virain
|
พระที่นั่งสำคัญในพระบรมมหาราชวังกรุงศรีอยุธยา ที่รู้จักันกว้างขวางคือพระที่นังสรรเพ็ชญ์ปราสาท แต่พระที่นั่งสำคัญอีกองค์ก็คือพระที่นั่งวิหารสมเด็จ ซึ่งเรือนยอดเป็นอย่างไรกันแน่ ข้อมูลแต่ละที่ก็ว่าต่างกันไป บ้างก็ว่าเป็นยอดปรางค์ห้ายอด อย่างในรูปโมเดลของเมืองโบราณ หรือจะเป็นยอดพรหมพักตร์แต่ยอดปรางค์นั้น จะลีบเล็ก ทรงคล้ายๆพระเมรุทิศวัดไชยวัฒนาราม สำหรับภาพประกอบภาพแรกน่าจะเป็นไปได้แต่ภาพสองผมว่ามันดูแปลกเกินไป และที่สำคัญตกลงว่าเรือนยอดเป็นทรงปรางค์จริงๆหรือครับ ยังเหลือพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ บรรยงค์รัตนาสน์ จักรวรรดิ์ไพชยนต์ ที่ยังคาใจผมอยู่เหมือนกันครับ
รูปประกอบนำมาจาก multiply ของคุณ phongthepwow
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 13 ก.ค. 09, 19:59
|
|
ปราสาท5ยอดแบบนี้ ปัจจุบันไม่มีเหลืออยู่แล้วจะเห็นมีก็แต่ในวัดเช่นที่วัดมหาธาตุ เพชรบุรีเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 13 ก.ค. 09, 21:25
|
|
แล้วก็ในจิตรกรรมฝาผนังเท่านั้นแบบนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 13 ก.ค. 09, 22:17
|
|
ภาพจิตรกรรมวัดประดู่ฯที่เขียนซ่อมในสมัย รัชกาลที่สี่ใช่ไหมครับ ที่พี่ยีนส์เคยเอามาให้ดูผมก็สะดุดตาอยู่ แบบนี้พอมีงานจากสมัยอยุธยามาเทียบค่อยมีความน่าจะเป็นไปได้หน่อยครับ
สำหรับวัดมหาธาตุก็มาซ่อมที่หลังนสมัยรัตนโกสินทร์ไม่ใช่หรือครับ แต่อาจจะทำตามแผนเดิมก็ได้ล่ะมั้ง ปราสาทห้ายอดผมเคยเห็นก็มีพระที่นั่งมหิศรอีกที่ล่ะครับ แต่ไม่เป็นยอดปรางค์ (แต่เคยมีคนบอกว่าพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์อาจเป็นปราสาทห้ายอดไปโน่นอีก)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 14 ก.ค. 09, 20:37
|
|
อันนี้ปราสาทยอดปรางค์เดี่ยว จิตรกรรมฝาผนังวัดดุสิตดาราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 26 ก.ค. 09, 17:17
|
|
หวัดดีคับ เปนสมาชิก เพิ่งมาใหม่ สนใจในงานศิลปะไทยตั้งแต่เด็กๆ ได้มาอ่านและดูของจริงมากขึ้นตอนเรียนมหาลัย ตอนนี้มาทำงานที่เพชรบุรี เลือกมาที่นี่เพราะอยากเที่ยววัดเมืองเพชร แต่ตอนนี้ได้เที่ยวแค่ไม่กี่วัดเอง ทำแต่งาน
ผมขอเสนอว่ายอดควรเป็นแบบเมรุรายวัดไชยวัฒนารามอ่ะคับ เหตุผล ไม่รู้เหมือนกัน (อ้าว) แต่เห็นว่ากรมพระราชวังบวร รัชกาลที่ 1 ท่านทำพุทธปรางค์ปราสาท ถวายพระพุทธสิหิงค์ ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ ก็ทำทรงอย่างโบราณ ทั้งมีพรหมพักตร์ที่คนรัตนโกสินทร์ไม่ทำกันแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 26 ก.ค. 09, 17:21
|
|
เอ้อ ปราสาทยอดมณฑปห้ายอดนั้นคือพระที่นั่งศิวาลัยหรือมหิศรกันแน่คับ
และพระวิหารสมเด็จเมืองโบราณนั้น เคยทราบมาว่านำแบบมาจากปรางค์วัดเชิงท่า อยุธยา เราจะเห็นว่า ปรางค์ดูโบราณๆคล้ายอยุธยายุคต้น แต่มีการต่อวิหารออกมาสี่ทิศ คล้ายปราสาทปรางค์ห้ายอดอย่างนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 26 ก.ค. 09, 18:47
|
|
สวัสดีคุณ ohm md ครับผม ขอบคุณนะครับที่เข้ามาช่วยให้ความรู้เพิ่มเติม ผมเองก็อยากจะไปเมืองเพชรอีก เพราะเคยไปแค่ครั้งเดียวยังไงก็คง้องหาเวลาไปแน่ๆเลย
พระที่นั่งฯนั้นส่วนตัวผมก็คิดว่าอาจจะเป็นยอดทรงเอาอย่างพระเมรุทิศวัดไชยฯเหมือนกัน เพราะเคยได้ยินว่าพระที่นั่งวิหารสมเด็จก็มาซ่อมในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พระที่นั่งองค์นี้ยังมีชื่เล่นว่าปราสาททองไปด้วย ลยคิดว่าน่าจะคล้ายๆกันเพราะไม่รู้จะหาหลักฐานอื่นที่ไหน ส่วนเรื่องจะเป็นพรหมพักตร์ไหมอันนี้ก็สุดความคิดครับ แต่ก็คิดเองว่าคงจะมีเพราะอทธิพลจากเขมรมาบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 27 ก.ค. 09, 15:38
|
|
ปราสาท5ยอดที่พูดถึงที่วัดพระแก้วนั้นคือพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทครับ ร.5ทรงโปรดเกล้าให้พระยาราชสงคราม(กร)เป็นนายช่างก่อสร้าง ซึ่งพระยาราชสงครามได้ถวายตัวอย่างเป็นปราสาท5ยอด สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงตรัสติพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทว่า"หลังคาเครื่องยอดแบบนี้ดีแต่ดูงาม แต่ตามหลักวิชาการช่างแล้วใช้ไม่ได้เลย เพราะรั่ว แก้เท่าใดก็ไม่หาย ไม่ควรถือเป็นแบบอย่าง ถ้าสนใจเรื่องนี้จริงๆขอแนะนำให้ไปอ่านหนังสือของอ.เสนอ นิลเดช เล่มนี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 28 ก.ค. 09, 18:46
|
|
ชอบเว็บนี้มากเลยคับ รู้สึกว่าสมาชิกทุกๆคนมีใจรักและเห็นค่า เห็นความสามารถของบรรพบุรุษของเรากันมากๆ
นอกจากเครื่องยอดพระวิหารสมเด็ต ก็ยังมีการจัดวางแบบอื่นๆในสมัยอยุธยาที่เรายังไม่รู้และนึกไม่ถึงอีกมาก ทั้งมณฑปพระพุทธบาทสมัยพระพุทธเจ้าเสือ ที่บอกว่ามียอดใหญ่ และมียอดเล็กอีก4 ยอดเล็กนั้นกมียอดเล็กลงไปอีกล้อมรอบ รวมไปมาในพงศาวดารบอกมี 25 ยอด ผมนับไม่ได้อย่างนั้นอ่ะคับ และถ้า 25 ยอดจริง การคุมทรงคุมจังหวะให้เป็นจอมแหนั้นนับว่ายากมาก ขนาดวาดรูปยังยาก และยิ่งสร้างออกมาเป็นรูปธรรมจริงๆนับว่าเป็นงานขั้นวิเศษ แต่ผมว่าช่างอยุธยาคงทำได้จริงๆและคงมีรูปแบบที่ลงตัว แต่เรายังนึกกันไม่ออก
พระที่นั่งสรรเพชญก็บอกมีเก้ายอด ทางเมืองโบราณได้ตีความว่าเก้ายอดนั้นหมายถึงยอดมณฑปประดับด้วยนภศูลเก้าแฉก นับว่าแปลกเพราะเมื่อทำมณฑป คน(รัตนโกสินทร์อย่างเราๆ)ก็ไม่เคยเอานภศูลไปต่อมณฑปเลย ทั้งก็ยังมีชฎาที่เรียกห้ายอด เครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ มียอดชฎาใหญ่ยอดเดียวแต่ที่เรียกห้ายอดเพราะมีแฉกๆข้างบนยอดนั้น 5 แฉก แปลว่าทางภาษาคนโบราณก็อาจเรียกได้อย่างนั้นจริงๆ
แต่ที่น่าคิดอีกอย่าง เราคงเคยเห็นจิตรกรรมที่วัดสะกาย(?)ในเมืองพม่านั่น ก็ยังวาดเป็นธรรมาสน์เก้ายอด(จริงๆ)ได้ แล้วทำไมพระที่นั่งสรรเพชญที่พรรณนากันอย่างอลังการขนาดนั้นจะมีเก้ายอดจริงๆไม่ได้ ...
ยังมีเรื่องสงสัยอีกว่า ในหนังสือต่างๆล้วนบอกว่า กรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่1 สร้าง ปรางค์ปราสาทห้ายอด ถวายพระพุทธสิหิงค์ แล้วกรมพระราชวังบวรฯ มหาศักดิพลเสพย์ ถอดไปถวายวัดไพชยนต์พลเสพย์ ไปมาๆ ทำไมเดี๋ยวนี้มียอดเดียว?? และทำไมต้องรื้อปรางค์ปราสาทนี้ไปด้วย เพราะตามตำราเก่าก็บอกว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นสมัยอยุธยานั้นก็ประดิษฐานอยู่ในปรางค์ปราสาท ในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 28 ก.ค. 09, 21:01
|
|
คุณ0hm md นี่น่าจะคลั่งไค้ลอยุธยาอย่างเดียวกับคุณvirain ข้อมูลที่อ้างถึงนั้นมีทีไปที่มาอย่างไรครับที่ว่า"กรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่1 สร้าง ปรางค์ปราสาทห้ายอด ถวายพระพุทธสิหิงค์ แล้วกรมพระราชวังบวรฯ มหาศักดิพลเสพย์ ถอดไปถวายวัดไพชยนต์พลเสพย์ ไปมาๆ ทำไมเดี๋ยวนี้มียอดเดียว?? และทำไมต้องรื้อปรางค์ปราสาทนี้ไปด้วย เพราะตามตำราเก่าก็บอกว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นสมัยอยุธยานั้นก็ประดิษฐานอยู่ในปรางค์ปราสาท ในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญเหมือนกัน" เรื่องจิตรกรรมที่วัดเมืองสะกายนั้น รูปธรรมมาสน์ช่างคงเขียนขึ้นจากที่เคยเห็นธรรมมาสน์ในสมัยอยุธยาที่ทำเป็นยอดปราสาทอย่างที่มีปรากฎองค์ธรรมมาสน์จริงสมัยอยุธยาตอนปลายที่ยังหลงเหลืออยู่หลายวัด แม้กระทั่งของที่ทำขึ้นใหม่เลียนแบบสมัยอยุธยาอย่างที่วัดเกาะแก้วสุทธารามนั่นประไรก็ทำทรงปราสาทแถมยังสวยงามไม่แพ้สมัยอยุธยา ส่วนในเรื่องสถาปัตยกรรมนั้น ผมว่าในการก่อสร้างมิได้ง่ายอย่างเขียนรูป อย่างที่กรมพระยานริศฯนายช่างเอกแห่งกรุงสยามท่านตรัสเกี่ยวกับพระที่นั่งศิวาลัยนั้นประไร
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 28 ก.ค. 09, 21:24
|
|
เรื่องการสร้างปราสาททอง5ยอดถวายพระพุทธสิหิงห์นั้น มิได้เป็นการสร้างตัวพระที่นั่งนะครับ เป็นแต่เพียงการสร้างในลักษณะบุษบกเพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงห์เท่านั้นนะครับ ภายหลังการเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า "พระพุทธรูปเงินทองและของพุทธบูชามีอยู่ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มาก หากทิ้งไว้ผู้ร้ายจะลักเอาไปเสีย" ดังนั้น จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปอื่น ๆ มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่นั้นมา ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระองค์โปรดให้รื้อปราสาททองห้ายอดซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ออก แล้วให้ตั้งพระแท่นเศวตฉัตรแทนเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกแขกเมือง และพระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนา ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ใหม่ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า การปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้เป็นที่น่าชมอย่างหนึ่งที่ของเดิมสิ่งใดดีเอาไว้หมดทุกอย่าง เป็นแต่ซ่อมแซมที่ชำรุด จึงยังแลเห็นของเดิมที่ทำโดยประณีตบรรจงมาจนทุกวันนี้*จะว่าซ่อมตามแบบของเดิมทีเดียวก็หาไม่ เพราะได้มีการปรับเปลี่ยนตัวอาคารให้มีพาไลล้อมรอบแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่3ในการนี้ด้วย* พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงเปลี่ยนนาม "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์" เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" อาจจะด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีชื่อที่ใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ดังนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพจึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งเพื่อให้แตกต่างไป สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยขึ้นใหม่ ดังนั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อพระที่นั่งเป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" เพื่อให้ชื่อคล้องจองกัน หลังจากการสร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์ทรงให้ย้ายพระแท่นเศวตฉัตรซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ไปไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์คงมีพระราชดำริให้พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังที่เคยเป็น จึงเปลี่ยนพระที่นั่งใหม่เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับที่พระบวรราชวัง พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กลับมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ดังเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 28 ก.ค. 09, 21:38
|
|
สวัสดีครับ วันนี้นั่งอ่านคุณohm mdตอบกระทู้แล้วผมก็นึกไปถึงโครงสร้างเครื่องหลังคาพระที่นั่งไท่เหอในพระราชวังต้องห้ามของจีน ว่าสมัยหนึ่งเคยเกิดเพลิงไหม้ ทำให้โครงสร้างเครื่องบนถูกทำลายเป็นเถ้าถ่านจนหมด จักรพรรดิของจีนในสมัยนั้นต้องพยายามหาช่างฝีมือ ที่จะมาหาวิธีประกอบโครงสร้างอันมหึมาของพระที่นั่งขึ้นใหม่ เป็นเรื่องที่ผมก็ไม่นึกว่าประเทศไทยก็มีโครงสร้างปราสาท 25 ยอดอยู่ด้วย ที่ไม่รู้จะทำให้ลงตัวยังไง และถ้าทำยอดแบบแอ่นตามฐานโค้งสำเภาอีกคงจะยากไปใหญ่ ผมเคยเห็นธรรมาสน์ยอดแบบที่เขาทำเป็นชั้นแอ่นๆไล่ไปจนถึงปลียอด แต่ผมคิดว่าไม่ต้องถึง 25 แค่เก้ายอดก็คงหาวิธีทำให้ลงตัวลำบากแล้ว เพราะอย่างที่พี่ยีนส์บอกว่ายอดพระที่นั่งศิวาลัยสมเด็จฯท่านก็ทรงติไว้แล้วว่ารั่ว อืม พี่ยีนส์ครับบุษบกห้ายอดนี่ยังมีให้เห็นที่ไหนบ้างอีกหรือครับ แต่ก็เหมือนจะเคยเห็นแวบๆที่วัดโพธิ์ และอีกที่ก็งานศิลป์แผ่นดินที่พระที่นั่งอนันตฯล่ะครับ ไม่รู้ยังมีที่อื่นแบบอื่นอีกไหม
ขอบคุณพี่ยีนส์ที่แนะนำหนังสือครับ วันเสาร์ว่าจะไปหาอ่านในหอสมุดไม่รู้ว่าจะมีหรือเปล่า  ภาพนี้เป็นบุษกเล็กๆสมัยอยุธยาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขาทำบราลีให้แหลมๆสูงๆหน่อยจนมองเป็นยอดต่างหาก ภาพอาจมองไม่ค่อยชัดนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 29 ก.ค. 09, 00:00
|
|
เข้ามาลงชื่อคะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
ohm md
มัจฉานุ
 
ตอบ: 87
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 29 ก.ค. 09, 07:38
|
|
ยอดทรงมณฑปห้ายอดในตอนนี้ที่นึกออกก็คือตู้พระไตรปิฎกทองใหญ่ ในพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เรื่องปรงค์ปราสาทนั้น ผมเคยเห็นของจริงมาที่วัดไพชยนต์อ่ะคับ ทราบว่าไม่ได้เปนพระที่นั่ง สร้างคล้ายๆเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแบบในล้านนายังไงยังงั้น แต่ผมสงสัยว่าทำไมมียอดเดียว ทั้งที่การเรียกก็เรียกห้ายอดมาตลอดอ่ะคับ
เรื่องมณฑปหลายยอดมีที่ไหนอีกมั่งคับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|