, 11:46

พยัญชนะที่เพิ่มขึ้นมานั้น เชื่อได้ว่าไม่ใช่การเพิ่มอย่างไม่มีที่มาที่ไป ลองพิจารณาดูแต่ละตัวนะครับ
ฃ - น่าจะแทนเสียงที่ไม่ตรงกับ ข แต่เสียงนี้กร่อนหายจากภาษาไทยไปเสียแล้ว
ฅ - สถานการณ์น่าจะไม่ต่างจาก ฃ
ซ - เป็นคู่เสียงต่ำของ ศษส
ด และ ฎ - แทนเสียง ดอ ซึ่งข้อนี้เป็นปริศนาที่ีผมยังไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะความจริงเสียงพยัญชนะ ท นั้น ในภาษาสันสกฤตออกเสียงว่า ดอ อยู่แล้ว
บ - มีปัญหาคล้าย ด และ ฎ เพราะ พยัญชนะ พ ในภาษาสันสกฤตออกเสียงว่า บอ ครับ
ฟ,ฝ - เป็นคู่เสียงสูงต่ำที่ไม่มีในภาษาสันสกฤต
อ - เข้าใจว่าในภาษาสันสกฤต พยัญขนะ อ มีสถานะเป็นสระ
ฮ - เป็นคู่เสียงต่ำของ ห

เห็นได้ว่าผู้ที่สร้างระบบพยัญชนะไทยนั้น ทำอย่างมีแบบแผน แต่แค่นี้ยังถือเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก หากเราจะพิจารณาถึงความลับที่ซ่อนไว้ในแต่ละสดมภ์ของระบบพยัญชนะไทยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ก.ค. 09, 12:03

อัตลักษณ์ที่สำคัญของพยัญชนะไทยที่ไม่พบ(หรือผมไม่เคยเห็น)ในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาพี่น้องกันกับไทยเราคือระบบไตรยางส์หรืออักษรสามหมู่ที่ถึงแม้ว่าจะยุ่งยากในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก แต่ก็ทำให้สามารถลดการกำกับวรรณยุกต์ในคำจำนวนมากได้ ในขณะที่นักเรียนทุกคนต้องท่อง กจฎฏดตบปอ ไก่จิกเด็กตายฯ งูใหญ่นอนฯ กันอุตลุด แต่ความจริงอักษรสามหมู่เกือบทั้งหมดนั้น เรียงให้เห็นอยู่ตรงหน้าเราอยู่แล้วครับ

พิจารณาอักษรกลาง ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ จะเห็นได้ว่า ยกเว้น อ ซึ่งอยู่ในเศษวรรคแล้ว อักษรกลางคือพยัญชนะทุกตัวในสดมภ์ที่ ๑ ของระบบพยัญชนะไทยครับ

สำหรับอักษรสูง เห็นได้ว่าคือพยัญชนะทุกตัวในสดมภ์ที่ ๒ คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ กับ ศ ษ ส ห ที่อยู่ในเศษวรรค

ที่เหลือทั้งหมด (ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าคือพยัญชนะในสดมภ์ที่ ๓, ๔, ๕) เป็นอักษรต่ำ

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน เห็นได้ว่าผู้ "ประดิษฐ์" อักษรไทย ได้วางรากฐานเรื่องอักษรสามหมู่เอาไว้ให้โดยพิจารณามาเป็นอย่างดีแล้ว

และนี่คืออัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยโดยแท้

ขอจบด้วยจิตน้อมคารวะเป็นอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 ก.ค. 09, 00:44

ขอบพระคุณมากครับ สุดยอดจริงๆ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ส.ค. 09, 19:21

เรื่องการวางอักษรเสียงสูงต่ำนี้ ผมมองว่าเป็นการแก้ปัญหา "ไม่มีไม้ตรี ไม้จัตวา" ในระบบการเขียนภาษาไทสุโขทัย ด้วยเช่นกันครับ

เป็นที่ทราบกันว่า ระบบการเขียนภาษาไทสุโขทัย มีวรรณยุกต์แค่ สองตัว คือ ไม้เอก กับ ไม้โท (ซึ่งยังอยู่ในรูป +)

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหานี้ เลยมีการสร้างอักษรที่ตอบสนองเสียงจัตวาขึ้น ตามที่มีคำศัพท์ "ที่มีความหมายรองรับ" (ไม่ใช่แค่ผันตามเสียง โดยคำนั้นๆ ไม่มีความหมาย)

สามัญ        จัตวา           ตัวอย่างศัพท์เสียงจัตวา (เทียบกับวรรคอักษรกลาง)
ค               ข               ขา
ช               ฉ               ฉาน (แตกฉาน)
ท               ถ              ถุม (ท่วม เช่น นํถุม : น้ำท่วม)
พ               ผ              ผา (หน้าผา, ผาเมือง)
ฟ               ฝ              ฝา
ซ               ส              เสือ
ฮ               ห              หา
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 ส.ค. 09, 19:56

ส่วนอักษรวรรคนาสิก กับ เศษวรรค ก็แก้ปัญหาโดยการเพิ่ม อักษรนำ "ห" และ "อ" ครับ

สามัญ            จัตวา                   ตัวอย่างเสียงจัตวา (เทียบกับวิธีผันของวรรคอักษรกลาง)
ง                   หง-                เหงา
ญ                 หญ-                หญิง
น                  หน-                หนักหนา
ม                  หม-                หมา

ย                 หย-                 หยาม, อยาก
ร                  หร-                 หรา
ล                  หล-                หลาย
ว                  หว-                 หวาย

จากนั้น ก็จัดระบบการผันเสียง ของอักษรกลุ่มใหม่ ให้คาบเกี่ยวกับเสียง ตรี ของวรรคอักษรกลาง
อักษรกลาง     กา      ก่า     ก้า     ก๊า     ก๋า
อักษรสูง        คา             ค่า     ค้า
อักษรต่ำ                 ข่า    ข้า             ขา
                 งา              ง่า      ง้า
                         หง่า    หง้า            หงา

ดังนั้น วรรคอักษรสูงจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา "ไม่มีไม้ตรี" ในภาษาไทสุโขไทย
แล้วทำไม ไม่มีไม้ตรี ไม้จัตวา ในภาษาไทสุโขทัย ? นั่นก็เพราะว่า ศัพท์ที่อยู่ในระดับเสียงนี้ ไม่มีใช้ในอักษรกลาง อีกประการหนึ่ง ชุดอักษรที่สุโขทัยดัดแปลงมาจากอักษรขอม ก็มีเพียงพอ
ส่วนถ้าถามต่อว่า แล้วทำไมต้องเอา "ห" นำ เพื่อทำเป็นเสียงจัตวา ? ก็คงตอบได้ว่า "ห" เป็นอักษรที่เป็นเสียงนาสิกที่ชัดเจนที่สุด และเหตุที่ต้องใช้ ห นำ เพราะ "อักษรขอมมีไม่พอ"  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 ส.ค. 09, 20:11

ดังนั้น ถ้าสกัด เอาแต่เสียงที่มีใช้อยู่จริง และทั้งหมดพร้อมที่จะผันด้วยวรรณยุกต์ห้าเสียงของวรรคอักษรกลาง ก็จะมีดังนี้ครับ

     ก - ค - ง
     จ - ช - ย
ด - ต - ท - น
บ - ป - พ - ม
        - ซ - ย
        - ฟ - ร
        - ฮ - ล
             - ว

จะเห็นได้ว่า มีเพียง 21 ตัวเท่านั้น

ตัวอย่างหนุกๆ อิอิ
เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยประเภทที่นิยมที่สุด มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม

เรือนไทพากกลาง เป็นเรือนไทประเพดที้นิยมที้ซุ๋ด มีลักซ๋ะน๋ะเป็นเรือนยกพื๊น ใต้ทุ๋นซู๋ง ซู๋งจากพื๊นดินสะเม๋อสีสะคนยืน รูบซงล๊มซ๋อบ ลั๋งคา ซงซู๋งชายคายื้นยาว เพื้อกันฟ๋นซ๋าด แดดซ๊อง นิยมวางเรือนไปตามสะพาบแวดล๊อมทิดทางลมตามความเม๋าะซ๋ม

อืม ... แปลกๆ ดี  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
siren
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 ก.ย. 09, 11:25

 ยิ้มกว้างๆ ขอบคุณมากครับ ขออนุญาตนำไปฝากเพื่อนๆนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง