เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 12932 วัดราชสิทธารามภาค2
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 19:20

วันนี้ได้เข้าไปถ่ายเพิ่มเติมวัดราชสิทธารามอีกครั้งหนึ่ง เลยนำข้อมูลมานำเสนอ เพราะปัจจุบันทางวัดกำลังได้รับการบูรณะภาพเขียนในพระอุโบสถใหม่ทั้งหมด จึงขอไปเก็บเกี่ยวอดีตด้วยภาพถ่ายเป็นที่ระลึกก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและขอนำประวัติของวัดมาประกอบภาพถ่าย เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาด้วยครับ
วัดราชสิทธาราม เดิม ชื่อ วัดพลับซึ่งเป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด เดิมตัววัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของผังวัดปัจจุบัน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงอาราธนาพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย จากพระนครศรีอยุธยา มาจำพรรษา ณ กรุงเทพศรีทราวดี พระอาจารย์สุกได้ขอพระบรมราชานุญาต ว่า ขออยู่ ณ วัดที่เป็นอรัญวาสี(วัดป่า) คือวัดพลับ ล้นเกล้ารัชกาลที่๑ จึงทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ โดยรวมกับวัดพลับเดิม แล้วสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ฝ่ายวิปัสสนาธุระคู่กับวัดรัชฎาธิษฐาน ซึ่งเป็นสำนักกรรมฐานฝั่งธนบุรี [ส่วนฝั่งพระนครมี วัดสระเกศ และ วัดราชาธิวาส เป็นวัดฝ่ายวิปัสสนาธุระ] ต่อมาพระอาจารย์ สุก ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่๔ วัดราชสิทธารามจึงเป็นวัดที่สำคัญอีกที่หนึ่ง และอยู่มาตราบเท่าทุกวันนี้
พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรม ทรงดั้งเดิม แบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ ๒ ชนิดก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้น หน้าบันทั้ง ๒ ด้าน เป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณด้านข้างเป็นลายขนด มีเสาพาไลรับหลังคารอบพระอุโบสถ มีทางเข้าด้านละ ๒ ประตู รวม ๔ ประตู ส่วนหน้าต่างมีด้านละ ๗ บาน ลายรอบกรอบประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายดอกไม้แบบ เทศผสม ประตูและหน้าต่างเป็นไม้โบราณปิดทองประดับกระจก ด้านข้างพระอุโบสถมีกุฏิวิปัสสนาล้อมรายอยู จำนวน ๒๔ หลัง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทั้ง ๔ มุม มีเจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบย่อมุมไม้สิบสอง ตอนล่างทำเป็นกุฏิวิปัสสนา รอบพระอุโบสถ มีตุ๊กตาจีนอีกด้วย ปัจจุบันชำรุดเสียส่วนมาก
จิตรกรรมฝาผนัง เป็นสถาปัตยกรรมอันนับว่าเป็นระดับชั้นบรมครู เป็นภาพวาดที่สวยงามมากซึ่งเขียนโดยช่างยุครัตนโกสินทร์ ด้านขวาพระประธาน เป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดก และเทวดาชุมนุม ด้านซ้าย เป็นเรื่องพระพุทธประวัติ และเทวดาชุมนุม หนังหุ้มกลองหน้าพระประธาน เป็นภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม-พระพุทธเจ้าชนะมาร หนังหุ้มกลองด้านหลัง เป็นภาพไตรภูมิ บานประตูและหน้าต่างด้านใน เป็นรูปทวารบาล *ด้านนอกมีภาพพยุหยาตราทางสถลมารค และ ทางชลมารค ปัจจุบัน ชำรุดและเลือนลางมากด้วยความชื้นทำให้เรือนและกะเทาะออกมา*(ปัจจุบันไม่มีเหลืออยู่แล้ว)
พระประธาน เป็นแบบปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง๕ ศอก ๒นิ้ว สูงจรดพระรัศมี๖ ศอก ๑ คืบ โดยเล่ากันว่า ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ทรงปั้นพระเศียร ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ทรงปั้นองค์ พระราชทานพระนามว่า "พระพุทธจุฬารักษ์" ด้านหน้ามีพระอัครสาวกทั้งสอง และพระอานนท์ ประดิษฐานตรงกลาง ซึ่งทั้งหมดนี้ ตั้งอยู่บนฐานชุกชี
พระเจดีย์คู่ทรงสังวาล เป็นพระเจดีย์แบบลังกา ทรงระฆังคว่ำ ปูนปั้นเป็นสังวาลห้อยลงมาจากบัลลังค์ มีฐานเป็นบัวลูกแก้ว แล้วจึงเป็นมาลัยลูกแก้ว ๓ ชั้น ต่ำสุดจึงป็นฐานบัว ล้อมด้วยเจดีย์บริวาร ๔ องค์ เจดีย์ทรงเครื่อง ด้านขวาพระอุโบสถมีนามว่า พระสิราศนเจดีย์ด้านซ้ายนามว่าสิรจุมภฏเจดีย์
พระวิหาร เดิมวิหารนี้สร้างพร้อมกับพระอุโบสถ เรียกว่า"วิหารแดง" ด้วยแต่ก่อนมีเจดีย์ทาสีฝุ่นสีแดงล้อมรอบอยู่ ต่อมาวิหารได้ชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดจึงสร้างใหม่และทุบเจดีย์ทั้งหมดให้เหลือเพียง ๒ องค์ วิหารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีมุขหน้าหลังหลังลด ๓ ชั้น มีคันทวยรับหลังคา ประตูมุขละ ๒ บาน หน้าต่างด้านละ ๕ บาน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัยพระนามว่า "พระพุทธสิทธมงคล" ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน และทรงเททองหล่อองค์พระด้วย ส่วนพระวิหารทำพิธีเปิด โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(ปุ่น ปุณฺณสิริ)
ศาลาการเปรียญ เป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่๓ ก่ออิฐถือปูน ด้านในประดิษฐานธรรมาสน์บุษบก ๒ ฝั่ง
พระตำหนักเก๋งจีนและตำหนักจันทน์ เคยเป็นที่ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ และ ๔ ทรงประทับ เมื่อยามทรงผนวช


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 19:27

ผนังด้านหน้าพระประธาน ปัจจุบันกำลังบูรณะใกล้เสร็จสมบูรณ์ฝั่งซ้ายมือเสร็จแล้ว ด้านขวากำลังจะเสร็จ จากนั้นก็จะดำเนินการทุกผนังจนสมบูรณ์


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 19:33

เจ้าหน้าที่บูรณะ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 19:41

หน้ากาลบริเวณผนังสกัดหน้าพระประธานที่เขียนภาพมารผจญ ยักษ์ไม่ดุเท่าวัดใหญ่เทพนิมิตร แต่ยังดูมีกำลังมากกว่าวัดดุสิต


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 19:53

ผนังแรกขวามือพระประธานเขียนพระเวสสันดรกัณฑ์ฉกษัตริย์


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 20:04

ผนังด้านขวามือพระประธานจะเขียนเรื่องพระเวสสันดรทุกผนังแต่ไม่ครบ13กัณฑ์อย่างภาพที่แล้วเป็นกัณฑ์ที่12เนื่อเรื่องมีดังนี้
กล่าวถึงพระเจ้ากรุงสัญชัยและจตุรงคเสนา เดินทางไปถึงเขาวงกต กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ได้มาพบกัน ในกลางป่า โดยมิได้คาดฝัน ก็ทรงวิปโยคโศกศัลย์จนถึงวิสัญญีภาพสลบลง ฝนโบกขรพรรษ บันดาลตกลงมา ให้ทรงฟื้น แล้วพากันขอลุโทษและทูลอาราธนาให้ลาผนวช เนื้อเรื่อง

การเสด็จพระราชดำเนินของพระเจ้ากรุงสัญชัยและจตุรงคเสนาเป็นขบวนเสด็จ จากรุงเชตุดรนครหลวง ถึงเขาวงกตเป็นระยะทาง ๖๐ โยชน์ เท่ากับ ๙๖๐ กิโลเมตร กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ได้มาพบกันด้วยในกลางป่า โดยมิได้คาดฝัน จึงได้ร่วมเดินทางไปยังเขาวงกตพร้อมกัน

กองขบวนเกียรติยศ พร้อมมโหรีและไพร่พล ก็เคลื่อนสู่ป่าด้วยเสียงอันกึกก้องลั่นป่า พระเวสสันดรเข้าพระทัยว่า กองในพระราชวังคงจะมาประหารพระองค์ จึงทรงพาพระนางมัทรีไปหลบซ่อนในพุ่มไม้
ครั้นพระเจ้ากรุงสัญชัยบอกความให้ทราบ พระนางมัทรีก็ออกมาถวายบังคม ต่างก็ร่ำไห้ด้วยสลดใจ กันถ้วนทั่ว ในเคราะห์กรรมนี้ แม้บรรดาเสนาอำมาตย์และนางกำนัลต่างก็ร้องไห้กันทั่ว

พระราชาตรัสให้พระเวสสันดรลาผนวชกลับคืนสู่เวียงวัง พระนางผุสดีก็ขอให้พระนางมัทรีคืนสู่พระราชวังเถิด พระนางมัทรีได้แต่กันแสงสวมกอดกัณหาพระธิดา และพระโอรสชาลีไว้แนบอกด้วยทรงคิดถึงยิ่ง บริเวณป่า เต็มไปด้วย เสียงคร่ำครวญระงมจนหมดสติไปทั้งสิ้น

พระอินทร์บนสรวงสวรรค์เล็งทิพยเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงบันดาลสายฝนให้โปรยปรายเป็นอัศจรรย์ ในป่าชุ่มชื้นด้วยในโบกขรพรรษที่มิสาดให้ผู้ใดเปียกปอน บรรดาพระราชวงศ์ก็ทรงฟื้นขึ้นมา ด้วยความแช่มชื่นปราโมทย์ หลังจากนั้นได้ขอลุแก่โทษ และทูลอาราธนาให้พระเวสสันดรทรงลาผนวช
ส่วนรูปนี้กัณฑ์มหาราชกัณฑ์ที่11เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า
กล่าวถึงชูชกได้พาสองกุมารหลงทางไปจนถึงเมืองสีพี จนกระทั่งได้พบกับพระเจ้าปู่พระเจ้าย่า จึงรับสั่งให้ ไถ่ถอนตัวทั้งสองพระองค์ และพระราชทานเลี้ยงอาหารชั้นดีแก่ชูชก ชูชกไม่มีวาสนาเพราะบริโภคมากเกินไป เป็นเหตุให้ไฟธาตุพิการอาหารไม่ย่อยจนถึงแก่ความตาย พระเจ้าสญชัยรับสั่งให้เตรียมกองทัพไปรับสองพระองค์ เนื้อเรื่อง

ด้านชูชกเฒ่านั้นฉุดลากสองกุมารน้อยไปพลางทุบตีไปพลาง ด้วยหวังจะกลับไปหาภรรยาโดยเร็ว เมื่อถึงทางแยก เข้าเมืองกลิงคราฐ เทพยดาก็ดลบันดาลให้ชูชกเดินเข้ามาในเมืองสีพีรัฐ

พระเจ้ากรุงสัญชัยก็ได้ทรงสุบินประหลาดว่า มีชายอัปลักษณ์นำดอกบัวตูมและดอกบัวบานมาถวายให้ พระองค์ รับมาทัดที่พระกรรณแล้วก็ทรงตื่นบรรทม เหล่าโหรก็ถวายคำทำนายว่า พระราชวงศ์ที่จากพลัดไปจะเสด็จคืนวัง
วันรุ่งขึ้นนั้นเฒ่าชูชกจูงกุมารน้อยผ่านหน้าพระลาน พระราชาทรงเฉลียวพระทัย จึงให้เรียกตัวเฒ่าอัปลักษณ์ และกุมารน้อย มอมแมมแต่ผิวพรรณเปล่งปลั่งนั้นเข้ามาเฝ้า เมื่อพระราชาสอบถาม ชูชกก็กราบทูลว่า ได้รับบริจาคมา มิได้ไปฉุดคร่ามาที่ใด

พระราชาจึงทรงรู้ว่า ๒ กุมารน้อยนั้นเป็นหลานของพระองค์ จึงทรงไถ่ตัวหลาน และพระราชทานรางวัล ให้แก่ชูชกมากมาย ทั้งยังจัดอาหารคาวหวานชั้นเลิศมาให้แก่ชูชกอีกด้วย

ขอทานเฒ่าไม่เคยเห็นอาหารชั้นดี มีความโลภจะกินให้หมด จึงกินเข้าไปไม่หยุดจนกระทั่งท้องแตกตายไป พระราชาเจ้ากรุงสัญชัยทรงจัดพิธีเวียนเทียนบายศรี สมโภชรับขวัญหลานเป็นที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติ ครั้นแล้วก็ทรงถามถึงพระนางมัทรีและพระเวสสันดร ที่จากไปนานเป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วันแล้ว

"พระมารดาทรงลำบากเหลือแสนพระเจ้าข้า" ชาลีราชกุมารทูลพระราชาด้วยสุระเสียงกำสรวลยิ่งนัก
เสด็จคืนเวียงวัง พระราชาจึงทรงให้จัดขบวนแต่งกองเกียรติยศ ยกออกนครไปรับพระเวสสันดร กลับสู่เวียงวังด้วยทรงคิดถึงราชบุตรและสำนึกผิดแล้ว


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 20:20

กัณฑ์ที่10สักบรรพ
กล่าวถึงพระอินทร์ เกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีไปอีก จักไม่มีผู้ปรนนิบัติพรเวสสันดร พระโพธิญาณ จักเป็นอันตราย จึงได้แปลงเป็นพราหมณ์ชราลงมาขอ เมื่อได้แล้วไม่เอาไป กลับถวายคืนแก่พระเวสสันดร โดยห้ามประทานนางแก่ผู้ใดอีก พร้อมทั้งประสาทพร ๘ ประการ ให้แก่พระเวสสันดร แล้วจึงเสด็จกลับสู่สวรรค์ เนื้อเรื่อง

ขณะนั้นท้าวสหัสนัยบนสวรรค์ เกรงว่าจะมีชายโฉดมาทูลขอพระนางมัทรี จึงจำแลงกาย เป็นนักบวชชรา มาทูลขอ พระนาง พระเวสสันดรทรงยินดีบริจาคทานให้ แต่นักบวชชราเมื่อได้รับแล้วก็ไม่เอาไป กลับถวายคืน แก่พระเวสสันดร โดยห้ามพระองค์ประทานนางแก่ผู้ใดอีก

ก่อนกลับองค์อินทร์ ได้ประสาทพรให้พระเวสสันดร ๘ ประการ คือ

๑. ให้ทรงได้รับอภัยโทษ
๒. ให้ทรงช่วยคนถูกฆ่าได้
๓. ให้ไพร่ฟ้าได้พึ่งพา
๔. ให้มั่นคงในมเหสี ไม่ลุ่มหลงสตรีอื่น
๕. ให้ได้สืบสันติวงศ์
๖. ให้มีสิ่งของบริจาคทานมิสิ้น
๗. ให้มีอาหารทิพย์พอเพียงทุกรุ่งเช้า
๘. ให้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ แล้วท้าวสหัสนัยก็เนรมิตรร่างเป็นพระอินทร์เหาะขึ้นฟ้าไปทันที


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 20:32

ตอนนี้ภาพลบเลือนช่วงล่างจนไม่ปรากฎตัวภาพแต่น่าจะเป็นกัณฑ์จุลพน กัณฑ์มหาพน และกัณฑ์กุมาร 6-7-8 ตามลำดับ อ้อภาพที่แล้วมันรวมกัณฑ์ที่9กัณฑ์มัทรีอยู่ด้วย เนื้อหาทั้งหมดขอข้ามไป เพราะที่นี่รู้สึกจะชอบดูรูป


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 20:44

ภาพที่ปรากฎไม่สามารถถ่ายได้เต็มผนัง แต่ภาพที่เหลืออยู่ชุดเจนว่าเป็นกัณฑ์วนประเวศน์กัณฑ์ที่4 ขอนำเสนอภาพเป็นส่วนเท่าที่ถ่ายได้ครับ(เริ่มจากมุมซ้ายของภาพ)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 20:49

กลางภาพ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 20:53

มุมบนขวา


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 20:55

ถัดมาจากมุมขวาหน่อยนึง


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:00

มุมขวาล่าง


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:06

กัณฑ์ที่1ทศพร


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 ก.ค. 09, 21:09

ตอนเดียวกันมุมซ้ายบน


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง