jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 14:36
|
|
ปิดท้ายวัดนี้ด้วยภาพพระประธานเห็นชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าทรงธรรม เป็นพระสมัยอยุธยาทรงเครื่องใหญ่อย่างกษัตริย์ ว่ากันว่าท่านศักดิ์สิทธิ์นัก ผมก็ขอแค่ให้เดินทางปลอดภัยการงานลุล่วงด้วยดีแล้วเสี่ยงเซียมซี ได้เบอร์ 4 ครับ จบวัดใหม่ชุมพลแต่เพียงเท่านี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 15:13
|
|
โชคดีไปไม่มีหนี้ ฮาๆๆๆ
ตกลงว่าชื่อวัดใหม่ชุมพล หรือวัดใหม่ประชุมพลคะ
กว่าจะจบครบทุกวัด สงสัยอีกนาน รอให้คุณพี่ Jean1966 และคุณ Yutthana โพสต์ก่อนก็แล้วกันคะ แล้วค่อยเสริม
บอร์ดเหงาๆจังเลย หรือว่าวันหยุดหนีไปเที่ยวกันหมด น่าอิจฉาจริงๆ เพราะยังต้องทำงาน เฮ้ออออ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 15:27
|
|
เดิมสมัยก่อนเคยเรียกว่าวัดใหม่ประชุมพล หนังสือหลายๆเล่มรวมทั้งบทความต่างของอาจารย์ น.ณปากน้ำก็เรียกวัดใหม่ประชุมพล แต่ปัจจุบันที่ถูกต้อง ต้องเรียกวัดใหม่ชุมพล ป้ายชื่อวัดก็ระบุว่า"วัดใหม่ชุมพล"ครับ เนื้อหาที่ผมลงในเว็ปจะมีเพิ่มเติมจากที่ได้พูดคุยกันที่วัดนะครับคุณฉันรักบางกอก*(ขอเรียกชื่อเล่นเลยได้มั๊ยขี้เกียจพิมพ์ยาว)*
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 15:53
|
|
วัดใหญ่เทพนิมิตร์ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2350 เดิมชาวบ้านเรียกว่า"วัดใหญ่" ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนลาวกลุ่มบ้านโพธิ์ไผ่หนอง ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทร์ ในรัชกาลที่2 ปัจจุบันยังมีคนที่พูดภาษาเวียงจันทร์หลงเหลืออยู่ โบราณที่สำคัญได้แก่เจดีย์หรือพระธาตุ สูง15วา(30เมตร)สร้างเลียนแบบพระธาตุพนมได้อย่างใกล้เคียงมาก ในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเรื่อง พระมาลัย เรื่องรามเกียรติ์และเทพชุมนุมฝีมือช่างรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่3 หน้าบันพระอุโบสถยังมีภาพปูนปั้นประดับกระจกเล่าเรื่องทศชาติและนารายณ์ทรงครุฑ ผมเองเคยมาวัดนี้ร่วม20ปีมาแล้วยังได่ถ่ายภาพไว้(ไว้จะนำเสนอภายหลัง สภาพปัจจุบันทางวัดเพิ่งได้รับการบูรณะพระอุโบสถภายนอกเมื่อปีพ.ศ.2550มานี้เองและทางกรมศิลป์ก็ได้ออกหนังสือประวัติวัดซึ่งท่านเจ้าอาวาสได้กรุณามอบให่เราทั้ง3คน หนังสือจัดพิมพ์4สีอย่างดี(รูปประกอบ)ต้องขอขอบพระคุณท่านเจ้าอาวาสมา ณที่นี้ด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 15:59
|
|
ภาพพระธาตุ ทรวดทรงงดงามมาก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 16:09
|
|
ภาพหน้าบันพระอุโบสถ ประดับกระจกเสียใหม่พร้อมเขียนสีทับบนตัวภาพเรื่องราวดังที่กล่าวข้างต้น ผมว่าในทางสถาปัตย์น่าจะเรียกว่าทัศนะอุจาดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 16:13
|
|
ภาพพระประธานและภายในพระอุโบสถ จะเห็นได้ว่าพระประธานเป็นอย่างลาว ซึ่งก็งดงามไปอีกอย่างหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 16:24
|
|
ภาพเขียนที่นี่อยู่ในสภาพหลุดร่อนเหมือนหลายๆที่แถมภายในพระอุโบสถยังมีการเสริมแนวเสาเพื่อค้ำยันตัวพระอุโบสถจนทั่ว ทับลงไปบนภาพเขียนเลยน่าเสียดายเป็นอย่างมาก อย่างตอนด้านหลังพระประธานภาพจุฬามณีย์ก็โดนเสาปูนทับซะมิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 16:29
|
|
ภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ตอนนี้ สมัยที่ผมถ่ายครั้งแรก ยังไม่หลุดร่อนถึงขนาดนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 16:34
|
|
ภาพตอนหนุมานไปถามทางไปกรุงลงกากับพระฤษีนารท
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 16:44
|
|
ภาพตอนหนุมานถวายแหวน ตอนบนมุมขวาจะเห็นเป็นตอนนางสีดากำลังจะผูกคอตายและหนุมานแปลงกายเป็นลิงเผือกไปช่วยไว้มุมด้านล่างซ้ายจึงมาถวายแหวน แต่ตัวหนุมาหลุดร่อนเสียสิ้นเห็นแต่เพียงเท้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 16:52
|
|
ภาพทศกัณฑ์กำลังนั่งบัญชาการต่อเหล่าเสนายักษ์สวยงามมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 17:00
|
|
ภาพทศกัณฐ์กับเหล่าสนมกำนัลและเหล่าพลยักษ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 17:14
|
|
ภาพพิเภกเหาะออกจากลงกาหลังถูกทศกัณฐ์ขับไล่ จนภายหลังได้ไปเข้ากับฝ่ายพระราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 17:46
|
|
ภาพเขียนที่นี่ ไม่ปรากฎว่ามีการปิดทอง จะใช้เพียงสีเหลือง(รง)ในการระบายส่วนที่ควรเป็นทองแทนเท่านั้น ผมสันนิษฐานว่า คงเพราะเป็นช่างฝีมือชาวบ้านที่อาจไปได้เรียนรู้การทำงานอย่างเชิงช่างชั้นสูงในกรุงมา โดยเฉพาะอาจจะได้เคยไปเห็นภาพเขียนที่พระระเบียงวัดพระแก้ว(ฝีมือเดิมเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์)มาก่อน จึงคิดศรัทธา มาเขียน และช่างที่เขียนอาจเป็นช่างลาวที่มีฝีมือ เช่นเดียวกับช่างลาวที่มีปรากฎเขียนอยู่ที่วัดหน่อพุทธางกูรและวัดประตูสาร สุพรรณบุรี ด้วยก็ได้ แต่ที่นี่ คงอาจเป็นเพราะปัจจัยยังน้อยเลยมิได้ใช้ทองคำเปลวมาปิดที่ตัวภาพเช่นที่ทำกันมา ปัจจัยสนับสนุนอีกอย่างก็คือบางส่วนของภาพก็เขียนไม่เสร็จ ทำให้คิดได้ว่าต้องมีอะไรอย่างหนึ่งที่ช่างไม่สามารถสร้างงานได้เสร็จ ซึ่งก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมกันต่อไป เพราะลักษณะเดียวกันนี้ก็ไปปรากฎที่วัดไม้รวก วัดสุดท้ายในการเดินทางทริปนี้ของชมรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|