เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 33282 เรือนยอดพระที่นั่งวิหารสมเด็จ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 30 พ.ย. 09, 14:11

อ่านแล้วผมขอร่วมเดาบ้างได้ไหมครับแม้เดาบ้างได้ไหมครับ ผมว่ายอดปรางค์ของพระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจคล้ายของวัดเชิงท่า ไม่น่าจะเป็นแบบเมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม หรือพุทธปรางค์ปราสาทที่กรมพระราชวังบวรท่านสร้างไว้
ประการแรกที่ผมที่เดาว่าไม่น่าจะคล้ายกับเมรุทิศวัดไชยวัฒนาราม เพราะเชื่อตามอาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ท่านสันนิษฐานว่าเมรุรายยองวัดชัยวัฒนารามอาจสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ เมื่อพระที่นั่งองค์วิหารสมเด็จสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงของเครื่องยอดน่าจะเก่าเมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม
ปราการสองที่เดาว่าไม่น่าจะคล้ายกับพุทธปรางค์ปราสาท เนื่องจากพุทธปรางค์ปราสาทสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ แม้จะเลียนแบบจากอยุธยา ก็เป็นอยุธยาตอนปลาย ไม่ใช่แบบสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรวดทรางปรางค์ต่างกันมาก เพราะสมัยของพระเจ้าปราสาททองทรวดทรางยังหนาหนักอยู่เลย เข้าช่วงราชวงศ์บ้านพลูหลวงแล้วโดยเฉพาะสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐยิ่งเรียวเพรียว (แม้ไม่เท่ารัตนโกสินทร์ก็ตาม)
ตัวพระที่นั่งวิหารสมเด็จสร้างก่อนเวลาดังกล่าวจึงลักษณะไม่น่าจะเหมือนกัน
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เมื่อพระที่นั่งดังกล่าวเก่าเมรุรายวัดไชยวัฒนาราม และพุทธปรางค์ปราสาท ผมจึงเดาว่าคงเป็นแบบปรางค์ยุคอยุธยาตอนต้นๆหรือกลางๆที่ทรวดทรงออกจะหนาหนัก
มองไปมองมาเห็นว่าวัดเชิงท่านี้แลที่ดูเข้าทีที่สุด
แต่ปัญหาคือวัดเชิงท่าสร้างในสมัยใด...นั้นก็เป็นอีกคำถาม
ดังนั้นผมจึงเดา - ขอแค่เดาไว้ก่อน - ว่าคล้ายของวัดเชิงท่า
 ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะครับ
(ปล. มีใครไปถ่ายรูปจิตรกรรมวัดแบบพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้างไหมครับ อยากขอแบ่งปันบ้าง)
บันทึกการเข้า
pansa
อสุรผัด
*
ตอบ: 27



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 04 ธ.ค. 09, 22:12

สำหรับผมคิดว่าไม่ใช่แบบวัดเชิงท่า เพราะเดิมที่วัดเชิงท่าเป็นปรางค์มาเพิ่มเติมวิหารในภายหลัง(เคยได้ยิน รึอ่านมาจำไม่ได้ถ้าผิดพลากก็ขอโทษที)

อีกอย่างคือ ตัวโถงกลางที่อยู่รองรับปรางค์คงต้องตันเพื่อรองรับน้ำหนักปรางค์ขนาดใหญ่เช่นนั้นได้ ลำพังแค่ใช้โครงสร้างกำแพงผนังทำคานรับไม่มีทางรับน้ำหนักได้  

ภาพที่ไกล้เคียงว่าถ้าเป็นแบบพรหมปรางค์แบบวัดเชิงท่าก็คงต้องไปดูปราสาทบายน ของเขมร ไม่ก็ซุ้มประตูในวัดพระแก้ว ด้านข้างพระที่นั่งอัมรินทร์

รูปร่างจะน่าออกมาแบบนั้น แล้ววิหารสมเด็จเครื่องยอดอาจจะสร้างด้วยไม้แทนเครื่องปูนรึเปล่า แค่ความเห็นต่างส่วนตัว ไม่ว่ากันนะครับ



บันทึกการเข้า
ajjuve
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 06 ธ.ค. 09, 19:43

แวะมาเก็บความรู้ กับภาพที่สวยงาม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 ธ.ค. 09, 01:16

ผมคิดว่าเป็นเครื่องไม้ครับคุณpansa ตามแบบที่อาจารย์เสนอสันนิษฐานไว้
แต่ก็เคยเดาว่าถึงไม่มีเสาปูนขึ้นไปรับเครื่องบน อาจใช้เสาไม้จะเป็นไปได้หรือเปล่า
ไม่รู้ว่าที่ซากฐาน จะพอมีร่องรอยของเสาไม้สักสี่ต้นที่โถงกลางไหม ถ้ามีก็คงจะลงตัว
เรื่องการรับน้ำหนักของเครื่องยอดพระที่นั่ง แต่สำหรับเรื่องทรงของพระปรางค์นั้นผมเอง
ก็ยังสงสัยและติดขัดอยู่หลายๆเรื่องครับ ต้องขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณ han_bing
ด้วยครับ

สวัสดีคุณ ajjuve ครับ






บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 09 ธ.ค. 09, 09:16

หวัดดีทุกคนค้าบบบบ เรื่องเรือนยอดนี้มันสนุกในการแลกความรู้จริงๆๆ คราวที่แล้วทอมมีได้เสนอไปว่าน่าจะเป็นเมรุรายที่วัดไชย แต่งานพระเจ้าปราสาททองจะเป็นรูปเพรียวเช่นนั้นหรือไม่น่าาา หรืออาจจะเป็นแบบยอดปรางค์ของปราสาทนครหลวง แต่ทำด้วยเครื่องไม้ ใกล้ๆๆรูปแบบประตูยอดพรหมพักตร์ในพระบรมมหาราชวัง ทางเข้าพระราชฐานชั้นใน ด้านพระที่นั่งบรมพิมานนั้นไง ใครมีความรู้อะไรแลกมาเลย เออ น้องเนเรื่องเคยได้ยินจิตรกรรมวัดยม ใกล้ๆสถานีรถไฟ ที่อยุธยาไหม มีบันทึกไว้ว่า มีการเขียนรุปแบบประตูในวังหลวงของอยุธยา บางทีอาจจะมีการบันทึกรูปแบบของมหาปราสาทต่างๆๆๆ แต่ยังไม่ได้เช็คอัพเดตนะว่าอยู่ หาย ทลาย ไม่ให้เข้า หรือป่าวววววววววว
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 09 ธ.ค. 09, 23:26

ยิ่งคิดยิ่งคิดไม่ออกนะครับ ถ้าอย่างนั้นก็ดูทรงปรางค์ของพระปรางค์ประธานวัดไชยฯไปเลยไม่ได้หรือครับ
เรื่องวัดยมเข้าใจว่าไม่เหลือแล้วไม่ใช่หรือครับ นอกจากที่คัดลอกไว้ในสมุดข่อยหรือยังไง??
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 10 ธ.ค. 09, 19:42

ว่าไปคุณ virian พูดมาก็มีเค้านะ เพราะพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเก่ายังมีเคยมีเสารับน้ำหนักตั้งในองค์พระที่นั่งเลย พึ่งมาตัดออกเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง พระที่นั่งวิหารสมเด็จอาจมีก็ได้นะ ใครจะรู้
ส่วนเครื่องหลังคาผมเดาว่าน่าจะเป็นเครื่องไม้นะครับ เพราะถ้าสร้างใหญ่ขนาดนั้นหากเป็นปูนไม่น่าจะทานน้ำหนักไหว
อันนี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะครับ
บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 10 มี.ค. 10, 23:20

งืมๆๆ... ยิงฟันยิ้ม  น่าสนใจคับค้นคว้ากันต่อไป  แม้ยากจะหาโครงเคร้ามิอาจเดาแน่ชัด  แต่ความสงสัยในพระที่นั่งวิหารสมเด็จนั้นย่อมจะกระจ่างในวันข้างหน้า 

"...คุณ virain เขียนแบบสวยนะคับ เส้นชัดมองแล้วเข้าใจ สวยๆๆๆ..."
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 11:16

ผมยังต้องขอคำแนะนำอีกเยอะครับ  ; ยิ้ม

เรื่องพระที่นี่งวิหารสมเด็จนั้นก็ยังไม่ได้คำตอบกันต่อไป ผมเองยังต้องไปหาดูงานเครื่องไม้อยุธยาให้มากขึ้นกว่านี้
บางทีอาจต้องลงแรงกลับไปดูชิ้นงานเดิมๆ เผื่อจะเจอจุดอื่นๆที่ผ่านเลยไป ส่วนแนวร่วมของผมตอนนี้กำลังพาไป
จินตนาการพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์แล้วครับ รออีกสักยี่สิบปีคงได้เห็นทั้งวัง หากรอดไม่เจอวิกฤตการณ์...ไปก่อนนะครับ
55555
บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 13:13

แนวร่าวมแก เนี่ย พี่ใช่ไหมเจ้าเน............ตอนนี้เดินไปส่วนพระราชฐานชั้นนอกละ  ตรงๆๆ พระที่นั่งจักรววรรดิ์ไพชยยนตร์!!!  ขอลงสีก่อนนะ ใครมีตัวอย่างการปูกระเบื้องกาบูร หรือรูปถ่าย อนุเคารหะ์ผมที.....อยากดูรูปแบบจะได้ใส่ในเครื่องบนของพระที่นั่งต่างๆ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 23:57

ก็จะใครล่ะครับ 5555 ภาพตัวศาลาการเปรียญวัดใหญ่น่าจะพอใช้ได้นะครับ ที่นั่นเขาฉาบปูนทับแต่ก็พอดูได้
ไม่รู้ว่าภาพของผมนี้จะช่วยได้หรือเปล่านะ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 23:59

ว่างๆต้องมานั่งนัดเจอกันพูดคุยอีกสักทีนะครับ เผื่อใครเจอใครได้แนวคิดอะไรใหม่ๆจะเอามาคุยกัน
แบบไม่คิดอะไรมาก สไตล์เราๆ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 11:43

งืมๆๆ...ยิ่งหลายความคิดเห็นยิ่งน่าสนใจ  เสียดายผมความรู้ยังด้อยนัก มิอาจแลกเปลี่ยนทัศนะอย่างท่านอื่นๆ ได้ จำต้องเรียนรู้..และเพิ่มเติมจากคุณๆ ทั้งหลายหากเจนจัดในวิชาแล้วคงได้เจรจาพาที ผมยังอยู่ในระดับศิษย์น้อยด้อยปัญญา ช่วงนี้ขอเป็นผู้อ่าน(ฟัง)ที่ดีก่อนคับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ohm md
มัจฉานุ
**
ตอบ: 87



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 23:32

ผมคิดว่ายอดทรงเมรุรายวัดไชยเนี่ย เป็นยอดที่มีอยู่จริง และใช้งานกันจริงๆ เห็นจากงานจิตรกรรม ลายทองที่หอเขียน  ปรางค์ปราสาทกรมพระราชวังบวร น่าจะเป็นลักษณะของชั้นที่ซับซ้อน ก่อนที่คนรัตนโกสินทร์จะไปตัดรายละเอียดต่างๆออกนะครับ

พระที่นั่งวิหารสมเด็จก็ปฏิสังขรณ์สมัยในหลวงบรมโกศนะคับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 23:55

อยุธยาหล่อคอนกรีตไม่เป็นครับ
เพราะฉะนั้นสถาปัตยกรรมที่มีคานยาวและเสาเข็มได้ก็ต้องสร้างด้วยไม้
อาคารขนาดใหญ่ถึงจะสร้างด้วยปูนแต่ก็ต้องทำโครงหลังคาด้วยไม้
หรือบางครั้งก็ต้องใช้ไม้ฝังเข้าไปในผนังเพื่อทำเป็นทับหลังประตูด้วย

เมรุทิศวัดไชยวัฒนารามอาจจะเป็นการจำลองสถาปัตยกรรมจริงมาสร้างอย่างคุณ ohm md ว่าก็ได้
แต่ก็น่างสงสัยว่าทำไมถึงพบที่นี่เพียงที่เดียว ?
ถ้าลองตั้งสมมุติฐานง่ายๆ ว่าเป็นอาคารปูนที่สร้างตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมไม้ (เมรุจริง)
ก็อาจจะต้องสรุปว่าช่างไม่สามารถถ่ายทอดรูปแบบของงานออกมาให้เหมือนกันได้ (เนื่องจากไม่มีคานคอนกรีต)
เพราะถ้าลองดูจากงานจิตรกรรม หรือพระเมรุจริงในสมัยรัตนโกสินทร์ อัตราส่วนทางสถาปัตยกรรมก็ไม่ใช่แบบนี้นี่ครับ ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง