เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 33226 เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 23:06

ยังแปลกใจโมเดลของเมืองโบราณ ว่าทำไมพระที่นั่งองค์นี้ถึงใหญ่โตมโหฬารเหลือเกิน มุขยาว ยาวด้านละเก้าห้องสิบห้อง มุขสั้นก็กว้างตั้ง 3 ห้อง (ลองนับช่องหน้าต่างหว่างเสาดูครับ)

รวมกันทั้งองค์มิยาวถึงยี่สิบกว่าห้องหรือ คงจะใหญ่กว่าพระอุโบสถวัดสุทัศน์เสียอีก

ผมคิดว่า ทั้งพระที่นั่งทั้งองค์ยาวเพียง 9 ห้องก็ใหญ่เหลือเกินแล้ว (ขนาดวัดชื่อวัดเก้าห้อง ใหญ่โตโอฬาร ยังนับได้แค่ 7 ห้อง?)

ส่วนยอดหลังคา ใช้ระบบผนังรับน้ำหนักทั้งหมด ไม่มีเสาร่วมในเลย ผนังจึงหนามาก แต่จะว่าเป็นเครื่องไม้รับอิฐก็เป็นไปได้ เมืองไทยนิยมอยู่แล้ว แม้จะทราบดีว่าพังง่ายก็ตาม

บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 23:58

โมเดลของเมืองโบราณ เห็นว่าสร้างตามหนังสือพระที่นั่งวิหารสมเด็จ ของอาจารย์เสนอ นะครับ
และมีบันทึกการสำรวจรังวัดไว้ด้วย ผมจำตัวเลขแน่นอนไม่ได้ ต้องวานพี่ทอมมี่ หรือท่านอื่น
ที่มีหนังสือเล่มดังกล่าวอีกที แต่ที่จำได้ก็คือ กว้างใหญ่กว่าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯมากอยู่เหมือนกัน
และช่วงเสาที่ก่อเป็นเสาเก็จใช้กำหนดห้องนั้นไม่เหลือร่องรอย เรื่องห้องก็คงน่าจะไม่น่าเกินเก้ามั้งครับ??
ถ้าดูจากภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวร พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯซึ่งสร้างตามขนาดจริง ก็นับว่าไม่
ได้ใหญ่โตนัก เพียงแต่ในภาพยนตร์ ตั้งบัลลังก์แบบพระที่นั่งอมรินทร์ฯ คือเลื่อนพระแท่นนพปฏลฯ
ลงมาจากอัฒจรรย์ที่ตั้งบุษบกเกรินไว้ด้านบน แบบนี้ตัวพระแท่นดังกล่าวจะกินพื้นที่ของท้องพระโรงมาก
ซึ่งผมคิดว่าอยุธยาคงไม่ตั้งลักษณะนี้แน่นอน เพราะทำให้ดูแคบเกินไป

สำหรับพระที่นั่งวิหารสมเด็จซึ่งถ้าจำไม่ผิดขนาดของมุขโถงหน้านั้นจะกว้างใหญ่กว่า ของพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯ
เกือบเท่านึง?? ซึ่งก็นับว่าใหญ่พอสมควร ทำให้คิดเอาเองว่าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ฯ ที่มีนามว่ามหาปราสาทแต่
ขนาดเล็กว่านั้น คงเป็นเพราะเป็นพระที่นั่งสำคัญที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกและตั้งภัทรบิฐ
(ไม่รู้ว่าจะใช่ปัญงคกาญจนเนาวรัตน์ไหม)
ส่วนพระที่นั่งวิหารสมเด็จคงใช้ในการประชุมว่าราชการ การเสด็จออกมหาสมาคม หรือพระราชพิธีใหญ่ๆอื่นใด??

สถานที่จริงไปซะนานลืมความรู้สึกไปแล้ว ส่วนเรื่องเครื่องยอดถ้าก่ออิฐโค้งจากผนังให้กลาย
เป็นโดม ผมว่าก็ตั้งเครื่องยอดเป็นปูนได้นะครับ เหมือนพระเมรุทิศ แต่เขาว่าต้องหุ้มดีบุกปิดทองด้วย
ก็อาจเป็นเครื่องยอดไม้ เพราะถ้ายอดเป็นเครื่องปูน ก็ต้องบุแผ่นทองแดงแล้วปิดทอง
หรืออย่างอื่นใดอีกครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 07:42

ก็คงจะเหมือนเครื่องยอดเมรุทิศอย่างที่คุณ virain ว่าไว้ได้ครับ
แต่ผมก็ยังไม่เดาว่าจะเป็นอย่างนั้น
เพราะดูแล้วยอดเมรุทิศวัดไชยวัฒนารามผิดส่วนอยู่มาก
คือ แทบจะไม่เหลือที่ให้ปรางค์แล้ว (จนหลายคนก็ดูแล้วเผลอคิดว่าเป็นเหม)

ในขณะที่จิตรกรรมรูปปราสาทยอดปรางค์สมัยอยุธยา
ต่อให้ผิดส่วนแค่ไหนปรางค์ก็ไม่หายย่นร่นย่อไปจนเหลือแค่ 3 ชั้นอย่างนั้น
น่าจะเพราะเครื่องไม้กับเครื่องอิฐมีรายละเอียดในงานสถาปัตยกรรมต่างกันมากมั้งครับ

โดยส่วนตัวผมเดาว่าอาจจะเป็นไม้ปิดทองประดับกระจก (หรือเปล่า ?) ครับ
บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 12:38

ไปถก หาข้อสัญนิฐานและวิเคาราหะกันที่หน้างานกันไหม..........เป็นไปได้ทั้งหมด เดี่ยวกลับไปเปิดหนังสือก่อนนะเจ้าเน เดี่ยวมาบอก...
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 19:13

เรื่องขนาดของพระที่นั่งวิหารสมเด็จนั้น ถ้าน้องเนลองเปิดกูเกิ้ลเอิร์ธดูก็จะพบว่ามิได้ใหญ่กว่าพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทเลย ตรงกันข้ามจะมีขนาดเท่าๆกันเสียด้วยซ้ำ

เรื่องเสาเก็จแบ่งห้องนั้น แม้จะไม่มีร่องรอยเหลือ แต่มีแกนอิฐรองรับไม้กระดานปูพื้นพระที่นั่งแบ่งเป็นตาราง ไม่ทราบว่าจะใช้แบ่งห้องได้หรือไม่ เพราะแต่ละช่องตารางก็ไม่ได้ใหญ่โตนัก

ในความคิดส่วนตัวนะครับ ผมว่าพระที่นั่งองค์นี้มีมุขหน้า สี่ห้องไม่รวมมุขเด็จ มุขหลังสองห้องและเป็นโถง (แบบโถงที่พาไลมุขวัดพระแก้ว) อีกเสียสองห้อง และห้องโถงกลางขนาดใหญ่รับยอดปราสาทอีกห้อง ลองเปิดดูกูเกิ้ลเอิร์ธ จะเห็นโครงอิฐรับไม้กระดานตีเป็นตารางชัดเจนครับ น่าจะใช้แบ่งห้องได้ หรือหากข้องใจเรื่องความใหญ่โตของพระที่นั่ง กูเกิ้ลเอิร์ธก็มีไม้บรรทัดให้ครับ


เรื่องการตั้งบัลลังก์ แต่เดิม พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ก็มิได้ตั้งอยู่ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยอยู่แล้ว หากจำไม่ผิดจะย้ายจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทมาประดิษฐานไว้ในสมัยรัชกาลที่หก ครับ แต่ที่แน่ๆคือพระที่นั่งพุดตานเคลื่อนย้ายได้ หากอ่านจดหมายเหตุทูตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่สามหรือสี่ ทรงออกรับราชทูตบนพระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมานทั้งสิ้น




บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 19:34

ส่วนการตั้งพระราชบัลลังก์ในกรุงศรีอยุธยาจะเป็นอย่างไรนั้น หากเป็นพระราชพิธีใหญ่อย่างเสด็จออกมหาสมาคมรับราชทูต คงเป็นอย่างในภาพเขียนพระนารายณ์รับทูตฝรั่งเศส คือออกพระบัญชร เห็นเพียงครึ่งพระองค์ ในภาพนั้น มักกล่าวกันทั่วไปว่าเสด็จออกมุขพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท เมืองลพบุรี เพราะซากสถานที่ชวนให้นึกเห็นเช่นนั้น

 แต่แท้จริงแล้วเสด็จออกรับชวาเลียร์ เดอ โชมอง ในกรุงศรีอยุธยาตามบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ด และสถานที่นั้นคงเป็นพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เพราะหากไปชมซากฐานที่เหลือ ก็ยังมีร่องรอยก่ออิฐแบบพระบัญชรเช่นนี้ จึงเชื่อว่าพระที่นั่งราชบัลลังก์แต่ก่อนคงมีลักษณะเป็นบัญชรยื่นออกมาจากผนังมากกว่า

แต่หากเป็นพิธีรองลงมา อาจจะตั้งพระที่นั่งพุดตานอย่างอมรินทร์วินิจฉัยก็เป็นได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด

การที่พระราชบัลลังก์ออกแบบมาเป็นบัญชรเช่นนี้ ผมคิดว่าอาจจะสะท้อนออกมาในลักษณะของธรรมาสน์ (ซึ่งเป็นการจำลองอาคารฐานันดรสูง) พระภิกษุที่ขึ้นเทศน์ก็ขึ้นมาจากด้านหลัง เมื่อมองจากด้านหน้า ก็จะเห็นเพียงครึ่งองค์เช่นกัน 

ส่วนคุณติบอ ผมคงจะเขียนไม่ค่อยเคลียร์ หรือมีปัญหาในการสื่อสาร คือโมเดลนี้ตัดเรือนยอดมาเพียงสามชั้นครับ จริงๆมันต้องมีเจ็ดชั้นเก้าชั้นไปตามเรื่องอยู่แล้ว มิได้มีเพียงเท่านี้
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 19:53

ขอโทษด้วยครับพี่กุ ผมเองก็อ่านหนังสือเล่มนั้นมานานแล้ว ก็เลยพูดไปตามความรู้สึกที่จำได้ไม่ได้ส่องเช็คดู
แต่ก็เป็นอย่างที่พี่กุว่าไว้ครับ ว่าถ้าดูจากภาพถ่ายทางอากาศแล้ว ขนาดของพระที่นั่งทั้งสององค์ก็ดูจะไม่ต่างกัน
แต่ก็ยังคาใจเรื่องขนาดรังวัดอยู่ ยังไงวานพี่ทอมมี่เอาข้อมูลมาไขข้อกังขาเร็วๆนะครับ
ส่วนเรื่องมุขหลัง อาจารย์เสนอท่านก็เสนอไว้สองแบบ คือโมเดลในภาพแรกมุขหลังทำเป็นหลังคาคลุม
เหมือนแบบพระระเบียงสามห้อง แล้วมีเฉลียงแบบพระอุโบสถวัดพระแก้ว แต่โมเดลแบบที่สองเป็นมุขหลัง
ยื่นออกมาหนึ่งห้องแล้วปล่อยพื้นที่ด้านหลังไว้ คาดว่าคงดูตามแบบเสารองรับไม้กระดาน อย่างที่พี่กุบอกไว้
ส่วนมุขหน้าทำเป็นมุขเด็จ ส่วนเรื่องตารางคานกระดานสงสัยอาจารย์เสนอ คงไม่ได้แบ่งห้องตามกระดานมั้งครับ






คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 20:04

โอ้โห ฐานยาวตั้งแปดสิบเมตรเลยหรือเนี่ย พี่เองก็ไม่เคยส่องสักที แปดสิบเมตร แปดสิบเมตร
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 20:33

ที่จริงผมอยากได้แผนที่รังวัดแล้วก็ไปเดินดูเองเหมือนกันนะ ว่าแล้วก็ชวนกันไปดีไหมครับ
เอ้...กบแดงหายไปไหนนะ 555
 ยิงฟันยิ้ม
แต่ตอนนี้อยากไปหลายที่มาก ราชบุรี อู่ทอง นครปฐม จันเสน สรรคบุรี ฟ้าแดดฯ ขอนแก่น โคราช ฯลฯ

ส่วนเรื่องเรือนยอด ที่ทำแบบเรือนธๆตุ?? ซ้อนลดขนาดกันขึ้นไป ผมว่ามันอาจไม่ต้องถึงเก้าก็ได้นะครับ
แต่ก็ไม่แน่ใจนะครับ เพราะเคยลองพยายามทำให้ได้เก้า มันก็ไม่อยู่ในทรงแถมยังดูเกินๆไป ถ้าสักห้าจะกำลังดีแล้วต่อเป็น
ยอดปรางค์ ตัวปรางค์ก็จะไม่ลีบเล็กเกินไปแต่จะใส่พรหมพักตร์หรือไม่คงต้องขอความรู้เพิ่มเติม เพราะจากที่เคยอ่านมาบ้าง
เหมือนจะมีเอกสารที่ทั้งกล่าวถึงพรหมพักตร์และไม่กล่าวถึง ส่วนเรื่องยอดรองอีกสี่ยอด ตามที่พรรณาฯ เขียนไว้เขาบอกว่า
มุขโถงทำยอดแยกออกมาเอง แต่ไม่รู้จะใช้อ้างอิงได้แค่ไหนนะครับ แต่ถ้าเอกสารเขียนไว้อย่างนี้ก็คือหลักฐานนี้
ไปก่อน มีแนวทางใหม่ๆก็ว่ากันอีกที

"...ยอดหุ้มดีบุกปิดทอง เปนปราสาทสำคัญในพระนคร เปนที่บุษยาภิเศกพระมหากษัตรแต่ก่อนมา
มีมุขโถงยาวออกมาจากองค์ ที่มุขโถงนั้นมียอดมณฑปต่างหากจากองค์ปราสาทใหญ่..."

แสดงว่ายอดไม่รวมตัวกันอยู่??บนหลังคาชั้นที่หนึ่ง แต่อยู่บนหลังคาชั้นที่ถัดลงมา อาจะเป็นชั้นที่สองหรือสาม? ไม่ด้อยู่ในตัวของปราสาท(ห้องที่เป็นมณฑป)
แต่ถ้าแยกออกมาก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอีกครับ ว่าจะใช้โครงสร้างยังไง เพราะแค่รับยอดในทรงมณฑปก็คิดยากแล้ว แต่นั่ยอดมาตั้งบนสันหลังคาอกไก่??
พี่กุหรือท่านอื่นๆว่าอย่างไรครับ ผมขอความคิดเห็นต่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 22:50

สำหรับวิมานชั้นซ้อนนั้น จากโมเดลที่ผมลองทำดู ก็ใช้แบบจากปราสาทพระเทพบิดร ซึ่งซ้อนกันเจ็ดชั้น แล้วต่อด้วยยอดปรางค์ที่มีวิมานอีกเจ็ดชั้น ส่วนยอดปรางค์ทำให้หัวมันบวมๆหน่อยกันอากาศกิน


ประตูหลายประตูในพระบรมมหาราชวังก็ใช้ระเบียบนี้ ก็ยังสามารถคุมยอดให้สวยงามได้ครับ มีประตูนึงจำชื่อไม่ได้ ทำห้ายอดจริงๆ มียอดเล็กวางอยู่บนสันหลังคา และมียอดปรางค์น้อยๆ แซมอยู่บนซุ้มรังไก่ ถ้านับดูคงได้หลายยอดอยู่

สำหรับผมคิดว่า การที่บอกว่ามุขโถงมียอดมณฑปแยกออกจากยอดปราสาทใหญ่ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่า ปราสาทหลังนี้ควรจะมีลักษณะคล้ายๆพระเวชยันต์ที่เพชรบุรี คือถ้าบอกว่า มีห้ายอดที่ยอดกลาง และมียอดแยกที่สันหลังคาอีกสี่ยอด ลองเป็นใครถ้าให้นับ ก็ต้องบอกว่ามีเก้ายอด มิใช่่ห้ายอด

ส่วนการที่ยอดอยู่บนสันหลังคาก็มิใช่เรื่องยากเย็น เพราะเราไม่รู้ว่ายอดมันใหญ่แค่ไหน จะประดับพอเป็นพิธีสักกระจุ๋มนึงก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 23:03

ส่วนคุณติบอ ผมคงจะเขียนไม่ค่อยเคลียร์ หรือมีปัญหาในการสื่อสาร คือโมเดลนี้ตัดเรือนยอดมาเพียงสามชั้นครับ จริงๆมันต้องมีเจ็ดชั้นเก้าชั้นไปตามเรื่องอยู่แล้ว มิได้มีเพียงเท่านี้

ผมหมายถึงยอดของเมรุทิศ-เมรุรายที่วัดไชยวัฒนารามครับ
ไม่ได้หมายถึงภาพของคุณกุรุกุลา เข้าใจครับว่าที่คุณวาดมาให้พวกเราดูกันเป็นงาน study
โอกาสที่จะได้ภาพออกมายังไม่ถูกใจคนวาดก็มีได้เสมอๆ
ดีใจครับที่คุณวาดมาให้ชมกัน และแอบชื่นชมมานานแล้วครับในความอุตสาหะของคุณ
ต้องขอโทษคุณกุรุกุลาด้วยนะครับ ที่ทำให้เข้าใจผิด



แสดงว่ายอดไม่รวมตัวกันอยู่??บนหลังคาชั้นที่หนึ่ง แต่อยู่บนหลังคาชั้นที่ถัดลงมา อาจะเป็นชั้นที่สองหรือสาม? ไม่ด้อยู่ในตัวของปราสาท(ห้องที่เป็นมณฑป)
แต่ถ้าแยกออกมาก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอีกครับ ว่าจะใช้โครงสร้างยังไง เพราะแค่รับยอดในทรงมณฑปก็คิดยากแล้ว แต่นั่ยอดมาตั้งบนสันหลังคาอกไก่??
พี่กุหรือท่านอื่นๆว่าอย่างไรครับ ผมขอความคิดเห็นต่อ

ยอดบนสันหลังคาอกไก่เป็นของพื้นๆในศิลปะอยุธยาครับ
ตัวอย่างที่เห็นกันแล้วมักผ่านตาไป คือ พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
เพราะชอบคิดกันว่าเป็นงานก่ออิฐและต่างจากงานไม้ แต่ที่จริงแล้วมีต้นแบบทางความคิดร่วมกันอยู่
เวลาการสร้างก็อยู่ก่อนหน้าพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทไม่นานนักด้วยนะครับ





ส่วนเรื่องจำนวนยอดเห็นด้วยกับคุณกุรุกุลาครับ ว่าอาจจะเป็น 9 ยอดมากกว่า 5 ยอด
แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าจะมีโอกาสเป็น 3 หรือ 7 ยอดได้มั้ย ? คือ 1 หรือ 5 ยอดที่ใจกลาง
และอีก 2 ยอด (?) บนมุขหน้า-หลัง

เพราะเท่าที่ผ่านตามาจากยอดเจดีย์ทรงปราสาท และปราสาทจริงๆ
บางครั้งก็ลงด้วยเลข 7 หรือ 11 ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น 5 และ 9 เสมอไปนี่ครับ





บางทีเรื่องใกล้ๆ ภาษาเข้าใจได้ หลักฐานยังอยู่ทนโท่ให้เห็นตำตาก็ยังเถียงกันได้ตั้งมากตั้งมาย
เรื่องที่ไกลออกไป คลุมเครือ และทำความเข้าใจได้ยากกว่า การใส่จินตนาการเข้าไปก็สนุกดีนะครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 20 เม.ย. 10, 23:46

เข้ามาหาเรื่องเถียงต่อดีกว่า นอนไม่หลับ ... เศร้า

ถ้าเป็นลักษณะของปราสาทเก้ายอดอย่างที่พี่กุว่ามา ก็พอจะดึงพระที่นั่งสรรเพชญ์มาเกี่ยวได้ว่าเป็นแบบนั้น
แต่พระที่นั่งวิหารสมเด็จที่โถงกลาง(ปราสาท-มณฑป) ผมคิดว่าเป็นพระปรางค์ยอดเดี่ยว แล้วถ้าเชื่อว่ามียอด
แยกออกไปที่สันหลังคาอกไก่ ของมุขที่ยื่นไปแต่ละด้าน ทั้งหมดก็น่าจะมีองค์รวมที่ห้ายอดครับ เพราะถ้า
ประดับยอดเล็กไปแล้วเดี่ยวไม่กินกับบราลี  หรือเปล่าครับ??

ส่วนเรื่องโครงไม้ที่ใช้รับยอดบนสันหลังคาอกไก่ ที่แยกออกมาต่างหาก ผมสังเกตว่าตัวมุขโถงด้านหน้าที่แยกออกมานั้น
มีความก้างราวๆสิบเมตรเศษ ซึ่งถ้าไม่มีเสาขึ้นไปรับเครื่องยอดที่ยกออกมาต่างหากนั้น ก็ดูจะลำบากเหมือนกัน ลำพังจะอาศัยผนัง
รับน้ำหนักคงจะไม่ไหว เพราะถ้าดูจากพระอุโบสถของวัดไชยฯซึ่งมีความกว้างราวๆกัน ด้านในยังมีเสาร่วมในรับขื่อเอกด้วย
แต่พระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจจะใช้โครงสร้างแบบตั้งตุ๊กตา หรือแบบพระอุโบสถวัดพระแก้วที่ไม่มีเสาร่วมใน อีกประการคือผนังแต่ละห้อง
คงจะต้องมีหน้าต่างด้วย หากจะอาศัยผนังรับเครื่องบนทั้งหมดคงจะไม่ได้ เพราะฉะนั้นตามความคิดเห็นของผมถ้าจะต้องมียดอแยกออกมา
ในลักษณะนี้แล้วคงจะต้องมีเสาอย่างน้อยหนึ่งคู่นะครับ ??
การตั้งยอดบนอกไก่ที่คุณติบอบอกไว้อาจจะเป็นรูปแบบพื้นๆของชาวอยุธยา ก็ทำให้ย้อนกลับไปนึกถึงเรื่องน้ำรั่ว ที่เคยพูดถึงกันไปตอนต้นๆกระทู้
อีกเรื่องถ้าลองวางดูแล้วบางทีอาจจะดูไม่ลงตัวสำหรับพระที่นั่งก็ได้ครับ เพราะปกติมุขโถงจะยาวออกไปแต่เรื่อนยอดอยู่เถิบออกมา ทำให้ดูไม่จบ
เพราะยอดต้องวางอยู่โดดๆ ไม่เหมือนยอดบนซุ้มจระนำที่ยื่นมาไม่ไกล ดังนั้นถ้าจะแก้อาจต้องลดหลังคาลงอีกชั้นถัดจากเรือนยอดรองเหล่านนี้
นี่เป็นอีกประเด็นที่ชวนให้ขบคิดว่า ช่างไม้สมัยอยุธยานั้นเขาแก้ปัญหาอย่างไร งานช่างหลวงอยุธยามีน้อยเหลือมาให้ดู ไม่แน่ว่าช่างปูนอยุธยาอาจจะ
ไม่เก่งมาก(??) แต่งานไม้อาจจะขั้นเทพไม่แพ้ใครในเอเซียอาคเนย์ เพราะส่วนเล็กส่วนน้อยพวกนี้ เวลาเราคิดงานถ้ามันยังดูขาดดูโหว่มันก็เลยคิดว่าไม่ใช่
สิ่งที่ดีที่สุด ต้องขอโทษด้วยที่แสดงความคิดเห็นยืดเยื้อหน้าเบื่อมากไปครับ แหะๆ

ปล.ขออภัยอีกครั้งเรื่องศัพท์ต่างๆ ที่อาจเรียกผิดเรียกถูกครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 21 เม.ย. 10, 00:02

ลงรูปปราสาทพระเทพบิดรประกอบครับ และขอบคุณคุณโอมด้วยครับที่อุตสาห์หาภาพปราสาทจากวัดไพชยนต์มาฝาก
ผมเองยังไม่เคยไปชมเลย ....



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 21 เม.ย. 10, 00:04

...


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 21 เม.ย. 10, 10:46

ถึงขนาดนอนไม่หลับเลยหรือน้องเน อิอิอิอิ

ในความคิดของผม อย่างไรก็คงจะต้องมียอดปรางค์บริวารบนสันหลังคาซ้อนชั้น ที่ถัดลงมาจากยอดปรางค์ใหญ่ ขณะเดียวกัน สันหลังคานี้ น่าจะกินพื้นที่ไม่เกินยกกระเปาะนอกสุดของห้องประธาน (ที่มีลักษณะเป็นกล่องอิฐย่อมุมขนาดใหญ่)

ถ้าซ้อนชั้นหลังคารับน้ำหนักด้วยโครงอิฐของกล่องห้องประธานแล้ว ก็คงไม่จำเป็นต้องตั้งเสากลางห้อง(มุขโถง) อีก อีกทั้งยังใช้กระเปาะอิฐที่ยื่นออกมานั่นแหละเป็นพระบัญชรตั้งพระราชบัลลังก์ ตำแหน่งยอดปรางค์ด้านนอกก็จะตรงกับที่ประทับพอดี

ที่พูดมาเพิ่งจะคิดเมื่อตะกี๊ครับ ยังไม่ได้ลองทำดูว่าจะคุมทรงออกมาอย่างไร ตอนนี้คอมเจ๊งไปเรียบร้อยแล้ว คงจะต้องรอสักพักนะครับ แต่คิดว่าโมเดลแบบแรกของเมืองโบราณน่าจะเป็นไปได้อย่างที่น้องเนพูดนั่นแหละ

เรื่องน้ำรั่วไม่รั่วนั้น ช่างอยุธยาคงแก้ได้ มิฉะนั้นวัดไชยวัฒนารามคงไม่มีจิตรกรรมฝาผนังหลงเหลือให้เราเห็น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง