เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 33284 เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 21 เม.ย. 10, 15:48

ยังนึกอะไรไม่ออกครับ กลัวนึกออกแล้วจะมีคนตาค้างอีก
ขออนุญาตเข้ามาเป็นกำลังใจให้คอมพ์ของคุณกุรุกุลาพักรักษาตัวให้ดีก่อนดีกว่า



ส่งดอกไม้ร้องเพลงมาฝากคอมพ์ของคุณกุรุกุลาครับ
หวังว่าจะหายป่วยได้ในเร็ววันนะครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 21 เม.ย. 10, 17:37

คอมเจ๊งพร้อมกันสองตัวเลยครับ เอาไปซ่อมมาแล้วตัวนึง แต่ยังต่อเนตไม่ได้  ร้องไห้

ส่วนประเด็นจะพูด ก็ไม่มีแล้ว หมดสิ้นความคิดจินตนาการ ไปไม่เป็นเหมือนกันครับ ต้องขอโทษทุกๆคนด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 21 เม.ย. 10, 21:34

มาหมดมุขอะไรกันครับ สงสัยจะมีเรื่องให้คิดกันมากสินะครับ หุหุ
...ใช่เลยครับพี่กุลักษณะแบบนี้ผมเห็นด้วยเลยครับ เพราะฉะนั้นภาพรวมแบบมองง่ายๆก็คล้ายกับพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ฯ
มีท่านหนึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลนี้เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า บางทีการทำช่องหน้าต่างแบบสีหบัญชรในการเสด็จออกนี้
อาจเป็นแบบแผนอย่างพม่า ซึ่งอาจเป็นความคิดที่พ้องหรือเราได้แบบอย่างมา ประเด็นนี้ผมเองก็เชื่อว่ามีความ
เป็นไปได้อยู่เหมือนกันนะครับ เพราะมีเค้าอยู่เหมือนกันว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร
ซึ่งพระองค์อาจนำรูปแบบมาใช้ด้วยก็ได้ ถึงแม้จะมีการรื้อซ่อมใหม่ในมัยต่อมาก็ตาม แต่อาจคงรูปแบบไว้ ทำให้ส่งต่อ
ไปยังพระที่นั่งที่ลพบุรีด้วยก็ได้

ส่วนการตั้งพระแท่นราชบัลลังก์ (แบบพระที่นังพุดตาน)
ท่าหนึ่งท่านนั้นคิดว่าอาจเริ่มสมัยพระนารายณ์ ?? เพราะรูปแบบเช่นนี้ดูเหมาะที่จะตั้งในปราสาทจตุรมุข แต่สำหรับผมกลับคิดว่า
เราอาจจะใช้พระเท่นแบบพระที่นั่งพุดตานมาก่อนแล้ว แต่รูปแบบอาจเปลี่ยนไปเพราะพระทวาราวดีเองยังมีท่านั่งแบบยุโรป ??
ซึ่งอาจจะดูเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกัน ผมคงต้องศึกษาหลักฐานมากกว่านี้ถึงจะพูดได้เต็มปาก เพราะฉะนั้นประเด็นพวกนี้ไม่อาจจะ
ตัดทิ้งลงไปได้ เพราะถ้าดูภาพการวางตำแหน่งในท้องพระโรงพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ ที่เมืองโบราณทำไว้ ผมว่าองค์ประกอบแบบ
มองหลวมๆก็น่าเชื่ออยู่นะครับ โดยการจัดตำแหน่งของซุ้มพระทวารสำหรับเสด็จออก หรืออาจทำเป็นบุษบกเกริน??สำหรับออก
แบบประทับสีหบัญชร แต่อัฒจรรย์ด้านหน้าเอาไว้ตั้งพระราชบัลลังก์ เพราะเคลื่อนย้ายได้ เพื่อไว้ใช้สำหรับออกว่าราชการ
ในกรณีที่อาจต้องการความสะดวก ?? โดยอาจเปิดช่องทางขึ้นอัฒจรรย์ไว้ด้านหน้าด้ววย ตรงนี้อาจดูแปลกๆไปบ้างแต่ก็อยาก
จะลองฝากไว้แบบคิดเล่นๆดูน่ะครับ ใครมีอะไรดีๆอยากให้ลองแสดงความคิดเห็นบ้างนะครับ

ปล.ที่นอนไม่หลับเพราะอากาศร้อนครับ(บ้านเมืองด้วย) เป็นนักศึกษาอยู่ห้องเช่าเล็กๆไม่มีแอร์   เศร้า    .. T-T ..
ผนังอิฐคายความร้อน พอตอนกลางคืนก็ร้อน ไม่รู้จะทำยังไงเวลานอนก็ถอดจนไม่มีอะไรให้ถอดอยู่แล้ว 555
ผมยังต้องตัดสั้นเลยครับ ถ้าไม่กลัวว่าจะเมื่อยก็จะลงไปนอนบนพื้นปูนเย็นๆแทนแล้วครับ ดึกๆลงไปข้างล่าง
เห็นหมานอนบนพื้นปูนมีลมพัด ...... ต่างชีวิต ต่างจิตใจจริงๆ เหอะๆ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 21 เม.ย. 10, 23:40

น่าสงสารน้องเนจัง คริคริ ทีหลังอย่าอยู่เลยตำหนักตีก มันอบความร้อน ไปปลูกเรือนเก้าห้องฝากระดานหลังเจียด ประดับรดน้ำพื้นแดงอยู่ดีกว่า คงจะเย็นกว่านะ

ฤดูีระด่าวร้อน                      แดนไตร
ลามผ่าวพฤกษ์พรากใบ            หล่นแล้ง
ทรวงพี่ผ่าวเผาไฉน                 นะนาฏ เรียมเอย
ยังยิ่งทินกรแจ้ง                    จวบสิ้นสูญกัลป์


นทีสี่สมุทรม้วย                    หมดสาย
ติมิงคล์มังกรนาคผาย              ผาดส้อน
หยาดเหมพิรุณหาย                เหือดโลก แล้งแม่
แรมราคแสนร้อยร้อน             ฤเถ้า เรียมทน เจ๋ง
บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 22 เม.ย. 10, 08:41

ฝากบอกเจ้าเนว่าให้มาปลุกเรือนใกล้ๆเรือนจันทร์ที่ พี่ กับหญิงแพรอยู่ ใกล้ๆฝ่ายในดีไหมน้องกุ.....หญิงแพรกำลังสนุกอยู่กับการต้อนรับขับสู้กับแขกบ้านแขกเมืองที่ปากน้ำ  อะเพิ่งหาหนังสือเจอ....ดังนี้ จากรากฐานของตัวพระมหาปราสาทกว้าง25 เมตร ยาว 23เมตร มีมุขหน้าด้านทิศตะวันออก และมุขหลังด้านทิศตะวันตก เฉพาะมุขหน้ายาว 31 เมตร มุขหลัง 25.5 เมตร  เฉพาะมุขหลังแบ่งเป็นสองตอน ตอนสีหบัญชรทำเป็นมุขมีผนังและแบ่งเป็นมุขโถงตอนหลังยาว 11เมตร เฉพาะมุขเด็จยาว3.5 เมตร กว้าง 8 เมตร โดยเฉพาะความยาวของพระที่นั่งจากมุขหน้าถึงมุขหลังยาวทั้งหมด>>>>>81 เมตร จากหนังสือพระที่นั้งวิหารสมเด็จ ของอาจารย์เสนอ นิลเดชนะคับ
บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 22 เม.ย. 10, 17:38

เฮ้ออ...เค้าไม่มีอะไรจะเสริมเลยอ่ะ

แต่จะบอกว่า เรือนของเรา หัวกะไดคงเปียกน่าดู อิอิ
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 22 เม.ย. 10, 19:35

ลำพังแค่เรือนฝาปะกนก็หรูแล้วมั้งครับพี่กุ จะให้เอาเรือนเก้าห้องเขียนลายทองคงไม่ไหว
กลัวจะร้อนกว่าเดิม ตกใจ

ขอบคุณพี่ทอมมี่มากครับ แสดงว่าความจำผมเลอะเทอะไปซะแล้ว 555 สงสัยคงเข้าใจผิดเวลาอ่าน
เลยจำผิดๆมาครับ .. หุหุ




บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 22 เม.ย. 10, 21:12

      สวัสดีคับทุกคน เพิ่งจะมีเวลาว่างขอร่วมแจมด้วยน่ะเดี๋ยวจะลืมกันไปเสียก่อน ขอยกพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กล่าวว่า

          " พระที่นั่งทั้งสามงามไสว  ตั้งเรียบระเบียบชั้นหลั่นไป
          อำไพวิจิตรรจนา                มุขโถง มุขเด็จ มุขกระสัน
        เป็นเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา   เพดานในไว้ดวงดารา
        ผนังฝาคาดแก้วดั่งวิมาน        ทั้ตั้งบัลลังก์แก้วทุกองค์
      ทวารลงอัฒจันทร์หน้าฉาน      ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน
       มีโรงคชาธารตระการตา        ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว
     เป็นถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา เป็นที่แขกเฝ้าเข้าวันทา
     ดังเทวานฤมิตรประดิษฐ์ไว้        สืบทรงวงศ์กษัตริย์มาช้านาน
    แต่บุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้   พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน
     มีสระชลาลัยชลธี                 ชื่อที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์
    ที่ประพาสมัจฉาในสระศรี       ทางเสด็จเสร็จสิ้นสาระพันมี
    เป็นที่กษัตริย์สืบมา 

แหมเข้ากับบรรยากาศกระทู้มัยล่ะคับ ขอว่าด้วยท้องพระโรงด้านในด้วยคนน่ะ ที่ว่าด้วยฐานอัฒจันทร์และตั้งพระที่นั่งนั้น จะเป็นไปได้มัยว่า
จะเหมือนกับท้องพระโรงหลังของหมู่พระมหามณเฑียร องค์กลางที่เรียกว่าพระที่นั่งไพศาลทักษิณ(ถ้าจำไม่ผิดน่ะ)มีฐานอัฒจันทร์บันไดขนาบข้างซ้ายขวาหรือ
เหมือนพระทวารเทวราชมเหศวร ตรงกลางตั้งพระทีนั่งพุฒตานแต่ก็อาจจะเป็นพระบัญชรอย่างของน้องเนว่าก็ได้ ส่วนลายข้างในนั้นจะประดับกระจก
หรือเขียนลายอย่างที่ปรากฏในเมรุทิศวัดไชยนั้นก็น่าคิดอยู่นะครับ




บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 00:50

คุณกุรุกุลานี่ใจร้ายจัง พระที่นั่งสุริยามรินทร์ยัง 5 ห้องเองนา
เห็นคุณกุรุกุลาบ่นว่าตัน เลยอยากลองชวนคุยเรื่องพระที่นั่งองค์อื่นๆดูบ้าง
เพราะหลักฐานที่เหลืออยู่ก็ไม่ได้อ่อนด้อยไปกว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
แต่แฟนๆหนังสือของ อ.เสนอ คงจะหาอ่านยากสักหน่อย เพราะเป็นเอกสารเก่า

ที่อ.เสนอ ท่านยกเอาอาคารหลังนี้ขึ้นมาทำ ผมเดาว่าเพราะชื่อติดหู และเหลือฐานอยู่มาก
จะเติมแต่งอะไรก็ไม่ต้องขึ้นรูปใหม่ตั้งแต่ฐานยันยอด (อย่างน้อยก็มีฐานให้เห็นอยู่แล้ว)
แต่ข้อด้อยของอาคารหลังนี้คือรูปทรงออกแนวจะพื้นๆอยู่มากกว่าพระมหาปราสาทหลังอื่นๆ
โดยเฉพาะคู่ที่ผังแทบจะเป็นแฝดกัน คือ พระที่นั่งบรรยงรัตนาสน์มหาปราสาท และพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท
ต่างกันที่องค์หนึ่งอยู่บนเกาะกลางน้ำ อีกองค์อยู่บนบก


ผมลองยกเอาคำอธิบายสัณฐานของพระมหาปราสาททั้งสองหลัง
มาจากหนังสืออยุธยายศยิ่งฟ้าของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ให้อ่านกันเล่นๆไปก่อน
ถ้าหากพึงใจจะบอกกล่าวเล่าถึงกันต่อไปก็จะรับหน้าที่ค้นคว้าหาเอกสารเก่าเล่มอื่นๆ
เป็นต้นว่าบันทึกการขุดค้นพระราชวังเดิมของท่านเจ้าคุณโบราณมาประกอบให้อีกทีนะครับ



พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์มหาปราสาท เป็นยอดมณฑปเดียวมีมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน
มีพระแท่นแว่นฟ้าบุษบกตั้งในมุขโถงทั้งสี่ทิศ มีเกยหน้ามุขโถงมีบันไดนาคราชทั้งสี่เกย
มีกำแพงแก้วล้อมรอบชาลาพระมหาปราสาท
แล้วมีสระล้อมรอบกำแพงแก้วชาลาพระมหาปราสาททั้ง 4 ด้าน สระกว้างด้านละ 6 วา

ในสระระหว่างมุขโถงมุมพระมหาปราสาทด้านเหนือ
มีพระตำหนักปลูกปักเสาลงในสระด้านเหนือหลังหนึ่ง 5 ห้อง
ฝากระดานเขียนลายรดน้ำทองคำเปลว พื้นทารัก มีช่อฟ้า หางหงส์ มุขซ้อนสองชั้น
มีพระบัญชรลูกกรงเหล็ก ระเบียงชานเฉลียงรอบนั้นมีลูกมะหวดกลึงล้อมรอบ
มีสะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระตำหนัก

พระตำหนักนี้เป็นที่มีเทศนาพระมหาชาติคำหลวงทุกปีมิได้ขาด

ในสระระหว่างมุขโถงด้านใต้นั้น ปลูกพระที่นั่งปรายข้าวตอกหลังหนึ่ง
เสาลงในสระหลังคามีช่อฟ้า หางหงส์ มุขซ้อนสองชั้น ฝาไม่มี มีแต่ลูกกรงมะหวดรอบพระเฉลียง
เสารายทารักเขียนทองคำเปลวลายทรงข้าวบิณฑ์ มีภาพพรหมพักตร์ต้นเสา-ปลายเสา

มีสะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระที่งนั่งปรายข้าวตอก

พระที่นั่งปรายข้าวตอกนี้สำหรับเสด็จทรงประทับโปรยข้าวตอกพระราชทานปลาหน้าคน ปลากะโห้ ปลาตะเพียนทอง และปลาต่างๆ

ในท้องสระระหว่างมุมมุขโถงด้านตะวันออกนั้น
ปลูกเป็นพระที่นั่งทอดพระเนตรดาว ฝังเสาลงในท้องสระ ไม่มีหลังคา มีแต่พื้นและลูกกรงมะหวดรอบ
มีสะพานข้ามสระออกมาจากมุมพระมหาปราสาทถึงพระที่นั่งทรงดาว
พระที่นั่งทรงดาวนี้สำหรับทอดพระเนตรดาวและทอดพระเนตรสุริยุปราคากับจันทรุปราคา
ชีพ่อพราหมณ์ทำพิธีถวายน้ำกรด น้ำสังข์ ในวันสุริย-จันทร เมื่อโมกขบริมุทธิ์บนพระที่นั่งทรงดาวทุกคราวไป

ในท้องสระระหว่างมุมมุขโถงด้านตะวันตกนั้น ปลูกเป็นสะพานพระฉนวน
มีหลังคาร่มสะพานข้ามออกมาจากพระมหาปราสาท
เสาสะพานพระฉนวนนั้นมีระยะห่างๆแต่พอเรือน้อยพายลอดได้ใต้สะพาน





สำหรับพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาทนั้นมียอดมณฑป 5 ยอด
มีมุขศร 4 ชั้นเสมอกันทั้ง 4 ด้าน มีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้ง 4 ด้าน
แต่มุขยาวทั้ง 4 ด้านนั้นมีหน้ามุขเป็นจตุรมุข มียอดมณฑปทุกมุขเป็นสี่ยอด
แต่พื้นมุขทั้ง 4 ด้านต่ำเป็นท้องพระโรงทั้ง 4 ด้านสำหรับเสด็จออกว่าราชการตามฤดูทั้ง 3 ฤดู 3 มุข
แต่มุขด้านหลังเป็นมุขฝ่ายใน สำหรับเสด็จออกว่าราชการฝ่ายใน

ฝ่ายพระมหาปราสาทและฝามุขใหญ่เป็นผนังปูนทารัก ประดับกระจกปิดทองคำเปลวเป็นลายทรงข้าวบิณฑ์
ใต้พระบัญชรเป็นรูปสิงห์ทุกช่อง ซุ้มจระนำพระบัญชรเป็นรูปพรหมพักตร์ทุกช่อง
ฐานป้ทม์พระมหาปราสาทเป็นรูปปั้น ชั้นต้นเป็นกุมภัณฑ์ ชั้นสองเป็นครุฑจับนาค
ชั้นสามเป็นรูปเทพนมถวายกร จึงถึงชั้นรูปสิงห์รับพระบัญชร
บานพระบัญชรจำหลักเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดาเป็นคู่กันทุกช่อง
บานพระทวารเป็นรูปนารายณ์สิบปาง บานละปาง
มีทิมคดล้อมรอบพระมหาปราสาทและมีประตูด้านหนึ่ง

พระมหาปราสาทองค์นี้เป็นที่ทรงพิพิกษาตราสินคดีและกิจการพระนครสำคัญ
เป็นที่ประชุมใหญ่ฝ่ายมหามาตยาธิบดี





เอามาเท่านี้ก่อนดีกว่าครับ เดี๋ยวจะอยุธยาแฟนตาซีเกินเหตุ....
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 08:34

คุณติบอไปเปิดกระทู้ใหม่เลยครับ เผื่อใครเขาเข้ามาดูจะได้ไม่สับสน แล้วก็เป็นหมวดหมู่ค้นหาง่ายดีด้วย

พระที่นั่งทรงดาวนี่ฟังดูคล้ายๆเตี๊ยะแชเหลา (หอปลิดดาว) ในเฟิงเฉินเหรินอวี้ห้องสินเลย สงสัยว่าคนแต่งจะอ่านนิยายพงศาวดารจีนมาก อิอิอิ

บานพระทวารเขียนพระนารายณ์สิบปางนี่ เริ่มไม่แน่ใจแล้วจะทำให้เอกสารเล่มนี้กลายเป็นคำให้การชาวกรุงเก่าที่กลับมาเกิดใหม่สมัยรัชกาลที่สี่หรือเปล่า เพราะรัชกาลนี้กำลังฮิตพอดีเลยครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 09:25

พระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท ผมเคยสงสัยเหมือนกันว่ารากฐานอยู่ตรงไหนครับ
เพราะอ่านดูแล้วรูปทรงค่อนข้างแปลก และถ้าทำอย่างนี้จริงก็น่าสนใจอยู่เพราะ
รูปทรงอย่างนี้ไม่มีพระมหาปราสาทองค์ไหนเหมือนเลย ?? อีกอย่างคำให้การเรื่องนี้
ผมจำได้ว่ามีการออกชื่อพระที่นั่ง บางหลังที่เข้าใจว่ารื้อไปแล้วขึ้นมาอีก เลยยังค่อนข้าง
งงๆกับเอกสารอยู่บ้างนะครับ แต่ก็นะครับเอกสารมีอยู่จะทิ้งไปซะก็ไม่ได้ ต้องดูไปก่อน
แล้วมองภาพหลักฐานจริงๆกันอีกที

ขอบคุณคุณติบอที่เอามาลงให้อ่านครับ ตกลงจะให้เป็นแนวแฟนตาซีเลยหรือครับฉบับนี้ ...  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 10:27

ถ้าอย่างนั้นผมขออนุญาตยกไปคุยกันกระทู้ใหม่เลยนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง