jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 21:04
|
|
ผนังด้านหลังพระประธานตามประวัติว่าเขียนตอนพระพุทธเจ้าตอนโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แต่ในภาพไม่น่าจะใช้ น่าจะเป็นตอนที่พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วพระอินทร์ได้ทูลขอให้แสดงปฐมเทศนาแก่เหล่าทวยเทพให้ไดเสดับฟังธรรมะอันประเสิรฐนั้นด้วยเทอญ ในภาพจะเห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งเป็นประธานบนรัตนบัลลังค์ขนาบขวาซ้ายด้วยพระอินทร์และพระพรหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 21:12
|
|
ลายดาวเพดานสมัยอยุธยาตอนปลาย บูรณะเสียใหม่แล้วแต่ก็ยังงดงามอยู้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 21:39
|
|
เข้ามารายงานตัว รอชมภาพคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 21:47
|
|
ใบเสมาวัดศาลาปูน น ณ.ปากน้ำกำหนดอายุวาเป็นสมัยพระเจ้าปราสาททอง คงเทียบเคียงกับลักษณะใบเสมาที่พบที่วัดไชยวัฒนารามซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน คือมีทับทรวงตรงกลาง แต่ที่นีทำด้วยหินทรายขาวโดยรอบพระอุโบสถเป็นเสมาเดี่ยว ยกเว้นด้านหน้าพระอุโบสถเป็นเสมาคู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 21:56
|
|
มาซะดึกเลยน้องกำลังจะพักสักหน่อยเพราะล่อมาครึ่งวันแล้วยังไม่หมดวัดที่3เลย ต่อกันที่รูปจิตรกรรมในซุ้มคูหาที่ประดิษฐานพระป่าเลไลยก์ ภาพเขียนไม่มีการบูรณะ จึงประกอบไปด้วยคราบฝุ่นจับอยู่เต็ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 22:09
|
|
ลักษณะภาพเขียนแบบนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่4แต่ที่แปลกคือคล้ายคลึงกับภาพเขียนที่วัดตำหนักใต้เป็นอย่างยิ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 22:19
|
|
ภาพเขียนที่วัดตำหนักใต้ ตามประวัติว่าเขียนสมัยร.3 ถ้าเป็นตามประวัติภาพเขียนที่นี่ก็น่าจะให้แรงบันดาลใจต่อภาพเขียนที่วัดศาลาปูน หรืออาจเป็นสกุลช่างสำนักเดียวกันที่ไปเขียนไว้ เพราะแม้กระทั่งพระประธานที่วัดตำหนักใต้นี้ก็เป็นปางป่าเลไลยก์เช่นเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 22:24
|
|
พระประธานวัดตำหนักใต้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 22:32
|
|
ของสวยของงามวัดศาลาปูนยังมีอีกเยอะ ผมขอไม่อธิบายรายละเอียดอะไรมากนัก ดูรูปเลยละกัน รูปนี้ศาลาการเปรียญสมัยอยุธยาซ่อมรัตนโกสินทร์ ทรวดทรงงดงามมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 22:44
|
|
สังเค็ดสมัยอยุธยาถูกทิ้งอยู่ในศาลาตึก2ชั้นด้านล่างใช้เป็นโรงครัว แม่ครัวก็มิได้นำพานำข้าวของเครื่องใช้ในครัว วางกองไว้จนทั่ว ทั้งๆที่พระผู้ดูแลซึ่งเล่าให้ผมฟังว่า ได้เตือนแล้วว่าสิ่งนี้มีค่ามากกว่าชิวิตของพวกแม่ครัวมากนัก แต่ก็ไม่วายเผลอเป็นทิ้งเป็นวาง ไม่ต่างกับกองขยะจริง เห็นแล้วอยากเก็บมาบ้านเราจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 22:51
|
|
ดูสภาพอาจจะสะเทือนใจนิดหน่อยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 23:03
|
|
ภาพลายรดน้ำจากตู้พระธรรม ซึ่งเดิมวัดนี้มีอยู่มากมาย ปัจจุบันเก็บรวบรวบอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของวัดเมื่อ20กว่าปีก่อนยังเก็บอยู่ในกุฎิหลังหนึ่งในสภาพกองพระเนินแต่สภาพก็ยังอยู่ดีเป็นตู้ ปัจจุบันหลุดเป็นชิ้นๆ พระผู้ดูแลท่านบอกว่าตอนเริ่มจะทำได้รื้อและรวบรวมพบว่าตู้เล่านี้กองกันอยู่บางตู้โดนกองดินทับถม หลวงตารื้อเอาไม้ทีแตกหลุดเอาไปทำฟื้นเสียมาก ฟังแล้วให้หัวใจสลาย ทำไมหนอของพวกนี้จึงได้ถูกทิ้งถูกทำลายอย่างไม่รู้คุณค่า ต่อเมื่อรู้ก็มักจะสายเสียแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ilili_tuka_ilil
อสุรผัด

ตอบ: 28
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 23:17
|
|
ลายดาวเพดาน ในค.ห.31 แบบเดียวกับที่วัดใหญ่สุวรรณาราม หรือปล่าวค่ะ ... ส่งเมลล์ให้แล้วนะคะ คุณยีนส์ ส่วนรูปที่แนบไปให้ ชอบจริงๆคะ วิวนั้น((ที่มือชี้อะค่ะ)) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 06 ก.ค. 09, 23:21
|
|
ลวดลายที่ปรากฎในลายรดน้ำบานนี้เป็นลายกระหนกเปลวผสมกับกระหนกลายเครือวัลย์ของฝรั่ง ทุกอย่างผสานสัมพันธ์กันเป็นเลิศทั้งลวดลายและส่ำสัตว์ มีหงส์ กระรอก กระแต นงยูง ไก่ฟ้า ที่เต้นไปตามค่าคบและเครือเถาเบื้องบนเนินไศลเห็นสัตว์หิมพานต์เช่นคชสีห์ ราชสีห์ทั้งไทยทั้งจีน บ้างก็แอบแฝงอยู่ตามเถื่อนถ้ำทั้งสัตว์จตุบาท ทวิบาทแล้วยังแถมโขลงช้างอีกโขลงตัวเล็กตัวน้อยก็มี ทั้งฝูงลิงค่างกวางเก้ง โดยมีอาศรมของฤษีที่รูปทรงเป็นบรรณศาลาก่ออิฐถือปูนเป็นศาลาแปดเหลี่ยมหลังคาทรงฝรั่งอย่างสมัยพระนารายณ์ก็ปรากฎอย่างชัดเจนทำให้ระบุได้ว่าลายรดน้ำนี้ ย่อมเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายอย่างแน่นอน(วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อน ง่วงนอนแล้ว ถ้าคุณฉันรักบางกอกหรือคุณยุทธเข้ามาดูจะต่อเลยก็ได้ ผมไปอาบน้ำนอนก่อน ราตรีสวัสดิ์ครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 07 ก.ค. 09, 11:46
|
|
ลายตู้พระธรรมอีกใบที่งดงามมากเป็นลวดลายอย่างที่เรียกว่าลายไฟฟะเนียง เขียนกระหนกเป็นช่อใบเทศสลับช่อใบเทศหางโตเหล่าส่ำสัตว์สอดรับกับลวดลายทั่วทั้งตู้ ดูแล้วเกิดการเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง อันเป็นลักษณะเฉพาะของลวดลายสมัยอยุธยาตอนปลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|