เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16669 วัดกันมาตุยาราม
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


 เมื่อ 12 ก.ค. 09, 11:49

วัดกันมาตุยาราม เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็ก สังกัดธรรมยุตินิกาย ตั้งอยู่ริมถนนมังกร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แวดล้อมด้วยชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดกุศลสมาครของฝ่ายอนัมนิกาย และวัดบำเพ็ญจีนพรตของฝ่ายจีนนิกาย วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2407 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยนางกลีบ สาครวาสี ได้อุทิศสวนดอกไม้สร้างเป็นวัดขึ้น ต่อมาบุตรของนางกลับ คือ พระดรุณรักษา (กัน สาครวาสี) ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว นางกลีบ ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า"วัดกันมาตุยาราม" อันหมายถึง วัดที่มารดาของนายกันเป็นผู้สร้าง บริเวณวัดแห่งนี้ค่อนข้างคับแคบ ปูชนียสถานสำคัญมีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกาสร้างเลียนแบบธัมเมกขสถูปในประเทศอินเดีย และในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ วัดนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของ สุชีโวภิกขุ หรือ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนหนึ่งของประเทศไทย เอ่ยถึงที่มาของชื่อวัดเพิ่มเติมว่าเดิมนั้นเรียกว่าวัดกัณฑ์มาตุยารามด้วยมูลเหตุว่าคุณแม่กลีบ มีบุตร2คนคื่อคนพี่ชื่อ"สวาท"ถึงแก่กรรมก่อนที่จะสร้างวัดคนน้องจะมีชื่อว่ากระไรมาก่อนหรือยังไม่ได้ตั้งชื่อไม่ทราบแน่ แต่ได้ยินว่าเมื่อเล็กๆเป็นคนเลี้ยงยากเจ็บออดๆแอดๆรักษาไม่หาย คราวหนึ่งคุณแม่นิมนต์พระราชาคณะองค์หนึ่ง(จำเลือนๆ)ว่าเป็นสมเด็จพุฒาจารย์โตมาเทศน์ คุณแม่เลยยกลูกคนนี้ใส่กัณฑ์เทศน์ เพื่อให้เป็นลูกพระจะได้เลี้ยงง่ายหายโรค เทศน์จบแล้วท่านผู้เทศน์จึงขนานนามให้ว่า"กัณฑ์"ซึ่งหมายความว่า"กัณฑ์เทศน์"นั่นเอง



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:12

ผมเดินทางไปวัดนี้เมื่อวานนี้ประมาณบ่ายโมงเพราะไปทำธุระแถวเยาวราช เข้าไปที่วัดประมาณบ่าย2โมงซึ่งเป็นการดีเพราะช่วงเช้าส่วนใหญ่พระที่วัดจะรับกิจนิมนต์ ทราบจากหลวงพี่ที่อำนวยความสะดวกในการเปิดโบสถ์ให้เข้าชมและถ่ายภาพ วัดนี้ก็เหมือนกับทุกวัด ที่ผมเคยถ่ายรูปไว้กว่า20ปีมาแล้ว ปัจจุบัน มีการซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนังแล้วโดยกรมศิลปากร ซึ่งเมื่อพินิจพิเคราะห์แล้วก็ไม่อยากพูดถึง เพราะอยู่ในสภาพอย่างที่เคยๆพูดแต่เปอร์เซ็นต์ก็ไม่มากนัก พระอุโบสถ มีขนาดไม่ใหญ่โต เล็กพอเหมาะกับขนาดวัด ภายในประดิษฐานพระประธาน ไม่มีชื่อมาแต่เดิม ภายหลังเมื่อวันที่9มี.ค.2547 เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณวโรดม เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้กรุณาตั้งพระนามพระประธานนี้ว่า "พระอริยกันต์มหามุนี" บานประตูหน้าต่างด้านนอกประดับมุกทุกบาน ผนังภายในมีภาพพุทธประวัติตลอดเหนือหน้าต่างด้านในมีช่องรอบพร้อมซุ้มกรอบประดิษฐ์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆขนาดกำลังงามจำนวน37ปาง บานประตูหน้าพระอุโบสถด้านในเขียนรูปอกับปิยมังสะ คือเนื้อสัตว์ที่ห้ามทางพระวินัยมิให้ภิกษุฉันรวม10ชนิด ส่วนบานประตูด้านหลังเขียนรูปผลไม้ที่ใช้ทำน้ำอัฏฐบาน(ปานะ)ได้8ชนิด บริเวณบานแผละหน้าต่างเขียนรูปพระภิกษุกระทำกัมมัฏฐาน เพ่งนิมิตรต่างๆส่วนปริเวณประตูเขียนเป็นภาพสุภาษิตไทย เช่นกลิ้งครกขึ้นภูเขาและอีกหลายๆสุภาษิต


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:14

พระประธานในพระอุโบสถ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:19

ภาพบานประตูเขียนภาพเนื้อซึ่งห้ามภิกษุฉัน


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:23

ภาพสุภาษิตบริเวณบานแผละประตูอันนี้สำนวน"จระเข้ขวางคลอง"


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:29

ภาพบานหน้าต่างด้านในเขียนภาพน้ำอัฏฐบาน(ปานะ)
พระพุทธารถญาตน้ำอัฏฐบาน
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด
คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑
น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด
เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด
เว้นน้ำผักดอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด
เว้นน้ำดอกมะทราง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:35

มาดูภาพเขียนโดยรอบพระอุโบสถ เขียนเรื่องพุทธประวัติ ไม่อธิบายความนะครับ ไปศึกษาในปฐมสมโพธิกถาเอาเองครับ(รูปประกอบผนังนี้ ได้บอกทางหลวงพี่ผู้ดูแลว่า น่าจะนำข้าวของในจุดที่ปิดบังจิตรกรรมฝาผนังออกไปเก็บทีอื่นเสีย)จุดนี้เลยได้เท่านี้


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:42

ภาพเขียนที่นี่ไม่มีระบุปีที่เขียนไว้ แต่น่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 เพราะนับจากปีที่สร้างวัด2407ค่อนมาปลายรัชกาลที่4แล้ว อีกทั้งลักษณะภาพเขียนก็เป็นภาพในลักษณะที่เป็นที่นิยมเขียนในสมัยร.5แล้วเปรียบเทียบจากวัดที่มีประวัดชัดเจนเช่นวัดโสมนัสวรวิหาร วัดปรมัยยิกาวาส ไม่ผิดไปจากนี้(รูปประกอบเริ่มจากผนังที่1ด้านหลังอุโบสถขวามือพระประธาน)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:44

ผนังที่2


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:49

ผนังที่3


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 12:54

ผนังที่4เขียนตอนพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานและถวายพระเพลิงหระพุทธเจ้า เป็นตอนที่ผมชอบมากที่สุดโดยเฉพาะฉากถวายพระเพลิงเดี๋ยวดูรายละเอียดรูปต่อไป(รูปนี้ถ่ายตรงไม่ได้เพราะอยู้ข้างพระประธานมุมกล้องไม่ได้)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 13:09

ภาพจิตกาธานของพระพุทธเจ้าช่างกับเชียนเป็นโลงศพธรรมดาอย่างโรงศพธรรมดาบนเชิงตะกอน อันนี้เข้าใจว่าช่างคงต้องการแสดงให้เห็นถึงพิธีการในขั้นตอนเผาจริงอย่างที่ปรากฎในการออกพระเมรุของพระมหากษัตร์ย์ สังเกตุได้ว่าเป็นการกระทำอยู่ในพระเมรุ มีฉากบังเพลิงเขียนเรื่องรามเกียรติ์ได้งดงามมาก


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 13:12

รูปโลงพระศพ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 13:15

รูปฉากบังเพลิงเรื่องรามเกียรติ์เขียนได้งดงามทีเดียว


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 ก.ค. 09, 13:18

ฉากบังเพลิงอีกด้าน


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง