jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:15
|
|
มุมล่างซ้าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:25
|
|
กลางภาพเหลือเท่านี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:29
|
|
สวัสดีครับพี่ยีนส์ คราวนี้ข้อมูลแน่นเอียดเลยครับเท่าที่อ่านดูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวัดนี้สำคัญมากมายทีเดียวเลยนะครับ บางภาพนี่ก็พังมากเหลือเกินนะครับ ไม่รู้จะซ่อมยังไง คงได้ดูเท่าที่เหลือแล้วสินะ แต่ภาพเขียนที่นี่เขียนภาพป่าสวยดีนะครับ แต่ผมจำภาพออกมหาภิเนษกรมณ์ของวัดดุสิตารามได้ ว่าภาพต้นไม้ใบหญ้าเขียน กันเกือบทั้งผนังด้านนั้น และสวยงามมากด้วย
พี่ยีนส์ขยันถ่ายภาพมากเลยนะครับ ทำให้เรามีหลักฐานเก็บไว้ไม่น้อย ผมส่วนใหญ่ชอบดูมากกว่าถ่ายเฉพาะที่ถูกใจจริงๆซะมากกว่า เพราะถ่ายภาพต้องใช้สมาธิมาก เลยชอบพลาดอะไรๆไปบ่อยๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:32
|
|
ผนังด้านหลังพระประธาน เขียนเรื่องไตรภูมิ ผนังระหว่างประตูเขียนเรื่องนรกผมว่านรกที่นี่สวยงามกว่าวัดดุสิตอีก แต่หลุดลอกเสียมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:37
|
|
ภาพในความคิดเห็นที่ 1 ทรงของมณฑปหกเหลี่ยมสวยมากเลยครับ วาดเป็นหลังคาลดชั้นคล้ายๆมณฑปแบบอยุธยา ส่วนภาพกัณฑ์ สักบรรพ เขียนภาพป่าได้รู้สึกเงียบเหงามากเลยครับ ดูแล้วได้อารมณ์จังเลย สองสามวันมานี้เหมือนได้อ่านตำราเล่มหนาๆเลยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:55
|
|
หวัดดีน้องเน หายป่วยยังครับ วันนี้นึกว่าจะเข้าไปซะอีก เพราะพี่บอกไว้วันก่อนที่คุยกันไง สงสัยลืม ไม่เป็นไร พี่เอารูปเอาเรื่องมาฝากเลย ที่บอกเรื่องซ่อมก็กรมศิลป์กำลังดำเนินการอยู่รวมทั้งเขียนใหม่เพิ่มเติมขึ้นด้วยไงครับ การไปดูซะตอนนี้ก็จะได้กลิ่นอายเก่าก่อนจะกลายเป็นของใหม่ในไม่ช้าไงครับ ส่วนภาพมหาภิเนษกรมณ์ที่วัดดุสิตนั้นลอกเสียมาก และไม่ค่อยมีคนถ่ายภาพตอนนั้น จะไปเน้นถ่ายตอนตวงพระธาตุเสียเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการถ่ายภาพของผม จริงๆถ่ายมานานแล้วตั้งแต่กล้องฟิล์ม หยุดไปพักใหญ่ จนเพิ่งมาซื้อกล้องใหม่แล้วประจวบเหมาะกับมาทำงานทางด้านนี้อยู่พอดีในปัจจุบัน รูปถ่ายมันก็ทำให้เรามีข้อมูลการทำงานประกอบมากขึ้นด้วยครับ หยั่งวันนี้ไปถ่ายภาพต้องแบกบันไดไปด้วยปีนจนเมื่อยไปทั้งตัว จากที่ไปอยุธยายังไม่หายเลย แต่วันนี้นัดพระไว้แล้วความอยากเราก็มี เลยต้องลุย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:04
|
|
ก็อย่างที่บอกไงครับ ภาพเขียนที่นี่นั้นมีกลิ่นอายของอยุธยาอยู่มากแต่อนาคตอันใกล้ ก็จะหมดไปแล้วอีกไม่นาน รีบไปดูซะนะ(รูปตอนนี้ถ่ายยากมาก แต่โชคดีปีนชุกชีพระประธานได้จึงได้ภาพเต็มผนังมา) มุมซ้ายของภาพน่าจะมีการซ่อมสมัยร.3 เพราะลักษณะตัวภาพมันต่างออกไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:10
|
|
ผนังด้านขวาพระประธานทุกผนังเขียนเรื่องพุทธประวัติทั้งหมด(นี่ตอนออกมหาภิเนษกรมณ์)ถ่ายได้เต็มผนังเพราะปีนชุกชีอีกแล้ว การปีนป่ายทุกครั้งผมต้องขออนุญาตด้วยเจตนาดีครับ กันไว้ก่อน มิให้มีสิ่งมิดีมาแผ้วพานครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:19
|
|
ผนังนี้เป็นอีกตอนที่ถ่ายได้ไม่เต็ม เสด็จออกบรรพชาตัดพระเมาลี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:26
|
|
ขอโทษด้วยครับพี่ วันนี้มีเรียนน่ะครับ วันนี้ดีขึ้นเยอะแล้วน่าจะหายแล้วกลัวแต่จะติดใหม่นี่ล่ะครับ ปีนฐานชุกชีเลย โห เต็มที่เลยครับ
ีมีภาพมณฑปแบบนี้อีกแล้วนะครับ อันนี้สวยดีมีพาไลยื่นออกมาด้วย ทำให้นึกถึงงานเครื่องไม้ของอยุธยาเลย ไม่ทราบว่าตอนอะไรครับนี่มองไม่ออก มีเทพเทวดาเต็มไปหมด ตอนเชิญจุติหรือเปล่าครับ
ส่วนภาพที่วัดดุสิตก็ลอกเยอะจริงๆ แต่ก็สวยมากๆด้วยแต่ที่วัดนี้รูปแบบการใช้สีเขียนคล้ายๆกับวัดดุสิตนะครับ ผมดูแล้วจะออกแนวๆเดียวกันยังไงไม่รู้ ถ้าใครบอกว่าการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องธรรมดา คงคิดผิดมาก เพราะใช้เวลาเยอะ สมาธิและความอดทนต้อมีมากหน่อยถึงจะได้รายละเอียด วันนี้ถ่ายไปกี่ชั่วโมงล่ะครับพี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:27
|
|
ภาพนี้อธิบายไว้แล้วในภาคหนึ่ง แต่ตัดเฉพาะส่วนมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:39
|
|
ตอนโปรดปัญจวคีย์เต็มผนัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:56
|
|
ผนังสุดท้าย ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า อ้อตอบคุณเนก่อนภาพเขียนที่วัดดุสิตโทนสีต่างจากวัดราชสิทธมากครับ ลักษณะตัวภาพก็คนละแบบ ที่นี่กลิ่นอายอยุธยายังเหลืออยู่เยอะ ลักษณะสีที่ใช้เหมือนกับโทนสีที่ใช้เขียนบนสมุดข่อยสมัยอยุธยาจะปรากฎสีแดงชาด สีเหลืองแบบขมิ้น สีหม้อใหม่อยู่มาก ส่วนที่วัดดุสิตนั้นเนื่องจากมีซ่อมครั้งร.3 ภาพเขียนจะใช้โทนสีคล้ายวัดสุวรรณาราม อ้ออีกเรื่องจริงๆแล้วบริเวณรักแร้ผนังทั้ง4ด้านขิงวัดราชสิทธารามนี้ยังเหลือภาพเขียนอยู่บ้างแต่เป็นเพียงสุมทุมพุ่มไม้ ไม่สามารถคาดเดาเรื่องได้เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 23:06
|
|
ภาพเขียนที่นี่ในส่วนของเทพชุมนุม มารผจญและไตรภูมิ ถ่ายได้ยากเนื่องจากพระอุโบสถสูงใหญ่ถ้าจะถ่ายให้สวยคงต้องมีการสร้างห้างรื้อโคมไฟ ซึ่งคงงยังไม่ต้องถึงขนาดนั้นมั๊ง รอให้มีเงินพันล้านก่อน 555555555555 ลาด้วยรูปนี้ละกัน รูปอับเฉาตุ๊กตาจีนเชิงบันไดทางเข้าพระอุโบสถ กำลังนั่งสูบยาอย่างสบายใจ ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านที่เข้ามาชมครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 10 ก.ค. 09, 02:41
|
|
ขยันจังเลยคะ
วันที่ 11 นี้หนูว่าง ถ้าพี่ไปไหนหนูตามไปได้หรือป่าวคะ หากไม่เป็นการเกะกะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
|