virain
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 29 ก.ค. 09, 09:52
|
|
เอารูปปราสาทในพระที่นั่งวายุสถานอมเรศมาลงก่อนแล้วกันครับ เขาทำหลังคาเชิดคล้ายงานสมัยอยุธยา เคยใช้ประดิษฐานพระอัฐิของกรมพระราชวังบวรพระองค์แรกๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 29 ก.ค. 09, 10:27
|
|
อันนี้ภาพเขียนจากวัดปราสาท นนทบุรีครับ เขาเขียนเป็นรูปปราสาทมีเรือนยอดเหมือนจะเป็นยอดเล็กทับกับยอดใหญ่ที่อยู่ถัดไป ยอดใหญ่เขียนเป็นมุขเชิดซ้อนไล่กันขึ้นไป แต่ยอดเล็กใช้บันแถลงประดับวาดได้เห็นโครงสร้างเลย เสียดายว่าจางไปหน่อย ที่จริงมีรูปเรือนยอดของบุษบกราชรถในเรื่องเนมิราชด้วยครับ แต่จางมากไปหน่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 29 ก.ค. 09, 18:07
|
|
วันนี้ได้เข้าไปอ่านหนังสือเรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จที่หอสมุดแห่งชาติ ของอาจารย์เสนอ นิลเดชมาแล้วครับ(แต่อ่านไม่จบเขาปิดก่อน) ได้ความคร่าวๆว่าท่านอ้างอิงอาคารแบบเชื่อมกับปรางค์จากพระปรางค์วัดเชิงท่าอย่างที่คุณohm md เคยบอกส่วนหนึ่ง และเรือนยอดอ้างอิงจากภาพเขียนวัดประดู่ฯ ที่พี่ยีนส์เคยเอามาให้ดูส่วนหนึ่ง (ท่านกล่าวอ้างว่าช่างในสมัย ร.4 อาจเคยเห็นซากของพระที่นั่ง) อ้างอิงจากหัวเม็ดทรงปรางค์ของกำแพงแก้ว วัดพระพุทธบาท สระบุรีอีกส่วนหนึ่ง (ท่านให้เหตุผลว่าเป็นงานในสมัยพระเจ้าปราสาททอง) และก็ออกมาเป็นหุ่นจำลองสองแบบที่อยู่ในเมืองโบราณ ที่ลงไว้ตั้งแต่แรกครับ ส่วนตัวผมได้ดูภาพจำลองแบบสามมิติแล้วค่อนข้างแปลกๆในสายตาส่วนตัว อย่างแรกคือทรงของปรางค์ดูใหญ่เกินไปเหมือนกับองค์ปราสาทกลางพระที่นั่งมีสองชั้น หรือเหมือนจะเอาพระปรางค์ตั้งไว้บนอาคาร ทำให้ดูไม่สง่างามเหมือนปราสาทพระเทพบิดรถ้าจะเทียบกัน อย่างที่สองทรงอาคารของท้องพระโรงส่วนหน้าและส่วนหลังฐานไม่มีการตกท้องช้าง แต่มุขหน้า(ผมอาจใช้ศัพท์ไม่ถูกขออภัยด้วยครับ)กับมุขข้าง ที่ต่อยื่นออกมาคล้ายๆกับมุขเด็จพระที่นังสรรเพ็ชญ์กลับทำเป็นแบบตกท้องช้าง ทำให้พาไลด้านมุขเด็จนั้นต้องแอ่นตามฐานแต้ด้านตามแนวยาวกลับไม่แอ่น รูปทรงจึงดูเหมือนจะขัดกันทั้งอาคาร แต่ก็มีข้อมูลต่อว่่าในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทำการรื้อเครื่องบนแล้วซ่อมใหม่โดยเจ้าฟ้ากุ้งทรงเป็นแม่กอง จึงไม่ค่อยแน่ใจว่าการซ่อมครั้งนั้นจะทำให้ทรงยอดปราสาท เปลี่ยนไปจากสมัยพระเจ้าปราสาททองหรือไม่ ผมเลยคิดต่อว่าถ้าอย่างนั้นยอดปรางค์ของปราสาทจะเป็นโครงสร้างไม้แต่ไม่รู้จะใช้โครงสร้างแบบไหนรับน้ำหนัก เพราะในงานวิจัยท่านเขียนไว้ว่าไม่มีการก่อเสาขึ้นไปรับนำ้้หนักโครงสร้างเรือนยอด แต่อย่างไรก็ดีก็ทำให้เราได้ทำการสำรวจโบราณสถานแห่งนี้อย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งซึ่งเป็นประโยชน์มากๆ ขอออกตัวก่อนครับว่าผมกล่าวในฐานะแสดงความคิดเห็นครับ แต่เกรงใจอาจารย์กับคณะวิจัยของท่านจัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 29 ก.ค. 09, 20:15
|
|
คับ รูปในความเห็น 16 เนี่ย ก็เหมือนลายปูนปั้นอาคารทรงสูงที่วัดไผ่ล้อมเพชรบุรี เหมือนกับยอดส่วนต้นของเมรุราย วัดไชย และก็ยังเหมือนในภาพเขียนชาวต่างชาติ ที่วาดงานพระเมรุพระนารายณ์(หรือพระเจ้าปราสาททอง? )
ทำให้ผมคิดว่าเรือนยอดพระที่นั่งอยุธยานั้นคงไม่เหมือนกับสมัยรัตนโกสินทร์ที่เราคุ้นๆกัน คือสมัยนั้นคงทำเรือนยอดแต่ละชั้นออกมาจริงๆจังๆ คือเป็นรูปทรงจำลองของปราสาทองค์ข้างล่างต่อๆกันขึ้นไป คล้ายๆปราสาทพม่าที่เราเห็นกัน เพราะอย่าลืมว่า เราได้ถ่ายทอดอะไรหลายอย่างให้พม่าไปในคราวนั้น2310 เป็นไปได้หรือไม่ว่า ปราสาทพม่าที่เราเห็นกันตอนนี้ คล้ายลักษณะเรือนยอดสมัยอยุธยา มากกว่าปราสาทรัตนโกสินทร์ที่เราเห็นๆกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 29 ก.ค. 09, 20:23
|
|
ในเอกสารเรื่อง"พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเอกสารจากหอหลวง มีกล่าวถึงสถานที่ซึ่งเป็นหลักเป็นประธานและเป็นเกียรติยศพระนครในสมัยอยุธยา คือ พระที่นั่งมหาปราสาทยอดปรางค์3องค์ หนึ่งในนั้นคือ พระที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท ระบุว่ามีปรางค์5ยอดภายหลังเพลิงไหม้จึงทำใหม่เปลี่ยนนามว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จพระมหาปราสาท พระที่นั่งนี้แรกเริ่มเดิมทีสร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 เพราะปรากฎในกฎหมายตราสามดวง ว่า เสด็จออก ณ พระที่นั่งนี้เพื่อตราพระราชกำหนดพิสุทดำน้ำลุยเพลิงในพ.ศ.๑๘๙๙และกล่าวไว้ในกฎมนเทียรบาลว่าเป็นที่ถือพระพิพัทสัตยาของบรรดาเจ้านาย นอกจากพระภรรยาเจ้าทั้งสี่และพระราชกุมารนอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งการพระราชพิธีสำคัญในสมัยโบราณ เช่น การพระราชพิทธีดุลาภารในเดือน๙อีกด้วย ในเอกสารดังกล่าวมีบทที่กล่าวถึงมหาปราสาทและพระที่นั่งต่างๆในสมัยอยุธยา กล่าวถึงพระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทนี้ มียอดปรางค์ห้ายอด หลังคามุงดีบุก ยอดหุ้มดีบุกปิดทองเป็นปราสาทสำคัญในพระนคร เปนที่บุษยาภิเศกพระมหากษัตรแต่ก่อนมา มีมุขโถงยาวออกมาจากองค์ ที่มุขโถงนั้นมียอดมณฑปต่างหากจากองค์ปราสาทใหญ่ในมุขโถงนั้นมีพระแท่นมณฑปตาม(ติด ประดับ)แว่นฟ้า เปนพระที่นั่งตั่งในมุขโถง ต่อน่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาทออกมามีทิมดาบคดซ้ายขวา มีกำแพงแก้วสูงสองศอกล้อมพระมหาปราสาท ที่ชานชาลาพระมหาปราสาทนั้นปูศิลาอ่อน มีเสาโคมทำด้วยศิลาจีนตั้งอยู่๘ทิศ มีสิงหสิลา แลรูปภาพทหารจีนตั้งเรียงรายไปตามชานชาลาพระมหาปราสาท(รูปประกอบจิตรกรรมฝาผนังปราสาทยอดปรางค์ดูลบเลือนมากแต่น่าจะเป็น5ยอด)ที่วัดโชติการาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 01 ส.ค. 09, 23:15
|
|
ผมได้เห็นภาพพุทธปรางค์ของวังหน้าที่ถวายให้วัดไพชยนต์ฯแล้วครับ ทรงของเรือนยอดคล้ายกับยอดพระเมรุทิศวัดไชยฯ มากกว่าแบบพระปรางค์อย่างวัดเชิงท่าหรือเสาเม็ดวัดพระพุทธบาทแถมยังมีพรหมพักตร์ประดับด้วย และคุณohm md เองก็บอกไว้ว่าพุทธปรางค์ปราสาทนี้ก็ทำเอาย่างโบราณตามพระปรงค์ของกรมพระราชวังบวรฯท่าน เพราะพระองค์เคยเห็นพระวิหารสมเด็จมาก่อน ผมเลยค่อนข้างเชื่อว่าพระวิหารสมเด็จน่าจะมีเรือนยอดทรงนี้มากกว่าแบบอื่น เพราะการใช้ทรงปรางค์แบบนี้เหมาะกับการคุมทรงพระที่นั่งให้สง่างามได้มากกว่า และที่สำคัญตามการสำรวจซากฐานพระที่นั่ง ก็ไม่พบเสาที่ขึ้นไปรับเครื่องบนแต่อย่างไร รูปทรงแบบยอดพระเมรุทิศนี้น่าจะคุมน้ำหนักได้ดีกว่า
รูปประกอบพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียร พระนครคีรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 01 ส.ค. 09, 23:28
|
|
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาทจำลองในเมืองโบราณนั้นก็ได้แบบมาจากเรือนสวดวัดพระศรีรัตนมาธาตุเมืองพิษณุโลก มาสัณนิฐานรูปทรงได้อย่างสง่างาม ถ้าหากจะสัณิฐานรูปทรงเครื่องยอดพระวิหารสมเด็จก็อาจใช้พุทธปรางค์ปราสาทนี้เป็นแนวทางได้ เสียดายที่ว่าพุทธปรางค์ปราสาทเป็นปรางค์ยอดเดี่ยว แต่พระวิหารสมเด็จเป็นพระปรางค์ห้ายอดตามที่ระบุไว้ในข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ก็เลยไม่ค่อยแน่ชัดว่าสี่ยอดรองที่เหลือจะซ้อนทับอยู่บนสันหลังคาทั้งสี่ด้านอย่างพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียร หรือจะเป็นยอดที่แทรกบนทรงจอมแห แล้วกันรั่วด้วยการอุดชันเคลือบดีบุกปิดทอง แก้ไขเรื่องแบบฐานที่จริงแบบของหุ่นจำลองในภาพแรกนั้นมีการแ่นโค้งที่ฐานอยู่ (แสดงความคิดเห็นจากหนังสือเรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จของอาจารย์เสนอนิลเดช) รูปประกอบเป็นภาพประตูเข้าโบสถ์ของวัดปราสาทนนทบุรีมี แต่เดิมมีสี่ยอดแต่ยอดที่อยู่ด้านหน้าพังลงมาเลยมีการซ่อมแซม แก้ให้เหลือสามยอดอย่างในปัจจุบันยังเห็นร่องรองของการซ่อมแซมชัดเจน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 05 ส.ค. 09, 23:23
|
|
หลังจากได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับพระที่นั่งวิหารสมเด็จมาแล้ว ก็เลยนิึกอยากจะลองเขียนทรงเรือนยอดของพระที่นั่งองค์นี้ดู ผมลองเอาลักษณะการแทรกยอดรองทั้งสี่ยอดมาจากประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดปราสาท นนทบุรี ทรงยอดปรางค์เลียนจากพระเมรุทิศวัดไชยฯ และเพิ่มหน้าพรหมพักตร์มาใส่ ก็ออกมาเป็นภาพที่ผมลงไว้ด้านล่างครับ อาจไม่ถูกต้องก็ขออภัยด้วยครับเนื่องจากเป็นแนวคิดของผมเอง ภาพใหญ่ http://s398.photobucket.com/albums/pp64/amon123/Architec/?action=view¤t=IMG_5028_1.jpg
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Agonath
อสุรผัด

ตอบ: 32
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 06 ส.ค. 09, 08:39
|
|
เข้ามาชม สวยงามมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 06 ส.ค. 09, 14:46
|
|
สุดยอดคับ อยุธยายุคนิยมเขมรมากๆๆๆ อุตส่าห์ปรับเชิงกลอนให้แอ่นด้วยนะ ถ้าต่อเสาตั้งยืดยอดแต่ละชั้นออกไปอีกอาจจะดูเรียวพุ่งๆกว่านี้นะคับ ผมคิดเอาเองว่ายอดปราสาทอยุธยาคงทำให้ซุ้มบันแถลงแต่ละชั้นสัมพันธ์ได้ส่วนกับหลังคาด้วย ไม่เหมือนปราสาทรัตนโกสินทร์ที่จับเอายอดมณฑปไปครอบลงบนเรือนจตุรมุขเฉยๆๆ
ช่วงนี้เหงาเคว้งคว้างมากคับ เพราะต้องออกมาทำงานที่ รพชุมชนของโคราชสามเดือน อำเภอครบุรี ไกลมากก มีแต่ดินลูกรังง คิดถึงเมองเพชรมากคับ หันซ้ายขวาบนตึก รพ เห็นแต่ปรางค์ห้ายอด เห็นหลังคาวัดนู้นวัดนี้ทำแอ่นโค้ง สมชื่ออยุธยาที่มีชีวิต งานเมืองเพชรดูทันสมัย แต่ก็ดูมีหลักมีฐานว่าคนทำคนซ่อมเค้ารู้ความหมายความคิดเดิม ของงานช่างไทย
คิดถึงเพชรบุรีมากเลยยยค้าบบ ฮือๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 07 ส.ค. 09, 11:45
|
|
ต้องชมน้องเนในความพยายาม แต่การจับลักษณะของรูปแบบศิลปกรรมแต่ละชนิดมาผสมผสานกันนั้นจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจในเชิงช่างเสียก่อนนะครับ อย่างรูปที่วาดมานั้นพรหมพักตร์สี่หน้ายอดมงกุฎก็ไม่น่าจะเป็นแบบนั้นเพราะไม่ใช่ลักษณะของมงกุฎ การใส่ซุ้มบันแถลงและบราลีก็คงไม่ใช่ในลักษณะนั้นเช่นเดียวกัน ถ้าดูแบบ2มิติที่วาดมาจะมองดูสวยดี แต่ถ้าออกมาเป็น3มิติแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ยังไงน้องเนก็บอกแล้วว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ต้องชื่นชมอยู่ดี เรื่องทริปเที่ยวในวันที่15-16นี้ เห็นทีพี่ต้องเลื่อนไปก่อน เพราะมีปัญหาส่วนตัว ต้องขอโทษสมาชิกที่เฝ้ารอด้วยครับไม่สะดวกจริงๆและช่วงนี้อาจจะหายไปอีกนานครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 07 ส.ค. 09, 23:53
|
|
ขอบคุณสำหรับคำติชมทั้งหมดเลยครับ ต้องยอมรับว่าผมลองเอาโน่นเอานี่ผมผสมกัน ด้วยยังไม่เจนเลยอาจทำให้ดูขัดไปบ้าง (แค่ได้ยินว่าสวยก็ใจชื้นแล้วครับ นึกว่าจะโดนว่าซะแล้ว) ที่ผมเอาหน้าพรหมพักตร์ไปไว้ในชั้นที่หก ก็เพราะว่าจะดันให้ได้เก้าชั้นแต่เท่าที่ดู เขาก็ทำกันแค่เจ็ดชั้นเท่านั้นเองแล้วส่งเป็นช่วงระฆัง แต่สำหรับยอดปรางค์ก็ไม่ต้องใช้ ระฆังก็ควรจะเอาทรงปรางค์เป็นมงกุฏของพรหมพักตร์ในชั้นบนสุด พี่ยีนส์คงจะหมายถึงแบบนั้น
สวัสดีคุณ ohm md ด้วยครับยังไงก็ลองเปลี่ยนแนวไปดูปราสาทหินแก้ขัดไปก่อนนะครับ ครบุรีกับรอบๆก็เหมือนว่าจะมีอยู่หลายที่เลย หรือถ้าว่างๆก็เข้าเมืองไปถ่ายวัดบึงมาลงให้ชมก็ได้นะครับ ผมยังไม่เคยเห็นเลย
ขอบคุณคุณ Agonath ด้วยครับ
พี่ยีนส์ติธุระก็ไม่เป็นไรจะรอทริปต่อไปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 09 ส.ค. 09, 15:36
|
|
มีหลายที่ แต่ก้อเหลือแต่กรอบประตูกับหินเท่านั้นอ่ะคับ ผมเป็นคนลุ่มแม่น้ำ คิดถึงทุ่งนาเขียวๆต้นตาล วัดวาอาราม คิดถึงเมืองเพชรมากเลยย ตอนนี้ก็ยังไม่ชินกับครบุรี เมืองบนเขาคับ
นึกออกบางอย่าง ในหนังสือวิหารสมเด็จของ อ. เสนอ ท่านอ้างถึงปราสาทห้ายอดที่วัดพระพุทธฉาย(หรือพระพุทธบาท??) ที่โดนซ่อมแล้วกลายเป็นยอดเดียวไปแล้วว น่าเสียดายนะคับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sittisak
มัจฉานุ
 
ตอบ: 66
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 17:04
|
|
สนใจเรื่องนี้เหมือนกันเลยครับ กำลังศึกษาอยู่เลย เมื่อวานเพิ่งไปซื้อหนังสือของอาจารย์นิลเดช เรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จพอดี ถ้ามีทริปจัดไปอยุธยาว่ามาเลยนะคับ ไปด้วยๆๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
srisiam
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 08 ก.ย. 09, 17:30
|
|
เลื่อมใสครับ..เลื่อมใส...แต่ AA Alkaline ยี่ห้อ AIN ตรงมุมล่างขวาของภาพ 22 สื่อความหมายอะไรคร๊าบ...อิ..อิ..อิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|