เข้ามาหาเรื่องเถียงต่อดีกว่า นอนไม่หลับ ...

ถ้าเป็นลักษณะของปราสาทเก้ายอดอย่างที่พี่กุว่ามา ก็พอจะดึงพระที่นั่งสรรเพชญ์มาเกี่ยวได้ว่าเป็นแบบนั้น
แต่พระที่นั่งวิหารสมเด็จที่โถงกลาง(ปราสาท-มณฑป) ผมคิดว่าเป็นพระปรางค์ยอดเดี่ยว แล้วถ้าเชื่อว่ามียอด
แยกออกไปที่สันหลังคาอกไก่ ของมุขที่ยื่นไปแต่ละด้าน ทั้งหมดก็น่าจะมีองค์รวมที่ห้ายอดครับ เพราะถ้า
ประดับยอดเล็กไปแล้วเดี่ยวไม่กินกับบราลี หรือเปล่าครับ??
ส่วนเรื่องโครงไม้ที่ใช้รับยอดบนสันหลังคาอกไก่ ที่แยกออกมาต่างหาก ผมสังเกตว่าตัวมุขโถงด้านหน้าที่แยกออกมานั้น
มีความก้างราวๆสิบเมตรเศษ ซึ่งถ้าไม่มีเสาขึ้นไปรับเครื่องยอดที่ยกออกมาต่างหากนั้น ก็ดูจะลำบากเหมือนกัน ลำพังจะอาศัยผนัง
รับน้ำหนักคงจะไม่ไหว เพราะถ้าดูจากพระอุโบสถของวัดไชยฯซึ่งมีความกว้างราวๆกัน ด้านในยังมีเสาร่วมในรับขื่อเอกด้วย
แต่พระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจจะใช้โครงสร้างแบบตั้งตุ๊กตา หรือแบบพระอุโบสถวัดพระแก้วที่ไม่มีเสาร่วมใน อีกประการคือผนังแต่ละห้อง
คงจะต้องมีหน้าต่างด้วย หากจะอาศัยผนังรับเครื่องบนทั้งหมดคงจะไม่ได้ เพราะฉะนั้นตามความคิดเห็นของผมถ้าจะต้องมียดอแยกออกมา
ในลักษณะนี้แล้วคงจะต้องมีเสาอย่างน้อยหนึ่งคู่นะครับ ??
การตั้งยอดบนอกไก่ที่คุณติบอบอกไว้อาจจะเป็นรูปแบบพื้นๆของชาวอยุธยา ก็ทำให้ย้อนกลับไปนึกถึงเรื่องน้ำรั่ว ที่เคยพูดถึงกันไปตอนต้นๆกระทู้
อีกเรื่องถ้าลองวางดูแล้วบางทีอาจจะดูไม่ลงตัวสำหรับพระที่นั่งก็ได้ครับ เพราะปกติมุขโถงจะยาวออกไปแต่เรื่อนยอดอยู่เถิบออกมา ทำให้ดูไม่จบ
เพราะยอดต้องวางอยู่โดดๆ ไม่เหมือนยอดบนซุ้มจระนำที่ยื่นมาไม่ไกล ดังนั้นถ้าจะแก้อาจต้องลดหลังคาลงอีกชั้นถัดจากเรือนยอดรองเหล่านนี้
นี่เป็นอีกประเด็นที่ชวนให้ขบคิดว่า ช่างไม้สมัยอยุธยานั้นเขาแก้ปัญหาอย่างไร งานช่างหลวงอยุธยามีน้อยเหลือมาให้ดู ไม่แน่ว่าช่างปูนอยุธยาอาจจะ
ไม่เก่งมาก(??) แต่งานไม้อาจจะขั้นเทพไม่แพ้ใครในเอเซียอาคเนย์ เพราะส่วนเล็กส่วนน้อยพวกนี้ เวลาเราคิดงานถ้ามันยังดูขาดดูโหว่มันก็เลยคิดว่าไม่ใช่
สิ่งที่ดีที่สุด ต้องขอโทษด้วยที่แสดงความคิดเห็นยืดเยื้อหน้าเบื่อมากไปครับ แหะๆ
ปล.ขออภัยอีกครั้งเรื่องศัพท์ต่างๆ ที่อาจเรียกผิดเรียกถูกครับ