jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 11:49
|
|
ดูชัดอีกทีบางส่วนของตู้ช่วงบน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 11:59
|
|
บานตู้พระธรรมอีก1ชิ้นที่หลงเหลืออยู่ดูจากลวดลายเป็นแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งยังได่กลิ่นอายจากอยุธยาอยู่บ้าง เขียนเป็นลายเซี่ยวกาง(เทวดาอย่างจีน) สภาพลบเลือนมากแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 12:07
|
|
ตู้พระธรรมอีกตู้ของวัดนี้ที่น่าสนใจคือตู้นี้เป็นตู้แบบแข้งสิงห์แบบที่นิยมทำในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นแต่ใบนี้แทนที่จะเขียนลายทองกับเขียนสีเป็นเรื่องราวแบบจีนคือเรื่องไซอิ๋วและเหล่าเซียนและภิกษุจีน ทำให้เห็นว่านอกจากพุทธแบบหินยานที่บ้านเรานับถือแล้วแบบมหายานอย่างจีนก็มีผู้คนรู้จักมานานพอๆกับที่คนจีนได้เข้ามาบนแผ่นดินนี้แล้วเป็นเเน่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 12:23
|
|
รายละเอียดของตู้นี้ ส่วนนี้ เป็นเรื่องไซอิ๋วจะเห็นพระถังซัมจั๋ง เห้งเจีย ตือโป๊ยก่ายและซัวเจ๋ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 12:30
|
|
ตู้นี้เปิดภายในตู้ก็ยังพบภาพเขียนเป็นภาพภิกษุอย่างจีน ปรากฎอยู่ทั้งด้านขวาและซ้าย แต่บานพับตู้ชำรุด ต้องเปิดแล้วประคองถือไว้จึงจะถ่ายภาพได้ ผมสันนิษฐานว่า ตู้ใบนี้เมื่อครั้งอดีต อาจจะสร้างถวายแด่พระภิกษุจีนชั้นผู้ใหญ่ในอยุธยาก็เป็นไปได้(ขอจบเรื่องวัดศาลาปูนแต่เพียงเท่านี้)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 13:00
|
|
วัดใหม่ชุมพล ชาวบ้านมักเรียกสั้นๆว่า"วัดใหม่" สร้างขึ้นเป็นวัดประมาณพ.ศ.2352 ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่า พระเจ้าทรงธรรมเมื่อคราวเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี ได้เสด็จโดยทางเรือผ่านมา ได้แวะพักและได้จัดสร้างพระตำหนักประทับแรมตรงบริเวณที่ตั้งวัดนครหลวง(อยู่ก่อนถึงวัดนี้ประมาณ500ม.น่าจะได้) สำหรับบริเวณที่เป็นวัดใหม่ชุมพลเป็นที่พักแรมของพวกข้าราชบริพารและคนงานต่างๆ ต่อมาจึงได้แก้ไขปรับปรุงให้เป็นวัดเรียก"วัดใหม่ชุมพล" ที่ตั้งจิตรกรรมอยู่ในวิหารและภายในกรุเจดีย์(ได้ถ่ายเฉพาะในวิหารมิได้เข้าไปในกรุเจดีย์ เจดีย์ดังกล่าวเป็นเจดีย์เหลี่ยมแบบย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปกรรมสมัยพระเจ้าปราสาททอง จะเห็นได้ว่าเดิมวัดนี้มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแต่ได้ผ่านการบูรณะจนเป็นวัดแบบที่มีหลักฐานชัดเขนในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2352และมาบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งเมื่อพ.ศ.2436 และมีอักษรจารึกเป็นโคลงสี่สุภาพและโคลงกระทู้ไว้ในวิหารที่มีภาพเขียนจำนวน15บท มีความสำคัญบทหนึ่งดังนี้ "จดหมายเหตุบูรณะพระ ปัตะมา ปีม่อเสงเย็ญศกหนา จดไว้๑๒๕๕ วันพฤกหัษเดือนห้า สิบเบ็ดค่ำ แรมแฮ สละทรับออกส่างไว้ หวังให้ถาวร"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 13:05
|
|
ภายในวิหารบริเวณพระประธาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 13:15
|
|
ภาพเขียนในพระวิหาร เขียนเรื่องเทพชุมนุม วิทยาธร พระพุทธเจ้าปางนาคปรก กระถางไม้ดัดประกอบภาพสัตว์และลายต้นไม้พันธุ์พฤกษา(รูปประกอบพระพุทธเจ้านั่งประทับบนพระยานาคราชมุจรินทร์7เศียรแผ่พังพาน(ต้นกำเนิดของพระพุทธรูปปางนาคปรก*คนเกิดวันเสาร์*ไม่สามารถถ่ายมุมตรงได้ เพราะติดแนวคานของพระวิหาร)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 13:30
|
|
ภาพเทพชุมนุมเป็นรูปเทพพนมนั่งสลับเจดีย์มีช่อกระหนกออกทางเบื้องหลังพระรัศมีของเทวดาเป็นเส้นตั้ง แล้วหยักออกไปโค้งแหลมเริ่มลักษณะพิเศษของรัศมีมีมาตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง*น .ณ ปากน้ำ* เจดีย๋เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองก็เป็นแบบแผนที่นิยมกันมากในรัชกาลนี้แต่ทรวดทรงยังคงป้อมๆอยู่ เห็นได้ชัดว่า น.ณ ปากน้ำใช้วิธีกำหนดอายุภาพเขียนจากการมองสภาพสถาปัตยกรรมในวัดเปรียบเทียบกับภาพเขียนเป็นเกณฑ์ ซึ่งจุดนี้นักวิชาการรุ่นหลังๆมาก็มีข้อโต้แย้งที่ฟังได้ ซึ่งผู้สนใจควรได้ไปศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 13:38
|
|
ภาพระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนเป็นกระถางต้นไม้ดัดประกอบภาพสัตว์อย่างจีน เป็นเอกลักษณ์ ไม่ปรากฎว่ามีการเขียนอย่างนี้ที่วัดไหนอีก(ความคิดของผม)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 13:45
|
|
ภาพนักสิทธ เขียนอยู่เหนือเทพชุมนุม เขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งตนนี้ผมเห็นว่าถือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าอยู่เป็นเครื่องดนตรีแบบโบราณไม่รู้ว่าเรียกว่าอย่างไร ใครเป็นผู้เชี่ยวชาญผู้รู้ถ้าได้อ่านจะช่วยเข้ามาไขความกระจ่างจะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 13:57
|
|
ภาพผนังด้านหลังพระประธานเขียนเป็นภาพเหล่าสรรพสัตว์ในป๋า(เข้าใจว่าน่าจะเป็นป่าหิมพานต์)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 14:10
|
|
ภาพการเขียนลวดลายเป็นช่อใบเทศขึ้นไปประกอบด้วยเหล่าส่ำสัตว์และเขียนสีสอดคล้องงดงาม(ลวดลายไม่ต่างไปกับตู้ลายรดน้ำวัดศาลาปูนเลยทีเดียวส่วนสิงห์ที่ปรากฎอยุในภาพเป็นสิงห์แบบอยุธยาที่ผมเคยโพสต์ไว้ในกระทู้วัดราชสิทธาราม)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 14:16
|
|
ภาพเขียนทางด้านซ้ายมือพระประธาน(ผม คาดว่าน่าจะมาเขียนเพิ่มเติมในภายหลังเมื่อครั้งบูรณะวัด แล้วมีการเขียนโคลงไว้ตามที่กล่าวข้างต้น เป็นภาพการนมัสการพระจุฬามณีย์บนสวรร๕ชั้นดาวดึงส์แต่เขียนไม่เสร็จ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 14:23
|
|
สภาพโดยรวมภายในวิหาร จะเห็นสมาชิกทั้ง2ท่านกำลังง่วนอยู่กับการถ่ายภาพ(จริงๆน่ะแบตหมด ขออนุญาตทั้ง2ท่านคือคุณยุทธและคุณฉันรักบางกอกนำภาพมาลงด้วยครับ เห็นไกลๆคงไม่มีใครจำได้ โดยเฉพาะเจ้าหนี้555555555555555555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|